เมนู

วิ่น บรรลุอริยผล ผู้แน่นอนในธรรมคือความตรัสรู้ผู้มี
อนามัย เราขอแสดงความยินดีต่อบุญสมบัตินั้นของ
ท่าน และการมาดีของท่าน.

จบเปสการิยวิมาน

อรรถกถาเปสการิยวิมาน


เปสการิยวิมาน มีคาถาว่า อิทํ วิมานํ รุจิรํ ปภสฺสรํ เป็นต้น.
เปสการิยวิมานนั้นเกิดขึ้นอย่างไร ?
พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ ป่าอิสิปตนมิคทายวัน กรุง-
พาราณสี สมัยนั้น เวลาเช้า ภิกษุเป็นอันมากนุ่งแล้ว ถือบาตรจีวรเข้า
ไปบิณฑบาตยังกรุงพาราณสี. ภิกษุเหล่านั้นเดินเข้าไปใกล้ประตูเรือนของ
พราหมณ์ผู้หนึ่ง ในเรือนหลังนั้นธิดาของพราหมณ์ ชื่อเปสการี กำลัง
เก็บเหาจากศรีษะของมารดา ใกล้กับประตูเรือน เห็นภิกษุเหล่านั้นกำลัง
เดินไป จึงพูดกะมารดาว่า แม่จ๋า นักบวชเหล่านี้ ยังหนุ่มแน่นอยู่ใน
ปฐมวัย สะสวย น่าดูน่าชม ละเอียดอ่อน ชะรอยจะสูญเสียอะไรบางอย่าง
ไปกระมัง เหตุไรหนอจึงพากันบวชในวัยนี้นะแม่นะ มารดาพูดกะธิดาว่า
ลูกเอ๋ย มีโอรสเจ้าศากยะ ออกผนวชจากราชตระกูลศากยะเกิดเป็นพระ-
พุทธเจ้าขึ้นในโลก. พระองค์ทรงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามใน
ท่ามกลาง งามในที่สุด ทรงประกาศพรหมจรรย์ พร้อมทั้งอรรถ
พร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง นักบวชเหล่านี้ฟังธรรมของ

พระองค์แล้ว ก็พากันออกบวช จ้ะลูก.
สมัยนั้น อุบาสกผู้หนึ่ง บรรลุผลรู้แจ่มแจ้งคำสั่งสอน เดินไปตาม
ถนนนั้น ได้ยินคำกล่าวนั้นแล้ว ก็เข้าไปหาสตรีทั้งสองนั้น. ขณะนั้น
พราหมณ์จึงกล่าวกะอุบาสกผู้นั้นว่า ท่านอุบาสก เดี๋ยวนี้ กุลบุตรจำนวน
มาก สละโภคสมบัติเป็นอันมาก สละเครือญาติใหญ่ ๆ พากันบวชใน
ลัทธิสมัยของพระศากยเจ้า กุลบุตรเหล่านั้นเห็นอำนาจประโยชน์อะไร
หนอ จึงพากันบวช อุบาสกฟังคำนั้นแล้วกล่าวว่า เห็นโทษในกามทั้ง
หลาย เห็นอานิสงส์ในการออกบวช แล้วจึงขยายความนั้นตามสมควร
แก่กำลังความรู้ของตน โดยพิสดาร พรรณนาคุณของพระรัตนตรัย
ประกาศคุณานิสงส์ของศีล 5 ทั้งปัจจุบัน ทั้งภายหน้า ลำดับนั้น ธิดา
ของพราหมณ์จึงถามอุบาสกนั้นว่า แม้เราก็สามารถตั้งอยู่ในสรณะและศีล
แล้วบรรลุคุณานิสงส์ที่ท่านกล่าวได้หรือ อุบาสกนั้นกล่าวว่า ธรรมเหล่านี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสทั่วไปแก่คนทุกคน เหตุไรจะไม่สามารถเล่า
แล้วได้ให้สรณะและศีลแก่นาง ธิดาพราหมณ์นั้น รับสรณะ สมาทาน
ศีลแล้ว ถามอีกว่า กิจที่ควรทำยิ่งกว่านี้มีอีกไหม. อุบาสกนั้นกำหนดว่า
นางเข้าใจ รู้ว่านางคงจักพรักพร้อมด้วยอุปนิสัย เมื่อจะประกาศสภาวะ
ของร่างกาย จึงบอกกรรมฐานคืออาการ 32 ให้นางเกิดคลายความรัก
ในกายสูงขึ้นไปก็ให้สลดใจด้วยธรรมกถา ที่ประกอบด้วยไตรลักษณ์ มี
ความไม่เที่ยงเป็นต้น บอกทางวิปัสสนาให้แล้วก็ไป. ธิดาของพราหมณ์
นั้น สนใจทุกคำ ที่อุบาสกนั้นกล่าวนัยไว้แล้ว มีจิตมั่นคงในการใส่ใจ
ปฏิกูลสัญญา เริ่มตั้งวิปัสสนา เพราะความพรักพร้อมแห่งอุปนิสัยไม่
นานนัก ก็ตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล สมัยต่อมา นางก็ตายไปบังเกิดเป็น

