เมนู

อนึ่ง ในวันอุโบสถ หม่อมฉันมีใจเลื่อมรสได้
ถือเอาดอกไม้ของหอม และเครื่องลูบไล้ไปบูชาพระ-
สถูปด้วยมือของตนเอง.

ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมเทพ รูป คติ ฤทธิ์
และอานุถาพ เช่นนี้ มีขึ้นแก่หม่อมฉันเพราะกรรม
นั้น มิใช่ว่าผลที่หม่อมฉันบูชาพระสถูปด้วยพวงมาลัย
และที่หม่อมฉันได้รักษาศีลจะให้ผลเท่านั้นก็หามิได้
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมเทพ หม่อมฉันยังได้เป็น
พระสกทาคามี ตามความหวังของหม่อมฉันอีกด้วย.

จบวิสาลักขิวิมาน

อรรถกถาวิสาลักขิวิมาน


วิสาลักขิวิมาน มีคาถาว่า กา นาม ตฺวํ วิสาลกฺขิ ดังนี้ เป็นต้น.
วิสาลักขิวิมานนั้นเกิดขึ้นอย่างไร ?
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้ว พระเจ้าอชาตสัตตุทรง
รับพระบรมสารีริกธาตุของพระผู้มีพระภาคเจ้า ที่พระองค์ได้รับมาสร้าง
พระสถูป และฉลองในกรุงราชคฤห์ ลูกสาวช่างทำดอกไม้คนหนึ่งอยู่กรุง
ราชคฤห์ ชื่อสุนันทา เป็นอุบาสิกา เป็นอริยสาวิกา บรรลุโสดาบัน ได้สั่ง
พวงมาลัยและของหอมเป็นอันมากที่ส่งมาจากเรือนของบิดา ทำการบูชา
พระเจดีย์ทุก ๆ วัน. ทุกวันอุโบสถนางได้ไปทำการบูชาด้วยตนเอง.

ต่อมานางมีโรคอย่างหนึ่ง เบียดเบียนถึงแก่กรรม ได้ไปเกิดเป็น
บริจาริกาของท้าวสักกเทวราช. วันหนึ่ง นางได้เข้าไปยังสวนจิตรลดา
กับท้าวสักกะจอมเทพ. ณ ที่นั้น รัศมีของทวยเทพเหล่าอื่นถูกรัศมีของ
ดอกไม้เป็นต้นกำจัด มีสีวิจิตรตระการตายิ่งนัก. แต่รัศมีของเทพธิดา
สุนันทามิได้ถูกรัศมีดอกไม้เหล่านั้นครอบงำ คงอยู่เหมือนเดิม. ท้าวสักก-
เทวราชทรงเห็นดังนั้น มีพระประสงค์จะรู้สุจริตกรรมที่เทพธิดานั้นทำมา
จึงได้สอบถามด้วยคาถาเหล่านี้ว่า
ดูก่อนแม่เทพธิดาผู้มีตางาม เธอชื่อไร จึงได้
มีหมู่นางฟ้าแวดล้อม เดินวนเวียนอยู่รอบ ๆ ในสวน
จิตรลดาอันน่ารื่นรมย์ ในคราวที่พวกเทวดาชั้น
ดาวดึงส์ ล้วนแต่ขึ้นน้ำขึ้นรถตกแต่งร่างกายงดงาม
เข้าไปยังสวนนั้นแล้วจึงมาในที่นี้.

แต่เมื่อเธอมา พอมาถึงที่นี้กำลังเที่ยวในสวน
รัศมีก็สว่างไสวไปทั้งสวนจิตรลดา แสงสว่างของสวน
มิได้ปรากฏ รัศมีของเธอมาข่มเสีย ดูก่อนแม่เทพธิดา
ฉันถามเธอแล้ว ขอเธอจงบอกว่า นี้เป็นผลของกรรม
อะไร.

