เมนู

อรรถกถาทัททัลลวิมาน


ทัททัลลวิมาน มีคาถาว่า ททฺทลฺลมานา วณฺเณน ดังนี้เป็นต้น.
ทัททัลลวิมานนั้นเกิดขึ้นอย่างไร ?
พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ เชตวันมหาวิหาร อารามของ
อนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้กรุงสาวัตถี. ก็สมัยนั้น กุฎุมพีคนหนึ่งเป็น
อุปัฏฐากของท่านพระเรวตเถระ จากนาลกคาม ได้มีธิดาสองคน คนหนึ่ง
ชื่อ ภัททา อีกคนหนึ่งชื่อ สุภัททา. ในธิดาสองคนนั้น นางภัททาไปสู่
ตระกูลสามี นางมีศรัทธาเลื่อมใสฉลาด และเป็นหมัน. นางภัททาพูดกะ
สามีว่าฉันมีน้องสาวอยู่คนหนึ่ง ชื่อสุภัททา พี่ไปนำเขามาเถิด หากน้อง
สุภัททานั้นพึงมีบุตร บุตรนั้นก็จะเป็นบุตรของฉันด้วย และวงศ์ตระกูล
นี้ก็จะไม่สูญ. สามีรับคำได้ทำตามที่ภรรยาบอก.
จึงนางภัททาได้สอนนางสุภัททาว่า น้องสุภัททา น้องต้องยินดีใน
การแจกทาน ไม่ประมาทในการประพฤติธรรม ด้วยอาการอย่างนี้
ประโยชน์ในปัจจุบันและสัมปรายภพ ก็จะอยู่ในเงื้อมมือของน้องแน่นอน.
นางสุภัททาตั้งอยู่ในโอวาทของพี่สาว ปฏิบัติตามที่พี่สาวสอน วันหนึ่ง
นางนินนท์ท่านพระเรวตเถระ เป็นรูปที่ 8 พระเถระหวังให้นางสุภัททา
สร้างสมบุญจึงพาภิกษุ 7 รูป โดยเป็นองค์สงฆ์ ไปเรือนของนาง. นาง
สุภัททามีจิตเลื่อมใส อังคาสท่านพระเรวตเถระและภิกษุเหล่านั้นด้วยของ
เคี้ยว ของบริโภคด้วยน้ำมือของตนเอง. พระเถระทำอนุโมทนาแล้วกลับ
ครั้นต่อมา นางสุภัททาถึงแก่กรรมไปเกิดเป็นสหายกับเทวดาชั้นนิมมานรดี.
ส่วนนางภัททาได้ให้ทานในบุคคลทั้งหลาย แล้วก็ไปเกิดเป็นบริจาริกา
ของท้าวสักกะจอมเทพ .

ครั้งนั้น นางสุภัททาพิจารณาถึงสมบัติของตนครุ่นคิดอยู่ว่า เรามา
เกิดในสวรรค์นี้ด้วยบุญอะไรหนอ จึงเห็นว่า เราตั้งอยู่ในโอวาทของพี่
ภัททา จึงประสบสมบัตินี้ด้วยทักษิณาที่มุ่งไปในสงฆ์ พี่ภัททาไปเกิดที่
ไหนหนอ ได้เห็นนางภัททานั้นไปเกิดเป็นบริจาริกาของท้าวสักกะ จึง
หวังจะอนุเคราะห์ ได้เข้าไปยังวิมานของนางภัททาเทพธิดา.
นางภัททาเทพธิดา จึงถามนางสุภัททาเทพธิดา ด้วยคาถา 2
คาถาว่า
ท่านรุ่งเรืองด้วยรัศมี ทั้งเป็นผู้เรื่องยศ ย่อม
รุ่งโรจน์เกินทวยเทพชั้นดาวดึงส์ทั้งหมด ด้วยรัศมี
ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นท่าน เพิ่งจะมาเห็นในวันนี้ เป็น
ครั้งแรก ท่านมาจากเทวโลกชั้นไหน จึงได้เรียก
ข้าพเจ้าโดยชื่อเดิมว่า ภัททา ดังนี้เล่า.

