เมนู

อรรถกถาคุตติลวิมาน


คุตติลวิมาน มีคาถาว่า สตฺตตนฺตึ สุมธุรํ ดังนี้เป็นต้น. คุตติลวิมาน
นั้นเกิดขึ้นอย่างไร ?
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กรุงราชคฤห์ ท่านพระ-
มหาโมคคัลลานะ จาริกไปยังเทวโลก ตามนัยที่กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล
ครั้นไปถึงภพดาวดึงส์ เห็นเทพธิดา 36 นาง แต่ละนางมีนางอัปสร
เป็นบริวาร เสวยทิพยสมบัติใหญ่ใน 36 วิมาน ซึ่งตั้งอยู่ ณ ภพดาวดึงส์
นั้น จึงถามถึงกรรมที่เทพธิดาเหล่านั้นได้กระทำมาในกาลก่อนตามลำดับ
ด้วยคาถาทั้งหลาย 3 คาถา มีอาทิว่า อภิกฺกนฺเตน วณฺเณน มีวรรณงาม
ยิ่งนัก ดังนี้. แม้เทพธิดาเหล่านั้นก็ได้ตอบตามลำดับคำถามของพระมหา
โมคคัลลานเถระ โดยนัยมีอาทิว่า วตฺถุตฺตมทายิกา นารี ดีฉันเป็นนารี
ได้ถวาย ผ้าเนื้อดี ดังนี้.
ลำดับนั้น พระเถระจึงออกจากเทวโลกลงมาสู่มนุษยโลก ได้กราบ
ทูลความนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นได้สดับดัง
นั้นแล้ว จึงตรัสว่า โมคคัลลานะ เทพธิดาเหล่านั้นมิได้ตอบอย่างที่เธอ
ถามในบัดนี้อย่างเดียวเท่านั้น เมื่อก่อนก็ได้ตอบอย่างที่เราถามเหมือนกัน.
พระเถระกราบทูลขอร้องให้ตรัส พระองค์จึงได้ตรัสเล่าเรื่องของพระองค์
ครั้งเป็นคุตติละอาจารย์ในอดีตให้ฟังดังต่อไปนี้
ในครั้งอดีต เมื่อพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสี
พระโพธิสัตว์อุบัติอยู่ในตระกูลคนธรรพ์ ได้เป็นอาจารย์ปรากฏชื่อเสียง
เป็นที่รู้จักกันทั่วไปในทุกทิศโดยชื่อว่า คุตติละ เช่นเดียวกับติมพรูนารทะ
เพราะเป็นผู้มีศิลปะบริสุทธิ์ในศิลปะของคนธรรพ์. คุตติละนั้นเลี้ยงดูมารดา

บิดาผู้แก่เฒ่าตาบอด. คนธรรพ์ ชื่อมุสิละ ชาวอุชเชนี ได้ทราบถึงความ
สำเร็จทางศิลปะของอาจารย์คุตติละนั้น จึงเข้าไปหาทำความเคารพแล้วยืน
ณ ส่วนข้างหนึ่ง เมื่ออาจารย์คุตติการละกามว่า ท่านมีธุระอะไรหรือ จึงบอกว่า
ประสงค์จะเรียนศิลปะในสำนักของอาจารย์. อาจารย์คุตติละมองดูมุสิละ
คนธรรพ์นั้น เพราะเป็นผู้ฉลาดในการดูลักษณะ คิดว่า เจ้านี้มีอัธยาศัย
ไม่เรียบร้อยหยาบคาย จักเป็นคนไม่รู้จักคุณคน ไม่ควรสงเคราะห์ ดังนี้
จึงไม่ให้โอกาสที่จะเรียนศิลปะ มุสิละจึงเข้าไปหามารดาบิดาของอาจารย์
คุตติละ ขอร้องให้มารดาบิดาช่วย. อาจารย์คุตติละ เมื่อถูกมารดาบิดา
แค่นได้ จึงคิดว่า ถ้อยคำของครู ควรแก่ค่า ดังนี้ จึงเริ่มบอกศิลปะแก่
มุสิละ เพราะอาจารย์คุตติละปราศจากความตระหนี่ และเพราะมีความ
กรุณาจึงไม่ทำอาจริยมุฏฐิ (หวงความรู้) ให้มุสิละศึกษาศิลปะโดยสิ้นเชิง.
แม้มุสิละนั้น เพราะเป็นคนฉลาด เพราะสะสมบุญมาก่อนและ
เพราะไม่เกียจคร้าน ไม่ช้าก็เรียนจบศิลปะจึงคิดว่า กรุงพาราณสีนี้ เป็น
นครเลิศในชมพูทวีป ถ้ากระไร เราควรแสดงศิลปะแก่บริษัทหน้าพระที่นั่ง
ในนครนี้ เมื่อเป็นเช่นนั้น เราก็จักปรากฏชื่อเสียงเป็นที่รู้จักยิ่งกว่าอาจารย์
ในชมพูทวีป ดังนี้. มุสิละ จึงบอกแก่อาจารย์ว่า กระผมประสงค์จะ
แสดงศิลปะหน้าพระที่นั่ง ขอท่านอาจารย์ได้โปรดนำกระผมเข้าเฝ้าด้วยเถิด.
พระมหาสัตว์ มีความกรุณาว่า มุสิละนี้ เรียนศิลปะในสำนักของเราจงได้
รับอุปถัมภ์ ดังนี้ จึงนำเขาเข้าเฝ้าพระราชา แล้วกราบทูลว่า ขอเดชะ
ฝ่าละอองธุลีพระบาท ขอพระองค์ได้โปรดทอดพระเนตรดูความชำนิ
ชำนาญในการดีดพิณของลูกศิษย์ ของข้าพระพุทธเจ้าผู้นี้เถิด พระเจ้าข้า
พระราชาตรัสสั่งว่า ดีแล้ว ทรงสดับการดีดพิณของมุสิละนั้น พอพระทัย

