เมนู

ปุราเภทสูตรที่ 10


ว่าด้วยบุคคลผู้สงบ


พระพุทธนิมิตตรัสถามว่า
[417] บุคคลผู้มีความเห็นอย่างไร
มีศีลอย่างไร บัณฑิตจึงกล่าวว่าเป็นผู้สงบ
ท่านพระโคดม พระองค์ผู้อันข้าพระองค์
ถามแล้ว ขอจงตรัสบอกนระผู้สูงสุดแก่
ข้าพระองค์เถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า
ผู้ใดปราศจากตัณหาก่อนแต่สรีระ
แตก เป็นผู้ไม่อาศัย กาลเบื้องต้น (อดีต)
และเบื้องปลาย (อนาคต) อันใคร ๆ จะพึง
นับว่า เป็นผู้ยินดีแล้ว ในกาลท่ามกลาง
(ปัจจุบัน) ไม่ได้ ความมุ่งหวังของผู้นั้นย่อม
ไม่มี เรากล่าวผู้นั้นว่าเป็นผู้สงบ.
ผู้ใดไม่โกรธ ไม่สะดุ้ง ไม่โอ้อวด
ไม่คะนอง พูดด้วยปัญญา ไม่ฟุ้งซ่าน ผู้
นั้นแล เป็นมุนีผู้สำรวมแล้วด้วยวาจา.
ผู้ใดไม่ทะเยอทะยานในสิ่งที่ยังไม่
มาถึง ไม่เศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงไปแล้ว เป็น

ผู้มีปกติเห็นความสงัดในผัสสะ อันใคร ๆ
จะนำไปในทิฏฐิทั้งหลายไม่ได้เลย ผู้ใด
ปราศจากกิเลส ไม่หลอกลวง มีปกติไม่
ทะเยอทะยาน ไม่ตระหนี่ ไม่คะนอง ไม่
เป็นที่เกลียดชัง ไม่ประกอบในคำส่อเสียด.
เว้นจากความเชยชมในกามคุณอัน
เป็นวัตถุน่ายินดี ทั้งไม่ประกอบในการดู
หมิ่น เป็นผู้ละเอียดอ่อน มีปฏิภาณ ไม่
เชื่อต่อใคร ๆ ไม่กำหนัดยินดี ไม่ศึกษา
เพราะใคร่ลาภ ไม่โกรธเคืองในเพราะความ
ไม่มีลาภ และเป็นผู้ไม่พิโรธ ไม่ยินดีใน
รสด้วยตัณหา เป็นผู้วางเฉย มีสติทุกเมื่อ
ไม่สำคัญตัว ว่าเสมอเขา ว่าวิเศษกว่าเขา
ว่าเลวกว่าเขาในโลก กิเลสอันฟูขึ้นทั้งหลาย
ของผู้นั้น ย่อมไม่มี.
ตัณหานิสัยและทิฏฐินิสสัยของผู้
ใดไม่มี ผู้นั้นรู้ธรรมแล้ว เป็นผู้อันตัณหา
และทิฏฐิไม่อาศัยแล้ว ความทะยานอยาก
เพื่อความมี หรือเพื่อความไม่มีของผู้ใดไม่มี
เรากล่าวผู้นั้น ผู้ไม่มีความห่วงใยในกามทั้ง
หลายว่า เป็นผู้สงบกิเลส เครื่องร้อยรัดทั้ง
หลายของผู้ใดไม่มี ผู้นั้นข้ามตัณหาได้แล้ว.