ในบทเหล่านั้น บทว่า กา นาม ตฺวํ คือ ในอัตภาพก่อน เธอ
ชื่ออะไร. อธิบายว่า สมบัติคืออานุภาพเช่นนี้ของเธอได้มีขึ้นเพราะทำ
ความดีไว้ ณ ที่ใด. บทว่า วิสาลกฺขิ คือ ผู้มีตางาม.
บทว่า ยทา คือ ในกาลใด. บทว่า อิมํ วนํ ได้แก่ ใกล้สวน

นี้มีชื่อว่า จิตรลดาวัน. บทว่า จิตฺรา โหนฺติ ได้แก่ ชื่อว่ามีลักษณะ
สวยงาม เพราะถึงพร้อมด้วยความวิเศษแม้จากแสงสว่างตามปกติ ของ
เครื่องประดับสรีระและผ้าเป็นต้นของตนโดยเคล้ากับรัศมีอันวิจิตรในสวน
จิตรลดานี้. บทว่า อิธาคตา ได้แก่ มา คือ ถึงพร้อมกันในที่นี้ หรือว่า
เป็นเหตุแห่งการมาถึงในที่นี้.
บทว่า อิธ ปตฺตาย คือ เมื่อเทพธิดาเข้ามาถึงที่นี้. บทว่า เกน
รูปํ ตเวทิสํ
ความว่า เพราะเหตุไร รูป คือ สรีระของเธอจึงเป็นเช่นนี้
คือมีรูปอย่างนี้. อธิบายว่า รูปของเธอข่มรัศมีสวนจิตรลดาจนหมด.
ครั้นท้าวสักกะตรัสถามอย่างนี้แล้ว เทพธิดานั้นจึงได้ตอบด้วยคาถา
เหล่านี้ว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมเทพผู้ทรงบำเพ็ญทาน
มาแต่กาลก่อน รูป คติ ฤทธิ์ และอานุภาพของ
หม่อมฉันมีขึ้นด้วยกรรมใด ขอพระองค์จงทรงสดับ
กรรมนั้นเถิด.

หม่อมฉันชื่อสุนันทา เป็นอุบาสิกาอยู่ใรนกรุง
ราชคฤห์อันน่ารื่นรมย์ ถึงพร้อมด้วยศรัทธาและศีล
ยินดีในการแจกจ่ายทานทุกเมื่อ หม่อมฉันมีใจเลื่อม
ใสในท่านผู้ประพฤติตรง จึงได้ถวายผ้านุ่งห่ม ภัตตา-
หาร เสนาสนะ และประทีป ทั้งได้รักษาอุโบสถอัน
ประกอบด้วยองค์ 8 ประการ ตลอด 14 ค่ำ 15 ค่ำ
และ 8 ค่ำ แห่งปักษ์ และตลอดปาฏิหาริยปักษ์

เป็นผู้สำรวมอยู่ในศีล 5 เป็นนิตย์ คือ เว้นจากการ
ฆ่าสัตว์ เร้นจากการพูดเท็จ จากการเป็นขโมย จาก
การประพฤตินอกใจ ไกลจากการดื่มน้ำเมา เป็นผู้
ฉลาดในอริยสัจจธรรม เป็นอุบาสิกาของพระโคดม
ผู้มีจักษุ ผู้มียศ ทาสีจากตระกูลญาติของหม่อมฉัน
นำดอกไม้มาให้ทุกวัน หม่อมฉันได้บูชาที่สถูปของ
พระผู้มีพระภาคเจ้าทุกวัน อนึ่ง ในวันอุโบสถหม่อม
ฉันมีใจเลื่อมใสได้ถือเอาดอกไม้ของหอม และเครื่อง
ลูบไล้ไปบูชาพระสถูปด้วยมือของตนเอง.

ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมเทพ รูป คติ ฤทธิ์
และอานุภาพเช่นนี้ มีขึ้นแก่หม่อมฉันเพราะกรรม
นั้น มิใช่ว่าผลที่หม่อมฉันได้บูชาพระสถูปด้วยพวง
มาลัย และที่หม่อมฉันได้รักษาศีลจะให้ผลเท่านั้น
ก็หามิได้ ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมเทพ หม่อมฉัน
ยังได้เป็นสกทาคามี ตามความหวังของหม่อมฉัน
อีกด้วย.

ในบทเหล่านั้น บทว่า คติ ได้แก่ เทวคตินี้ หรือการเกิด. บทว่า
อิทฺธิ ได้แก่ เทพฤทธิ์นี้ หรือความสำเร็จสิ่งที่ประสงค์. บทว่า อานุ-
ภาโว
ได้แก่ อำนาจ. เทพธิดาเรียกท้าวสักกะว่า ปุรินททะ เพราะท้าว
สักกะนั้นได้ให้ทานมาในกาลก่อน จึงเรียกว่า ปุรินททะ.
บทว่า ญาติกุลํ เทพธิดากล่าวหมายถึงเรือนของบิดา. บทว่า

