เมนู

สกํ ปุญฺญํ ได้แก่ เสวยบุญของตน ตามที่สั่งสมไว้. จริงอยู่ ผลบุญอัน
ผู้ใดย่อมเสวย แม้บุญนั้นของผู้นั้น ก็เรียกว่า อนุภูยติ อันเขาย่อมเสวย
เพราะเป็นอุปจารใกล้ชิดกับผล. อีกนัยหนึ่ง แม้ผลสุจริต ท่านก็เรียกว่า
บุญ เพราะเป็นของปุถุชน ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย บุญนี้ย่อมเจริญอย่างนี้ เพราะเหตุที่สมาทานธรรมฝ่ายกุศล
ทั้งหลาย. บทว่า สุขิตา จมฺหิ อนามยา ได้แก่ ดีฉัน เป็นผู้เจริญ มีสุข
ด้วยสุขทิพย์ และสุขพละ มีอนามัยไร้โรคเพราะไม่มีทุกข์ ทางกาย
และทางใจ.
ศัพท์ในบทว่า มม จ เป็นสมุจจยัตถะ [ความประชุม]. ด้วย
ศัพท์นั้น อุตตราเทพธิดา ย่อมประมวลการไหว้สั่งความว่า และขอ
ท่านพึงถวายบังคม ตามคำของดีฉัน ไม่ใช่ตามสภาพของท่าน. แสดง
ความปรากฏแห่งความเป็นอริยสาวิกาของตน ด้วยคำว่า อนจฺฉริยํ
เป็นต้น. คำว่า ตํ ภควา เป็นต้นเป็นคำของพระสังคีติกาจารย์. คำที่
เหลือมีนัยกล่าวมาแล้วทั้งนั้นแล.
จบอรรถกถาอุตตราวิมาน

16. สิริมาวิมาน


ว่าด้วยสิริมาวิมาน


[16] พระวังคีสเถระประสงค์จะให้นางสิริมาเทพธิดา ได้ประกาศ
บุญกรรม ที่นางทำไว้ในครั้งก่อน จึงสอบถามนางด้วยสองคาถาว่า

ม้าของท่านเทียมรถ ประดับด้วยอลังการอย่าง
เยี่ยม ก้มหน้าไปในอากาศ มีกำลังว่องไว ม้าเหล่านั้น
เทียมรถ 500 อันบุญกรรมเนรมิตแล้ว นายสารถี
เตือนแล้วก็พาตัวท่านไป ท่านนั้นประดับองค์แล้วยืน
อยู่บนรถอันเพริศแพร้ว ก็สว่างไสวคล้ายดวงไฟกำลัง
โชติช่วงอยู่นี้.

ดูก่อนเทพธิดาผู้อ่าองค์ น่าดูไม่จืด อาตมาขอ
ถามท่าน ท่านมาจากเทพหมู่ไร จึงเข้าเฝ้าพระพุทธ-
เจ้าผู้ที่ไม่มีใครประเสริฐยิ่งกว่า.

สิริมาเทพธิดาจึงตอบด้วยคาถาว่า
บัณฑิตทั้งหลาย กล่าวถึงเทพซึ่งเป็นผู้เลิศด้วย
กามหมู่ใดว่า เป็นทวยเทพที่เยี่ยมหาที่เปรียบมิได้
ยินดีด้วยกามสมบัติ ที่ทวยเทพพวกอื่นมาเนรมิตให้
[ นิมมานรดี ดีฉันเป็นอัปสรที่มีวรรณะงาม มาจาก
เทพหมู่นั้น มาในมนุษยโลกนี้ก็เพื่อจะถวายบังคม
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ที่ไม่มีใครประเสริฐยิ่งกว่า.

