เมนู

ก็พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า ให้สิ่งใด
สิ่งนั้นไม่มีผล พึงให้สิ่งใด สิ่งนั้นประเสริฐกว่า
ข้าพเจ้าถวายเข็ม เข็มนั้นแลประเสริฐกว่า เพราะ
บุญนั้น วรรณะของข้าพเจ้าเป็นเช่นนี้ ฯ ล ฯ และ
วรรณะของข้าพเจ้าจึงสว่างไสวไปทุกทิศ.

จบปฐมสูจิวิมาน

อรรถกถาปฐมสูจิวิมาน


ปฐมสูจิวิมาน มีคาถาว่า อุจฺจมิทํ มณิถูณํ เป็นต้น. ปฐมสูจิวิมาน
นั้นเกิดขึ้นอย่างไร ?
พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเวฬุวัน กรุงราชคฤห์
สมัยนั้น ท่านพระสารีบุตรจะต้องทำจีวรและมีความต้องการเข็ม ท่านจึง
เที่ยวบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ ได้ยืนอยู่ที่ประตูเรือนของช่างทอง ช่าง
ทองเห็นดังนั้น จึงกล่าวว่า ต้องการอะไร เจ้าข้า พระสารีบุตรตอบว่า
มีจีวรกรรมที่ต้องทำ ต้องการเข็ม ช่างทองมีใจเลื่อมใส ถวายเข็มสองเล่ม
ที่ทำไว้เรียบร้อย กล่าวว่า ท่านเจ้าข้า เมื่อต้องการเข็มอีก โปรดบอก
กระผมเถิด แล้วไหว้ด้วยเบญจางคประดิษฐ์ พระเถระอนุโมทนาแก่เขา
แล้วหลีกไป กาลต่อมา ช่างทองนั้นตายไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์.
ครั้งนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะเที่ยวเทวจาริกถามเทพบุตรนั้น
ด้วยคาถาเหล่านี้ว่า

วิมานเสาแก้วมณีนี้สูง 12 โยชน์ โดยรอบ
มีห้องรโหฐาน 700 ห้อง โอฬาร มีเสาแก้วไพฑูรย์
ลาดด้วยเครื่องลาดที่ชอบใจ สวยงาม ท่านนั่งดื่มกิน
ในวิมานนั้น มีพิณทิพย์บรรเลงไพเราะ มีเบญจ-
กามคุณ มีรสเป็นทิพย์ และเทพนารีแต่งองค์ด้วย
อาภรณ์ทอง ฟ้อนรำอยู่ เพราะบุญอะไร วรรณะของ
ท่านจึงเป็นเช่นนี้ เพราะบุญอะไร ผลอันนี้จึงสำเร็จ
แก่ท่าน และโภคะทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดแก่ท่าน.

ดูก่อนเทวะผู้มีอานุภาพมาก อาตมาขอถามท่าน
ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ ท่านได้ทำบุญอะไรไว้ เพราะบุญ
อะไร ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และวรรณะ
ของท่านจึงสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ.

เทพบุตรนั้นดีใจ ถูกพระโมคคัลลานะถามแล้ว
จึงพยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า ให้สิ่งใด
สิ่งนั้นไม่มีผล พึงให้สิ่งใด สิ่งนั้นประเสริฐกว่า
ข้าพเจ้าถวายเข็ม เข็มนั่นแลประเสริฐกว่า เพราะ
บุญนั้น วรรณะของข้าพเจ้าจึงเป็นเช่นนี้ และโภคะ
ทุกอย่างที่น่ารักจึงเกิดแก่ข้าพเจ้า.

ข้าแต่ภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ข้าพเจ้าขอบอกแก่
ท่าน ครั้งเกิดเป็นมนุษย์ ข้าพเจ้าได้ทำบุญใดไว้
เพราะบุญนั้น ข้าพเจ้าจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้
และวรรณะของข้าพเจ้าจึงสว่างไปทุกทิศ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยํ ททาติ ความว่า ให้ไทยธรรม
เช่นใด. บทว่า น ตํ โหติ ความว่า ไทยธรรมเช่นนั้นแลของเขาไม่มีผล
ไทยธรรมย่อมมีผลไพบูลกว่านั้น คือโอพารกว่าทีเดียว ด้วยเขตสมบัติ
( ผู้รับ ) ด้วย ด้วยจิตสมบัติ ( ตั้งใจ ) ด้วย โดยแท้แล ฉะนั้น. บทว่า
ยญฺเจว ทชฺชา ตญฺเจว เสยฺโย ความว่า พึงให้ คือพึงถวายสิ่งที่มีอยู่
อย่างใดอย่างหนึ่งนั่นแหละ การให้นั้นประเสริฐกว่า คือการถวายไทย
ธรรมที่ไม่มีโทษอย่างใดอย่างหนึ่งนั่นแล ประเสริฐกว่า เพราะเหตุไร
เพราะข้าพเจ้าถวายเข็ม เข็มนั่นแลประเสริฐกว่า คือการถวายเข็มของข้าพเจ้า
นั่นแหละประเสริฐกว่า อธิบายว่า เพราะข้าพเจ้าได้สมบัติเช่นนี้ แล.
จบอรรถกถาปฐมสูจิวิมาน

9. ทุติยสูจิวิมาน


ว่าด้วยทุติยสูจิวิมาน


พระมหาโมคคัลลานเถระ

เทพบุตรองค์หนึ่งว่า
[59] วิมานเสาแก้วมณีนี้สูง 12 โยชน์ โดยรอบ
มีห้องรโหฐาน 700 ห้อง โอฬาร ฯล ฯ และ
วรรณะของท่านจึงสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ.

เทพบุตรนั้นดีใจ ถูกพระโมคคัลลานะถามแล้ว
ก็พยากรณ์ปัญหาของกรรมที่มีผลอย่างนี้ว่า ในชาติ
ก่อน ข้าพเจ้าเกิดเป็นมนุษย์ อยู่ในหมู่มนุษย์ ใน