เมนู

ธรรมิกสูตรที่ 14


ว่าด้วยข้อปฏิบัติของนักบวชและผู้ครองเรือน


[332] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อาราม
ของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ธรรมิกอุบาสก
พร้อมด้วยอุบาสก 500 เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ ถวายบังคม
แล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วย
คาถาว่า
[333] ข้าแต่พระโคดม ผู้มีพระ-
ปัญญาเสมอด้วยแผ่นดิน ข้าพระองค์ขอทูล
ถามพระองค์ อุบาสกผู้ออกบวชเป็น
บรรพชิตก็ดี อุบาสกผู้ยังอยู่ครองเรือนอีก
ก็ดี บรรดาสาวกทั้งสองพวกนี้ สาวกระทำ
อย่างไรจึงจะเป็นผู้ยังประโยชน์ให้สำเร็จ.
พระองค์เท่านั้นแล ทรงทราบชัดซึ่ง
คติและความสำเร็จของโลกพร้อมทั้งเทวโลก
บุคคลผู้เห็นประโยชน์อันละเอียดเช่นกับ
พระองค์ย่อมไม่มี บัณฑิตทั้งหลายย่อมกล่าว
พระองค์แล ว่าเป็นพระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ

พระองค์ทรงแทงตลอดไญยธรรม
ทรงอนุเคราะห์เหล่าสัตว์ ได้ทรงประกาศ
พระญาณและธรรมทั้งปวง ข้าแต่พระโคดม
ผู้มีพระจักษุรอบคอบ พระองค์ผู้มีกิเลสดุจ
หลังคาที่เปิดแล้ว เป็นผู้ปราศจากมลทิน
ไพโรจน์อยู่ในโลกทั้งปวง.
พญาช้าง (เทพบุตร) ชื่อเอราวัณ
ทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้านี้ทรงชนะบาป
ธรรม ดังนี้แล้ว ได้ไปในสำนักของพระองค์
พญาช้างเอราวัณแม้นั้นทูลถามปัญหากะ
พระองค์ ได้สดับมาแล้วซ้องสาธุการชื่นชม
ยินดี ได้บรรลุธรรมไปแล้ว.
แม้พระราชาพระนามว่า เวสวัณ
กุเวร ก็เข้าเฝ้าพระองค์ทูลไต่ถามธรรมอยู่
พระองค์อันพระราชาพระนามว่าเวสวัณ
กุเวรแม้นั้นแล ทูลถามแล้ว ย่อมตรัสบอก.
ท้าวเวสวัณกุเวรแม้นั้นแล ได้สดับปัญหา
แล้ว ทรงชื่นชมยินดี ได้เสด็จไปแล้ว.
พวกเดียรถีย์ก็ดี อาชีวกก็ดี นิครนถ์
ก็ดี ผู้มีปกติกระทำวาระทั้งหมดนี้ย่อมไม่

เกินพระองค์ด้วยปัญญา เหมือนบุคคลหยุด
อยู่ ไม่พึงเกินคนเดินเร็วซึ่งเดินอยู่ ฉะนั้น.
พวกพราหมณ์ก็ดี แม้พวกพราหมณ์
ผู้เฒ่าก็ดี ผู้มีปรกติกระทำวาทะเหล่าใด
เหล่าหนึ่งมีอยู่ และแม้ชนเหล่าอื่นสำคัญอยู่
ว่า เราทั้งหลายผู้มีปกติกระทำวาทะ ชน
เหล่านั้นทั้งหมด เป็นผู้เนื่องด้วยประโยชน์
ในพระองค์.
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ข้าพระ-
องค์ทั้งหมดกำลังคอยฟังด้วยดี ซึ่งธรรมที่
ละเอียดและนำความสุขมาให้ อันพระองค์
ตรัสดีแล้วนี้.
ข้าแต่พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐ พระ-
องค์อันข้าพระองค์ทั้งหลายทูลถามแล้ว ได้
โปรดตรัสบอกความข้อนั้น แก่ข้าพระองค์
ทั้งหลาย.
ภิกษุกับทั้งอุบาสกเหล่านี้แม้ทั้งหมด
นั่งประชุมกันแล้วในที่นั้นแหละ เพื่อจะฟัง
ขอจงตั้งใจฟังธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้
ไม่มีมลทินตรัสรู้แล้ว เหมือนเทวดาทั้งหลาย
ตั้งใจฟังสุภาษิตของท้าววาสวะ ฉะนั้น.

พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อจะทรงแสดงปฏิปทาของบรรพชิตก่อน
ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายมาแล้ว จึงตรัสพระคาถาว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจง
ฟังเรา เราจะยังเธอทั้งหลายไม่ฟังธรรมอัน
กำจัดกิเลส และเธอทั้งปวงจงประพฤติธรรม
อันกำจัดกิเลสนั้น ภิกษุผู้มีปัญญาความคิด
ผู้เห็นประโยชน์ พึงเสพอิริยาบถอันสมควร
แก่บรรพชิตนั้น.
ภิกษุไม่พึงเที่ยวไปในเวลาวิกาลเลย
อนึ่งภิกษุพึงเที่ยวไปเพื่อบิณฑบาตในบ้าน
ในกาล ด้วยว่าธรรมเป็นเครื่องข้องทั้งหลาย
ย่อมข้องภิกษุผู้เที่ยวไปในกาลอันไม่สมควร
ไว้ เพราะเหตุนั้น ท่านผู้รู้ทั้งหลายย่อมไม่
เที่ยวไปในเวลาวิกาล.
รูป เสียง กลิ่น รส และผัสสะ
ย่อมยังสัตว์ทั้งหลายไม่มัวเมา ภิกษุนั้นกำจัด
เสียแล้วซึ่งความพอใจในธรรมเหล่านี้ พึง
เข้าไปยังโอกาสที่จะพึงบริโภคอาหารใน
เวลาเช้าโดยกาล.
อนึ่ง ภิกษุได้บิณฑบาตแล้วตามสมัย
พึงกลับไปนั่งในที่สงัดแต่ผู้เดียว ภิกษุผู้

สงเคราะห์อัตภาพแล้ว คิดถึงขันธสันดาน
ในภายใน ไม่พึงส่งใจไปในภายนอก.
ถ้าแม้ว่าภิกษุนั้น พึงเจรจากับสาวก
อื่น หรือถึงภิกษุรูปไร ๆ ไซร้ ภิกษุนั้นพึง
กล่าวธรรมอันประณีต ไม่พึงกล่าวคำ
ส่อเสียด ทั้งไม่พึงกล่าวคำติเตียนผู้อื่น.
ก็บุคคลบางพวกย่อมประถ้อยคำกัน
เราย่อมไม่ประเสริญบุคคลเหล่านั้นผู้มีปัญญา
น้อย ความเกี่ยวข้องด้วยการวิวาท เกิดจาก
คลองแห่งคำนั้น ๆ ย่อมข้องบุคคลเหล่านั้น
ไว้ เพราะบุคคลเหล่านั้นส่งจิตไปในที่ไกล
จากสมถะและวิปัสสนา.
สาวกผู้มีปัญญาดี ฟังธรรมที่พระ-
สุคตทรงแสดงแล้ว พิจารณาบิณฑบาต
ที่อยู่ ที่นอน ที่นั่ง น้ำ และการซักมลทิน
ผ้าสังฆาฏิ แล้วพึงเสพ.
เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุไม่ติดแล้วใน
ธรรมเหล่านี้ คือ บิณฑบาต ที่นอน ที่นั่ง
น้ำ และการซักมลทินผ้าสังฆาฏิ เหมือน
หยาดน้ำไม่ติดบนใบบัว ฉะนั้น.

ก็เราจะบอกวัตรแห่งคฤหัสถ์แก่เธอ
ทั้งหลาย สาวกกระทำอย่างไรจึงจะเป็นผู้
ยังประโยชน์ให้สำเร็จ จริงอยู่ สาวกไม่พึง
ได้เพื่อจะถูกต้องธรรมของภิกษุล้วน ด้วย
อาการที่มีความหวงแหน.
สาวกวางอาชญาในสัตว์ทุกหมู่เหล่า
ทั้งผู้ที่มั่นคง ทั้งผู้ที่ยังสะดุ้งในโลกแล้ว ไม่
พึงฆ่าสัตว์เอง ไม่พึงใช้ผู้อื่นให้ฆ่า และไม่
พึงอนุญาตให้ผู้อื่นฆ่า.
แต่นั้น สาวกรู้อยู่ พึงเว้นสิ่งที่เขา
ไม่ให้อะไร ๆ ในที่ไหน ๆ ไม่พึงใช้ให้ผู้
อื่นลัก ไม่พึงอนุญาตให้ผู้อื่นลัก พึงเว้น
วัตถุที่เจ้าของเขาไม่ให้ทั้งหมด.
สาวกผู้รู้แจ้งพึงเว้นอพรหมจรรย์
เหมือนบุคคลเว้นหลุมถ่านเพลิงที่ไฟลุกโชน
ฉะนั้น แต่เมื่อไม่สามารถประพฤติพรหม-
จรรย์ ก็ไม่พึงก้าวล่วงภรรยาของผู้อื่น.
ก็สาวกผู้อยู่ในที่ประชุมก็ดี อยู่ใน
ท่ามกลางบริษัทก็ดี ไม่พึงกล่าวเท็จแก่
บุคคลผู้หนึ่ง ไม่พึงให้ผู้อื่นกล่าวคำเท็จ ไม่

