เมนู

ดีฉันจักเข้าจำอุโบสถประกอบด้วยองค์แปด
ตลอด 14 ค่ำ 15 ค่ำ 8 ค่ำ แห่งปักษ์ และตลอด
ปาฏิหาริยปักษ์ สำรวมในศีลทุกเมื่อ และจักไม่
ประมาทในทาน ผลกรรมนี้ ดิฉันเห็นแล้วด้วยตนเอง.

ลำดับนั้น พวกนิรยบาลได้โยนนางเรวดีผู้กำลัง
รำพันเพ้อดิ้นรนอยู่อย่างนั้น จากที่นั้น ลงนรกที่น่ากลัว
หัวลงดินตีนชี้ฟ้า ด้วยประการฉะนี้.

นางเรวดีกล่าวในที่สุดว่า
เมื่อก่อน ดีฉันเป็นคนตระหนี่ บริภาษสมณ-
พราหมณ์ และหลอกลวงสามีด้วยเรื่องไม่จริง จึง
หมกไหม้ในนรกที่น่ากลัว ดังนี้.

จบเรวตีวิมาน

อรรถกถาเรวตีวิมาน


เรวตีวิมาน มีความว่า อุฏฺเฐหิ เรวเต สุปาปธมฺเม เป็นต้น
เรวตีวิมานนั้นเกิดขึ้นอย่างไร ?
พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน กรุง
พาราณสี สมัยนั้น ตระกูลที่สมบูรณ์ด้วยศรัทธาในกรุงพาราณสี มีบุตร
ชื่อนันทิยะ เป็นอุบาสก ถึงพร้อมด้วย ศรัทธา เป็นทายก เป็นทานบดี
เป็นผู้บำรุงพระสงฆ์ ครั้งนั้น บิดามารดาของเขามีความประสงค์จะนำ

หญิงสาวชื่อ เรวดี ธิดาของลุงมาแต่เรือนที่พวกญาติอยู่กันพร้อมหน้า แต่
นางเป็นคนไม่มีศรัทธา มีปกติไม่ให้ทาน นันทิยะจึงไม่ต้องการนาง
มารดาของนันทิยะพูดกะเรวดีว่า แม่หนู เจ้ามาเรือนนี้แล้ว จงเอาโคมัย
สดไล้ทาที่นั่งของภิกษุสงฆ์ ปูลาดอาสนะ ทั้งเชิงรองบาตร เวลาภิกษุ
ทั้งหลายมา จงไหว้ รับบาตร นิมนต์ให้นั่ง เอาที่กรองน้ำกรองน้ำดื่ม
แล้วล้างบาตรเวลาพระฉันเสร็จแล้ว อย่างนี้ จักเป็นที่ยินดีของลูกฉัน
นางก็ได้ทำตามคำสั่งสอน ลำดับนั้น บิดามารดาบอกนันทิยะว่า เรวดีเป็น
หญิงที่พอสั่งสอนได้ เมื่อนันทิยะรับว่า ดีแล้ว จึงกำหนดวันแล้วทำพิธี
อาวาหมงคล.
ครั้งนั้น นันทิยะกล่าวกะนางว่า ถ้าเธอจักบำรุงภิกษุสงฆ์และบิดา
มารดาของฉัน เมื่อเป็นอย่างนี้ เธอก็อยู่ในเรือนนี้ได้ อย่าประมาทนะ
นางรับคำว่า ดีแล้ว เป็นเหมือนมีศรัทธาอยู่ตลอดเวลา อนุวัตรตามสามี
ตลอดบุตร 2 คน บิดามารดาของนันทิยะได้ทำกาละตายแล้ว ความเป็น
ใหญ่ทุกอย่างในเรือนได้ตกอยู่แก่นางคนเดียว แม้นันทิยะก็ได้เป็นมหา-
ทานบดี เริ่มตั้งทานถวายภิกษุสงฆ์ เริ่มตั้งปากวัตร (หุงข้าวเป็นประจำ)
ที่ประตูเรือนไว้สำหรับคนยากไร้และคนเดินทางเป็นต้น เขาสร้างศาลา
4 หลัง ประดับด้วยห้อง 4 ห้อง ที่อิสิปตนมหาวิหาร ให้จัดตั้งเตียง
ตั่งเป็นต้น ถวายมหาทานแด่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข แล้ว
หลั่งน้ำทักษิโณทกลงในพระหัตถ์ของพระตถาคต มอบถวาย. พร้อมกับ
การถวายน้ำทักษิโณทก ได้มีปราสาททิพย์ ล้วนแล้วไปด้วยรัตนะ 7
ประการ ทั้งยาวและกว้าง 12 โยชน์ โดยรอบสูงร้อยโยชน์ เอิกเกริกไป
ด้วยหมู่นางอัปสรพันหนึ่ง ได้ผุดขึ้น ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์.

