เมนู

นาลกสูตรที่ 11


ว่าด้วยอสิตฤษีพิจารณามนต์ว่าพระกุมารต้องบรรลุ


[388] อสิตฤษีอยู่ในที่พักกลางวัน
ได้เห็นท้าวสักกะจอมเทพ และเทวดาคณะ
ไตรทศผู้มีใจชื่นชม มีปีติโสมนัส ยกผ้า
ทิพย์ขึ้นเชยชมอยู่อย่างเหลือเกิน ในที่อยู่
อันสะอาด ครั้นเห็นแล้วจึงกระทำความ
นอบน้อม แล้วได้ถามเทวดาทั้งหลายผู้มีใจ
เบิกบานบันเทิงในที่นั้นว่า เพราะเหตุไรหมู่
เทวดาจึงเป็นผู้ยินดีอย่างเหลือเกิน ท่าน
ทั้งหลายยกผ้าทิพย์ขึ้นแล้ว รื่นรมย์อยู่เพราะ
อาศัยอะไร.
แม้คราวใด ได้มีสงครามกับพวก
อสูร พวกเทวดาชนะ พวกอสูรปราชัย
แม้คราวนั้นขนลุกพองเป็นเช่นนี้ก็มิได้มี เทวดา
ทั้งหลายได้เห็นเหตุอะไร ซึ่งไม่เคยมีมา
จึงพากันเบิกบาน เปล่งเสียงชมเชย ขับร้อง
ประโคม ปรบมือ และฟ้อนรำกันอยู่.
เราขอถามท่านทั้งหลายผู้อยู่บนยอด-
เขาสิเนรุ ดูก่อนท่านผุ้นิรทุกข์ทั้งหลาย ขอ

ท่านทั้งหลายจงช่วยขจัดความสงสัยของเรา
โดยเร็วเถิด.

เทวดาทั้งหลายกล่าวว่า
พระโพธิสัตว์ผู้เป็นรัตนะอันประ-
เสริฐนั้น หาผู้เปรียบมิได้ ได้เกิดแล้วใน
มนุษย์โลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูลและความ-
สุขที่ป่าลุมพินีวัน ในคามชนบทของเจ้า
ศากยะทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น เราทั้งหลาย
จึงพากันยินดี เบิกบานอย่างเหลือเกิน.
พระโพธิสัตว์นั้น เป็นอัครบุคคลผู้
สูงสุดกว่าสรรพสัตว์ เป็นผู้องอาจกว่านรชน
สูงสุดกว่าหมู่สัตว์ทั้งมวล เหมือนสีหะผู้มี
กำลัง ครอบงำหมู่เนื้อบันลืออยู่ จักทรง
ประกาศธรรมจักรที่ป่าอิสิปตนะ.
อสิตฤษีได้ฟังเสียงที่เทวดาทั้งหลาย
กล่าวแล้วก็รีบลง (จากชั้นดาวดึงส์) เข้าไป
ยังที่ประทับของพระเจ้าสุทโธทนะ นั่ง ณ
ที่นั้นแล้ว ได้ทูลถามเจ้าศากยะทั้งหลายว่า
พระกุมารประทับ ณ ที่ไหน แม้อาตมภาพ
ประสงค์จะเฝ้า.

ลำดับนั้น เจ้าศากยะทั้งหลายได้ทรง
แสดงพระกุมารรุ่งเรื่อง เหมือนทองคำที่
ปากเบ้าซึ่งนายช่างทองผู้เฉลียวฉลาดหลอม
ดีแล้ว ผู้รุ่งเรื่องด้วยสิริ มีวรรณะไม่ทราม
แก่อสิตฤษี.
อสิตฤษีได้เห็นพระกุมารผู้รุ่งเรื่อง
เหมือนเปลวไฟเหมือนพระจันทร์อันบริสุทธิ์
ซึ่งโคจรอยู่ในอากาศ สว่างไสวกว่าหมู่ดาว
เหมือนพระอาทิตย์พ้นแล้วจากเมฆ แผดแสง
อยู่ในสรทกาล ก็เกิดความยินดี ได้ปีติอัน
ไพบูลย์.
เทวดาทั้งหลายกั้นเศวตฉัตรที่ซี่เป็น
อันมาก และประกอบด้วยมณฑลตั้งพันไว้
ในอากาศ จามรด้ามทองทั้งหลายตกลงอยู่
บุคคลผู้ถือจามรและเศวตฉัตร ย่อมไม่
ปรากฏ.
ฤษีทรงชฎาชื่อว่ากัณหสิริ ได้เห็น
พระกุมารดุจแท่งทองบนผ้ากัมพลแดง และ
เศวตฉัตรที่กั้นอยู่ในพระเศียร เป็นผู้มีจิต
เฟื่องฟู ดีใจ ได้รับเอาด้วยมือทั้งสอง.