นางสุภัททาเทพธิดาจึงบอกแก่นางภัททาเทพธิดา ด้วยคาถา 2
คาถาว่า
พี่ภัททา น้องชื่อสุภัททา ในภพครั้งยังเป็น
มนุษย์อยู่ น้องได้เป็นน้องสาวของพี่ทั้งได้เป็นภรรยา
ร่วมสามีกันกับพี่ด้วย น้องตายจากมนุษยโลกนั้นมา
แล้ว ได้มาเถิดเป็นเทพธิดา ร่วมกับเทวดาชั้นนิม-
มานรดี.

ในบทเหล่านั้น บทว่า วณฺเณน ได้แก่ สมบัติมีวรรณะเป็นต้น.
บทว่า ทสฺสนํ นาภิชานามิ ได้แก่ ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นท่านมาก่อนเลย.

อธิบายว่า ท่านอันเราไม่เคยเห็น. ด้วยเหตุนั้น นางภัตทาเทพธิดาจึง
กล่าวว่า อิทํ ปฐมทสฺสนํ นี่เป็นการเห็นครั้งแรก. บทว่า กสฺมา
กายา นุ อาคมฺม นาเมน ภาสเส มมํ
ความว่า ท่านมาจากเทวโลก
ชั้นไหน จึงเรียกชื่อเดิมข้าพเจ้าว่า ภัททา.
บทว่า ภทฺเท ในบทว่า อหํ ภทฺเท นี้ เป็นอาลปนะ. บทว่า
สุภทฺทาทาสี ความว่า ข้าพเจ้าเคยเป็นน้องสาวของท่าน ชื่อสุภัททา.
อธิบายว่า ในภพครั้งยังเป็นมนุษย์อยู่ น้องเป็นภรรยาร่วมสามีเดียวกัน
กับพี่ คือเป็นภรรยามีสามีคนเดียวกัน.
นางภัททาเทพธิดา จึงถามต่อไปด้วยคาถา 3 คาถาว่า
แม่สุภัททา เธอจงบอกถึงการอุบัติของเธอใน
หมู่เทพเจ้าเหล่านิมมานรดี ซึ่งเป็นที่ที่สัตว์ทั้งหลาย
ได้สั่งสมบุญไว้อย่างเพียงพอ จึงจะมาบังเกิดได้ เธอ
ได้มาบังเกิดในที่นี้ เพราะทำบุญสิ่งใดไว้ และใคร
เป็นผู้สั่งสอน เธอเป็นผู้รุ่งเรืองยศ และถึงความสุข
พิเศษไพบูลย์ถึงเช่นนี้ เพราะได้ให้ทานและรักษาศีล
เช่นไรไว้ แม่เทพธิดา ฉันถามเธอแล้ว นี่เป็นผลแห่ง
กรรมอะไร โปรดบอกฉันด้วย.

