เมนู

ตุวฏกสูตรที่ 14


ว่าด้วยมีความเห็นแล้วถือมั่น


พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า
[421] ข้าพระองค์ขอทูลถามพระ-
องค์ผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์ ผู้สงัดและ
มีความสงบเป็นที่ตั้ง ผู้แสวงหาคุณอันใหญ่
ภิกษุเห็นอย่างไรจึงไม่ถือมั่นธรรมอะไร ๆ
ในโลก ย่อมดับ.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า
ภิกษุพึงปิดกั้นเสียซึ่งธรรมทั้งปวง
อันเป็นรากเหง้าแห่งส่วนของธรรมเป็นเครื่อง
ยังสัตว์ให้เนิ่นช้า ซึ่งเป็นไปอยู่ว่า เป็นเรา
ด้วยปัญญา ตัณหาอย่างใดอย่างหนึ่งพึงบัง-
เกิดขึ้น ณ ภายใน ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติศึกษา
ทุกเมื่อ เพื่อปราบตัณหาเหล่านั้น.
ภิกษุพึงรู้ยิ่งธรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง
ณ ภายใน หรือภายนอกไม่พึงกระทำความ
ถือตัวด้วยธรรมนั้น สัตบุรุษทั้งหลายไม่กล่าว
ความดับนั้นเลย.

ภิกษุไม่พึงสำคัญว่า เราเป็นผู้ประ-
เสริฐกว่าเขา เสมอเขาหรือเลวกว่าเขา ด้วย
ความถือตัวนั้น ถูกผู้อื่นถามด้วยคุณหลาย-
ประการ ก็ไม่พึงกำหนดตนตั้งอยู่โดยนัย
เป็นต้นว่า เราบวชแล้วจากสกุลสูง.
ภิกษุพึงสงบระงับภายในเทียว ไม่พึง
แสวงหาความสงบโดยอุบายอย่างอื่น ความ
เห็นว่าตัวตน ย่อมไม่มีแก่ภิกษุผู้สงบแล้ว ณ
ภายใน.
อนึ่ง ความเห็นว่าไม่มีตัวตน คือ
เห็นว่าขาดสูญ จักมีแต่ที่ไหน คลื่นไม่เกิด
ที่ท่ามกลางเเห่งสมุทร สมุทรนั้นตั้งอยู่ไม่-
หวั่นไหว ฉันใด ภิกษุพึงเป็นผู้มั่นคง ไม่
หวั่นไหวในอิฏฐผลมีลาภเป็นต้น ฉันนั้น
ภิกษุไม่พึงกระทำกิเลสเครื่องฟูขึ้นมีราคะ
เป็นต้น ในอารมณ์ไหน ๆ.

พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้มีจักษุเปิดแล้ว ขอ
พระองค์ได้ตรัสบอกธรรมที่ทรงเห็นด้วย
พระองค์เอง อันนำเสียซึ่งอันตราย (ขอพระ-
องค์จงมีความเจริญ) ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ

ขอพระองค์จงตรัสบอกข้อปฏิบัติ และศีล
เครื่องให้ผู้รักษาพ้นจากทุกข์หรือสมาธิเถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า
ภิกษุไม่พึงเป็นผู้โลเลด้วยจักษุเลย
พึงปิดกั้นโสตเสียจากถ้อยคำของชาวบ้าน
ไม่พึงกำหนัดยินดีในรสและไม่พึงถือสิ่ง
อะไร ๆ ในโลกว่า เป็นของเรา.
เมื่อตนอันผัสสะถูกต้องแล้ว ใน
กาลใด ในกาลนั้น ภิกษุไม่พึงกระทำความ
ร่ำไร ไม่พึงปรารถนาภพในที่ไหน ๆ และ
ไม่พึงหวั่นไหวในเพราะอารมณ์ที่น่ากลัว.
ภิกษุได้ข้าว น้ำ ของเคี้ยว หรือ
แม้ผ้าแล้ว ไม่พึงกระทำการสั่งสมไว้และ
เมื่อไม่ได้สิ่งเหล่านั้น ก็ไม่พึงสะดุ้งดิ้นรน.
พึงเป็นผู้เพ่งฌาน ไม่พึงโลเลด้วย
การเที่ยว พึงเว้นความคะนอง ไม่พึง
ประมาท อีกอย่างหนึ่ง ภิกษุพึงอยู่ในที่นั่ง
และที่นอนอันเงียบเสียง.
ไม่พึงนอนมาก พึงมีความเพียร
เสพความเป็นผู้ตื่นอยู่ พึงละเสียให้เด็ดขาด
ซึ่งความเกียจคร้าน ความล่อลวง ความ
ร่าเริง การเสพเมถุนธรรมกับทั้งการประดับ.