ครั้นแล้ว อสิตฤษีผู้เรียนจบลักษณะ
มนต์ พิจารณาพระราชกุมารผู้ประเสริฐ
มีจิตเลื่อมใส ได้เปล่งถ้อยคำว่า พระกุมาร
ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า สูงสุดกว่าสัตว์สองเท้า.
ครั้งนั้น อสิตฤษีหวนระลึกถึงการ
บรรลุรูปฌานของตน เป็นผู้เสียใจถึงน้ำตา
ตก เจ้าศากยะทั้งหลายได้ทอดพระเนตรเห็น
อสิตฤษีร้องไห้จึงตรัสถามว่า ถ้าอันตราย
จะมีในพระกุมารหรือหนอ.
อสิตฤษีได้ทูลเจ้าศากยะทั้งหลายผู้
ทอดพระเนตรเห็นแล้ว ไม่ทรงพอพระทัย
ว่า อาตมภาพระลึกถึงกรรมอันไม่เป็นประ-
โยชน์เกื้อกูลในพระกุมารหามิได้.
อนึ่ง แม้อันตรายก็จักไม่มีแก่พระ-
กุมารนี้ พระกุมารนี้เป็นผู้ไม่ทราม ขอมหา-
บพิตรทั้งหลาย จงเป็นผู้ดีพระทัยเถิด พระ-
กุมารนี้จักทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ.
พระกุมารนี้จักทรงเห็นนิพพานอัน
บริสุทธิ์อย่างยิ่ง ทรงหวังประโยชน์แก่ชน
เป็นอันมาก จักทรงประกาศธรรมจักร
พรหมจรรย์ของพระกุมารนี้จักแพร่หลาย.

แต่อายุของอาตมภาพ จักไม่ดำรง
อยู่ได้นานในกาลนี้ อาตมภาพจักกระทำ
กาละเสียในระหว่างนี้ จักไม่ได้ฟังธรรมของ
พระกุมารผู้มีความเพียรไม่มีบุคคลผู้เสมอ
เพราะเหตุนั้น อาตมภาพจึงเป็นผู้เร่าร้อนถึง
ความพินาศ ถึงความทุกข์.
อสิตฤษียังปีติอันไพบูลย์ให้เกิดแก่
เจ้าศากยะทั้งหลายแล้ว ออกจากพระราชวัง
ไปประพฤติพรหมจรรย์ เมื่อจะอนุเคราะห์
หลานของตน ได้ให้หลานสมาทานในธรรม
ของพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้มีความเพียรไม่มี
บุคคลผู้เสมอ แล้วกล่าวว่า
ในกาลข้างหน้า เจ้าได้ยินเสียงอัน
ระบือไปว่า พุทโธ ดังนี้ไซร้ พระผู้มี-
พระภาคเจ้า ได้ทรงบรรลุพระสัมโพธิญาณ
แล้ว ย่อมทรงเปิดเผยทางปรมัตถธรรม เจ้า
จงไปทูลสอบถามด้วยตนเองในสำนักของ
องค์ แล้วประพฤติพรหมจรรย์ในสำนัก
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเถิด.
อสิตฤษีนั้นผู้มีปรกติเห็นนิพพาน
อันบริสุทธิ์อย่างยิ่งในอนาคต มีใจเกื้อกูล

เช่นนั้น ได้สั่งสอนนาลกดาบส นาลกดาบส
เป็นผู้สั่งสมบุญไว้ รักษาอินทรีย์ รอคอย
พระชินสีห์อยู่.
นาลกดาบสได้ฟังเสียงประกาศใน
กาลที่พระชินสีห์ทรงประกาศธรรมจักรอัน
ประเสริฐ ได้ไปเฝ้าพระชินสีห์ผู้องอาจกว่า
ฤษีแล้ว เป็นผู้เลื่อมใส ได้ทูลถามปฏิปทา
อันประเสริฐของมุนีกะพระชินสีห์ ผู้เป็น
มุนีผู้ประเสริฐ ในเมื่อเวลาคำสั่งสอนของ
อสิตฤษีมาถึงเข้าฉะนี้แล.