ยิ่งนัก ครั้นมุสิละกราบทูลลา ทรงห้ามแล้วตรัสว่า เจ้าจงอยู่รับราชการ
กับเราเถิด เราจักให้ครึ่งหนึ่งจากส่วนที่ให้แก่อาจารย์. มุสิละกราบทูลว่า
ขอเดชะ. ข้าพระองค์จะไม่ขอรับต่ำกว่าอาจารย์ ขอพระองค์ได้โปรดพระ-
ราชทานเท่ากับอาจารย์เถิด พระเจ้าข้า เมื่อพระราชาตรัสว่า เจ้าอย่าพูด
อย่างนั้นซิ ธรรมดาอาจารย์เป็นผู้ใหญ่ เราจักให้เจ้าครึ่งหนึ่งเท่านั้น มุสิละ
กราบทูลว่า ขอเดชะพระอาญาไม่พ้นเกล้า ฯ ขอพระองค์ได้โปรดทอด
พระเนตรศิลปะของข้าพระองค์และอาจารย์เถิด พระเจ้าข้า แล้วก็ออกจาก
กรุงราชคฤห์ เที่ยวโฆษณาไปในที่นั้น ๆ ว่า จากนี้ไป 7 วัน จักมีการ
แสดงศิลปะ ที่หน้าพระลานหลวง ระหว่างข้าพเจ้าและอาจารย์คุตติละ
ขอเชิญผู้ประสงค์จะชมศิลปะนั้นจงพากันนาชมเถิด.
พระมหาสัตว์ สดับดังนั้นแล้วคิดว่า มุสิละนี้ ยังหนุ่มมีกำลัง ส่วน
เราแก่แล้วกำลังก็น้อย ถ้าเราแพ้ เราตายเสียดีกว่า เพราะฉะนั้น เราจะ
เข้าไปป่าผูกคอตายละ จึงไปป่า เกิดกลัวตายก็กลับ อยากตายอีกไปป่า
กลัวตายอีกก็กลับ เมื่อพระมหาสัตว์ไป ๆ มา ๆ อยู่อย่างนี้ ที่นั้นเตียนโล่ง
ไม่มีหญ้าเลย. ลำดับนั้น เทวราชเข้าไปหาพระมหาสัตว์ปรากฏรูปประ-
ดิษฐานอยู่บนอากาศ กล่าวอย่างนี้ว่า ท่านอาจารย์ทำอะไร. พระ-
มหาสัตว์ได้ทูลตอบแสดงความเจ็บใจของตนว่า
ข้าแต่ท้าวโกสีย์ ข้าพระองค์ได้สอนวิชาดีดพิณ
7 สาย มีเสียงไพเราะมากน่ารื่นรมย์ แก่มุสิละผู้
เป็นศิษย์ เขาตั้งใจจะดีดพิณประชันกับข้าพระองค์
กลางเวที ขอพระองค์ได้โปรดเห็นที่พึ่งแก่ข้าพระองค์
ด้วยเกิด.

อธิบายความว่า ข้าแต่เทวราช ข้าพระองค์ได้สอนศิลปะของคนธรรพ์
มิให้เสียงขับร้อง 4 อย่าง มีเสียงเหมือนนกยูงร้องเป็นต้น เสื่อมไปจาก
การจำแนกเสียงเป็นต้น อันได้แก่วิชาชื่อว่า พิณ 7 สาย เพราะแสดง
เสียง 7 อย่าง มีเสียงเหมือนนกยูงร้องเป็นต้น เพราะมีสาย 7 สาย ชื่อว่า
มีเสียงไพเราะมาก เพราะทำเสียงนั้นไม่ให้เสื่อมไปจากชนิดของเสียง 22
อย่าง ตามสมควร ดังนี้จึงชื่อ สุมธุระ ชื่อว่า น่ารื่นรมย์ เพราะเสียง
และพิณน่ารื่นรมย์อย่างยิ่งแก่ผู้ฟังโดยการเทียบกันและกัน เพราะเป็นผู้
ฉลาดในการปรับเสียงครบ 50 เสียง ตามที่เรียนมา เพราะเหตุนั้น
ข้าพระองค์ได้สอนได้ให้เรียนได้ให้ศึกษาแก่ลูกศิษย์ ชื่อว่า มุสิละ. มุสิละ
นั้นเป็นลูกศิษย์ จะดีดพิณประชันกับข้าพระองค์ผู้เป็นอาจารย์ของตนบน
เวที คือ ท้าทาย เพื่อแสดงความวิเศษของตนด้วยการแข่งดี เขาบอก
กะข้าพระองค์ว่า อาจารย์จงมาแสดงศิลปะกันเถิด ดังนี้ ข้าแต่ท้าวโกสีย-
เทวราช ขอพระองค์จงเป็นที่พึ่งอาศัยแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด.
ท้าวสักกเทวราชได้สดับดังนั้น เมื่อจะทรงปลอบว่า อาจารย์อย่า
กลัวเลย ข้าพเจ้าเป็นที่พึ่ง ช่วยบรรเทาทุกข์ของอาจารย์ จึงตรัสว่า
ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าจะเป็นที่พึงของอาจารย์
ข้าพเจ้าเป็นผู้บูชาท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าผู้เป็นศิษย์จะ
ไม่ปล่อยให้ท่านอาจารย์แพ้ ท่านอาจารย์จะต้องชนะ
นายมุสิละผู้เป็นศิษย์แน่นอน.