สทา มาลาภิหารติ ความว่า ทาสีจากตระกูลญาติได้นำดอกไม้มาให้
หม่อมฉันทุก ๆ วันตลอดเวลา. บทว่า สพฺพเมวาภิโรปยึ ความว่า
หม่อมฉัน มิได้ใช้ดอกไม้และของอื่น ๆ ทุกชนิดมีของหอมเป็นต้น ที่
ทาสีนำมาจากเรือนของบิดาเพื่อประดับหม่อมฉันด้วยตนเอง แต่ได้นำไป
บูชาพระสถูปของพระผู้มีพระภาคเจ้า. บทว่า อุโปสเถ จหํ คนฺตฺวา
ความว่า ในวันอุโบสถหม่อมฉันไปยังที่ตั้งพระสถูป. บทว่า ยํ มาลํ
อภิโรปยึ
ความว่า ด้วยกรรมที่หม่อมฉันได้บูชาดอกไม้และของหอมที่
พระสถูปของพระผู้มีพระภาคเจ้าในครั้งนั้น. โยชนาแก้เป็น เตน กมฺเมน
คือ ด้วยกรรมนั้น.
บทว่า น ตํ ตาว วิปจฺจติ ความว่า หม่อมฉันเป็นผู้มีศีล. การ
รักษาศีลนั้น คือ ศีลที่หม่อมฉันรักษานั้นยังไม่ให้โอกาสที่จะได้ผลด้วยกำลัง
ของบุญอันสำเร็จด้วยการบูชาก่อน คือ ยังไม่เริ่มให้ผล. อธิบายว่า ใน
อัตภาพต่อไป กรรมนั้นจึงจะมีผล.
บทว่า อาสา จ ปน เม เทวินฺท สกทาคามินี สิยํ ความว่า
ข้าแต่จอมเทพ ก็ความปรารถนาของหม่อนฉันว่า หม่อมฉันจะพึงเป็น
สกทาคานีได้อย่างไรหนอ เป็นความปรารถนาเพื่ออริยธรรม มิใช่
ปรารถนาเพื่อภพอันวิเศษ. เทพธิดาแสดงว่า ความปรารถนานั้นยังไม่
สำเร็จเหมือนเนยใสที่หุงจากนมส้มตามต้องการ. บทที่เหลือมีนัยนี้เหมือน
กัน.
ท้าวสักกะจอมเทพได้ทรงบอกความนั้นแก่ท่านพระวังคีสเถระ ตาม
นัยที่พระองค์และเทพธิดานั้นกล่าวแล้ว. ท่านพระวังคีสะได้บอกแก่พระ-

มหาเถระทั้งหลายผู้เป็นพระธรรมสังคาหกาจารย์ ครั้งทำสังคายนา. พระ-
มหาเถระเหล่านั้นได้ยกเรื่องนั้นขึ้นสู่การสังคายนา ด้วยประการนั้นเอง.
จบอรรถกถาวิสาลักขิวิมาน

10. ปริฉัตตกวิมาน


ว่าด้วยปาริฉัตตกวิมาน


พระมหาโมคคัลลานเถระ

ถามนางเทพธิดาองค์หนึ่งว่า
[38] ดูก่อนเทพธิดา ท่านมาเก็บดอกไม้สวรรค์
ปาริฉัตตกะ หอมหวนน่ารื่นรมย์มาร้อยกรองเป็นพวง
มาลัยทิพย์ ขันร้องสำเริงอยู่ เมื่อท่านกำลังฟ้อนรำอยู่
เสียงทิพย์น่าฟังวังเวงใจ เปล่งออกมาจากอวัยวะ
น้อยใหญ่พร้อม ๆ กัน ทั้งกลิ่นทิพย์หอมหวนยวนใจ
ก็ฟุ้งออกจากอวัยวะน้อยใหญ่ทุก ๆ ส่วน เมื่อท่าน
ไหวกายไปมา เสียงเครื่องประดับอันท่านประดับไว้ที่
ช้องผมทุก ๆ ส่วน ถูกลมพัดมาต้องเข้าก็เปล่งเสียง
ไพเราะคล้ายดนตรีเครื่อง 5.

อนึ่ง เสียงมาลัยประดับเศียรที่ถูกลมพัดต้อง
เข้าแล้ว ก็กังวานไพเราะคล้ายกับเสียงดนตรีเครื่อง 5
แม้กลิ่นดอกไม้ที่ท่านสอดแซมไว้บนผมก็มีกลิ่นหอม
หวน น่าชื่นใจ ฟุ้งไปทั่วทุกทิศ ดุจไม้สวรรค์ฉะนั้น