นางสุภัททาเทพธิดาตอบว่า
เมื่อชาติก่อน ฉันมีใจเลื่อมใส ได้ถวายบิณฑ-
บาต 8 ที่ แก่สงฆ์ผู้เป็นทักขิไณยบุคคล 8 รูป ด้วย
มือของตนเอง เพราะบุญกรรมนั้น ดีฉันจึงมีวรรณะ
งามเช่นนี้ ฯ ล ฯ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ปหูตถตกลฺยาณา เต เทเว ยนฺติ ความว่า
สัตว์มีชีวิตทั้งหลายต้องทำความดีไว้มาก คือ มีบุญมาก จึงจะไป คือไปเกิด
ในสวรรค์ชั้นนิมมานรดี. โยชนาแก้ว่า เธอจงบอกกล่าวการอุบัติของตน
ในระหว่างเทพเจ้าเหล่านิมมานรดีทั้งหลายใด.
บทว่า เกน วณฺเณน ได้แก่ เหตุอะไร. เอวศัพท์ในบทว่า
กีทิเสเนว เป็นสมุจจยัตถะ (มีความรวม) ได้แก่ เช่นไร. ปาฐะว่า
อยเมว วา หรือว่านี้แล. บทว่า สุพฺพเตน คือมีวัตรงาม. อธิบายว่า
มีศีลบริสุทธิ์เป็นอย่างดี.
บทว่า อฏฺเฐว ปิณฺฑปาตานิ นางสุภัททาเทพธิดากล่าวหมายถึง
บิณฑบาตที่ถวายแก่ภิกษุ 8 รูป. บทว่า อททํ แปลว่า ได้ถวายแล้ว.
เมื่อนางสุภัททาเทพธิดา บอกอย่างนี้แล้ว นางภัททาเทพธิดา จึง
ถามต่อไปว่า
พี่ได้อังคาสภิกษุทั้งหลาย ผู้สำรวม ประพฤติ
พรหมจรรย์ ด้วยข้าวและน้ำ ด้วยมือของตนเองมาก
กว่าเธอ ครั้นถวายทานมากกว่าเธอแล้ว ก็ยังเกิด
ในเหล่าเทพเจ้าต่ำกว่าเธอ ส่วนเธอได้ถวายเพียง
เล็กน้อย ทำไมจึงได้รับผลวิเศษไพบูลย์เช่นนี้เล่า
ดูก่อนเทพธิดา ฉันถามเธอแล้ว จงบอกว่านี่เป็นผล
กรรมอะไร.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ตยา เป็นตติยาวิภัตติลงในอรรถปัญจมีวิภัตติ.
นางสุภัททาได้บอกถึงกรรมที่ตนทำต่อไปว่า
เมื่อชาติก่อน ฉันได้เห็นภิกษุผู้อบรมจิตใจ

จึงได้นิมนต์ท่านรวม 8 รูป มีพระเรวตเถระเป็น
ประธานด้วยภัตตาหาร พระเรวตเถระมุ่งจะให้เกิด
ประโยชน์ เพื่ออนุเคราะห์แก่ฉัน จึงบอกฉันว่า จง
ถวายสงฆ์เถิด ฉันได้ทำตามคำของท่าน ทักขิณา
นั้นจึงเป็นสังฆทานอันตั้งไว้ ในสงฆ์ซึ่งหาประมาณ
มิได้ ส่วนทานที่พี่ได้ถวายแก่ภิกษุเป็นรายบุคคล จึง
มีผลไม่มาก.

ในบทเหล่านั้น บทว่า มโนภาวนีโย ได้แก่ ยังใจให้เจริญ คืออบรม
เพื่อคุณอันยิ่ง. บทว่า สนฺทิฏฺฐ ได้แก่ บอกกล่าวด้วยนิมนต์. ด้วยเหตุ
นั้น นางสุภัททาเทพธิดาจึงกล่าวว่า ตาหํ ภตฺเตน นิมนฺเตสึ เรวตํ
อตฺตนฏฺฐมํ
ความว่า ได้นิมนต์ภิกษุ 8 รูป มีพระเรวตเถระเป็นประธาน
ด้วยภัตตาหาร ความว่า ฉันนิมนต์พระคุณเจ้าเรวตะผู้อบรมใจนั้น รวม
8 รูป กับท่าน ด้วยภัตร.
บทว่า โส เม อตฺถปุเรกฺขาโร ความว่า พระคุณเจ้าเรวตะนั้น มุ่ง
จะให้เกิดประโยชน์ คือ แสวงหาประโยชน์เพื่อฉัน โดยการทำทานที่มี
ผลมาก. บทว่า สงฺเฆ เทหีติ มํ อโวจ ความว่า พระคุณเจ้าเรวตะ
ได้บอกฉันว่า ดูก่อนสุภัททา หากว่าท่านประสงค์จะถวายทานแก่ภิกษุ
8 รูปไซร้ เพราะการถวายทานที่เป็นไปในสงฆ์มีผลมากกว่าการถวายทาน
ที่เป็นไปในบุคคล ฉะนั้น ท่านจงถวายทานในสงฆ์เถิด จงถวายทาน
เฉพาะสงฆ์เถิด ดังนี้. บทว่า ตํ คือ ทานนั้น.
เมื่อนางสุภัททาเทพธิดากล่าวอย่างนี้แล้ว นางภัททาเทพธิดา เมื่อ

