เมนู

ผ้า หรือถวายอย่างใดอย่างหนึ่ง ในสามอย่างนั้น
ผู้นั้นย่อมเข้าถึงเทพพวกสุธัมมา.

จบตติยนาควิมาน

อรรถกถาตติยานาควิมาน


ตติยนาควิมาน มีคาถาว่า โก นุ ทิพฺเพน ยาเนน เป็นต้น.
ตติยนาควิมานเกิดขึ้นอย่างไร ?
พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน กรุงราชคฤห์
สมัยนั้น พระเถระขีณาสพ 3 องค์ เข้าจำพรรษาในอาวาสใกล้หมู่บ้าน
ครั้นออกพรรษาปวารณาแล้ว พระเถระเหล่านั้นประสงค์จักถวายบังคม
พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงเดินทางมุ่งกรุงราชคฤห์ ในระหว่างทาง ถึงที่
ใกล้ไร่อ้อยของพราหมณ์มิจฉาทิฏฐิ ในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ในเวลาเย็น
ถามคนเฝ้าอ้อยว่า พ่อคุณ วันนี้อาจถึงกรุงราชคฤห์ไหน คนเฝ้าอ้อย
กล่าวว่า ไม่อาจดอก ขอรับ กรุงราชคฤห์อยู่ห่างจากที่นี้กึ่งโยชน์ นิมนต์
ท่านทั้งหลายอยู่ในที่นี้แหละ พรุ่งนี้ค่อยไป พระเถระถามว่า พ่อคุณ
ที่นี้มีอะไร ๆ ที่พอจะทำเป็นที่อยู่ได้บ้างเล่า. ไม่มี ขอรับ แต่กระผมจัก
จัดที่อยู่ถวายพวกท่าน พระเถระทั้งสามรับนิมนต์.
คนเฝ้าอ้อยนั้นผูกท่อนไม้เป็นมณฑปกิ่งไม้ ในไร่อ้อยที่ยืนต้นอยู่
อย่างเดิมนั่นแหละ ใช้ใบอ้อยมุงข้างบน ลาดฟางข้างล่าง ถวายแด่พระ-
เถระองค์หนึ่ง เอาอ้อยสามลำผูกเป็นสังเขปว่าไม้สามเส้า แล้วมุงด้วยหญ้า

ลาดพื้นด้วยหญ้า ถวายแด่พระเถระองค์ที่สอง นำไม้สองสามท่อนใน
กระท่อมของตนและกิ่งไม้ทั้งหลายแล้วคลุมด้วยจีวร ทำกลดถวายแด่พระ-
เถระอีกองค์หนึ่ง พระเถระเหล่านั้นอยู่ในที่นั้น.
พอราตรีสว่าง ได้เวลา เขาหุงข้าว ถวายไม้สีฟันและน้ำล้างหน้า
แล้ว ถวายภัตตาหารกับน้ำอ้อย เมื่อพระเถระเหล่านั้นฉันแล้วอนุโมทนา
แล้ว กำลังจะไป เขาได้ถวายอ้อยองค์ละลำ ด้วยกล่าวว่า จักเป็นส่วนของ
กระผม เขาไปส่งพระเถระสิ้นระยะทางหน่อยหนึ่งแล้วก็กลับ เสวยปีติ
โสมนัสอย่างโอฬาร ปรารภการช่วยขวนขวายและทานของตน กลับบ้าน.
ฝ่ายเจ้าของไร่เดินมาสวนทางกับภิกษุ ที่กำลังเดินไป ถามภิกษุ
ทั้งหลายว่า ได้อ้อยมาแต่ไหน ภิกษุทั้งหลายตอบว่า คนเฝ้าอ้อยถวาย
พราหมณ์ได้ฟังดังนั้นก็โกรธ ไม่พอใจ ฮึดฮัดอยู่ ถูกความโกรธครอบงำ
วิ่งตามไปข้างหลังคนเฝ้าอ้อย เอาไม้ค้อนตีเขา ปลงชีพเขาด้วยการตี
ทีเดียวเท่านั้น คนเฝ้าอ้อยระลึกถึงบุญกรรมที่ตนทำไว้นั่นแหละ ตายไป
บังเกิดในสุธัมมาเทวสภา ช้างพลายทิพย์ตัวประเสริฐ ใหญ่ เผือกปลอด
บังเกิดด้วยบุญญานุภาพของเขา.
บิดามารดาและญาติมิตรของเขา ได้ข่าวทายของคนเฝ้าอ้อยแล้ว
น้ำตาอาบหน้าร้องไห้พากันไปยังที่นั้น และชาวบ้านทั้งหมดได้ประชุมกัน
บิดามารดาของเขาปรารภจะการทำฌาปนกิจตรงที่นั้น ในขณะนั้นเทพบุตร
นั้นขี่ช้างทิพย์ตัวนั้น แวดล้อมไปด้วยเทพผู้ชำนาญฉิ่งทั้งหมด มีดนตรี
เครื่อง 5 บรรเลงอยู่ มาจากเทวโลกด้วยบริวารเป็นอันมาก ด้วยเทพฤทธิ์
ยิ่งใหญ่ ลอยอยู่ในอากาศปรากฏกายให้ที่ประชุมนั้นเห็น ครั้งนั้นบุรุษผู้