บริจาริกาของท้าวสักกเทวราช มีบริวารถึงแสนหนึ่ง ท้าวสักกเทวราช
เห็นนางแล้ว เกิดอัศจรรย์จิตมีหฤทัยบันเทิง จึงตรัสถามถึงกรรมที่นาง
ทำด้วย 4 คาถาว่า
วิมานนี้ น่ารัก มีรัศมีสว่างเป็นประจำ มีเสา
แก้วไพฑูรย์ เนรมิตไว้ดีแล้ว ต้นไม้ทองทั้งหลาย
ปกคลุมโดยรอบ เป็นสถานที่เกิดด้วยวิบากกรรมของ
เรา อัปสรที่มีอยู่ก่อนเหล่านี้ เกิดอยู่แล้วในที่นั้น
จำนวนแสนหนึ่ง ด้วยกรรมของตนเอง ตัวเจ้าผู้มียศ
ก็เกิดในที่นั่น ส่องรัศมีข่มเหล่าเทวดาเก่า ๆ ดวงจันทร์
ราชาแห่งดวงดาว รุ่งโรจน์ข่มหมู่ดาว ฉันใด ตัวเจ้า
รุ่งเรืองอยู่ด้วยยศก็รุ่งโรจน์ ข่มอัปสรหมู่นี่ ฉันนั้น
เหมือนกัน.

ดูก่อนเทพธิดาผู้มีพักตร์ชวนพิศ ตัวเจ้ามาจาก
ไหน จึงมาถึงภพนี้ของเรา พวกเราทุกองค์ไม่อิ่ม
ด้วยการเห็นเจ้าเลย เหมือนทรงเทพชั้นไตรทศ พร้อม
ด้วยองค์อินทร์ ไม่อิ่มด้วยกายเห็นองค์พระพรหม
ฉะนั้น.

ท้าวสักกเทวราชตรัสว่า อิทํ อิมานํ ในคาถานั้น ทรงหมายเอา
วิมานของพระองค์ ซึ่งเทวดานั้นเกิดแล้ว. บทว่า สสตํ ประกอบ
ความว่า น่ารัก มีรัศมีสว่างทุกเวลา อีกนัยหนึ่ง บทว่า สสตํ ได้แก่
แผ่ไปโดยชอบ อธิบายว่า กว้างขวางอย่างยิ่ง. บทว่า สมนฺตโมตฺถตํ