จะรับรองความข้อนั้น และประสงค์จะปฏิบัติอย่างนั้นให้ยิ่ง ๆ ขึ้น จึง
กล่าวคาถาว่า
พี่เพิ่งรู้เดี๋ยวนี้เองว่า การถวายสังฆทานมีผลมาก
หากพี่ไปเกิดเป็นมนุษย์อีก จักเป็นผู้รู้ความประสงค์
ของผู้ขอ จักเป็นผู้ปราศจากความตระหนี่ ถวาย
สังฆทานและไม่ประมาทเป็นนิจ.

ส่วนนางสุภัททาเทพธิดาก็กลับไปสู่เทวโลกของตน. ลำดับนั้น
ท้าวสักกะจอมเทพ ทอดพระเนตรเห็นนางสุภัททาเทพธิดา รุ่งเรือง
ครอบงำทวยเทพชั้นดาวดึงส์ทั้งหมดด้วยรัศมีแห่งสรีระ และได้สดับการ
สนทนาของเทพธิดาทั้งสอง เมื่อนางสุภัททาเทพธิดาหายไปในทันใดนั้น
เอง เมื่อไม่รู้จักชื่อ จึงตรัสถามนางภัททาเทพธิดาว่า
ดูก่อนนางภัททา เทพธิดาผู้นั้นเป็นใคร มา
สนทนาอยู่กับเธอ มีรัศมีรุ่งโรจน์กว่าเทวดาชั้น
ดาวดึงส์ทั้งหมด.

นางภัททาเทพธิดาจึงทูลแด่ท้าวสักกะว่า
ขอเดชะ ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมเทพ เทพธิดา
ผู้นั้น เมื่อชาติก่อนเป็นมนุษย์อยู่ในมนุษยโลก เป็น
น้องสาวของหม่อมฉัน และยังเคยร่วมสามีเดียวกัน
กับหม่อมฉันด้วย เธอทำบุญถวายสังฆทานจึงรุ่งเรือง
ถึงเพียงนี้ เพคะ.

จึงท้าวสักกะเมื่อจะสรรเสริญความที่สังฆทานมีผลมากจึงตรัสว่า

ดูก่อนนางภัททา น้องสาวของเธอรุ่งเรืองกว่า
เธอ ก็เพราะในชาติก่อนได้ถวายสังฆทานซึ่งมีผลไม่
มี่ที่เปรียบได้ ความจริง ฉันได้ทูลถามพระพุทธเจ้า
ครั้งประทับอยู่ ณ ภูเขาคิชฌกูฏ ถึงผลแห่งไทยธรรม
ที่ให้แล้วในเขตที่มีผลมากของมนุษย์ทั้งหลายผู้มุ่งบุญ
ให้ทานอยู่ หรือทำบุญปรารภเหตุแห่งการเวียนเกิด
เวียนตาย จะถวายในบุคคลประเภทใด จึงจะมีผล
มาก. พระพุทธเจ้าตรัสตอบข้อความนั้นแก่ฉันอย่าง
แจ่มแจ้ง ถึงผลแห่งการถวายทานในเขตที่มีผลมาก
กว่า ท่านผู้ปฏิบัติอริยมรรค 4 และท่านผู้ตั้งอยู่ใน
อริยผล 4 ชื่อว่าสงฆ์เป็นผู้ปฏิบัติตรง ตั้งมั่นอยู่ใน
ปัญญาและศีล เมื่อมนุษย์ทั้งหลายผู้มุ่งบุญถวายทาน
ในท่านเหล่านี้ หรือทำบุญปรารภการเวียนเกิดเวียน
ตาย ทานที่ถวายในสงฆ์ย่อมมีผลมาก.