เป็นบัณฑิตในที่นั้น ได้ถามเทพบุตรนั้นถึงบุญกรรมที่เขาทำไว้ ด้วยคาถา
เหล่านี้
ใครหนอมีช้างเผือกปลอดเป็นยานทิพย์ มี
ดนตรีประโคมกึกก้อง เขาฉลองกันอยู่ในอากาศ
ท่านเป็นเทวดาหรือคนธรรพ์ หรือเป็นท้าวสักกะผู้ให้
ทานในกาลก่อน พวกเราไม่รู้ ขอถามท่าน พวกเรา
จะรู้จักท่านได้อย่างไร.

เทพบุตรแม้นั้นได้พยากรณ์ความนั้นแก่เขา ด้วยคาถาเหล่านี้ว่า
เราไม่ใช่เทวดา ไม่ใช่คนธรรพ์ ไม่ใช่ท้าว
สักกะผู้ให้ทานในกาลก่อน ข้าพเจ้าเป็นเทพองค์หนึ่ง
ในบรรดาเหล่าเทพที่ชื่อสุธัมมา.

คนเป็นบัณฑิตถามแม้อีกว่า
เราทั้งหลายกระทำอัญชลีอย่างใหญ่ ขอถาม
เทพพวกสุธัมมา คนทำกรรมอะไรในมนุษยโลก จึง
จะเข้าถึงเทพพวกสุธัมมา.

เทพบุตรได้พยากรณ์อีกว่า
ผู้ใดถวายอาคารอ้อย อาคารหญ้า และอาคาร
ผ้า หรือถวายอย่างใดอย่างหนึ่ง ในสามอย่างนั้น
ผู้นั้นย่อมเข้าถึงเทพพวกสุธมมา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตุริยตาฬิตนิคฺโฆโส ได้แก่ กึกก้อง
ด้วยทิพยดนตรีเครื่อง 5 ที่ประโคมแล้ว คือเสียงทิพยดนตรีที่บรรเลง
สำหรับตน. บทว่า อนฺตลิกฺเข มหิยฺยติ ความว่า ลอยอยู่ในอากาศ
มีบริวารมากที่อยู่ในอากาศนั่นแหละบูชาอยู่.
บทว่า เทวตานุสิ แปลว่า เป็นเทวดาหนอ ความว่า ท่านเป็น
เทวดาหรือหนอ. บทว่า คนฺธพฺโพ ความว่า เป็นเทพเป็นไปในพวก
คนธรรพ์เทพนักดนตรี. บทว่า อาทู สกฺโก ปุรินฺทโท ความว่า หรือ
ว่าเป็นท้าวสักกะ ที่ปรากฏว่า ปุรินททะ เพราะอรรถว่า ให้ทานใน
กาลก่อน อธิบายว่า หรือว่าเป็นท้าวสักกเทวราช อนึ่ง เมื่อความที่
ท้าวสักกะและคนธรรพ์ทั้งหลายเป็นเทวะแม้มีอยู่ ก็พึงทราบเทวศัพท์ในที่
นี้ว่า กล่าวถึงเทวะอื่นจากนั้น โดยโคพลิพัททนัย [ นัยอย่างสูง ] เพราะ
เทวะเหล่านั้นท่านกำหนดไว้แผนกหนึ่ง.
ครั้งนั้น เทพบุตรคิดว่า ธรรมดาคำตอบ จำต้องเข้ากันได้กับ
คำถาม เมื่อปฏิเสธความที่ตนเป็นเทวดาคนธรรพ์หรือท้าวสักกะ ที่พวก
เขาถามแล้ว จึงกล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่ใช่เทวดา ไม่ใช่คนธรรพ์ ไม่ใช่
ท้าวสักกะผู้ให้ทานในก่อน ข้าพเจ้าเป็นเทวดาองค์หนึ่งในบรรดาเทวดาที่
ชื่อสุธัมมา [ ประจำสุธัมมาเทวสภา ].
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นามฺหิ เทโว ความว่า ข้าพเจ้าไม่ใช่
เทวดา ไม่ใช่คนธรรพ์ ไม่ใช่ท้าวสักกะองค์ใดองค์หนึ่งที่ท่านสงสัย
ข้าพเจ้าเป็นเทวดาองค์หนึ่งในบรรดาเทวดาที่ชื่อสุธัมมา คือเป็นเทพหมู่
หนึ่งของทวยเทพชั้นดาวดึงส์ ชื่อว่าเทวดาสุธัมมา โดยแท้แล อาจารย์
บางพวกกล่าวว่า ได้ยินว่า คนเฝ้าอ้อยนั้นได้ฟังสมบัติของเทวดาเหล่านั้น