นัยว่า พระมหาสัตว์ได้เป็นอาจารย์ของท้าวสักกเทวราชในอัตภาพ
ก่อน. ด้วยเหตุนั้น ท้าวสักกเทวราชจึงกล่าวว่า อหมาจริย ปูชโก

ข้าพเจ้าเป็นผู้บูชาท่านอาจารย์ ดังนี้ ไม่ใช่คู่แข่งขันเหมือนนายมุสิละ.
เมื่อลูกศิษย์เช่นข้าพเจ้ายิ่งมีอยู่ อาจารย์เช่นท่านจะแพ้ได้อย่างไร. เพราะ-
ฉะนั้น ศิษย์จักไม่ชนะท่านอาจารย์ได้. ท่านอาจารย์นั่นแหละจักชนะนาย
มุสิละผู้เป็นศิษย์อย่างแน่นอน. อธิบายว่า นายมุสิละนั้นเมื่อแพ้แล้วจักถึง
ความพินาศ. ก็แลครั้นท้าวสักกเทวราชตรัสอย่างนี้ แล้วจึงปลอบว่า ใน
วันที่ 7 ข้าพเจ้าจักมายังโรงแข็งขันกัน ขอให้ท่านอาจารย์วางใจ เล่น
ดนตรีไปเถิด แล้วก็เสด็จไป.
ครั้นถึงวันที่ 7 พระราชาพร้อมด้วยข้าราชบริพารประทับนั่ง ณ
ท้องพระโรง. อาจารย์คุตติละและนายมุสิละ เตรียมตัวเพื่อแสดงศิลปะ
เข้าไปถวายบังคมพระราชา นั่งบนอาสนะที่ตนได้ แล้วดีดพิณ ท้าวสักกะ
เสด็จยืนบนอากาศ. พระมหาสัตว์เห็นท้าวสักกะนั้น แต่คนนอกนั้นไม่เห็น.
พวกบริษัทได้ตั้งใจฟังในการดีดพิณของทั้ง 2 คณะ ท้าวสักกะตรัสกับ
อาจารย์คุตติละว่า ท่านอาจารย์จงดีดสายที่ 1. เมื่อดีดสายที่ 1 แล้ว
พิณได้มีเสียงกังวานไพเราะ ท้าวสักกะตรัสต่อไปว่า ท่านอาจารย์จงดีดสาย
ที่ 2 ที่ 3 ที่ 4 ที่ 5 ที่ 6 ที่ 7. เมื่อดีดพิณเหล่านั้นแล้ว พิณก็ได้มี
เสียงก้องกังวานไพเราะยิ่งขึ้น. นายมุสิละเห็นดังนั้น เห็นทีว่าตนแพ้แน่
ถึงกับคอตก. พวกบริษัทต่างร่าเริงยินดี ยกผืนผ้าโบกไปมา ซ้องสาธุการ
แก่อาจารย์คุตติละ. พระราชาตรัสสั่งให้นำนายมุสิละออกจากท้องพระโรง.
มหาชนเอาก้อนดินท่อนไม้เป็นต้นขว้างปา จนนายมุสิละถึงแก่ความตายใน
ที่นั้นนั่นเอง.
ท้าวสักกเทวราชแสดงความชื่นชมยินดีกับพระมหาบุรุษ แล้วเสด็จ
กลับสู่เทวโลกทันที. ทวยเทพทูลถามท้าวสักกะว่า ข้าแต่มหาราช พระองค์

เสด็จไปไหนมา ครั้นได้ฟังเรื่องราวนั้นแล้ว จึงพากันกราบทูลว่า ข้าแต่
มหาราช พวกข้าพระองค์อยากเห็นพระอาจารย์คุตติละ ขอประทานโอกาส
ขอพระองค์ทรงนำอาจารย์คุตติละมาแสดงแก่พวกข้าพระองค์ ณ ที่นี้เถิด
ท้าวสักกะสดับคำของทวยเทพแล้ว มีเทวบัญชาให้มาตลี เอาเวชยันตรถไป
รับอาจารย์คุตติละมาให้พวกเรา ทวยเทพอยากจะเห็นอาจารย์นั้น. มาตลี
ได้ทำตามเทวบัญชา. ท้าวสักกะทรงทำความชื่นชมยินดีกับพระมหาสัตว์
แล้วตรัสว่า ท่านอาจารย์โปรดดีดพิณ ทวยเทพอยากฟัง. อาจารย์คุตติละ
ทูลว่า ข้าพระองค์เลี้ยงชีพด้วยศิลปะ เมื่อไม่มีค่าจ้างก็จะไม่แสดงศิลปะ.
ท้าวสักกะตรัสถามว่า ก็อาจารย์ต้องการค่าจ้างเช่นไรเล่า. อาจารย์คุตติละ
ทูลว่า ข้าพระองค์ไม่ต้องการค่าจ้างอย่างอื่น แต่ขอให้ทวยเทพเหล่านี้
บอกถึงกุศลกรรมที่ตนทำมาแล้วในชาติก่อนนั่นแล เป็นค่าจ้างของข้า-
พระองค์ละ. ทวยเทพต่างรับว่าดีแล้ว.
ลำดับนั้น พระมหาสัตว์ เมื่อจะถามถึงความประพฤติชอบที่ทวยเทพ
เหล่านั้นกระทำแล้วในอัตภาพก่อน อันเป็นเหตุแห่งสมบัตินั้นโดยการประ-
กาศถึงสมบัติที่ทวยเทพเหล่านั้นได้ในครั้งนั้นเฉพาะตน จึงถามด้วยคาถามี
อาทิว่า ภิกฺกนฺเตน วณฺเณน ดังนี้ ดุจท่านมหาโมคคัลลานะถามฉะนั้น.
แม้ทวยเทพเหล่านั้นก็ตอบแก่อาจารย์คุตติละ เหมือนอย่างที่ตอบแก่พระ-
เถระ ด้วยบทมีอาทิว่า วตฺถุตฺตมทายิกา นารี ดังนี้. ด้วยเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ดูก่อนโมคคัลลานะ เทวดาเหล่านั้นมิได้
ตอบอย่างเดียวกับที่เธอถามเท่านั้น เมื่อก่อนก็ได้ตอบเหมือนอย่างที่เรา
ถามเหมือนกันดังนี้.
ได้ยินว่า หญิงเหล่านั้น ครั้งศาสนาพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า เกิด