ครั้งนั้น ท่านพระมหาโมคคัลลานะไปเที่ยวเทวจาริกเห็นปราสาทนั้น
ถามพวกเทพบุตรที่มาไหว้ว่า นี้ปราสาทของใคร.
เทพบุตรทั้งหลายกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ เจ้าของปราสาทหลังนี้
ชื่อนันทิยะ เป็นบุตรของกุฎุมพี กรุงพาราณสี ในโลกมนุษย์ ได้สร้าง
ศาลา 4 หลัง ที่อิสิปตนมหาวิหาร ถวายสงฆ์ ปราสาทหลังนี้บังเกิด
ขึ้นสำหรับนันทิยะนั้น แม้เหล่าเทพอัปสรที่บังเกิดในปราสาทก็ไหว้พระ-
เถระ กล่าวว่า ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ พวกดีฉันบังเกิดในปราสาทนี้
เพื่อเป็นบริจาริกาของอุบาสกชื่อนันทิยะ กรุงพาราณสี ขอพระคุณเจ้า
โปรดบอกแก่เขาอย่างนี้ว่า เหล่าเทพธิดาที่บังเกิดเพื่อเป็นบริจาริกาของ
ท่าน เมื่อท่านชักช้าอยู่ ก็งุ่นง่าน ชื่อว่าสมบัติในเทวโลก ย่อมเป็นที่
พอใจยิ่ง เหมือนทุบภาชนะดินแล้วรับเอาภาชนะทองฉะนั้น แล้วกล่าวว่า
ขอพระคุณเจ้าโปรดบอกแก่เขา เพื่อให้เขามาในที่นี้ พระเถระรับคำว่า
ดีแล้ว รีบมาจากเทวโลก ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าท่ามกลางบริษัทว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ทิพยสมบัติย่อมบังเกิดคอยท่าคนที่ทำบุญแล้วแต่
ยังอยู่ในมนุษยโลกนี้หรือ พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อน
โมคคัลลานะ ทิพยสมบัติที่บังเกิดคอยท่านันทิยะในเทวโลก เธอได้เห็น
เองแล้วมิใช่หรือ เหตุไรเธอจึงถามเรา พระโมคคัลลานเถระกราบทูลว่า
ทิพยสมบัติ บังเกิดขึ้นคอยท่าอยู่อย่างนั้น พระเจ้าข้า ครั้งนั้น พระ-
ศาสดาเมื่อทรงแสดงแก่พระเถระนั้นว่า มิตรและพวกพ้องทั้งหลายย่อมยินดี
ต้อนรับคนที่จากไปนานแล้วกลับมา ฉันใด บุญทั้งหลายของตน ๆ ย่อม
ต้อนรับประดับประคองบุคคลที่ทำบุญไว้ ผู้จากโลกนี้ไปปรโลก ฉันนั้น
ได้ทรงภาษิตพระคาถาทั้งหลายว่า

ญาติมิตรและสหายผู้มีใจดี ย่อมยินดีต้อนรับ
บุคคลผู้ร้างแรมไปนาน แล้วกลับมาโดยสวัสดีจากที่
ไกลฉันใด แม้บุญที่ทำแล้วก็ฉันนั้น บุญทั้งหลาย
ย่อมต้อนรับบุคคลผู้ทำบุญ ผู้ไปจากโลกนี้สู่โลกอื่น
เหมือนญาติต้อนรับญาติที่รักผู้กลับมาฉะนั้น.