มาแล้ว จึงดังจิตมั่นอยู่ในสมบัติเหล่านั้นก่อน.
บทว่า ปุถุํ แปลว่า ใหญ่ อธิบายว่า ทำให้บริบูรณ์ ก็คำนี้
ท่านกล่าวเพื่อแสดงกิริยาเคารพ.
เทพบุตรถูกถามถึงหมู่เทพสุธัมมา เมื่อบอกบุญที่ตนทำไว้ โดย
กำหนดสมบัติเท่าที่เห็นเท่านั้น เหมือนบอกนิมิตกิ้งก่า จึงกล่าวคาถาว่า
อุจฺฉาคารํ เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ติณฺณมญฺญตรํ ทตฺวา
ความว่า เทพบุตรกล่าวอย่างนี้ โดยถือเอานัยว่า แม้ถ้าข้าพเจ้าถวาย
อาคารสามหลังไซร้ ก็จะสำเร็จเนื้อความนี้ว่า หลังใดหลังหนึ่งในสามหลัง
คำที่เหลือ เข้าใจง่ายทั้งนั้น.
เทพบุตรนั้นตอบเนื้อความที่บุรุษบัณฑิตนั้นถามอย่างนี้แล้ว เมื่อ
ประกาศคุณพระรัตนตรัย ชื่นชมกับบิดามารดาแล้ว ก็กลับไปยังเทวโลก
มนุษย์ทั้งหลายฟังคำของเทพบุตรแล้ว เกิดความเลื่อมใสเป็นอันมากใน
พระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุสงฆ์ ตระเตรียมเครื่องอุปกรณ์ให้ทานมากมาย
บรรทุกเต็มหลายเล่มเกวียนพากันไปพระวิหารเวฬุวัน ถวายมหาทานแด่
ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข กราบทูลเรื่องที่เป็นไปนั้นถวายพระ-
ศาสดา พระศาสดาตรัสเรื่องนั้นเป็นคำถามและคำตอบเหมือนอย่างนั้น
นั่นแหละ ทรงทำข้อความนั้นให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุเกิดเรื่อง ทรงแสดง
ธรรมโดยพิสดาร ให้มนุษย์เหล่านั้นตั้งอยู่ในสรณะและศีลทั้งหลาย คน
เหล่านั้นมีศรัทธาตั้งมั่น ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว กลับไปบ้าน
ของตนแล้ว ช่วยกันสร้างวิหาร ตรงที่ที่คนเฝ้าอ้อยตาย แล.
จบอรรถกถาตติยนาควิมาน

13. จูฬรถวิมาน


ว่าด้วยจูฬรถวิมาน


พระมหากัจจายนเถระ

ทูลถามพระกุมารว่า
[63] ท่านสอดธนูไว้มั่น ยืนจ้องธนูไม้แก่น
อยู่ ท่านเป็นกษัตริย์ หรือราชกุมาร หรือเป็นพราน
ป่า.

พระกุมารตรัสตอบว่า
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าเป็นโอรสของพระ-
เจ้าอัสสกะ เที่ยวไปในป่า ข้าแต่ภิกษุ ข้าพเจ้าขอ
บอกนามของข้าพเจ้าแก่ท่าน คนทั้งหลายรู้จักข้าพเจ้า
ว่า สุชาต ข้าพเจ้าแสวงหาเนื้อจึงหยั่งลงสู่ป่าใหญ่
ไม่เห็นเนื้อ เห็นแต่ท่าน จึงได้ยินอยู่.

พระเถระทูลว่า
ท่านผู้มีบุญมาก ท่านมาดีแล้ว ท่านมาไม่เลว
เลย ท่านจงรับเอาน้ำจากที่นี้ล้างเท้าทั้งสองของท่าน
เถิด นี้เป็นน้ำดื่ม เย็น นำมาแต่ซอกเขา ท่าน
ราชโอรส ครั้นเสวยน้ำแล้ว โปรดเสด็จเข้าไป
ประทับนั่งบนสันถัดเถิด.

พระกุมารตรัสว่า
ข้าแต่พระมหามุนี วาจาของท่านงามหนอ น่า
ฟัง ไม่มีโทษ มีประโยชน์ ไพเราะ ท่านรู้แล้ว