เมนู

ก็แม้ในเรื่องนี้ วิมานแก้วไพฑูรย์ บังเกิดแก่เทวดาแม้องค์นี้ ก็
เพราะตั่งที่นางปูลาดด้วยผ้าสีเขียวถวายแล้ว. ด้วยเหตุนั้น ในเรื่องนี้
จตุตถปีฐวิมานจึงมาโดยบาลีว่า ปีฐนฺเต เวฬุริยมยํ วิมานตั่งแก้วไพฑูรย์
ของท่าน ดังนี้เป็นต้น. คำที่เหลือ ก็เช่นเดียวกับตติยปีฐวิมานนั่นแหละ
พึงทราบความตามนัยที่กล่าวแล้วในตติยปิฐวิมานนั้นเหมือนกัน.
จบอรรถกถาจตุตถปีฐวิมาน

5. กุญชรวิมาน


ว่าด้วยกุญชรวิมาน


[5 ] พระโมคคัลลานะถามว่า
ดูราเทพธิดาผู้มีวรรณะดังปทุม มีตากลมดังกลีบ
ปทุม กุญชรพาหะอันประเสริฐของท่าน ประดับ
ประดาด้วยแก้วหลายชนิด น่ารักมีกำลังว่องไว เที่ยว
ไปในอากาศได้ ช่างรุ่งเรืองด้วยพวงดอกปทุมและ
อุบล มีกายเกลื่อนไปด้วยเกสรปทุม มีปทุมทองเป็น
มาลัย เดินทางที่เรียงรายด้วยปทุม ประดับด้วย
กลีบอุบล เดินไปพอดี ๆ วิมานทอง ไม่กระเทือน
เมื่อช้างย่างก้าว กระดิ่งก็ส่งเสียงไพเราะ น่ารื่นรมย์
เสียงกังวานของกระดิ่งเหล่านั้น ได้ยินดังดนตรี 5

เครื่องฉะนั้น ท่านมีพัสตราภรณ์สะอาดประดับกาย
แล้วอยู่เหนือคชาธาร รุ่งเรืองราวอัปสรหมู่ใหญ่ ด้วย
วรรณะ นี้เป็นผลของทาน ผลของศีล หรือผล
ของการกราบไหว้ของท่าน อาตมาถามท่านแล้ว ขอ
ได้โปรดตอบคำถามนั้นแก่อาตมาด้วย.

เทวดานั้น ถูกพระโมคคัลคัลลานะถามแล้ว
ดีใจ ครั้นแล้วก็พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผล
อย่างนี้ว่า

ดีฉันได้เห็นพระเถรเจ้าผู้สมบูรณ์ด้วยคุณ ผู้เพ่ง
ฌาน ยินดีในฌาน เป็นผู้สงบ ได้ถวายอาสวะที่ลาด
ด้วยผ้า โปรยดอกไม้ลงรอบ ๆ อาสนะ ดีฉันเลื่อมใส
ได้ประดับพวงมาลัยปทุมมีใบติดครึ่งหนึ่ง และโรย
เกสรปทุมลงครึ่งหนึ่ง ด้วยมือทั้งสองของตน ผล
เช่นนี้เป็นผลแห่งกุศลกรรมนั้นของดีฉัน ดีฉันอัน
ทวยเทพสักการะเคารพนบน้อมแล้ว ผู้ใดเลื่อมใส
แล้วถวายอาสนะแก่พรหมจารีผู้หลุดพ้นโดยชอบ
สงบระงับแล้ว เพราะเหตุนั้นแหละ ท่านผู้รักตน
ประสงค์ความเป็นใหญ่ จึงควรถวายทานแก่ท่านผู้
ทรงเรือนร่างครั้งสุดท้าย [พระอรหันต์].

จบกุญชรวิมาน

อรรถกถากุญชรวิมาน


กุญชรวิมาน มีคาถาว่า กุญฺชโร เต วราโรโห ดังนี้เป็นต้น.
กุญชรวิมานนั้น เกิดขึ้นอย่างไร.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับอยู่ ณ มหาเวฬุวันกลันทกนิวาปสถาน
กรุงราชคฤห์ ครั้งนั้น วันหนึ่ง งานนักขัตฤกษ์กึกก้องไปในกรุงราชคฤห์
ชาวกรุงช่วยกันทำความสะอาดถนน เกลี่ยทราย โรยดอกไม้ครบ 5 อย่าง
ทั้งข้าวตอก ตั้งต้นกล้วย และหม้อน้ำไว้ทุก ๆ ประตูเรือน ยกธง
แผ่นผ้าเป็นต้น ซึ่งงดงามด้วยสีต่าง ๆ ตามควรแก่สมบัติ ทุกคนตกแต่ง
ประดับกายพอสมควรแก่สมบัติของตน ๆ เล่นการเล่นงานนักขัตฤกษ์ทั่ว
ทั้งกรุงได้ประดับประดาตกแต่งดังเทพนคร ครั้งนั้น พระเจ้าพิมพิสาร
มหาราช เสด็จออกจากพระราชนิเวศน์ของพระองค์ ทรงเลียบพระนคร
ด้วยราชบริพารอย่างใหญ่ ด้วยสิริโสภาคย์มโหฬารคามพระราชประเพณี
และเพื่อรักษาน้ำใจของมหาชน
สมัยนั้น กุลสตรีผู้หนึ่งเป็นชาวกรุงราชคฤห์ เห็นวิภวสมบัติ
สิริโสภาคย์และราชานุภาพนั้นของพระราชา เกิดอัศจรรย์จิตไม่เคยมี จึง
ถามเหล่าท่านที่สมมติกันว่าบัณฑิตว่า วิภวสมบัติเสมือนเทวฤทธิ์นี้
พระราชาทรงได้มา ด้วยกรรมอะไรหนอ บัณฑิตสมมติเหล่านั้นจึงกล่าว
แก่นางว่า ดูราแม่มหาจำเริญ ธรรมดาบุญกรรมก็เป็นเสมือนจินดามณี
เป็นเสมือนต้นกัลปพฤกษ์ เมื่อเขตสมบัติ [ พระทักขิไณยบุคคล ] และ
เจตนาสมบัติ [ฝ่ายทายกทายิกา] มีอยู่ คนทั้งหลายปรารถนาแล้ว
ทำบุญกรรมใด ๆ บุญกรรมนั้น ๆ ก็ให้สำเร็จผลได้ทั้งนั้น อนึ่งเล่า ความ
เป็นผู้มีตระกูลส่งมีได้ก็ด้วยอาสนทาน ถวายอาสนะ การได้สมบัติคือ