นันทิยะได้ฟังดังนั้นแล้ว ถวายทานทั้งหลาย กระทำบุญทั้งหลาย
มากมายยิ่งขึ้น เมื่อเขาไปค้าขายได้บอกกะเรวดีว่า ที่รัก สังฆทานก็ดี
ปากวัตรเพื่อคนอนาถาก็ดี ที่ฉันตั้งไว้ เธออย่าลืมเสีย จงให้ดำเนินไป
นางรับคำว่า ดีแล้ว.
แม้เขาเดินทางไปพักอยู่ในที่ใด ๆ ก็คงถวายทานแก่ภิกษุทั้งหลาย
และให้ทานแก่คนอนาถาทานสมควรแก่ทรัพย์ ในที่นั้น ๆ เหมือนเดิม
พระขีณาสพทั้งหลายมารับทานแม้แต่ที่ไกล เพื่ออนุเคราะห์เขา.
ฝ่ายนางเรวดี เมื่อนันทิยะไปแล้ว นางให้ทานอยู่สองสามวันเท่านั้น
แล้วงดอาหารสำหรับคนอนาถา แม้สำหรับภิกษุทั้งหลาย นางได้ถวาย
ข้าวต้มผสมน้ำตาลเป็นภัตตาหาร มีน้ำส้มเป็นที่สอง นางได้โปรย
เมล็ดข้าวสุกซึ่งเหลือจากที่คนบริโภค มีชิ้นปลาชิ้นเนื้อปนอยู่ มีกระดูก
เกลื่อนกลาด ในสถานที่ฉันอาหารของภิกษุทั้งหลาย แล้วแสดงแก่คน
ทั้งหลายว่า ท่านทั้งหลายจงดูการการทำของพวกสมณะ พวกสมณะ
ทิ้งขว้างของที่เขาถวายด้วยศรัทธากันอย่างนี้.
ลำดับนั้น นันทิยะเสร็จการค้าขายได้กำไรแล้วกลับมา ได้ทราบ
ความเป็นไปดังนั้น จึงไล่นางเรวดีออกจากเรือนแล้วตนเข้าเรือน ในวัน