เป็นมนุษย์ ได้กระทำบุญอย่างนั้น ๆ. บรรดาหญิงเหล่านั้น คนหนึ่งได้
ถวายผ้า คนหนึ่งได้ถวายพวงดอกมะลิหนึ่งพวง ต้นหนึ่งได้ถวายของหอม
คนหนึ่งได้ถวายผลไม้อย่างดี คนหนึ่งได้ถวายอ้อย คนหนึ่งได้ถวายของ
หอม 5 อย่างประพรมในเจดีย์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า คนหนึ่งรักษา
อุโบสถ คนหนึ่งได้ถวายน้ำแก่ภิกษุผู้ฉันที่เรือในเวลาเข้าไปใกล้ คนหนึ่ง
เมื่อแม่ผัวพ่อผัวโกรธก็ไม่โกรธตอบ ได้ทำการปรนนิบัติ คนหนึ่งเป็น
ทาสี ไม่เกียจคร้านมีมารยาทดี คนหนึ่งได้ถวายข้าวเจือด้วยน้ำนมแก่ภิกษุ
ผู้ออกบิณฑบาต คนหนึ่งได้ถวายน้ำอ้อย คนหนึ่งได้ถวายท่อนอ้อย คน
หนึ่งได้ถวายมะพลับ คนหนึ่งได้ถวายแตงกวา คนหนึ่งได้ถวายฟักเหลือง
คนหนึ่งได้ถวายยอดผัก คนหนึ่งได้ถวายลิ้นจี่ คนหนึ่งได้ถวายเชิงกราน
คนหนึ่งได้ถวายผักดองกำหนึ่ง คนหนึ่งได้ถวายดอกไม้กำหนึ่ง คนหนึ่ง
ได้ถวายหัวมัน คนหนึ่งได้ถวายสะเดากำหนึ่ง คนหนึ่งได้ถวายผักดอง
คนหนึ่งได้ถวายแป้งงา คนหนึ่งได้ถวายผ้ารัดเอว คนหนึ่งได้ถวายผ้าอังสะ
คนหนึ่งได้ถวายพัด คนหนึ่งได้ถวายพัดสี่เหลี่ยม คนหนึ่งได้ถวายพัด
ใบตาล คนหนึ่งได้ถวายกำหางนกยูง คนหนึ่งได้ถวายร่ม คนหนึ่งได้
ถวายรองเท้า คนหนึ่งได้ถวายขนม คนหนึ่งได้ถวายขนมก้อน คนหนึ่ง
ได้ถวายน้ำตาลกรวด. เทพธิดาเหล่านั้น องค์หนึ่ง ๆ มีนางอัปสรพันหนึ่ง
เป็นบริวารรุ่งเรืองด้วยเทวฤทธิ์ใหญ่ บังเกิดเป็นบริจาริกาของท้าวสักก-
เทวราช ในภพดาวดึงส์ ถูกอาจารย์คุตติการละกาม จึงตอบถึงกุศลที่ตนทำ
ตามลำดับ โดยนัยมีอาทิว่า วตฺถุตฺตมทายิกา นารี ดังนี้.
อาจารย์คุตติละได้ถามบุรพกรรมของเทพธิดาเหล่านั้นว่า
ดูก่อนแม่เทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก ยัง
ทิศทั้งปวงให้สว่างไสว สถิตอยู่เหมือนดาวประกายพรึก

เพราะกรรมอะไร ท่านจึงมีวรรณะงานเช่นนั้น เพราะ
กรรมอะไร จึงสำเร็จแก่ท่านในเทวโลกนี้ โภคะทั้ง-
หลายไร ๆ เห็นที่รัก ย่อมเกิดแก่ท่าน เพราะกรรม
อะไร.

ดูก่อนเทวี ผู้มีอานุภาพมาก ข้าพเจ้าขอถาม
ท่าน เมื่อครั้งท่านเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้ เพราะ
กรรมอะไร ท่านจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนี้ และรัศมี
ของท่านรุ่งเรืองไปทั่วทิศ เพราะกรรมอะไร.