พระสงฆ์แลเป็นผู้มีคุณยิ่งใหญ่ไพบูลย์ ไม่มีที่
เปรียบได้ เหมือนทะเลยากที่จะคาดคะเนได้ว่ามีน้ำ
เท่านี้ ๆ ได้. ฉะนั้น พระสงฆ์เหล่านี้แลเป็นผู้ประ-
เสริฐสุด เป็นสาวกของพระพุทธเจ้าผู้มีความเพียร
เป็นเยี่ยมในหมู่นรชน เป็นผู้ทำแสงสว่าง ได้แก่นำแสง
สว่าง คือพระสัทธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงประกาศแล้ว
มาชี้แจง เขาเหล่าใดถวายทานมุ่งตรงต่อสงฆ์ ทักขิณา
ของเขาเหล่านั้น ชื่อว่าเป็นทักขิณาที่ถวายดีแล้ว เช่น

สรวงดีแล้ว บูชาชอบแล้ว เพราะทักขิณานั้นจัดเป็น
สังฆทาน มีผลมาก อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้รู้แจ้ง
โลก ทรงสรรเสริญ ชนเหล่าใดยังท่องเที่ยวอยู่ในโลก
ระลึกถึงบุญเช่นนี้ได้ กำจัดมลทิน คือความตระหนี่
พร้อมด้วยรากเหง้า ไม่มีใครติเตียนได้ ชนเหล่านั้น
ย่อมเข้าถึงฐานะอันเป็นสวรรค์.

ในบทเหล่านั้น บทว่า ธมฺเมน คือ โดยเหตุ หรือโดยความถูกต้อง.
บทว่า ตยา เป็นตติยาวิภัตติลงในอรรถแห่งปัญจมีวิภัตติ.
บัดนี้ท้าวสักกะเมื่อจะทรงแสดงถึงเหตุที่กล่าวว่า ธมฺเมน ดังนี้นั้น
จึงตรัสว่า ยํ สงฺฆสฺมึ อปฺปเมยฺเย ปติฏฺฐาเปสิ ทกฺขิณํ การถวาย
สังฆทานไม่มีอะไรเปรียบได้. บทว่า อปฺปเมยฺเย ได้แก่ ไม่อาจคาด
คะเนด้วยคุณภาพ และผลวิเศษของการกบุคคลที่ถวายในท่านได้.
ท้าวสักกะเมื่อจะทรงแสดงว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสดับความนี้
เฉพาะพระพักตร์ และทรงกำหนดเฉพาะพระพักตร์ จึงตรัสคำมีอาทิว่า
ปุจฺฉิโต ฉันได้ทูลถามแล้ว ดังนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ยชมานานํ คือ ให้อยู่. แสดงถึงการ
ลบนิคหิต ในบทว่า ปุญฺญเปกฺขาน ปาณินํ ได้แก่ ของสัตว์ทั้งหลาย
ผู้หวังผลแห่งบุญ. บทว่า โอปธิกํ คือ ขันธ์ 5 ชื่ออุปธิ ชื่อว่า โอปธิกะ
เพราะสร้างขันธ์ 5 เป็นปกติ หรือขวนขวายให้เกิดขันธ์ ได้แก่ ให้เกิด
อัตภาพ คือให้วิบากอันเป็นไปในปฏิสนธิ.
บทว่า ชานํ กมฺมผลํ สกํ ได้แก่ รู้บุญและผลแห่งบุญของสัตว์