พระเถระใคร่จะถามถึงบุญกรรมที่นางก่อสร้างไว้ในชาติก่อน จึง
ได้ถามด้วยสองคาถาว่า
ชาติก่อนแต่จะมาในที่นี้ ท่านได้สั่งสมสุจริต
กรรมอะไรไว้ ท่านจึงมียศนับประมาณไม่ได้ เปี่ยม
ไปด้วยความสุข เพราะบุญอะไร ตัวท่านจึงมีฤทธิ์ ซึ่ง
ไม่มีฤทธิ์ไร ๆ ประเสริฐยิ่งกว่า และเหาะได้ (เช่นนี้)

ทั้งวรรณะของท่านจึงสว่างไสวไปทั่วทุกทิศ ดูก่อน
เทวดา ท่านมีทวยเทพห้อมล้อมสักการะ ท่านจุติมา
จากที่ไหนจึงถึงสุคตินี้ อนึ่ง ท่านได้ทำตามโอวาทา-
นุสาสนีของศาสดาองค์ไร หากท่านเป็นสาวิกาของ
พระพุทธเจ้าไซร้ ขอท่านได้โปรดบอกอาตมาด้วย.

สิริมาเทพธิดา เมื่อจะตอบเนื้อความตามที่พระเถระถาม จึงกล่าว
ตอบด้วยคาถาเหล่านี้ว่า
ดีฉันเป็นปริจาริกานางบำเรอของพระเจ้าพิมพิ-
สารผู้ทรงคุณอันประเสริฐ ทรงมีสิริ ในมหานคร ซึ่ง
สถาปนาไว้ในระหว่างภูผา ดิฉันมีความชำนาญด้วย
ศิลปะการฟ้อนรำขับร้องอย่างเยี่ยม คนทั้งหลายใน
กรุงราชคฤห์ เขารู้จักดิฉันในนามว่า " สิริมา "
เจ้าข้า. พระพุทธเจ้าทรงเป็นนิสภะยอดผู้องอาจใน
จำพวกฤษีผู้แสวงหาคุณอันประเสริฐ ผู้แนะนำสัตว์
โลกพิเศษ ได้ทรงแสดงทุกขสัจ สมุทัยสัจ ทุกข-
นิโรธสัจความดับทุกข์ อันไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง และ
มรรคสัจที่ไม่คดทางตรง เป็นทางเกษมแก่ดีฉัน ดีฉัน
ครั้นฟังอมตบททางไม่ตาย ไม่มีปัจจัยปรุงแต่ง ซึ่ง
เป็นคำสอนของพระตถาคตผู้ประเสริฐแล้ว จึงเป็น
ผู้สำรวมอย่างเคร่งครัดในศีลทั้งหลาย ดำรงมั่นอยู่
ในธรรม ที่พระพุทธเจ้าผู้เลิศกว่านรชนทรงแสดงไว้
แล้ว ครั้นดีฉันรู้จักบทอันปราศจากกิเลสดุจธุลี ซึ่ง
ปัจจัยปรุงแต่งมิได้ ที่พระตถาคตผู้ประเสริฐทรง

แสดงไว้นั้น ดีฉันจึงได้สัมผัสสมาธิอันเกิดจากความ
สงบในอัตภาพนั้นเอง อันนั้นเป็นความแน่นอนใน
มรรคผลอันเยี่ยมสำหรับดีฉัน ครั้นได้อมตธรรมอัน
ประเสริฐ อันทำให้แยกจากปุถุชนแล้ว จึงเชื่อมั่น
โดยส่วนเดียว ในพระรัตนตรัย บรรลุคุณพิเศษเพราะ
ตรัสรู้ หมดความสงสัย จึงเป็นผู้ที่ชนเป็นอันมาก
บูชาแล้ว จึงเสวยความยินดีระเริงเล่นไม่น้อยเลย
โดยประการดังกล่าวมานี้ ดีฉันจึงเป็นเทพธิดาผู้เห็น
นิพพาน เป็นสาวิกาของพระตถาคตผู้ประเสริฐ เป็น
ผู้ได้เห็นธรรมตามความเป็นจริง เป็นผู้ตั้งอยู่ในผล
ขั้นแรก คือ เป็นโสดาบัน ทุคติเป็นอันไม่มีอีกละ
ดีฉันนั้นมาเพื่อถวายบังคมพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้
ประเสริฐ และนมัสการภิกษุทั้งหลายที่น่าเลื่อมใส
ผู้ยินดีในธรรมฝ่ายกุศล เละเพื่อจะนมัสการสมณะ
สมาคมอันเกษม ดีฉันเป็นผู้มีความเคารพในพระ-
ธรรมราชาผู้ทรงพระสิริ ครั้นได้เห็นพระสัมพุทธมุนี
แล้ว ก็ปลื้มใจอิ่มเอิบ ดีฉันขอถวายบังคมพระ-
ตถาคต ผู้เห็นสารถีฝึกคนดีที่ควรฝึก ทรงตัดตัณหา
เสียได้ ทรงยินดีแล้วกุศลธรรม ผู้ทรงแนะนำ
ประชุมชนให้พ้นทุกข์ ผู้ทรงอนุเคราะห์สัตวโลกด้วย
ประโยชน์เกื้อกูลอย่างยิ่ง.