เทพธิดานั้น อันอาจารย์คุตติละถามเหมือน
พระโมคคัลลานะถาม แล้วมีใจยินดี จึงตอบถึง
ผลกรรมนั้นว่า

ดีฉันเป็นสตรีผู้ประเสริฐในนระและนารีทั้ง-
หลาย ได้ถวายผ้าเนื้อดีแก่ภิกษุหนึ่ง ดีฉันได้ถวาย
ผ้าอันน่ารักอย่างนี้ จึงได้เข้าถึงฐานะอันเป็นทิพย์
อย่างนี้ เชิญดูวิมานของดีฉันเถิด ดีฉันยังเป็นนางฟ้า
ที่มีผิวพรรณน่ารัก ทั้งเป็นผู้เลิศกว่านางอัปสรตั้งพัน
เชิญดูผลแห่งบุญทั้งหลายเถิด เพราะผลแห่งบุญนั้น
ดีฉันจึงมีวรรณะงามเช่นนี้ความสำเร็จในที่นี้ของดีฉัน
เพราะผลบุญนั้น โภคะทั้งหลายอันเป็นที่รักย่อมเกิด
แก่ดีฉัน เพราะผลบุญนั้น.

แก่ภิกษุผู้มีอานุภาพมาก ดีฉันขอบอกท่านว่า
เมื่อครั้งดีฉันเป็นมนุษย์ได้ทำบุญอะไรไว้ เพราะบุญ

นั้น ดีฉันจึงมีอานุภาพรุ่งเรืองอย่างนั้นและมีรัศมีสว่าง
ไสวไปทั่วทุกทิศ.

วิมาน 4 นอกนี้ มีความพิสดารเหมือนวัตถุตตมทายิกาวิมาน.
พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า
ดูก่อนเทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก ฯ ล ฯ
และมีรัศมีสว่างไปทั่วทุกทิศ เพราะกรรมอะไร.

นางเทพธิดานั้น อันพระโมคคัลลานะถามแล้ว
มีความปลื้มใจ ได้ตอบถึงผลแห่งกรรมนั้นว่า

ดีฉันเป็นสตรีประเสริฐในนระและนารีทั้งหลาย
ได้ถวายดอกไม้อย่างดีแก่ภิกษุรูปหนึ่ง ดีฉันได้ถวาย
ดอกไม้น่ารักอย่างนี้ จึงได้เข้าถึงฐานะอันเป็นทิพย์
น่าปลื้มใจอย่างนี้ นิมนต์พระคุณเจ้าดูวิมานของดีฉัน
เถิด ดีฉันเป็นนางฟ้าที่มีผิวพรรณน่ารัก ทั้งยังเป็นผู้
เลิศกว่านางอัปสรตั้งพัน เพราะบุญกรรมนั้น ดีฉันจึง
มีวรรณะงามเช่นนี้ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ.

พระมหาโมคคัลลานะถามว่า
ดูก่อนเทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก ฯ ล ฯ
และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศเพราะบุญกรรมอะไร.

นางเทพธิดาตอบว่า
ดีฉันเป็นนารีผู้ประเสริฐในนระและนารีทั้ง-

หลาย ได้ถวายของหอมอย่างดีแก่ภิกษุรูปหนึ่ง ฯ ล ฯ
เพราะบุญกรรมนั้น ดีฉันจึงมีวรรณะงามเช่นนี้ และมี
รัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ.

พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า
ดูก่อนเทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก และ
มีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ ฯ ล ฯ เพราะบุญกรรม
อะไร ท่านจึงมีวรรณะงามเช่นนี้ และมีรัศมีสว่างไสว
ไปทั่วทุกทิศ.

เทพธิดาตอบว่า
ดีฉันเป็นสตรีผู้ประเสริฐในนระและนารีทั้ง-
หลาย ได้ถวายผลไม้อย่างดีแก่ภิกษุรูปหนึ่ง ฯ ล ฯ
เพราะบุญกรรมนั้น ดีฉันจึงมีวรรณะงามเช่นนี้ และมี
รัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ.

พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า
ดูก่อนเทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก และ
มีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ ฯ ล ฯ เพราะบุญกรรม
อะไร ท่านจึงมีวรรณะงามเช่นนี้ และมีรัศมีสว่างไสว
ไปทั่วทุกทิศ.

เทพธิดาตอบว่า
ดีฉันเป็นสตรีผู้ประเสริฐในนระและนารีทั้งหลาย
ได้ถวายอาหารมีรสอย่างดีแก่ภิกษุหนึ่ง เพราะบุญ

กรรมนั้น ดีฉันจึงมีวรรณะงามเช่นนี้ และมีรัศมีสว่าง
ไสวไปทั่วทุกทิศ.

พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า
ดูก่อนเทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก มีรัศมี
สว่างไสวไปทั่วทุกทิศ ฯ ล ฯ เพราะบุญกรรมอะไร.

เทพธิดาตอบว่า
ดีฉันได้ถวายของหอม 5 อย่างประพรมที่
พระสถูปบรรจุพระบรมธาตุ ของพระผู้มีพระภาคเจ้า
พระนามว่ากัสสป เพราะบุญกรรมนั้น ดีฉันจึงมี
วรรณะงามเช่นนี้ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ.

วิมาน 4 นอกนี้ มีความพิสดารเหมือนคันธปัญจังคุลิกวิมาน.
พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า
ดูก่อนเทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก มีรัศมี
สว่างไสวไปทั่วทุกทิศ ฯ ล ฯ เพราะบุญกรรมอะไร
ท่านจึงมีวรรณะงามเช่นนี้ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่ว
ทุกทิศ.

เทพธิดาตอบว่า
ดีฉันได้เห็นภิกษุและภิกษุณีพากันเดินทางไกล
ได้ฟังธรรมของท่านเหล่านั้น ได้เข้ารักษาอุโบสถอยู่
วันหนึ่งคืนหนึ่ง เพราะบุญกรรมนั้น ดีฉันจึงมีวรรณะ
งามเช่นนี้ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ.

พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า
ดูก่อนเทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก มีรัศมี
สว่างไสวไปทั่วทุกทิศ ฯ ล ฯ เพราะบุญกรรมอะไร ท่าน
จึงมีวรรณะงามเช่นนี้ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ.

เทพธิดาตอบว่า
ดีฉันยืนอยู่ในน้ำมีจิตเลื่อมใส ได้ถวายน้ำแก่
ภิกษุรูปหนึ่ง เพราะบุญกรรมนั้น ดีฉันจึงมีวรรณะงาม
เช่นนี้ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ.

พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า
ดูก่อนเทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก มีรัศมี
สว่างไสวไปทั่วทุกทิศ ฯ ล ฯ เพราะบุญกรรมอะไร
ท่านจึงมีวรรณะงามเช่นนี้ และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่ว
ทุกทิศ.

เทพธิดาตอบว่า
ดีฉันไม่คิดร้ายตั้งใจปฏิบัติเป็นอย่างดี ซึ่ง
แม่ผัวและพ่อผัวผู้ดุร้าย โกรธง่ายและหยาบคาย
ดีฉันไม่ประมาทในการรักษาศีลของตน ฯ ล ฯ เพราะ
บุญกรรมนั้น ดีฉันจึงมีวรรณะงามเช่นนี้ ฯ ลฯ และ
มีรัศมี สว่างไสวไปทั่วทุกทิศ.

พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า
ดูก่อนเทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก มี
รัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ ฯ ล ฯ เพราะบุญกรรม

อะไร ท่านจึงมีวรรณะงามเช่นนี้ ฯ ล ฯ และมีรัศมี
สว่างไสวไปทั่วทุกทิศ.

เทพธิดาตอบว่า
ดีฉันเป็นหญิงรับใช้รับจ้างทำการงานของคนอื่น
ไม่เกียจคร้าน ไม่โกรธง่าย ไม่ถือตัว ชอบแบ่งปัน
สิ่งของอันเป็นส่วนของตนให้แก่ตนที่ต้องการ ฯ ล ฯ
เพราะบุญกรรมนั้น ดีฉันจึงมีวรรณะงามเช่นนี้ ฯ ล ฯ
และมีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ.

พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า
เทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก มีรัศมีสว่าง-
ไสวไปทั่วทุกทิศ ฯ ล ฯ เพราะบุญกรรมอะไร ท่าน
จึงมีวรรณะงามเช่นนี้ ฯ ล ฯ และมีรัศมีสว่างไสว
ไปทั่วทุกทิศ.

เทพธิดาตอบว่า
ดีฉันได้ถวายข้าวสุกคลุกน้ำมันสด แก่ภิกษุ
รูปหนึ่งกำลังออกบิณฑบาตอยู่ ฯ ล ฯ เพราะบุญ-
กรรมนั้น ดีฉันจึงมีวรรณะงามเช่นนี้ ฯ ล ฯ และมี
รัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ ดีฉันทำกรรมดีจึงเข้าถึง
สุคติบันเทิงเริงรมย์อยู่อย่างนี้.

ในวิมานเหล่านั้น วิมาน 25 นอกนี้ มีความพิสดารเหมือนกับ
ขีโรทนทายิกาวิมาน.
พระมหาโมคคัลลานเถระถามว่า

ดูก่อนเทพธิดา ท่านมีวรรณะงามยิ่งนัก และมี
รัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ ฯลฯ เพราะบุญกรรม
อะไร.

เทพธิดาตอบว่า
ดีฉันได้ถวาย
1. น้ำอ้อย ฯ ล ฯ
2. ท่อนอ้อย ฯ ล ฯ
3. ผลมะพลับสุก ฯ ล ฯ
4. แตงกวา ฯ ล ฯ
5. ฟักทอง ฯ ล ฯ
6. ยอดผักต้ม ฯ ล ฯ
7. ผลลิ้นจี่ ฯ ล ฯ
8. เชิงกราน ฯ ล ฯ
9. ผักดองกำหนึ่ง ฯ ล ฯ
10. ดอกไม้กำหนึ่ง ฯ ล ฯ
11. มัน ฯ ล ฯ
12. สะเดากำหนึ่ง ฯ ล ฯ
13. น้ำผักดอง ฯ ล ฯ
14. แป้งคลุกงา ฯ ล ฯ
15. ประคดเอว ฯ ล ฯ
16. ผ้าอังสะ ฯ ล ฯ
17. พัด ฯ ล ฯ

18. พัดสี่เหลี่ยม ฯ ล ฯ
19. พัดใบตาล ฯ ล ฯ
20. พัดหางนกยูง ฯ ล ฯ
20. ร่ม ฯ ล ฯ
22. รองเท้า ฯ ล ฯ
23. ขนม ฯ ล ฯ
24. ก้อนขนม ฯ ล ฯ
25. น้ำตาลกรวด ฯ ล ฯ

แก่ภิกษุรูปหนึ่งผู้กำลังบิณฑบาตอยู่ ฯ ล ฯ เพราะ
บุญกรรมนั้น ดีฉันจึงมีวรรณะงามเช่นนี้ ฯ ล ฯ และ
มีรัศมีสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ.