ที่สอง นันทิยะได้ถวายทานเป็นอันมากแด่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็น
ประมุข ได้ให้นิจภัตรและอนาถภัตรดำเนินไปโดยชอบอย่างเดิม เขาตั้ง
นางเรวดีที่พวกสหายของเขานำกลับมา ให้เป็นใหญ่ในการดูแลอาหาร
สมัยต่อมา เขาทำกาละบังเกิดในวิมานของตนนั่นเอง ในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์.
ฝ่ายนางเรวดีเลิกทานทุกอย่าง แล้วเที่ยวด่าบริภาษภิกษุสงฆ์ด้วย
เข้าใจว่า เพราะสมณะเหล่านี้ ฉันจึงเสื่อมลาภสักการะ ครั้งนั้น ท้าว-
เวสวัณมีบัญชากะยักษ์สองตนว่า พนาย ท่านทั้งสองจงไปป่าวประกาศ
ในนครพาราณสีว่า จากวันนี้ไปเจ็ดวัน นางเรวดีจะถูกโยนใส่นรกทั้งเป็น
มหาชนได้ฟังดังนั้นเกิดสลดใจ ทั้งกลัวและหวาดสะดุ้ง.
ครั้งนั้น นางเรวดีขึ้นปราสาท ปิดประตูแล้วนั่งอยู่ ในวันที่เจ็ด
ท้าวเวสวัณซึ่งถูกบาปกรรมของนางเรวดีเตือนบัญชาสั่งยักษ์สองตนผู้มีผม
และหนวดสีดำปนแดงแสงเรือง มีจมูกเบี้ยวบิดผิดปกติ มีเขี้ยวโง้ง
นัยน์ตาแดง มีผิวพรรณเสมอด้วยยางสน มีรูปร่างน่ากลัวเหลือเกิน
เข้าไปกล่าวเป็นต้นว่า ลุกขึ้น แม่เรวดีผู้ชั่วร้าย จับแขนทั้งสองประกาศว่า
มหาชนจงดู ทำให้ล้มลุกคลุกคลานไปจากถนนหนึ่งไปอีกถนนหนึ่งทั่ว
พระนคร และเหาะขึ้นนำไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ แสดงวิมานและสมบัติ
ของนันทิยะให้นางได้เห็น แล้วส่งนางซึ่งกำลังเพ้อรำพันอยู่นั่นแลไปใกล้
อุสสทนรก บุรุษของพระยายมได้โยนนางลงอุสสทนรก. เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า
ลุกขึ้น แม่เรวดี ตัวชั่วร้าย ผู้ไม่ปิดประตู
(นรก) ผู้มีปกติไม่ให้ทาน เราจักนำเจ้าไปในที่ที่
พวกสัตว์นรกผู้ตกยาก เพียบด้วยทุกข์ต้องถอนใจอยู่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุฏฺเฐหิ แปลว่า จงลุกขึ้น ความว่า
บัดนี้ ปราสาทหลังนี้ปกปักรักษาเจ้าจากภัยนรกไม่ได้ดอก เพราะฉะนั้น
เจ้าจงรีบลุกขึ้นมา เรียกนางโดยชื่อว่า เรวดี กล่าวเหตุแห่งการลุกขึ้นด้วย
บทว่า สุปาปธมฺเม เป็นต้น ความว่า เพราะเธอมีบาปธรรมลามก
เหลือหลาย ด้วยการด่าการบริภาษพระอริยะทั้งหลาย และเพราะไม่ปิด
ประตูนรกเพื่อเธอจะได้เข้าไป ฉะนั้น จงลุกขึ้น. บทว่า อทานสีเล
ได้แก่ มีปกติไม่ให้อะไร ๆ แก่ใคร ๆ เป็นคนตระหนี่ถี่เหนียว แม้บท
นี้ก็เป็นคำกระทำการลุกขึ้นนั่นเอง อธิบายว่า เพราะคนที่มีปกติให้ทาน
ไม่ตระหนี่ เช่นสามีของเจ้าอยู่ในสุคติ ส่วนคนมีปกติไม่ให้ทาน มีความ
ตระหนี่ เช่นเจ้าอยู่ในนรก ฉะนั้น จงลุกขึ้น เราจักไม่ให้เจ้าอยู่ในที่นี้แม้
เพียงครู่หนึ่ง. บทว่า ยตฺถ ถุนนฺติ ทุคฺคตา ความว่า ชื่อว่า ถึงยาก
เพราะถึงความทุกข์. บทว่า เนรยิกา ความว่า พวกสัตว์นรก เพรียบพร้อม
คือพรั่งพร้อมด้วยทุกข์ในนรก ถอนใจอยู่ในนรกใด ประกอบความว่า
บาปกรรมยังไม่สิ้นสุดเพียงใด สัตว์นรกทั้งหลายเมื่อออกไปไม่ได้ ย่อม
ทอดถอนอยู่เพียงนั้น เราจักนำ คือพา คือใส่เจ้าลงในนรกนั้น. ต่อไปนี้
เป็นคำของสังคีติกาจารย์ว่า
ยักษ์ใหญ่นัยต์ตาแดงสองตนนั้น เป็นทูตของ
พระยายม กล่าวดังนี้ทีเดียว แล้วจับแขนนางเรวดี
คนละข้างนำเข้าไปใกล้หมู่เทวดา.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อิจฺเจว วตฺวาน ความว่า กล่าวดังนี้
ทีเดียว คือด้วยคำว่า จงลุกขึ้นเป็นต้น อธิบายว่า ต่อจากพูดนั้นนั่นแหละ.