จบสิริมาวิมาน

อรรถกถาสิริมาวิมาน


สิริมาวิมาน มีคาถาว่า ยุตฺตา จ เต ปรมอลงฺกตา เป็นต้น.
สิริมาวิมานนั้น เกิดขึ้นอย่างไร ?
พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระเวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน
กรุงราชคฤห์. สมัยนั้น โสเภณีชื่อสิริมา ที่กล่าวไว้ในเรื่องติดต่อมาใน
หนหลัง [อุตตราวิมาน] สละงานที่เศร้าหมอง [ การเป็นโสเภณี ]
เพราะบรรลุโสดาปัตติผล ได้ตั้งสลากภัต 8 กอง แก่พระสงฆ์. ตั้งแต่
ต้นมา ภิกษุ 8 รูปก็มาเรือนนางเป็นประจำ. นางสิริมานั้น กล่าวคำ
เป็นต้นว่า โปรดรับเนยใส โปรดรับนมสด แล้วบรรจุบาตรของภิกษุ
เหล่านั้นจนเต็ม. ของที่ภิกษุรูปหนึ่งได้ไป ย่อมพอแก่ภิกษุ 3 รูปบ้าง
4 รูปบ้าง นางถวายบิณฑบาต โดยคำใช้สอย 16 กหาปณะ ทุกวัน.
ต่อมาวันหนึ่ง ภิกษุรูปหนึ่งฉันสลากภัตกองที่ครบ 8 ในเรือนของ
นางแล้วก็ไปยังวิหารแห่งหนึ่งไกลออกไป 3 โยชน์. ครั้งนั้น ภิกษุทั้งหลาย
จึงถามภิกษุรูปนั้น ซึ่งนั่งในที่ปรนนิบัติพระเถระเวลาเย็นว่า ผู้มีอายุ
ท่านรับภิกษาที่ไหนจึงมาที่นี่. ตอบว่า ผมฉันสลากภัตกองที่ 8 ของ
นางสิริมา. ถามว่า ผู้มีอายุ นางสิริมา ถวายสลากภัตนั้นยังน่าพอใจอยู่
หรือ. ภิกษุนั้นจึงพรรณนาคุณของนางว่า ผมไม่อาจพรรณนาอาหารของ
นางได้ นางถวายแต่ของประณีตเหลือเกิน ของที่ภิกษุรูปหนึ่งได้ไป ยัง
พอแก่ภิกษุ 3 รูปบ้าง 4 รูปบ้าง. แต่การเห็นนางต่างหากที่สำคัญกว่า
ไทยธรรมของนาง. จริงอยู่ หญิงนั้นงามเห็นปานนี้ งามเห็นปานนั้น.
ลำดับนั้น ภิกษุรูปหนึ่งฟังคำพรรณนาคุณของนางสิริมานั้นแล้ว
แม้ไม่ได้เห็นตัวก็เกิดสิเนหาโดยได้ยินเท่านั้น คิดว่า เราควรจะไปดูนางใน