พระมหาสัตว์ เมื่อเทพธิดาเหล่านั้นตอบผลกรรมที่ตนทำมาเป็น
อันดีอย่างนี้แล้ว ก็มีใจยินดี เมื่อจะแสดงความยินดีของตน และเมื่อจะ
ประกาศความที่ตนขวนขวายในการประพฤติสุจริต และความที่ตนมี
อัธยาศัยในนิพพาน จึงกล่าวว่า
วันนี้ข้าพเจ้ามาดีแล้ว เป็นฤกษ์งามยามดีที่
ข้าพเจ้าได้เห็นเทพธิดาทั้งหลาย ที่เป็นนางฟ้ามีรูป-
ร่างผิวพรรณน่ารักใคร่ ทั้งได้ฟังธรรมอันแนะนำทาง
บุญกุศล จากเทพธิดาเหล่านั้นด้วย ต่อไปนี้ ข้าพเจ้า
ทำบุญกุศลให้มากด้วยการให้ทาน ด้วยการประ-
พฤติธรรมสม่ำเสมอ ด้วยการสำรวม ด้วยการฝึกฝน

ข้าพเจ้าจักได้ไปสู่สถานที่ที่ไปแล้วไม่เศร้าโศก.
ในบทเหล่านั้น บทว่า วตฺถุตฺตมทายิกา ได้แก่ ผ้าสูงสุด คือ
ประเสริฐสุดกว่าผ้าทั้งหลาย หรือผ้าดีเลิศประเสริฐชั้นยอด ที่เก็บสะสม
ไว้ในจำนวนผ้าเป็นอันมาก ชื่อว่าผ้าชั้นเยี่ยม ถวายผ้าชั้นเยี่ยมนั้น. แม้
ในบทมีอาทิว่า ปุปฺผุตฺตมทายิกา ก็มีนัยนี่เหมือนกัน. บทว่า ปิยรูปทายิกา
ได้แก่ ให้วัตถุมีสภาพน่ารักและมีกำเนิดน่ารัก. บทว่า มนาปํ แปลว่า
เจริญใจ. บทว่า ทิพฺพํ ได้แก่ ชื่อว่าเป็นทิพย์ เพราะเป็นสมบัติทิพย์.
บทว่า อุปจฺจ ได้แก่ เข้าถึง คือตั้งใจ อธิบายว่า ดำริแล้วว่า เราพึงได้
สิ่งนี้ดังนี้. บทว่า ฐานํ ได้แก่ ฐานะมีวิมานเป็นต้น หรือความอิสระ.
ปาฐะว่า มนาปา ดังนี้บ้าง. อธิบายว่า เป็นที่เจริญใจของผู้อื่น.
บทว่า ปสฺส ปุญฺญานํ วิปากํ ความว่า เทพธิดาภูมิใจสมบัติที่
ตนได้ จึงกล่าวว่า เชิญดูผลแห่งการถวายผ้าอย่างดีเช่นนี้เถิด.
บทว่า ปุปฺผุตฺตมทายิกา ได้แก่ ถวายดอกไม้อย่างดี เพื่อบูชา
พระรัตนตรัย. พึงเห็นบทว่า คนฺธุตฺตมทายิกา ก็เหมือนอย่างนั้น.
ดอกไม้อย่างดีในบทว่า ปุปฺผุตฺตมทายิกา ได้แก่ ดอกมะลิเป็นต้น.
ของหอมอย่างดี ได้แก่ จันทน์หอมเป็นต้น. ผลไม้อย่างดี ได้แก่ ผลขนุน
เป็นต้น. พึงทราบว่าอาหารมีรสอย่างดี มีเนยใสคลุกด้วยนมโคสดเป็นต้น.
บทว่า คนฺธปญฺจงฺคุลิกํ ได้แก่ ถวายของหอม 5 อย่าง สำหรับ
ประพรม. บทว่า กสฺสปสฺส ภควโต ถูปมฺหิ ได้แก่ พระสถูปทองคำ
สูงโยชน์หนึ่ง บรรจุพระบรมธาตุของพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า.
บทว่า ปนฺถปฏิปนฺเน ได้แก่ เดินไปตามทาง. บทว่า เอกูโปสถํ

ได้แก่ อยู่รักษาอุโบสถตลอดวันหนึ่ง.
บทว่า อุทกมทาสึ ได้แก่ ดีฉันได้ถวายน้ำใช้ น้ำฉันสำหรับบ้วน
ปากและสาหรับดื่ม.
บทว่า จณฺฑิเก ได้แก่ ดุร้าย. บทว่า อนุสฺสุยฺยิกา ได้แก่
เว้นจากความริษยา. บทว่า ปรกฺกมฺมการี ได้แก่ รับจ้างทำการงานแก่
ผู้อื่น. บทว่า อตฺเถน ได้แก่ กิจที่เป็นประโยชน์. บทว่า สํวิภาคินี
สกสฺส ภาคสฺส
ได้แก่ มีปกติแจกส่วนที่ตนได้แก่ผู้อื่น.
บทว่า ขีโรทกํ ได้แก่ ข้าวสุกเจือด้วยนมสด. หรือข้าวสุกกับนม
สด. บทว่า ติมฺพรูสกํ ได้แก่ ผลมะพลับ. มะพลับเป็นไม้เถาชนิดหนึ่ง
คล้ายแตงโม. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ผลแตงโมนั้น คือ ติมพรุสกะ.
บทว่า กกฺการิกํ ได้แก่ ฟักทอง อาจารย์บางพวกกล่าวว่า ได้แก่
แตงกวา. บทว่า หตฺถปฺปตาปกํ ได้แก่ เชิงกราน. บทว่า อมฺพกญฺชิกํ
ได้แก่ น้ำผักดอง. บทว่า โทณินิมฺมชฺชนึ ได้แก่ แป้งคลุกงาคั่ว. บทว่า
วิธูปนํ ได้แก่ พัดสี่เหลี่ยม. บทว่า ตาลปณฺณํ ได้แก่ พัดกลมทำด้วย
ใบตาล. บทว่า โมรหตฺถํ ได้แก่ พัดไล่ยุงทำด้วยหางนกยูง. บทว่า
สฺวาคตํ วต เม ความว่า ข้าพเจ้ามาในที่นี้ ดีแท้ ดีเหลือเกิน. บทว่า
อชฺช สุปภาตํ สุหุฏฺฐิตํ ได้แก่ วันนี้ฤกษ์งามยานดีได้เกิดแก่ข้าพเจ้าใน
กลางคืน แม้ลุกจากที่นอนก็มีฤกษ์ดี คือลุกขึ้นด้วยดี. ถามว่า เพราะ
เหตุไร พระมหาสัตว์จึงกล่าวอย่างนั้น. ตอบว่า เพราะเหตุที่ได้เห็นเทพ-
ธิดาเหล่านั้น.
บทว่า ธมฺมํ สุตฺวา ความว่า ได้ฟังธรรมอันเป็นกุศลที่พวกท่าน
ทำไว้ โดยเห็นประจักษ์ถึงผลกรรม. บทว่า กาหามิ แปลว่า จักกระทำ.