พึงอนุญาตให้ผู้อื่นกล่าวเท็จ พึงเว้นคำไม่
เป็นจริงทั้งหมด.
สาวกผู้เป็นคฤหัสถ์ไม่พึงดื่มน้ำเมา
พึงชอบใจธรรมนี้ ไม่พึงใช้ให้ผู้อื่นดื่ม ไม่
พึงอนุญาตให้ผู้อื่นดื่ม เพราะทราบชัดการ
ดื่มน้ำเมานั้นว่า มีความเป็นบ้าเป็นที่สุด.
คนพาลทั้งหลายย่อมกระทำบาปเอง
และใช่คนอื่นผู้ประมาทแล้วให้กระทำบาป
เพราะความเมานั่นเอง สาวกพึงเว้นความ
เป็นบ้า ความหลงที่คนพาลใคร่แล้ว อัน
เป็นบ่อเกิดแห่งบาปนี้.
ไม่พึงฆ่าสัตว์ ไม่พึงถือเอาสิ่งของ
ที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ ไม่พึงพูดมุสา ไม่
พึงดื่มน้ำเมา พึงเว้นจากเมถุนธรรมอันเป็น
ความประพฤติไม่ประเสริฐ ไม่พึงบริโภค
โภชนะในเวลาวิกาลในราตรี ไม่พึงทัดทรง
ดอกไม้และไม่พึงลูบไล้ของหอม พึงนอน
บนเตียงหรือบนพื้นดินที่เขาลาดแล้ว บัณฑิต
ทั้งหลายกล่าวอุโบสถอันประกอบด้วยองค์ 8
ประการนี้แลว่า อื่นพระพุทธเจ้าผู้ถึงที่สุด
แห่งทุกข์ ทรงประกาศไว้แล้ว.

แต่นั้น สาวกผู้มีใจเลื่อมใส พึงเข้า
จำอุโบสถอันประกอบด้วยองค์ 8 ประการ
ให้บริบูรณ์ดี ตลอดวัน 14 ค่ำ 15 ค่ำ และ
8 ค่ำแห่งปักษ์ และตลอดปาฏิหาริกปักษ์.
แต่นั้นสาวกผู้รู้แจ้งเข้าจำอุโบสถอยู่
แต่เช้าแล้ว มีจิตเลื่อมใส ชื่นชมอยู่เนือง ๆ
พึงแจกจ่ายภิกษุสงฆ์ด้วยข้าวและน้ำตามควร
พึงเลี้ยงมารดาและบิดาด้วยโภคสมบัติที่ได้
มาโดยชอบธรรม พึงประกอบการค้าขาย
อันชอบธรรม ไม่ประมาท ประพฤติวัตร
แห่งคฤหัสถ์นี้อยู่ ย่อมเข้าถึงเหล่าเทวดา
ชื่อว่า สยัมปภา ผู้มีรัศมีในตน.

จบธรรมิกสูตรที่ 14
จบจูฬวรรคที่ 2

อรรถกถาธรรมิกสูตรที่ 14


ธรรมิกสูตรมีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุตํ ดังนี้.
ถามว่า มีการเกิดขึ้นเป็นอย่างไร ?
ตอบว่า มีการเกิดขึ้นดังต่อไปนี้ :-
มีเรื่องเล่าว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นที่พึ่งของโลกยังทรงดำรง
อยู่ ได้มีอุบาสกชื่อธรรมิกะ โดยชื่อ และโดยการปฏิบัติ. นัยว่า ธรรมิก-
อุบาสกนั้น เป็นผู้ถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะ สมบูรณ์ด้วยศีล เป็นพหูสูต
ทรงพระไตรปิฎก เป็นอนาคามี ได้อภิญญา ได้เที่ยวไปทางอากาศ. ธรรมิก-
อุบาสกนั้นมีอุบาสก 500 เป็นบริวาร อุบาสกแม้เหล่านั้น ก็ได้เป็นเช่นนั้น
เหมือนกัน.
วันหนึ่ง ธรรมิกอุบาสกรักษาอุโบสถแล้วไปในที่ลับ หลีกเร้นอยู่ ใน
ตอนสุดท้ายของมัชฌิมยาม ได้เกิดปริวิตกอย่างนี้ว่า อย่ากระนั้นเลย เราควร
จะทูลถามข้อปฏิบัติของผู้ครองเรือนและของนักบวช. เขาแวดล้อมด้วยอุบาสก
500 เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วกราบทูลถามความนั้น พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้าทรงตอบปัญหาแก่เขา.
ในบทเหล่านั้นพึงทราบบทที่พรรณนาไว้ในคราวก่อน โดยนัยที่กล่าว
แล้วนั่นแล ข้าพเจ้าจักพรรณนาบทที่ยังไม่เคยกล่าวไว้.
พึงทราบวินิจฉัยในคาถาที่หนึ่งก่อน. บทว่า กถํกโร คือ กระทำ
อย่างไร ปฏิบัติอย่างไร. บทว่า สาธุ โหติ ได้เเก่ เป็นผู้ดี เป็นผู้ไม่มีโทษ
เป็นผู้ยังประโยชน์ให้สำเร็จ. เป็นอันท่านกล่าวว่า อุบาสกทั้งนั้น ด้วยบทว่า