เมนู

คุหัฏฐกสูตรที่ 2


ว่าด้วยผู้ข้องอยู่ในถ้ำคือกาย


[409] นรชนผู้ข้องอยู่ในถ้ำคือกาย
ถูกกิเลสเป็นอันมากปกปิดไว้แล้ว ดำรงอยู่
ด้วยอำนาจกิเลสมีราคะเป็นต้น หยั่งลงใน
กามคุณ เครื่องทำจิตให้ลุ่มหลง นรชนผู้
เห็นปานนั้นแล เป็นผู้ไกลจากวิเวก เพราะ
ว่ากามคุณทั้งหลายในโลก ไม่ใช่ละได้โดย
ง่ายเลย.
กามคุณทั้งหลายมีความปรารถนา
เป็นเหตุ เนื่องด้วยความยินดีในภพ เปลื้อง
ออกได้โดยยาก คนอื่นจะเปลื้องออกให้ไม่
ได้เลย นรชนทั้งหลายมุ่งหวังตามในอนาคต
บ้าง ในอดีตบ้าง คร่ำครวญถึงกามเหล่านี้
ที่เคยมีแล้วบ้าง อันตนเปลื้องเองได้ยาก
และคนอื่นก็เปลื้องให้ไม่ได้.
สัตว์เหล่านั้นยินดี ขวนขวาย ลุ่ม-
หลงอยู่ในกามทั้งหลาย ไม่เชื่อถือถ้อยคำ
ของบัณฑิตมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ตั้งอยู่แล้ว

ในธรรมอันไม่สงบ ถูกทุกข์ครอบงำแล้ว
ย่อมรำพันอยู่ว่า เราจุติจากโลกนี้แล้ว จัก
เป็นอย่างไรหนอ.
เพราะเหตุนั้นแล สัตว์พึงศึกษาไตร
สิกขาในศาสนานี้แหละ พึงรู้ว่าสิ่งอะไร ๆ
ในโลกไม่เป็นความสงบ ไม่พึงประพฤติ
ความไม่สงบเพราะเหตุแห่งสิ่งนั้น นัก-
ปราชญ์ทั้งหลายกล่าวชีวิตนั้นว่าเป็นของ
น้อยนัก.
เราเห็นหมู่สัตว์นี้ ผู้เป็นไปในอำนาจ
ความอยากในภพทั้งหลาย กำลังดิ้นรนอยู่
ในโลก นรชนทั้งหลายผู้เลวทรามย่อมบ่น
เพ้ออยู่ในปากมัจจุราช นรชนเหล่านั้น ยัง
ไม่ปราศจากความอยากในภพและมิใช่ภพทั้ง
หลายเลย.
ท่านทั้งหลายจงดูชนทั้งหลายผู้ถือว่า
สิ่งนั้น ๆ เป็นของเรา กำลังดิ้นรนอยู่ เหมือน
ปลาในแอ่งน้ำน้อยมีกระแสขาดสิ้นแล้วดิ้น-
รนอยู่ ฉะนั้น นรชนเห็นโทษแม้นั้นแล้ว
ไม่พึงประพฤติเป็นคนถือว่าสิ่งนั้น ๆ เป็น

ของเรา ไม่กระทำความติดข้องอยู่ในภพ
ทั้งหลาย.
พึงกำจัดความพอใจในที่สุดทั้งสอง
(มีผัสสะและเหตุเกิดแห่งสัมผัสสะเป็นต้น)
กำหนดรู้ผัสสะแล้วไม่ยินดีในธรรมทั้งปวงมี
รูปเป็นต้น ติเตียนตนเองเพราะข้อใด อย่า
ทำข้อนั้น เป็นนักปราชญ์ไม่ติดอยู่ในรูปที่
ได้เห็นและเสียงที่ได้ฟังเป็นต้น.
กำหนดรู้สัญญาแล้ว พึงข้ามโอฆะ
เป็นมุนี ไม่ติดอยู่ในอารมณ์ที่ควรหวงแหน
ถอนลูกศรคือ กิเลสออกเสีย ไม่ประมาท
เที่ยวไปอยู่ ย่อมไม่ปรารถนาโลกนี้และโลก
หน้า ฉะนี้แล.

จบคุหัฏฐกสูตรที่ 2

อรรถกถาคุหัฏฐกสูตรที่ 2


คุหัฏฐกสูตร มีคำเริ่มต้นว่า สตฺโต คุหายํ นรชนผู้ข้องอยู่ใน
ถ้ำคือกาย ดังนี้.
พระสูตรนี้มีการเกิดขึ้นอย่างไร ?
มีเรื่องเล่าว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ ณ กรุงสาวัตถี ท่าน
ปิณโฑลภารทวาชะ ได้ไปยังพระราชอุทยานของพระเจ้าอุเทน ชื่ออาวัฏฏกะ
ใกล้ฝั่งแม่น้ำคงคาในกรุงโกสัมพี. อนึ่งท่านปิณโฑลภารทวาชะนี้แม้ในกาลอื่น
ก็เคยเข้าไปพักผ่อนที่พระราชอุทยานนั้นบ่อย ๆ เหมือนพระควัมปติเถระไปพัก
ผ่อน ณ ดาวดึงส์พิภพฉะนั้น ข้อนี้มีนัยดังกล่าวแล้วในอรรถกถาวังคีสสูตร.
ท่านปิณโฑลภารทวาชะนั้นนั่งพักกลางวัน ดื่มด่ำกับสมาบัติ ณ โคนต้นไม้
ร่มเย็นใกล้ฝั่งแม่น้ำคงคานั้น.
ในวันนั้นพระเจ้าอุเทนเสด็จไปประพาสพระราชอุทยาน ทรงเพลิด-
เพลินอยู่ในพระราชอุทยาน ด้วยการฟ้อนรำขับร้องเป็นต้นตลอดวัน ทรงมึน
เมาเพราะดื่มจัด บรรทมเอาเศียรหมุนบนตักของหญิงคนหนึ่ง. บรรดาหญิง
นอกนั้นคิดว่าพระราชาบรรทมหลับแล้วจึงพากันสุกไปเก็บดอกไม้และผลไม้
เป็นต้นในพระราชอุทยาน ครั้นเห็นพระเถระแล้วจึงตั้งหิริโอตตัปปะห้ามกัน
เองว่าอย่าส่งเสียงดัง ค่อย ๆ พากันเข้าไปไหว้แล้วนั่งห้อมล้อมพระเถระ พระ
เถระออกจากสมาบัติแสดงธรรมแก่หญิงเหล่านั้น. หญิงเหล่านั้นต่างชื่นใจตั้งใจ
ฟังแล้วกล่าวว่า สาธุ สาธุ ดังนี้. หญิงคนที่นั่งเอาพระเศียรของพระราชาพาด