ทั้งหลายด้วยตนเอง ดุจมะขามป้อมบนฝ่ามือฉะนั้น หรือบทว่า สกํ ท่าน
แผลง เป็น อธิบายว่า สยํ อตฺตนา คือด้วยตนเอง.
บทว่า ปฏิปนฺนา ได้แก่ ปฏิบัติอยู่ คือทั้งอยู่ในมรรค. บทว่า
อุชุภูโต ได้แก่ ทักขิไณยบุคคลผู้ถึงความเป็นผู้ตรงด้วยการปฏิบัติตรง.
บทว่า ปญฺญาสฺลสมาหิโต ได้แก่ ตั้งมั่นแล้วด้วยปัญญาและศีล เป็น
ผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิและศีล คือประกอบแล้วด้วยทิฏฐิอันเป็นอริยะ และ
ด้วยศีลอันเป็นอริยะ. ท่านชี้ถึงความเป็นสงฆ์ชั้นเยี่ยมของผู้ถึงพร้อมด้วย
ทิฏฐิและศีลนั้น ด้วยบทว่า อุชุภูโต นั้น. ก็ชื่อว่า สงฆ์ เพราะสืบ
ต่อกันมาด้วยทิฏฐิและศีลเสมอกัน. อีกอย่างหนึ่ง จิตตั้งมั่นแล้ว เป็นสมาธิ.
ชื่อว่า ปญฺญาสีลสมาหิโต เพราะมีปัญญา ศีล และสมาธิ. ท่านชี้ถึง
ความเป็นทักขิไณยบุคคลของสงฆ์นั้นเพราะเป็นผู้ถึงพร้อมแล้วด้วยไตร-
สิกขา เป็นต้น ด้วยบทว่า ปญฺญาสีลสมาหิโต นั้น.
บทว่า วิปุโล มหคฺคโต ชื่อว่า มหัคคตะ เพราะพระสงฆ์ถึง
ความเป็นผู้ยิ่งใหญ่ด้วยคุณทั้งหลาย. ชื่อว่า วิปุละ เพราะเป็นเหตุให้เกิด
ผลไพบูลย์แก่การกบุคคลผู้ถวายทานในท่าน. บทว่า อุทธีว สาคโร
ความว่า พระสงฆ์นั้นว่าโดยคุณหาอะไรเปรียบมิได้ เหมือนอย่างสาครมีชื่อ
ว่า อุทธิ เพราะเป็นที่ทรงน้ำไว้ ยากที่จะหาอะไรเปรียบได้ว่า มีน้ำ
เท่านี้ ๆ ทะนาน. หิ ศัพท์ในบทว่า เอเตหิ เป็นนิบาตลงในอวธารณะ
มีความว่า เอเต เจว เสฏฺฐา พระสงฆ์เหล่านี้แลเป็นผู้ประเสริฐที่สุด.
สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ยาวตา ภิกฺขเว สงฺฆา วา คณา
วา ตถาคตสาวกสงฺโฆ เตสํ อคฺคมกฺขายติ
ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง-
หลาย หมู่ก็ดี คณะก็ดี เรากล่าวว่า สงฆ์ผู้เป็นสาวกของตถาคต เป็นผู้

