เมนู

ปรมัฏฐกสูตรที่ 5


ว่าด้วยเรื่องทิฏฐิของคน


[412] บุคคลในโลกยึดถือในทิฏฐิ
ทั้งหลายว่า สิ่งนี้เป็นอย่างยิ่ง ย่อมกระทำ
ศาสดาเป็นต้นของตนให้เป็นผู้ประเสริฐ
กล่าวผู้อื่นนอกจากศาสดาเป็นต้นของตนนั้น
ว่า เลวทั้งหมด เพราะเหตุนั้น บุคลนั้น
จึงไม่ล่วงพ้นความวิวาทไปได้.
บุคคลนั้นเห็นอานิสงส์อันใดในตน
กล่าวคือ ทิฏฐิ ที่เกิดขึ้นในสิ่งเหล่านี้ คือ
ในรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง ศีล พรต
หรืออารมณ์ที่ได้ทราบ บุคคลนั้น ยืดมั่น
อานิสงส์ในทิฏฐิของตนนั้นแลว่าประเสริฐ
ที่สุด เห็นศาสดาอื่นทั้งหมดโดยความเป็น
คนเลว.
อนึ่ง บุคคลผู้อาศัยศาสดาของตน
แล้ว เห็นศาสดาอื่นเป็นคนเลว เพราะความ
เห็นอันใด ท่านผู้ฉลาดทั้งหลายกล่าวความ
เห็นนั้นว่า เป็นกิเลสเครื่องร้อยรัด เพราะ
ฉะนั้นแหละ ภิกษุไม่พึงยึดมั่นรูปที่ได้เห็น

เสียงที่ได้ฟัง อารมณ์ที่ได้ทราบ หรือศีล
และพรต.
แม้ทิฏฐิก็ไม่พึงกำหนดด้วยญาณ
หรือแม้ด้วยศีลและพรตในโลก ไม่พึงนำตน
เข้าไปเปรียบว่า เป็นผู้เสมอเขา ไม่พึง
สำคัญว่า เป็นผู้เลวว่าเขา หรือว่าเป็นผู้
วิเศษกว่าเขา.
ภิกษุนั้นละความเห็นว่าเป็นตนได้
แล้ว ไม่ถือมั่นอยู่ ย่อมไม่กระทำนิสัย
(ตัณหานิสัยและทิฏฐินิสัย) แม้ในญาณ ไม่
เป็นผู้แล่นไปเข้าพวกในสัตว์ทั้งหลายผู้แตก-
ต่างกันด้วยอำนาจทิฏฐิต่าง ๆ ย่อมไม่กลับ
มาแม้สู่ทิฏฐิอะไร ๆ.
พราหมณ์ในโลกนี้ไม่มีตัณหาในส่วน
สุดทั้ง 2 มีผัสสะเป็นต้นเพื่อความเกิดบ่อย ๆ
ในโลกนี้หรือในโลกอื่น ไม่มีความยึดมั่น
อะไร ๆ ไม่มีสัญญาอันปัจจัยกำหนดแล้ว
แม้แต่น้อย ในรูปที่ได้เห็น ในเสียงที่ได้ฟัง
หรือในอารมณ์ที่ได้ทราบ ในโลกนี้ เพราะ
ได้ตัดสินธรรม ที่ตนยึดถือแล้วในธรรมทั้ง-
หลายใคร ๆ จะพึงกำหนดพราหมณ์นั้นผู้ไม่

ถือมั่นทิฏฐิ ด้วยการกำหนดด้วยตัณหาหรือ
ด้วยการกำหนดด้วยทิฏฐิอะไร ๆ ในโลกนี้.
พราหมณ์ทั้งหลายย่อมไม่กำหนดด้วย
ตัณหาหรือทิฏฐิ ย่อมไม่กระทำตัณหาและ
ทิฏฐิไว้ในเบื้องหน้า แม้ธรรมคือทิฏฐิทั้ง-
หลาย พราหมณ์เหล่านั้นก็มิได้ปกปิดไว้
พราหมณ์ผู้อันใคร ๆ จะพึงนำไปด้วยศีล
และพรตไม่ได้ ถึงฝั่ง คือ นิพพานแล้ว
เป็นผู้คงที่ ย่อมไม่กลับมา หากิเลสทั้งหลาย
อีก ฉะนั้นแล.

จบปรมัฏฐกสูตรที่ 5

อรรถกถาปรมัฏฐกสูตรที่ 5


ปรมัฏฐกสูตร

มีคำเริ่มต้นว่า ปรมนฺติ ทิฏฺฐีสุ ในทิฏฐิทั้งหลาย
ว่าสิ่งนี้เป็นอย่างยิ่ง ดังนี้.
พระสูตรนี้มีการเกิดขึ้นอย่างไร ?
ได้ยินว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ กรุงสาวัตถี พวก
เดียรถีย์ต่าง ๆ ประชุมกันแสดงทิฏฐิของตน ๆ ว่าสิ่งนี้เป็นอย่างยิ่ง เกิดโต้เถียง
กันแล้วพากันไปกราบทูลพระราชา. พระราชาให้ประชุมคนตาบอดแต่กำเนิด
เป็นอันมากแล้วรับสั่งว่า พวกเจ้าจงแสดงช้างเหล่านี้ ดังนี้. พวกราชบุรุษ