เมนู

สุทธัฏฐกสูตรที่ 4


ว่าด้วยเรื่องเห็นผู้บริสุทธิ์


[411] คนพาลผู้ประกอบด้วยทิฏฐิ
สำคัญเอาเองว่าเราได้เห็นบุคคลผู้บริสุทธิ์
เป็นบุคคลผู้ยิ่งใหญ่หาโรคมิได้ ความหมด-
จดด้วยดี ย่อมมีได้แก่นรชนด้วยการเห็น
เมื่อคนพาลนั้นสำคัญเอาเองอย่างนี้ รู้ว่า
ความเห็นนั้นเป็นความเห็นยิ่ง.
แม้เป็นผู้เห็นบุคคลผู้บริสุทธิ์เนือง ๆ
ก็ย่อมเชื่อว่า ความเห็นนั้นเป็นมรรคญาณ
ถ้าว่าความบริสุทธิ์ย่อมมีได้แก่นรชนด้วยการ
เห็น หรือนรชนนั้นย่อมละทุกข์ได้ด้วยมรรค
อันไม่บริสุทธิ์อย่างอื่นจากอริยมรรค นรชน
ผู้เป็นอย่างนี้ย่อมบริสุทธิ์ไม่ได้เลย ก็คนมี
ทิฏฐิ ย่อมกล่าวยกย่องความเห็นนั้นของคน
ผู้กล่าวอย่างนั้น.
พราหมณ์ไม่กล่าวความบริสุทธิ์โดย
มิจฉาทิฏฐิญาณอย่างอื่นจากอริยมรรคญาณ
ที่เกิดขึ้นในเพราะรูปที่ได้เห็น เสียงที่ได้ฟัง

ศีล พรต และในเพราะอารมณ์ที่ได้ทราบ
พราหมณ์นั้นไม่ติดอยู่ในภพและบาป ละ
ความเห็นว่าเป็นตนเสียได้ ไม่กระทำในบุญ
และบาปนี้.
ชนผู้ประกอบด้วยทิฏฐิ เป็นผู้กล่าว
ความบริสุทธิ์โดยทางมรรคอย่างอื่นเหล่านั้น
ละศาสดาเบื้องต้นเสีย อาศัยศาสดาอื่น อัน
ตัณหาครอบงำย่อมข้ามธรรมเป็นเครื่องข้อง
ไม่ได้ ชื่อว่าถือเอาธรรมนั้นด้วย ละธรรม
นั้นด้วย เปรียบเหมือนวานรจับและปล่อย
กิ่งไม้ที่ตรงหน้าเสียเพื่อจับกิ่งอื่น ฉะนั้น.
สัตว์ผู้ข้องอยู่ในกามสัญญา สมา-
ทานวัตรเองแล้วไปเลือกหาศาสดาดีและเลว
ส่วนพระขีณาสพผู้มีปัญญาเสมอด้วยแผ่นดิน
ผู้มีความรู้แจ้ง ตรัสรู้ธรรมด้วยเวทคือมรรค
ญาณ ย่อมไม่ไปเลือกหาศาสดาดีและเลว.
พระขีณาสพนั้นครอบงำมาร และ
เสนาในธรรมทั้งปวง คืออารมณ์อย่างใด
อย่างหนึ่งที่ได้เห็น ได้ฟัง หรือได้ทราบ
ใคร ๆ จะพึงกำหนดพระขีณาสพผู้บริสุทธิ์
ผู้เห็นความบริสุทธิ์ เป็นผู้มีหลังคาคือกิเลส

อันเปิดแล้ว ผู้เที่ยวไปอยู่ ด้วยการกำหนด
ด้วยตัณหาและทิฏฐิอะไรในโลกนี้.
พระขีณาสพทั้งหลาย ย่อมไม่กำหนด
ด้วยตัณหาหรือด้วยทิฏฐิ ย่อมไม่กระทำ
ตัณหาและทิฏฐิไว้ในเบื้องหน้า พระขีณาสพ
เหล่านั้นย่อมไม่กล่าวว่า ความบริสุทธิ์มีที่สุด
ด้วยอกิริยทิฏฐิและสัสสตทิฏฐิ ท่านสละ
คันถะกิเลสเครื่องร้อยรัดอันเนื่องอยู่ในจิต
สันดานได้แล้ว ย่อมไม่กระทำความหวังใน
โลกไหนๆ
พราหมณ์ผู้ล่วงแดนกิเลสได้ ไม่มี
ความยึดถือวัตถุหรืออารมณ์อะไร เพราะ
ได้รู้หรือเพราะได้เป็นเป็นผู้ไม่มีความยินดี
ด้วยราคะ เป็นผู้ปราศจากราคะไม่กำหนัด
แล้ว พราหมณ์นั้น ไม่มีความยึดถือวัตถุและ
อารมณ์อะไร ๆ ว่า สิ่งนี้เป็นของยิ่งในโลกนี้
ฉะนี้แล.

จบสุทธัฏฐกสูตรที่ 4

อรรถกถาสุทธัฏฐกสูตรที่ 4


สุทธัฏฐกสูตร

มีคำเริ่มต้นว่า ปสฺสามิ สุทฺธํ เราเห็นบุคคลผู้
บริสุทธิ์ดังนี้.
พระสูตนี้มีการเกิดขึ้นอย่างไร ?
มีเรื่องเล่าว่า ในอดีตกาลครั้งศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนาม
ว่ากัลสปะ กุฎุมพีคนหนึ่ง ชาวกรุงพาราณสีได้ไปยังปัจจันตชนบทพร้อมด้วย
เกวียน 500 เล่มเพื่อหาสินค้า ณ ที่นั้น กุฎุมพีได้ทำความสนิทสนมกับพราน
ป่าให้ของใช้แก่เขาแล้วถามว่า สหาย ท่านเคยเห็นแก่นจันทน์บ้างไหม เมื่อ
พรานป่าตอบว่าเคยเห็น จึงเข้าไปป่าไม้จันทน์กับเขาทันทีบรรทุกแก่นจันทน์
แดงจนเต็มเกวียนทุกเล่มแล้วกล่าวกะพรานป่านั้นว่า สหาย เมื่อใดท่านมากรุง
พราณสี เมื่อนั้นท่านพึงเอาแก่นจันทน์แดงมาด้วย แล้วก็กลับไปกรุงพาราณสี.
ครั้นต่อมาพรานป่านั้นก็เอาแก่นจันทน์ไปเรือนกุฎุมพีนั้น กุฎุมพีเห็นพรานป่า
จึงต้อนรับเป็นอย่างดี ตอนเย็นให้บดแก่นจันทน์ใส่สมุดจนเต็มแล้วกล่าวว่า
สหายจงไปอาบน้ำแล้วกลับมาเถิด แล้วส่งเขาไปท่าน้ำกับคนของตน. ตอนนั้น
ที่กรุงพาราณสีกำลังมีมหรสพ. ชาวกรุงพาราณสีตอนเช้าตรู่ถวายทาน ตอน
เย็นนุ่งผ้าเนื้อดีถือดอกไม้และของหอมเป็นต้น ไปไหว้พระมหาเจดีย์ของพระ-
พระภาคเจ้าพระนามว่ากัสสปะ พรานป่านั้น เห็นคนทั้งหลายเหล่านั้นจึงถาม
ว่า เขาไปไหนกัน พรานป่าได้ฟังว่าเขาไปวิหารเพื่อไหว้พระเจดีย์จึงได้ไป
ด้วยตนเอง ณ ที่นั้นพรานป่าเห็นผู้คนทำการบูชาพระเจดีย์โดยวิธีต่าง ๆ ด้วย