ได้แก่ ปกคลุมโดยรอบ. ท้าวสักกเทวราชตรัสว่า ฐานํ ทรงหมายเอา
วิมานนั่นเอง. จริงอยู่วิมานนั้น เรียกว่า ฐานะ สถาน เพราะเป็นที่คน
ทำบุญดำรงอยู่. บทว่า กมฺมวิปากสมฺภูตํ ได้แก่ เกิดโดยเป็นวิบากของกรรม
หรือเกิดพร้อมกับวิบากของกรรม. บทว่า มมํ พึงประกอบเข้ากับสอง
บทว่า อิทํ มม ฐานํ มม กมฺมวิปากสมฺภวํ สถานของเรานี้ เกิดด้วย
วิบากกรรมของเรา.
ในคาถาว่า ตตฺรูปปนฺนา มีความย่ออย่างนี้ว่า เหล่าบุพเทวดา
เพราะเกิดขึ้นก่อน ชื่อว่าอัปสรมีอยู่ก่อนเหล่านี้ จำนวนแสนหนึ่งเข้าถึง
คือเกิดขึ้น ในวิมานนั้น คือในวิมานตามที่กล่าวแล้วนั้น. บทว่า ตุวํสิ
ได้แก่ ตัวเจ้าเป็นผู้เข้าถึง เกิดขึ้นด้วยกรรมของตนเอง. บทว่า ยสสฺสินี
ได้แก่ ผู้พรักพร้อมด้วยปริวารยศ อธิบายว่า ตัวเจ้าส่องรัศมีรุ่งโรจน์ตั้งอยู่
ด้วยกรรม คือ อานุภาพกรรมของตนนั้นนั่นแล.
บัดนี้ ท้าวสักกเทวราช เมื่อจะทรงประกาศรัศมีนั้นด้วยอุปมา จึง
ตรัสคาถาว่า สสี เป็นต้น. ความของคาถานั้นว่า ดวงจันทร์ได้ชื่อว่า
สสี เพราะประกอบด้วยตรารูปกระต่าย และชื่อว่าราชาแห่งดวงดาว
เพราะมีคุณยิ่งกว่าดวงดาวทั้งหลาย ย่อมรุ่งโรจน์รุ้งร่วง ข่มงำดวงดาว
ทุกหมู่ ฉันใด ตัวเจ้าเมื่อรุ่งเรื่องด้วยยศของตน ก็รุ่งโรจน์โชติช่วง
ล้ำอัปสรเทพกัญญาหมู่กลุ่มนี้ ฉันนั้นเหมือนกัน ก็คำว่า อิมา และ อิมํ
เป็นเพียงนิบาต. แต่เกจิอาจารย์กล่าวว่า เจ้ารุ่งโรจน์เหมือนราชาแห่ง
ดวงดาว รุ่งโรจน์ล้ำหมู่ดาวฉะนั้น.
บัดนี้ ท้าวสักกเทวราช เมื่อจะตรัสถามถึงภพก่อนของเทวดานั้น
และบุญที่เทวดานั้นทำไว้ในภพนั้น จึงตรัสถามว่า กุโต นุ อาคมฺม

เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กุโต นุ อาคมฺม ความว่า ดูก่อน
นวลนางผู้ดูไม่จืดเลย คืองามทุกส่วนสัด เพราะบุญกรรมอะไรหนอ เป็น
ตัวเหตุ ตัวเจ้าจึงมาเข้าถึง คือเข้าถึงโดยการถือกำเนิด ยังภพของเรานี้.
ท้าวสักกเทวราช เมื่อจะทรงประกาศความที่ตรัสว่า อโนมทสฺสเน นี่แล
ด้วยอุปมา จึงตรัสว่า พฺรหฺมํว เทวา ติทสา สหินฺทกา สพฺเพน
ตปฺปามเส ทสฺสเนน ตํ.
ในคาถานั้น ความว่า ทวยเทพชั้นดาวดึงส์
ที่ชื่อว่า สหินทกะ เพราะพร้อมด้วยองค์อินทร์ เมื่อพบท้าวสหัมบดีพรหม
หรือสนังกุมารพรหมที่เสด็จถึง ย่อมไม่อิ่มด้วยการเห็น ฉันใด พวกเรา
ทวยเทพทุกองค์ย่อมไม่อิ่ม ด้วยการเห็นเจ้า ฉันนั้น.
ก็เทวดาองค์นั้น ถูกท้าวสักกะ จอมทวยเทพตรัสถามอย่างนี้แล้ว
เมื่อจะประกาศความนั้น จึงกล่าว 2 คาถาว่า
ข้าแต่ท่านท้าวสักกะ พระองค์ทรงพระกรุณา
ตรัสถามข้าพระบาทถึงปัญหาข้อนี้ได้ว่า เจ้าจุติจาก
ที่ไหนจึงมา ณ ที่นี้ ข้าพระบาทขอทูลตอบปัญหาข้อ
นั้นว่า ราชธานีของแคว้นกาลีมีอยู่ชื่อว่า พาราณสี
ข้าพระบาทเกิดในราชานี้นั้น มีชื่อว่า เปสการี
เพคะ.