บทว่า ยมสฺส ทูตา ความว่า เช่นทูตของพระยายม ผู้เที่ยงธรรมที่
ใคร ๆ ค้านไม่ได้. ความจริง ท้าวเวสวัณส่งเขาเหล่านั้นไป จริงอย่าง
นั้น พวกเขานำนางไปสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ อาจารย์บางพวกเชื่อม น อักษร
ในบทว่า น ยมสฺส ทูตา กับบทว่า ยมสฺส กล่าวเนื้อความว่า เป็น
ทูตของท้าวเวสวัณข้อนั้นไม่ถูก เพราะไม่สำเร็จความว่า ไม่ใช่ทูตของ
ท้าวเวสวัณ เพราะเป็นทูตของพระยายม ชื่อว่า ยักษ์ เพราะเป็นที่บูชา
คือนำเข้าไปซึ่งพลี. บทว่า โลหิตกฺขา แปลว่า มีนัยน์ตาแดง ความจริง
ยักษ์ทั้งหลายย่อมมีนัยน์ตาแดงจัด. บทว่า พฺรหนฺตา แปลว่า ใหญ่.
บทว่า ปจฺเจกพาหาสุ ความว่า ที่แขนคนละข้าง คือคนหนึ่งที่แขน
ข้างหนึ่ง อีกคนหนึ่งที่แขนอีกข้างหนึ่ง. บทว่า เรวตึ แปลว่า นางเรวดี
ชื่อของเธอว่า เรวตาก็มี สมจริงดังที่กล่าวไว้ว่า เรวเต ดังนี้. บทว่า
ปกฺกามยึสุ แปลว่า หลีกไปแล้ว ความว่า นำเข้าไปแล้ว. บทว่า
เทวคณสฺส ได้แก่ หมู่เทวดา ชั้นดาวดึงส์ เมื่อยักษ์เหล่านั้นนำไป
สวรรค์ชั้นดาวดึงส์แล้วพักไว้ใกล้ ๆ วิมานของนันทิยะอย่างนี้ นางเรวดี
เห็นวิมานนั้นสว่างจ้าเหลือเกิน เหมือนดวงอาทิตย์ จึงถามยักษ์เหล่านั้นว่า
วิมานงามมีรัศมีดังดวงอาทิตย์งามสว่างจ้า คลุม
ด้วยข่ายทองมีเทพอัปสรเกลื่อนกลาด นั่นเป็นวิมาน
ของใคร รุ่งเรืองเพียงแสงอาทิตย์ หมู่เทพนารีไล้ทา
ด้วยแก่นจันทน์ ทำวิมานให้งดงามทั้งสองด้าน วิมาน
นั้นปรากฏมีรัศมีเสมอดวงอาทิตย์ ใครขึ้นสวรรค์
บันเทิงอยู่ในวิมาน.

แม้ยักษ์เหล่านั้นก็ได้บอกแก่นางเรวดีว่า
ในกรุงพาราณสี มีอุบาสกชื่อนันทิยะ เป็นคน
ไม่ตระหนี่ เป็นทานบดี เป็นผู้รู้ถ้อยคำ วิมานที่มี
อัปสรเกลื่อนกลาด รุ่งเรืองเพียงแสงอาทิตย์ นี้เป็น
ของอุบาสกนั้น หมู่เทพนารีไล้ทาด้วยแก่นจันทน์ ทำ
วิมานให้งดงามทั้งสองด้าน วิมานนั้นปรากฏมีรัศมี
เสมอดวงอาทิตย์ นันทิยะอุบาสกนั้น ขึ้นสวรรค์
บันเทิงอยู่ในวิมาน.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จนฺทนสารลิตฺตา แปลว่า มีสรีระ
ไล้ทาด้วยแก่นจันทน์. บทว่า อุภโต วิมานํ ความว่า ทำวิมานให้งาม
ทั้งสองส่วน คือ ทั้งภายในและภายนอก เพราะประกอบด้วยสังคีตเป็นต้น.
ลำดับนั้น นางเรวดีกล่าวว่า
ดีฉันเป็นภรรยาของนันทิยะ เป็นเจ้าของเรือน
เป็นใหญ่ของตระกูลทั้งหมด บัดนี้ ดีฉันจักยินดีใน
วิมานของสามี ไม่ปรารถนาเห็นนรก.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อคารินี แปลว่า เป็นเจ้าของเรือน
อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ภริยา สคามินี ดังนี้ก็มี ความว่า ภริยาผู้
ร่วมทาง. บทว่า สพฺพกุลสฺส อิสฺสรา ภตฺตุ ความว่า ดีฉันเป็นใหญ่
คือเป็นเจ้าของทรัพย์ทั้งหมด ของนันทิยะผู้เป็นสามีของดีฉัน ฉะนั้น
นางเรวดีจึงกล่าวว่า แม้ในบัดนี้ ดีฉันจักเป็นใหญ่ในวิมาน. บทว่า

