เมนู

โธตกปัญหาที่ 5


ว่าด้วยธรรมดับกิเลส


[429] โธตกมาณพได้ทูลถามปัญหาว่า
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระ-
องค์ขอทูลถามพระองค์ ขอพระองคึจงตรัส
บอกข้อความนั้นแก่ข้าพระองค์เถิด ข้าแต่
พระองค์ผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ ข้าพระองค์
ปรารถนาอย่างยิ่ง ซึ่งพระวาจาของพระองค์
บุคคลได้ฟังพระสุรเสียงของพระองค์แล้ว
พึงศึกษาธรรมเป็นเครื่องดับกิเลสเพื่อตน
เถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพยากรณ์ว่า ดูก่อนโธตกะ
ถ้าเช่นนั้น ท่านจงมีปัญญารักษาตน
มีสติกระทำความเพียรในศาสนานี้เถิด บุคคล
ฟังเสียงจากปากของเรานี้แล้ว พึงศึกษา
ธรรมเป็นเครื่องดับกิเลสเพื่อตนเถิด.
ข้าพระองค์เห็นพระองค์ผู้เป็น
พราหมณ์ หากังวลมิได้ ทรงยังพระกายให้
เป็นไปอยู่ในเทวโลกและมนุษยโลก ข้าแต่
พระองค์ผู้มีพระจักษุรอบคอบเพราะเหตุนั้น

ข้าพระองค์ขอถวายบังคมพระองค์ ข้าแต่
พระองค์ผู้ศากยะ ขอพระองค์จงทรงปลด-
เปลื้องข้าพระองค์เสียจากความสงสัยเถิด.
พ. ดูก่อนโธตกะ เราจักไม่อาจเพื่อ
จะปลดเปลื้องใคร ๆ ผู้ยังมีความสงสัยในโลก
ให้พ้นไปได้ ก็เมื่อท่านรู้ทั่วถึงธรรมอัน
ประเสริฐ จะข้ามโอฆะนี้ได้ ด้วยอาการ
อย่างนี้.
ธ. ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นพรหม ขอ
พระองค์จงทรงพระกรุณาสั่งสอนธรรมเป็น
ที่สงัดกิเลส ที่ข้าพระองค์ควรจะรู้แจ้ง และ
ขอพระองค์ทรงพระกรุณาสั่งสอน ไม่ให้
ข้าพระองค์ขัดข้องอยู่เหมือนอากาศเถิด
ข้าพระองค์อยู่ในที่นี้นี่แหละ จะพึงเป็นผู้
ไม่อาศัยแอบอิงเที่ยวไป.
พ. ดูก่อนโธตกะ เราจักแสดงธรรม
เครื่องระงับกิเลสแก่ท่าน ในธรรมที่เราได้
เห็นแล้ว เป็นธรรมประจักษ์แก่ตน ที่บุคคล
ได้รู้แจ้งแล้วเป็นผู้มีสติพึงดำเนินข้ามตัณหา
อันซ่านไปในอารมณ์ต่าง ๆ ในโลกเสียได้.
ธ. ข้าแต่พระองค์ผู้แสวงหาคุณอัน
ใหญ่ ก็ข้าพระองค์ยินดีอย่างยิ่ง ซึ่งธรรม

เป็นเครื่องระงับกิเลสอันสูงสุด ที่บุคคลได้
รู้แจ้งแล้ว เป็นผู้มีสติ พึงดำเนินข้ามตัณหา
อันซ่านไปในอารมณ์ต่าง ๆ ในโลกเสียได้.
พ. ดูก่อนโธตกะ ท่านรู้ชัดซึ่งส่วน
อย่างใดอย่างหนึ่ง ทั้งในส่วนเบื้องบน ทั้ง
ในส่วนเบื้องต่ำ แม้ในส่วนเบื้องขวางคือ
ท่ามกลาง ท่านรู้แจ้งสิ่งนั้นว่า เป็นเครื่อง
ข้องอยู่ในโลกอย่างนี้แล้ว อย่าได้ทำตัณหา
เพื่อภพน้อยและภพใหญ่เลย.

จบโธตกมาณวกปัญหาที่ 5

อรรถกถาโธตกสูตร1ที่ 5


โธตกสูตร

มีคำเริ่มต้นว่า ปุจฺฉามิ ตํ โธตกมาณพได้ทูลว่า
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระองค์ขอทูลถามพระองค์ ดังนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า วาจาภิกงฺขามิ คือข้าพระองค์ปรารถนาอย่าง
ยิ่งซึ่งพระวาจาของพระองค์. บทว่า สิกฺเข นิพฺพานมตฺตโน พึงศึกษา
ธรรมเป็นเครื่องดับกิเลสเพื่อตน คือพึงศึกษาอธิศีลเป็นต้น เพื่อประโยชน์แก่
การดับกิเลสมีราคะเป็นต้นเพื่อตน. บทว่า อิโต คือจากปากของเรา.
1. บาลีเป็น โธตกปัญหา.