จบวัตถุกถา
[380] ข้าพระองค์ ได้รู้ตามคำ
ของอสิตฤษีโดยแท้ เพราะเหตุนั้น ข้าแต่
พระโคดม ข้าพระองค์ทูลถามพระองค์ผู้ถึง
ฝั่งแห่งธรรมทั้งปวง พระองค์อันข้าพระองค์
ทูลถามแล้ว ขอจงตรัสบอกมุนีและปฏิปทา
อันสูงสุดของมุนี แห่งบรรพชิตผู้แสวงหา
การเที่ยวไปเพื่อภิกษา แก่ข้าพระองค์เถิด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสพยากรณ์ว่า

เราจักบัญญัติปฏิปทาของมุนีที่บุคคล
ทำได้ยาก ให้เกิดความยินดีได้ยาก แต่ท่าน
เอาเถิด เราจักบอกปฏิปทาของมุนีนั้นแก่
ท่าน.
ท่านจงอุปถัมภ์ตน จงเป็นผู้มั่นคง
เถิด พึงกระทำการด่า และการไหว้ในบ้าน
ให้เสมอกัน พึงรักษาความประทุษร้ายแห่ง
ใจ พึงเป็นผู้สงบไม่มีความเย่อหยิ่งเป็น
อารมณ์.
อารมณ์ที่สูงต่ำมีอุปมาด้วยเปลวไฟ
ในป่า ย่อมมาสู่คลองจักษุเป็นต้น เหล่านารี
ย่อมประเล้าประโลมมุนี นารีเหล่านั้น อย่า
พึงประเล้าประโลมท่าน.
มุนีละกามทั้งหลายทั้งที่ดีแล้วงดเว้น
จากเมถุนธรรม ไม่ยินดียินร้าย ในสัตว์
ทั้งหลายผู้สะดุ้งและมั่นคง.
พึงกระทำตนให้เป็นอุปมาว่า เรา
ฉันใด สัตว์เหล่านี้ก็ฉันนั้น สัตว์เหล่านี้
ฉันใด เราก็ฉันนั้น ดังนี้แล้ว ไม่พึงฆ่าเอง
ไม่พึงใช้ผู้อื่นให้ฆ่า.

มุนีละความปรารถนาและความโลภ
ในปัจจัยที่ปุถุชนข้องอยู่แล้ว เป็นผู้มีจักษุ
พึงปฏิบัติปฏิปทาของมุนีนี้ พึงข้ามความ
ทะเยอทะยานในปัจจัย ซึ่งเป็นเหตุแห่ง
มิจฉาชีพที่หมายรู้กันว่านรกนี้เสีย.
พึงเป็นผู้มีท้องพร่อง (ไม่เห็นแก่
ท้อง) มีอาหารพอประมาณ มีความปรารถนา
น้อย ไม่มีความโลภ เป็นผู้หายหิว ไม่มี
ความปรารถนาด้วยความอยาก ดับความ
เร่าร้อนได้แล้วทุกเมื่อ.
มุนีนั้นเที่ยวไปรับบิณฑบาตแล้ว พึง
ไปยังชายป่า เข้าไปนั่งอยู่ที่โคนต้นไม้.
พึงเป็นผู้ขวนขวายในฌาน เป็นนัก
ปราชญ์ ยินดีแล้วในป่า พึงทำจิตให้ยินดียิ่ง
เพ่งฌานอยู่ที่โคนต้นไม้.
ครั้นเมื่อล่วงราตรีไปแล้ว พึงเข้าไป
สู่บ้าน ไม่ยินดีโภชนะที่ยังไม่ได้ และโภชนะ
ที่เขานำไปแต่บ้าน.
ไปสู่บ้านแล้ว ไม่พึงเที่ยวไปในสกุล
โดยรีบร้อน ตัดถ้อยคำเสียแล้ว ไม่พึงกล่าว
วาจาเกี่ยวด้วยการแสวงหาของกิน.