เลิศกว่าหมู่หรือคณะเหล่านั้น ดังนี้. บทว่า นรวีรสาวกา ได้แก่ สาวก
ของพระพุทธเจ้าผู้มีความเพียรในหมู่นรชนทั้งหลาย. บทว่า ปภงฺกรา
ได้แก่ ทำแสงสว่าง คือญาณแก่ชาวโลก. บทว่า ธมฺมมุทีรยนฺติ ได้แก่
แสดงธรรม. ถามว่า อย่างไร. ตอบว่า เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
ประดิษฐานแสงสว่างแห่งพระธรรมไว้ในอริยสงฆ์.
บทว่า เย สงฺฆมุทฺทิสฺส ททนฺติ ทานํ ความว่า สัตว์เหล่าใด
ถวายทานมุ่งต่ออริยสงฆ์ ในสมมติสงฆ์ แม้โดยที่สุดโคตรภูสงฆ์ เป็น
อันว่าสัตว์เหล่านั้นถวายทานดีแล้ว แม้การบูชาด้วยการเคารพและต้อนรับ
ก็เป็นการบูชาดีแล้ว แม้บูชาด้วยเครื่องบูชาใหญ่ก็เป็นการบูชาดีแล้ว
เหมือนกัน. ถามว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะทักขิณานั้นจัดเป็น
สังฆทานมีผลมาก อัน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสรรเสริญแล้ว อธิบายว่า
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงรู้แจ้งโลก ทรงสรรเสริญยกย่องชมเชยถึงทานที่
มีผลมากโดยนัยมีอาทิว่า ดูก่อนอานนท์ เราไม่กล่าวว่า ปาฏิบุคลิกภาพ
มีผลมากกว่า สังฆทานด้วยปริยายอะไร ๆ เลย สังฆทานเป็นประมุข
ของผู้หวังบุญ พระสงฆ์นั่นแลเป็นประมุขของผู้บูชา และพระสงฆ์
เป็นเนื้อนาบุญของชาวโลก ไม่มีเนื้อนาบุญอื่นยิ่งกว่า
ดังนี้
บทว่า เอตาทิสํ ปุญฺญมนุสฺสรนฺตา ความว่า ระลึกถึงทานที่ตน
ทำมุ่งสงฆ์เช่นนี้. บทว่า เวทชาตา ได้แก่ เกิดโสมนัส.
บทว่า วิเนยฺย มจฺเฉรมลํ สมูลํ ความว่า ความตระหนี่ชื่อว่า
เป็นมลทิน เพราะทำจิตให้เศร้าหมอง หรือว่า ความตระหนี่ด้วย มลทิน
มีริษยา โลภะและโทสะเป็นต้นด้วย ชื่อว่า มจฺเฉรมลํ ความตระหนี่
และมลทิน. โยชนาแก้ว่า กำจัด คือ นำออก ข่มมลทินคือความตระหนี่

พร้อมทั้งรากเหง้ามีความไม่รู้ความสงสัย และความผันแปรเป็นต้นเสียได้
ทั้งไม่ถูกติเตียน ย่อมเข้าถึงฐานะ คือ สวรรค์. บทที่เหลือมีนัยดังกล่าว
แล้วนั่นแล.
ก็ท้าวสักกะจอมเทพทรงบอกความเป็นไปทั้งหมดนี้ แก่ท่านมหา
โมคคัลลานะด้วยคาถามีอาทิว่า ททฺทลฺลมานา วณฺเณน ดังนี้. ท่าน
มหาโมคัลลานะจึงกราบทูลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
ทำข้อนั้นให้เป็นเหตุเกิดเรื่องราวแล้ว ทรงแสดงธรรมแก่บริษัทที่ประชุม
พร้อมเพรียงกัน. เทศนานั้นได้มีประโยชน์แก่มหาชนด้วยประการฉะนี้.
จบอรรถกถาทัททัลลวิมาน

7. เสสวดีวิมาน


ว่าด้วยเสสวดีวิมาน


เมื่อพระวังคีสเถระ

จะได้ถามถึงบุรพกรรมของนางเทพธิดานั้น จึง
สรรเสริญวิมานของเธอเสียก่อนเป็นปฐม ด้วยคาถา 7 คาถา ความว่า
[35] ดูก่อนแม่เทพธิดา อาตมาได้เห็นวิมานของท่าน
นี้ อันมุงและบังด้วยข่ายแก้วผลึก ข่ายเงินและข่าย
ทองคำ มีพื้นที่เต็มไปด้วยต้นไม้มีผลวิจิตรนานา
พรรณเป็นระเบียบเรียบร้อย น่ารื่นรมย์ เป็นวิมานซึ่ง
เกิดสำหรับผู้มีบุญ มีซุ้มประตูแล้วด้วยแก้ว 7 ประการ
ที่ลานวิมานเรี่ยรายไปด้วยทรายทองงดงามมาก มี