เมนู

ปุณณกปัญหาที่ 3


ว่าด้วยเครื่องบูชายัญ


[927] ปุณณกมาณพทูลถามปัญหาว่า
ข้าพระองค์มีความต้องการปัญหา จึง
มาเฝ้าพระองค์ผู้ไม่มีความหวั่นไหว ผู้ทรง
เห็นรากเหง้ากุศลและอกุศล สัตว์ทั้งหลายผู้
เกิดเป็นมนุษย์ในโลกนี้ คือ ฤาษี กษัตริย์
พราหมณ์ เป็นอันมาก อาศัยอะไร จึงบูชา
ยังแก่เทวดาทั้งหลาย ข้าแต่พระผู้มีภาคเจ้า
ข้าพระองค์ขอทูลถามพระองค์ ขอพระองค์
จงตรัสบอกความข้อนั้นแก่ข้าพระองค์เถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์ว่า ดูก่อนปุณณกะ
สัตว์ทั้งหลายผู้เกิดเป็นมนุษย์เหล่า-
ใดเหล่าหนึ่งเป็นอันมากในโลกนี้ คือ ฤาษี
กษัตริย์ พราหมณ์ ปรารถนาความเป็น
มนุษย์เป็นต้น อาศัยของมีชรา จึงบูชายัญ
แก่เทวดาทั้งหลาย.
ป. สัตว์ทั้งหลายผู้เกิดเป็นมนุษย์
เหล่าใดเหล่าหนึ่ง เป็นอันมากในโลกนี้ คือ
ฤาษี กษัตริย์ พราหมณ์ บูชายัญแก่เทวดา

ทั้งหลาย ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้นิรทุกข์
สัตว์ทั้งหลายผู้เกิดเป็นมนุษย์เหล่านั้น เป็น
คนไม่ประมาทในยัญ ข้ามพ้นชาติและชรา
ได้บ้างแลหรือ ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ข้าพระองค์ขอทูลถามพระองค์ ขอพระองค์
จงตรัสบอกความข้อนั้นแก่ข้าพระองค์เถิด.
พ. ดูก่อนปุณณกะ สัตว์ทั้งหลาย
ผู้เกิดเป็นมนุษย์เหล่านั้น ย่อมมุ่งหวัง ย่อม
ชมเชย ย่อมปรารถนา ย่อมบูชา ย่อมรำพัน
ถึงกาม เพราะอาศัยลาภ เรากล่าวว่า สัตว์
เหล่านั้นประกอบการบูชา ยังเป็นคนกำหนัด
ยินดีในภพ ไม่ข้ามพ้นชาติและชราไปได้.
ป. ข้าแต่พระองค์ผู้นิรทุกข์ ถ้าหาก
ว่าสัตว์เหล่านั้นผู้ประกอบการบูชา ไม่ข้าม
พ้นชาติและชราไปได้ด้วยยัญวิธีทั้งหลาย
ไซร้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ใครเล่าในเทวโลก
และมนุษย์โลก ข้ามพ้นชาติและชราไปได้
ในบัดนี้ ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้า-
พระองค์ขอทูลถามพระองค์ ขอพระองค์จง
ตรัสบอกความข้อนั้นแก่ข้าพระองค์เถิด.

พ. ดูก่อนปุณณกะ ผู้ใดไม่มีความ
หวั่นไหว (ดิ้นรน) ในโลกไหน ๆ เพราะ
ได้พิจารณาเห็นธรรมที่ยิ่งและหย่อนในโลก
ผู้นั้นสงบแล้ว ไม่มีความประพฤติชั่วอันจะ
ทำให้มัวหมองดุจควันไฟ ไม่มีกิเลสอัน
กระทบจิต หาความหวังมิได้ เรากล่าวว่า
ผู้นั้น ข้ามพ้นชาติและชราไปได้แล้ว.

จบปุณณกมาณวกปัญหาที่ 3

อรรถกถาปุณณกสูตร1ที่ 3


ปุณณกสูตร

มีคำเริ่มต้นว่า อเนชํ ดังนี้ แม้พระสูตรนี้ พระผู้มี-
พระภาคเจ้าก็ทรงตรัสห้ามโมฆราชโดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแล.
ในบทเหล่านั้น บทว่า มูลทสฺสาวึ คือผู้เห็นรากเหง้ามีอกุศลมูล
เป็นต้น . บทว่า อิสโย ได้แก่ชฎิล มีชื่อว่า ฤาษี. บทว่า ยญฺญํ ได้แก่
ไทยธรรม. บทว่า อกปฺปยึสุ คือแสวงหา.
บทว่า อาสึสมานา คือปรารถนารูปเป็นต้น. บทว่า อิตฺถตฺตํ
คือปรารถนาความเป็นมนุษย์เป็นต้น. บทว่า ชรํ สิตา คืออาศัยชรา. ใน
บทนี้ท่านกล่าวถึงทุกข์ในวัฏฏะทั้งหมดด้วยหัวข้อคือชรา. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มี-
1. บาลีเป็น ปุณณกปัญหา.