บุตร ธิดา สัตว์เลี้ยง ไร่นาและที่ดิน
ของผู้ใดไม่มี แม้ความเห็นว่าเป็นตัวตนก็ดี
ความเห็นว่าไม่เป็นตัวตนก็ดี อันใคร ๆ
ย่อมไม่ได้ในผู้นั้น
ปุถุชนหรือสมณพราหมณ์จะพึงกล่าว
กะผู้นั้น (ว่าผู้ยินดีแล้ว หรือผู้ประทุษร้าย
แล้ว) โดยโทษมีราคะเป็นต้นใด โทษมีราคะ
เป็นต้นนั้น ไม่ใช่เป็นความมุ่งหวังของผู้นั้น
เพราะเหตุนั้น ผู้นั้นย่อมไม่หวั่นไหว ใน
เพราะถ้อยคำทั้งหลาย.
มุนีผู้ปราศจากความกำหนัดยินดีไม่
มีความตระหนี่ ย่อมไม่กล่าวยกย่องใน
บุคคลผู้ประเสริฐกว่า ผู้เสมอกัน หรือผู้เลว
กว่า ผู้ไม่มีกัปปะ (คือตัณหาแลทิฏฐิ) ย่อม
ไม่มาสู่กัปปะ ผู้ใดไม่มีความหวงแหนว่า
ของตนในโลก ไม่เศร้าโศกเพราะสิ่งที่ไม่มี
อยู่ และไม่ลำเอียงในธรรมทั้งหลาย ผู้นั้น
แล เรากล่าวว่าเป็นผู้สงบ.

จบปุราเภทสูตรที่ 10

อรรถกถาปุราเภทสูตรที่ 10


ปุราเภทสูตร

มีคำเริ่มต้นว่า กถํทสฺสี ดังนี้.
พระสูตรนี้มีการเกิดขึ้นอย่างไร ?
ท่านกล่าวถึงการเกิดแห่งพระสูตรนี้และอีก 5 พระสูตร คือ กลหวิวาท-
สูตร จูฬวิยูหสูตร มหาวิยูหสูตร ตุวฏกสูตร และอัตตทัณฑสูตร โดยความ
เสมอกันตามนัยดังกล่าวแล้วในการเกิดแห่งสัมมาปริพาชนิยสูตรนั้นแล. แต่
โดยความต่างกัน พระผู้มีพระภาคเจ้า ในมหาสมัยนั้น เพื่อทรงแสดงธรรม
ให้เป็นที่สบายแก่พวกเทวดาที่เป็นราคจริต จึงทรงให้พระพุทธนิมิตถามพระ-
องค์ แล้วได้ตรัสสัมมาปริพพาชนิยสูตรขึ้นฉันใด ในมหาสมัยนั้นก็ฉันนั้น
เหมือนกัน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบจิตของพวกเทวดาที่มีจิตเกิดขึ้นว่า
ก่อนตายเราควรทำอะไรหนอ เพื่อทรงอนุเคราะห์เทวดาเหล่านั้นจึงทรงนำ
พระพุทธนิมิต พร้อมด้วยภิกษุบริวาร 1,350 รูป มาทางอากาศ ให้พระ-
พุทธนิมิตนั้นถามปัญหาพระองค์แล้วจึงได้ตรัสพระสูตรนี้.
พึงทราบความในคำถามนั้นดังนี้ พระพุทธนิมิตตรัสถามถึงอธิปัญญา
ด้วยคำว่า บุคคลมีความเห็นอย่างไร ถามถึงอธิศีลด้วยคำว่า บุคคลมีศีล
อย่างไร ถามถึงอธิจิตด้วยคำว่า บุคคลเช่นไรเป็นผู้สงบ บทที่เหลือชัดแล้ว
ทั้งนั้น.
พึงทราบความในการตอบดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้ามิได้ทรงแก้อธิ-
ปัญญาเป็นต้น โดยสรูปตรัสว่าบุคคลชื่อว่าเป็นผู้สงบ เพราะกิเลสสงบโดยเป็น
ผู้มีอธิปัญญาเป็นต้น เมื่อจะทรงแสดงถึงความสงบแห่งกิเลสนั้น ๆ โดยอนุโลม
ตามอัธยาศัยของเหล่าเทวดาต่าง ๆ จึงได้ตรัสคาถามีอาทิว่า วีตตณฺโห