ภิกษุผู้นับถือพระพุทธเจ้าว่าเป็นของ
เรา ไม่พึงประกอบอาถรรพ์ ตำราทำนายฝัน
ทำนายลักษณะ นักขัตฤกษ์ การทำนายเสียง
สัตว์ร้อง การทำยาให้หญิงมีครรภ์ และการ
เยียวยารักษา.
ภิกษุไม่พึงหวั่นไหว เพราะนินทา
เมื่อเขาสรรเสริญก็ไม่พึงเห่อเหิม พึงบรรเทา
ความโลภ พร้อมทั้งความตระหนี่ ความโกรธ
และคำส่อเสียดเสีย.
ภิกษุไม่พึงขวนขวายในการซื้อการ-
ขายไม่พึงกระทำการกล่าวติเตียนในที่ไหน ๆ
และไม่พึงคลุกคลีในชาวบ้าน ไม่พึงเจรจา
กะชนเพราะความใคร่ลาภ.
ภิกษุไม่พึงเป็นผู้พูดโอ้อวด ไม่
พึงกล่าววาจาประกอบปัจจัยมีจีวรเป็นต้น ไม่
พึงศึกษาความเป็นผู้คะนอง ไม่พึงกล่าว
ถ้อยคำเถียงกัน.
ภิกษุพึงเป็นผู้มีสัมปชัญญะ ไม่พึง
นิยมในการกล่าวมุสา ไม่พึงกระทำความ
โอ้อวด อนึ่ง ไม่พึงดูหมิ่นผู้อื่นด้วยความ
เป็นอยู่ด้วยปัญญา ศีลและพรต,

ภิกษุถูกผู้อื่นเสียดสีแล้ว ได้ฟังวาจา
มากของสมณะทั้งหลายหรือของชนผู้พูดมาก
ไม่พึงโต้ตอบด้วยคำหยาบ เพราะสัตบุรุษ
ทั้งหลายย่อมไม่กระทำความเป็นข้าศึก.
ภิกษุรู้ทั่วถึงธรรมนี้แล้ว ค้นคว้า
พิจารณาอยู่ รู้ความดับกิเลสว่าเป็นความสงบ
ดังนี้แล้ว พึงเป็นผู้มีสติศึกษาทุกเมื่อ ไม่พึง
ประมาทในศาสนาของพระโคดม.
ภิกษุนั้นพึงเป็นผู้ครอบงำอารมณ์มี
รูปเป็นต้น อันอารมณ์มีรูปเป็นต้นครอบงำ
ไม่ได้ เป็นผู้เห็นธรรมที่ตนเห็นเองประจักษ์
แก่ตน เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุผู้ไม่ประมาท
พึงนอบน้อมศึกษาไตรสิกขาอยู่เนือง ๆ ใน
ศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น
ทุกเมื่อเทอญ.

จบตุวฏกสูตรที่ 14

อรรถกถาตุวฏกสูตรที่ 14


ตุวฏกสูตร

มีคำเริ่มต้นว่า ปุจฺฉามิ ตํ ข้าพระองค์ขอทูลถามพระ-
องค์ดังนี้.
พระสูตรนี้มีการเกิดขึ้นอย่างไร ?
ในมหาสมัยนั้นอีกนั่นแหละ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพระสูตรนี้เพื่อ
ทรงประกาศความนั้นแก่ทวยเทพบางพวกผู้มีจิตเกิดขึ้นว่า อะไรหนอ คือการ
ปฏิบัติเพื่อบรรลุพระอรหัตจึงให้พระพุทธนิมิตตรัสถามโดยนัยก่อนนั่นแล. ใน
คาถาต้นนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแก้คำถามด้วยการเทียบเคียงความเห็นใน
บทนี้ว่า ปุจฺฉามิ ดังนี้. บทว่า อาทิจฺจพนฺธุํ คือ เผ่าพันธุ์พระอาทิตย์.
บทว่า วิเวกํ สนฺติปทญฺจ ได้แก่ ผู้สงัดและมีความสงบเป็นที่ตั้ง. บทว่า
กถํ ทิสฺวา คือ เห็นด้วยเหตุไร อธิบายว่า เป็นผู้เป็นไปแล้วอย่างไร.
ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เพราะภิกษุเห็นอย่างใด ย่อมปิดกั้น
กิเลสทั้งหลาย เป็นผู้มีทัศนะเป็นไปแล้วเพราะเห็นอย่างนั้น ย่อมดับ ฉะนั้น
เมื่อจะทรงทำความนั้นให้แจ่มแจ้ง จึงทรงชักชวนเทพบริษัทนั้นในการละกิเลส
ด้วยประการต่าง ๆ ได้ตรัสคาถา 5 คาถา เริ่มว่า มลํ ปปญฺจสาขาย ธรรม
ทั้งปวงอันเป็นรากเหง้าแห่งส่วนของธรรมเป็นเครื่องยังสัตว์ให้เป็นช้า ดังนี้.
พึงทราบความสังเขปแห่งคาถาต้นในคาถาเหล่านั้นก่อน. กิเลสทั้ง
หลายมีอวิชชาเป็นต้นอันเป็นรากเหง้าแห่งส่วนของธรรมเป็นเครื่องยังสัตว์ให้
เนิ่นช้า เพราะท่านเรียกว่า ปปญฺจา นั้นภิกษุพึงปิดกั้นเสียซึ่งธรรมทั้งปวง