ข้าพระบาทมีใจเลื่อมใส มีความเชื่อมั่นส่วน
เดียว ไม่สงสัยในพระพุทธเจ้า พระธรรม และ
พระสงฆ์ รักษาสิกขาบทไม่ขาดวิ่น บรรลุผลแล้ว
เป็นผู้แน่นอนในธรรม คือการตรัสรู้ ไม่มีโรคภัย.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ยเมตํ ความว่า ปัญหานั้นใด. บทว่า
อนุปุจฺฉเส ได้แก่ พระองค์ตรัสถาม โดยอนุกูล. บทว่า มมํ แปลว่า
ข้าพระบาท. ปุรตฺถิ ตัดบทว่า ปุรํ อตฺถิ แปลว่า บุรีมีอยู่. บทว่า กาสีนํ
ได้แก่ แคว้นกาสี. เทวดาระบุนามตนในอัตภาพก่อน ว่า เปสการี
ประกาศบุญของตน ด้วยบทว่า พุทฺเธ จ ธมฺเม จ เป็นต้น.
ท้าวสักกะ เมื่อจะทรงอนุโมทนาบุญสมบัติและทิพย์สมบัตินั้นของ
นาง จึงตรัสว่า
ดูก่อนเวลานาง ผู้มีใจเลื่อมใส มีความเชื่อมั่น
ส่วนเดียว ไม่สงสัยในพระพุทธเจ้า พระธรรม และ
พระสงฆ์ รักษาสิกขาบทไม่ขาดวิ่น บรรลุผลแล้ว
เป็นผู้แน่นอนในธรรมคือการตรัสรู้ ไม่มีโรคภัยเราขอ
แสดงความยินดีสมบัติของเจ้า และการมาดีของเจ้า
เจ้ารุ่งโรจน์ด้วยธรรมและยศ.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตนฺตฺยาภินนฺทามเส ได้แก่ เรายินดี
อนุโมทนา สมบัติแม้ทั้งสองของเจ้านั้น. บทว่า สฺวาคตญฺจ เต ได้แก่
และการมาในที่นี้ของเจ้า ที่ชื่อว่า สวฺาคต มาดี เป็นที่จำเริญสติและ
โสมนัสของเรา. คำที่เหลือมีนัยที่กล่าวมาแล้วทั้งนั้น.
ท้าวสักกเทวราชตรัสบอกเรื่องนั้น ถวายท่านพระมหาโมคคัลลาน-
เถระ. พระเถระจึงกราบทูลถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า. พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงทำความข้อนั้นให้เป็นอัตถุปปัตติเหตุเกิดเรื่อง จึงทรงแสดงธรรมแก่
บริษัทที่ประชุมกัน. เทศนานั้น เกิดประโยชน์แก่โลกพร้อมทั้งเทวโลกแล.
จบอรรถกถาเปสการิยวิมาน

จบอรรถกถาปีฐวรรคที่ 1 ประดับด้วย เรื่อง 17 เรื่อง ใน
วิมานวัตถุ แห่งปรมัตถทีปนี้ อรรถกถาขุททกนิกาย ด้วยประการฉะนี้.
จบอรรถกถาอิตถีวิมาน

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ


1. ปฐมปีฐวิมาน 2. ทุติยปีฐวิมาน 3. ตติยปีฐวิมาน 4. จตุตถ-
ปีฐวิมาน 5. กุญชรวิมาน 6. ปฐมนาวาวิมาน 7. ทุติยนาวาวิมาน
8. ตติยนาวาวิมาน 9. ปทีปวิมาน 10. ติลทักขิณาวิมาน 11. ปฐม-
ปติพพตาวิมาน 12. ทุติยปติพพตาวิมาน 13.ปฐมสุณิสาวิมาน 14. ทุติย-
สุณิสาวิมาน 15 อุตตราวิมาน 16. สิริมาวิมาน 7. เปสการิยวิมาน
และอรรถกถา.