วิมาเน รมิสฺสามิ ทานานํ ความว่า ยักษ์เหล่านั้นนำนางเรวดีไปที่นั้น
ก็เพื่อเล้าโลมอย่างนี้เอง. บทว่า น ปตฺถเย นิรยํ ทสฺสนาย ความว่า
นางเรวดีกล่าวว่า ท่านทั้งหลายประสงค์จะนำดีฉันมานรกใด ดีฉันไม่
ปรารถนาแม้จะเห็นนรกนั้น ที่ไหนเล่าจะอยากเข้าไป.
ยักษ์ทั้งสองนำนางผู้กำลังกล่าวอยู่อย่างนั้นแหละ ไปใกล้นรก โดย
กล่าวว่า เจ้าจะปรารถนาหรือไม่ปรารถนาก็ตาม ไม่มีประโยชน์อะไรด้วย
การปรารถนาของเจ้า แล้วกล่าวคาถาว่า
แน่ะนางตัวชั่วร้าย นี้แหละนรกของเจ้า เจ้าไม่
ทำบุญในมนุษยโลก ด้วยว่าคนตระหนี่ โกรธเคือง
มีบาปธรรมย่อมไม่ได้ความเป็นสหายของผู้ขึ้นสวรรค์.

คาถานั้นมีเนื้อความว่า นี้แหละนรกของเจ้า คือเป็นสถานที่เจ้าจะ
พึงเสวยทุกข์ใหญ่ตลอดกาลนาน เพราะเหตุไร เพราะเจ้าไม่ทำบุญใน
มนุษยโลก ประกอบความว่า เพราะชื่อว่าบุญแม้มีประมาณน้อย เจ้ามิได้
ทำไว้ในมนุษยโลก อนึ่ง สัตว์เช่นเจ้า ไม่ทำบุญอย่างนี้แล้วยังตระหนี่
คือประกอบด้วยความตระหนี่ซึ่งมีลักษณะหวงแหนสมบัติของตน เป็นผู้
โกรธเคือง ด้วยการให้ความโกรธเคืองเกิดขึ้นแก่ผู้อื่น เป็นผู้มีบาปธรรม
เพราะพรั่งพร้อมด้วยบาปธรรมมีความโลภเป็นต้น ย่อมไม่ได้ความเป็น
สหาย คือภาวะร่วมกัน ของเทวดาทั้งหลายผู้เข้าถึงสวรรค์.
ก็แหละครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว ยักษ์สองคนนั้นได้อันตรธานไปในที่
นั้นเอง ฝ่ายนางเรวดีเห็นนิรยบาลสองนายคล้าย ๆ กัน กำลังฉุดคร่านาง
เพื่อใส่ในคูถนรกชื่อสังสวกะ จึงถามถึงนรกนั้นว่า

คูถมูตรและของไม่สะอาด เห็นกันได้เฉพาะ
หรือหนออุจจาระนี้มีกลิ่นเหม็นหรือมันฟุ้งไปได้หรือ.

เมื่อนิรยบาลกล่าวคำนั้นว่า
นรกนี้ชื่อสังสวกะ ลึกชั่วร้อยบุรุษ เป็นนรกที่
เจ้าจะต้องหมกไหม้อยู่หลายพันปี นะเรวดี.

นางถามถึงกรรมที่เป็นเหตุให้ตนบังเกิดในนรกนั้นว่า
ดีฉันทำกรรมชั่วด้วยกายวาจาใจหรือหนอ ดีฉัน
ได้นรกสังสรกะ ลึกชั่วร้อยบุรุษ เพราะบาปกรรม
อะไร.