บทว่า สมจริยาย ได้แก่ ด้วยการประพฤติสุจริตอันเป็นความประพฤติ
ชอบทางกาย. บทว่า สญฺญเมน ได้แก่ ศีลสังวร. บทว่า ทเมน
ได้แก่ ด้วยการฝึกอินทรีย์มีใจเป็นที่หก. บัดนี้ พระมหาสัตว์ เพื่อจะ
แสดงความที่กุศลนั้น และโลกของตนเป็นอุปนิสัยแห่งวิวัฏฏะ (นิพพาน)
จึงกล่าวว่า
สฺวาหํ ตตฺถ คมิสฺสามิ ยตฺถ คนฺตวา น โสจเร ความว่า
ข้าพเจ้าจักไปในที่ที่ไปแล้ว ไม่เศร้าโศก ดังนี้.
ผิว่า เทศนานี้จัดเข้าในวิมาน 36 มีวัตถุตตมทายิกาวิมานเป็นต้น
เป็นไปแล้ว ด้วยการชี้แจงของอาจารย์คุตติละ ดุจของท่านพระมหา-
โมคคัลลานะไซร้ ก็จัดเข้าในคุตติลวิมานนั่นแล. แต่วิมานที่เกี่ยวกับหญิง
จัดเข้าใน อิตถิวิมาน ทั้งนั้น.
อนึ่ง พึงทราบว่า หญิงเหล่านั้น เมื่อครั้งศาสนาของพระทศพล
พระนามว่ากัสสป ได้ท่องเที่ยวไปในเทวโลกตลอดพุทธันดรหนึ่ง ตั้งแต่
อัตภาพที่สองด้วยเจตนาอันเกิดสืบต่อกันมาในการประพฤติธรรม ดังได้
กล่าวแล้ว ครั้นถึงศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราทั้งหลาย หญิง
เหล่านั้น ได้เกิดในภพดาวดึงส์นั้นเอง อันพระมหาโมคคัลลานะได้ถาม
ปัญหา หญิงเหล่านั้นก็ได้ตอบปัญหา เหมือนอย่างในเวลาที่อาจารย์คุตติละ
ถาม เพื่อให้เห็นผลกรรมคล้าย ๆ กัน.
จบอรรถกถาคุตติลวิมาน

6. ทัททัลลวิมาน


ว่าด้วยทัททัลลวิมาน


[34] นางภัททาเทพธิดาผู้พี่สาว ได้ถามนางสุภัททาเทพธิดาผู้
น้องสาวว่า
ท่านรุ่งเรืองด้วยรัศมี ทั้งเป็นผู้เรื่องยศ ย่อม
รุ่งโรจน์ล่วงเทพเจ้าชาวดาวดึงส์ทั้งหมด ด้วยรัศมี
ดีฉันไม่เคยเห็นท่าน เพิ่งจะมาเห็นในวันนี้เป็นครั้ง
แรก ท่านมาจากเทวโลกชั้นไหน จงมาเรียกดีฉัน
โดยชื่อเดิมว่า ภัททา ดังนี้เล่า.

นางสุภัททาเทพธิดาผู้น้องสาวตอบว่า
ข้าแต่พี่ภัททา ฉันชื่อว่าสุภัททา ในภพก่อน
ครั้งยังเป็นมนุษย์อยู่ ดีฉันได้เป็นน้องสาวของพี่ ทั้ง
ได้เคยเป็นภริยาร่วมสามีเดียวกับพี่มาด้วย ดีฉันตาย
จากมนุษยโลกนั้นมาแล้ว ได้มาเกิดเป็นเทพธิดา
ประจำสวรรค์ชั้นนิมมานรดี.

นางภัททาเทพธิดาจึงถามต่อไปอีกว่า
ดูก่อนแม่สุภัททา ขอเธอได้บอกการอุบัติของ
เธอในหมู่เทพเจ้าเหล่านิมมานรดี ซึ่งเป็นที่ ๆ สัตว์
ได้สั่งสมบุญกุศลไว้มาก แล้วจึงได้มาบังเกิด เธอ
ได้มาเกิดในที่นี้เพราะทำบุญกุศลสิ่งใดไว้ และใคร
เป็นครูผู้แนะนำสั่งสอนเธอ เธอเป็นผู้เรืองยศ และ