มุนีนั้นคิดว่า เราได้สิ่งใด สิ่งนี้ยัง
ประโยชน์ให้สำเร็จ เราไม่ได้ก็เป็นความดี
ดังนี้แล้ว เป็นผู้คงที่ เพราะการได้และไม่ได้
ทั้งสองอย่างนั้นแล ย่อมก้าวล่วงทุกข์เสียได้.
เปรียบเหมือนบุรุษแสวงหาผลไม้
เข้าไปยังต้นไม้แล้ว แม้จะได้ แม้จะไม่ได้
ก็ไม่ยินดี ไม่เสียใจ วางจิตเป็นกลางหลับไป
ฉะนั้น.
มุนีมีบาตรในมือเที่ยวไปอยู่ ไม่เป็น
ใบ้ ก็สมมุติว่าเป็นใบ้ ไม่พึงหมิ่นทานว่า
น้อย ไม่พึงดูแคลนบุคคลผู้ให้.
ก็ปฏิปทาสูงต่ำ พระพุทธสมณะ
ประกาศแล้ว มุนีทั้งหลาย ย่อมไม่ไปสู่
นิพพานถึงสองครั้ง นิพพานนี้ควรถูกต้อง
ครั้งเดียวเท่านั้น หามิได้.
ก็ภิกษุผู้ไม่มีตัณหา ตัดกระแส
กิเลสได้แล้ว ละกิจน้อยใหญ่ได้เด็ดขาดแล้ว
ย่อมไม่ความเร่าร้อน.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
เราจักบอกปฏิปทาของมุนีแก่ท่าน
ภิกษุผู้ปฏิบัติปฏิปทาของมุนี พึงเป็นผู้มีคม

มีดโกนเป็นเครื่องเปรียบ กดเพดานไว้ด้วย
ลิ้นแล้ว พึงเป็นผู้สำรวมที่ท้อง.

มีจิตไม่ย่อหย่อน และไม่พึงคิดมาก
เป็นผู้ไม่มีกลิ่นดิบ อันตัณหาและทิฏฐิไม่
อาศัยแล้ว มีพรหมจรรย์เป็นที่ไปในเบื้อง-
หน้า พึงศึกษาเพื่อการนั่งผู้เดียว และเพื่อ
ประกอบภาวนาที่สมณะพึงอบรม ท่านผู้เดียว
แล จักอภิรมย์ความเป็นมุนีที่เราบอกแล้ว
โดยส่วนเดียว ทีนั้นจงประกาศไปตลอดทั้ง
สิบทิศ.
ท่านได้ฟังเสียงสรรเสริญ ของนัก-
ปราชญ์ทั้งหลายผู้เพ่งฌาน ผู้สละกามแล้ว
แต่นั้นพึงกระทำหิริและศรัทธาให้ยิ่งขึ้นไป
เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็เป็นสาวกของเราได้.
ท่านจะรู้แจ่มแจ้งซึ่งคำที่กล่าวนั้นได้
ด้วยการแสดงแม่น้ำทั้งหลาย ทั้งในเหมือง
และหนอง แม่น้ำห้วยย่อมไหลดังโดยรอบ
แม่น้ำใหญ่ย่อมไหลนิ่ง สิ่งใดพร่องสิ่งนั้น
ย่อมดัง สิ่งใดเต็ม สิ่งนั้นสงบ.
คนพาลเปรียบด้วยหม้อน้ำที่มีน้ำ
ครึ่งหนึ่ง บัณฑิตเปรียบเหมือนห้วงน้ำที่เต็ม

สมณะกล่าวถ้อยคำใดมากที่เข้าถึงประโยชน์
ประกอบด้วยประโยชน์ รู้ถ้อยคำนั้นอยู่
ย่อมแสดงธรรม.
สมณะผู้นั้นรู้อยู่ ย่อมกล่าวถ้อยคำ
มาก สมณะใดรู้อยู่ สำรวมตน สมณะนั้น
รู้เหตุที่ไม่นำประโยชน์เกื้อกูล และความสุข
มาให้แก่สัตว์ทั้งหลาย ย่อมไม่กล่าวมาก
สมณะผู้นั้นเป็นมุนี ย่อมควรซึ่งปฏิปทา
ของมุนี สมณะนั้นได้ถึงธรรมเครื่องเป็นมุนี
แล้ว.

จบนาลกสูตรที่ 11

อรรถกถานาลกสูตรที่ 11


นาลกสูตร มีคำเริ่มต้นว่า อานนฺทชาเต ผู้ที่ใจชื่นชม ดังนี้.
พระสูตรนี้มีการเกิดขึ้นอย่างไร ?
มีเรื่องเล่าว่าดาบสชื่อว่า นาลกะ เป็นหลานของ อสิตฤษี เห็น
สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระนามว่าปทุมุตระ ปฏิบัติโมเนยยปฏิปทา
(ปฏิบัติเพื่อความเป็นมุนี) จึงหวังเป็นอย่างยิ่งที่จะเป็นอย่างนั้น จำเดิมแต่นั้น
ได้บำเพ็ญบารมีแสนกัป ได้ทูลถามโมเนยยปฏิปทากะพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วย