นิรยบาลบอกกรรมนั้นของเธอว่า
เจ้าหลอกลวงสมณะ พราหมณ์ และวณิพก
ทั้งหลาย ด้วยมุสาวาท เจ้าทำบาปนั้นไว้

แล้วกล่าวอีกว่า
เพราะบาปกรรมนั้น เจ้าจึงได้นรกสังสวกะ
ลึกชั่วร้อยบุรุษ เจ้าจะต้องหมกไหม้อยู่ในนรกนั้น
หลายพันปี นะเรวดี.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สํสวโก นาม ความว่า ชื่อว่า
สังสวกะ เพราะของไม่สะอาดมีคูถและมูตรเป็นต้น หลั่งไหล คือไหลออก
ตลอดกาลเป็นนิจ สำหรับเจ้า มิใช่ได้นรกสังสวกะในที่นี้อย่างเดียว
เท่านั้น.

ลำดับนั้น เพื่อแสดงว่า นางหมกไหม้ในนรกนั้นหลายพันปีมิใช่
น้อยแล้วพ้นขึ้นมาได้ ยังถูกตัดมือเป็นต้นอีก นิรยบาลได้กล่าวถึงเหตุ-
การณ์ที่นางจะต้องได้ในนรกนั้นว่า
นิรยบาลทั้งหลายตัดมือและเท้าตัดหูและจมูก
และยังมีฝูงกามารุมจิกกินเจ้าที่ดิ้นรนอยู่.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กาโกลคณา แปลว่า ฝูงกา เล่ากันว่า
ฝูงกาเหล่านั้นรุมกันใช้จะงอยปากเหล็ก ประมาณเท่าลำตาล มีปลายคม
จิกกินที่ร่างประมาณสามคาวุตของนาง หลายร้อยครั้งหลายพันครั้ง
เนื้อในที่ที่ถูกควักเอาไป ก็เต็มอย่างเดิมด้วยพลังกรรม เพราะเหตุนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า กาโกลคณา สเมจฺจ สงฺคมฺม ขาทนฺติ วิผนฺทมานํ
ดังนี้.
นางเรวดีได้รำพันเพ้อต่อไปถึงเรื่องนั้น ๆ เช่นขอกลับมนุษยโลก
เป็นต้น เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวว่า
โปรดเถิด ขอท่านทั้งหลายช่วยนำดีฉันกลับ
ดีฉันจักกระทำบุญให้มาก ด้วยทาน สมจริยา
สัญญมะและทมะ ที่คนทั้งหลายทำแล้วจะมีความสุข
และไม่ต้องเดือดร้อนภายหลัง.

พวกนิรยบาลกล่าวอีกว่า
เมื่อก่อนเจ้าประมาทแล้ว บัดนี้คร่ำครวญอยู่
เจ้าจักเสวยวิบากแห่งกรรมทั้งหลาย ที่เจ้าทำไว้เอง.

นางเรวดีกล่าวอีกว่า

ใครจากเทวโลกไปสู่มนุษยโลก ถูกถามแล้ว
พึงกล่าวคำของดีฉันอย่างนี้ว่า ขอท่านทั้งหลายจง
ถวายทาน ผ้านุ่งห่ม ที่นอน ข้าว น้ำ ในสมณ-
พราหมณ์ผู้วางอาชญาแล้ว ด้วยว่าคนตระหนี่ โกรธ
เคือง มีบาปธรรม ย่อมไม่ได้ความเป็นสหายของ
ผู้ขึ้นสวรรค์.

ดีฉันนั้นไปจากที่นี้ ได้กำเนิดเป็นมนุษย์แล้ว
จักเป็นผู้รู้ถ้อยคำของผู้ขอทานสมบูรณ์ด้วยศีล จัก
กระทำกุศลให้มาก ด้วยทาน สมจริยา สัญญมะ
และทมะแน่.

ดีฉันจักปลูกต้นไม้ให้ร่มรื่น จักตัดทางเข้าไป
ในที่ที่เดินไปลำบาก จักขุดบ่อ และตั้งน้ำดื่มไว้
ด้วยใจที่ผ่องใส.

ดีฉันจักเข้าจำอุโบสถประกอบด้วยองค์ 8
ตลอด 14 ค่ำ 15 ค่ำ 8 ค่ำ แห่งปักษ์ และตลอด
ปาฏิหาริยปักษ์ สำรวมในศีลทุกเมื่อ และจักไม่
ประมาทในทาน ผลกรรมนี้ ดีฉันเห็นแล้วด้วย
ตนเอง.

ลำดับนั้น พวกนิรยบาลได้โยนนางเรวดีผู้กำลัง
รำพันเพ้อดิ้นรนอยู่อย่างนั้น จากที่นั้นลงนรกที่น่า
กลัว หัวลงดินตีนชี้ฟ้า ด้วยประการฉะนี้

นี้เป็นคำของพระสังคีติกาจารย์.

นางเรวดีได้กล่าวคาถาสุดท้ายอีกว่า
เมื่อก่อน ดีฉันได้เป็นคนตระหนี่ บริภาษ-
สมณพราหมณ์ และหลอกลวงสามีด้วยเรื่องไม่จริง
จึงหมกไหม้ในนรกที่น่ากลัว ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น คาถาว่า อหํ ปุเร มจฺฉรินี นี้ นางเรวดีผู้
บังเกิดในนรกกล่าว นอกนี้ พึงทราบว่านางยังไม่บังเกิดในนรกกล่าวไว้
คำที่เหลือ เข้าใจง่ายทั้งนั้นแล.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลเรื่องนางเรวดีถูกพวกยักษ์จับนำไป แด่พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสดับดังนั้นแล้ว ตรัสเรื่องนี้
ตั้งแต่ต้น ทรงแสดงพระธรรมโดยพิสดารยิ่งขึ้น จบเทศนา ชนเป็นอัน
มากได้บรรลุโสดาปัตติผลเป็นต้น เรื่องนี้ เรียกว่า เรวตีวิมาน เพราะ
โดยมากเป็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกับนางเรวดีโดยแท้ แต่เพราะนางเรวดีไม่ใช่
เทวดาที่มีวิมาน ทั้งเรื่องนี้ก็ประกอบด้วยสมบัติมีวิมานของนันทิยเทพบุตร
เป็นต้น ฉะนั้น พระสังคีติกาจารย์จึงยกขึ้นสู่สังคายนาไว้ในฝ่ายปุริสวิมาน
นั้นแล บัณฑิตพึงทราบดังนี้.
จบอรรถกถาเรวตีวิมาน

3. ฉัตตมาณวกวิมาน


ว่าด้วยฉัตตมาณวกวิมาน


พระผู้มีพระภาคเจ้า

ตรัสกะฉัตตมาณพว่า
[53] บรรดาผู้กล่าวสอนอยู่ (ศาสดา) ผู้ใด
เป็นผู้ประเสริฐในมนุษย์ เป็นศากยมุนี เป็นภควา
ผู้ทำกิจเสร็จแล้ว ถึงฝั่งแล้ว พรั่งพร้อมด้วยพละและ
วิริยะ เธอจงเข้าถึงผู้นั้น ผู้เป็นสุคต เป็นสรณะ เธอ
จงเข้าถึงพระธรรมที่สำรอกราคะ ไม่หวั่นไหว ไม่
เศร้าโศก เป็นอสังขตธรรม ไม่ปฏิกูล ไพเราะ
ซื่อตรง จำแนกไว้ นี้เป็นสรณะ บัณฑิตทั้งหลาย
กล่าวทานที่ถวายในท่านเหล่าใดว่ามีผลมาก ท่าน
เหล่านั้น คือ อริยบุคคลสี่คู้ เป็นบุคคลแปด ผู้แสดง
ธรรม เธอจงเข้าถึงพระสงฆ์นี้เป็นสรณะ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามเทพบุตรว่า
พระอาทิตย์ในท้องฟ้าก็ไม่สว่าง พระจันทร์ก็
ไม่สว่าง ดาวฤกษ์ผุสสะก็ไม่สว่างเหมือนวิมานนี้ มี
รัศมีสว่างมากไม่มีทีเปรียบ ท่านเป็นใคร จากดาว-
ดึงส์มาสู่แผ่นดิน มีรัศมีเกิน 20 โยชน์ ตัดรังสี
พระอาทิตย์ และทำกลางคืนให้เป็นเหมือนกลางวัน
วิมานของท่านงามบริสุทธิ์ผุดผ่อง มีดอกปทุมมาก
มีดอกบุณฑิกงาม เกลื่อนกลาดไปด้วยดอกไม้