เมนู

มุนิสูตรที่ 12


ว่าด้วยคนที่เป็นมุนี


[313] ภัยเกิดแต่ความเชยชม ธุลี
คือราคะ โทสะ และโมหะ ย่อมเกิดแต่ที่อยู่
ที่อันมิใช่ที่อยู่และความไม่เชยชมนี้แล พระ-
พุทธเจ้าผู้เป็นมุนีทรงเห็น (เป็นความเห็น
ของมุนี).

ผู้ใดตัดกิเลสที่เกิดแล้ว ไม่พึงปลูก
ให้เกิดขึ้นอีก เมื่อกิเลสนั้นเกิดอยู่ ก็ไม่พึง
ให้หลั่งไหลเข้าไป บัณฑิตทั้งหลายกล่าว
ผู้นั้นว่าเป็นมุนีเอก เที่ยวไปอยู่ ผู้นั้นเป็นผู้
แสวงหาคุณอันใหญ่ ได้เห็นสันติบท.

ผู้ใดกำหนดรู้ที่ตั้งแห่งกิเลส ฆ่าพืช
ไม่ทำยางแห่งพืชให้หลั่งไหลเข้าไป ผู้นั้นแล
เป็นมุนี มีปรกติเห็นที่สุดแห่งความสิ้นไป
แห่งชาติ ละอกุศลวิตกเสียแล้ว ไม่เข้าถึง
การนับว่าเป็นเทวดาและมนุษย์.

ผู้ใดรู้ชัดภพ อันเป็นที่อาศัยอยู่ทั้งปวง
ไม่ปรารถนาภพอันเป็นที่อาศัยอยู่เหล่านั้นแม้

ภพหนึ่ง ผู้นั้นแลเป็นมุนี ปราศจากกำหนัด
ไม่ยินดีแล้ว ไม่ก่อกรรม เป็นผู้ถึงฝั่งโน้น
แล้วแล.

อนึ่ง ผู้ครอบงำธรรมได้ทั้งหมด รู้
แจ้งธรรมทุกอย่าง มีปัญญาดี ไม่เข้าไปติด
(ไม่เกี่ยวเกาะ) ในธรรมทั้งปวง ละธรรมได้
ทั้งหมด น้อมไปแล้วในธรรมเป็นที่สิ้นตัณหา
นักปราชญ์ย่อมประกาศว่าเป็นมุนี.

อนึ่ง ผู้มีกำลังคือปัญญา ประกอบ
ด้วยศีลและวัตร มีจิตตั้งมั่น ยินดีในฌาน
มีสติ หลุดพ้นจากเครื่องข้อง ไม่มีกิเลสดุจ
หลักตอ ไม่มีอาสวะ นักปราชญ์ย่อมประกาศ
ว่าเป็นมุนี.

หรือผู้เป็นมุนี (มีปัญญา) ไม่ประมาท
เที่ยวไปผู้เดียว ไม่หวั่นไหวเพราะนินทาและ
สรรเสริญ ไม่สะดุ้งหวาดเพราะโลกธรรม
เหมือนราชสีห์ ไม่สะดุ้งหวาดเพราะเสียง
ไม่ข้องอยู่ในตัณหาและทิฏฐิ เหมือนลมไม่
ข้องอยู่ในตาข่าย ไม่ติดอยู่กับโลก เหมือน
ดอกบัวไม่ติดอยู่กับน้ำ เป็นผู้นำ ไม่ใช่ผู้ที่
ใคร ๆ อื่นจะพึงนำไปได้ นักปราชญ์ย่อม
ประกาศว่าเป็นมุนี.

หรือแม้ผู้ใดไม่ถึงความยินดีหรือยิน-
ร้าย ในเรื่องที่ผู้อื่นกล่าววาจาด้วยอำนาจ
การชมหรือการติ เหมือนเสามีอยู่ที่ท่าเป็นที่
ลงอาบน้ำ ผู้นั้นปราศจากราคะ มีอินทรีย์
ตั้งมั่นดีแล้ว นักปราชญ์ย่อมประกาศว่าเป็น
มุนี.

หรือแม้ผู้ใดแลดำรงตนไว้ซื่อตรง
ดุจกระสวย เกลียดชังแต่กรรมที่เป็นบาป
พิจารณาเห็นกรรมทั้งที่ไม่เสมอ และที่เสมอ
(ทั้งผิดทั้งชอบ) ผู้นั้นนักปราชญ์ย่อมประกาศ
ว่าเป็นมุนี.

หรือแม้ผู้ใดยังหนุ่มแน่นหรือปูนกลาง
สำรวมตน ไม่ทำบาป เป็นมุนี มีจิตห่างจาก
บาป ไม่โกรธง่าย ไม่ว่าร้ายใคร ๆ ผู้นั้น
นักปราชญ์ย่อมประกาศว่าเป็นมุนี.

หรือแม้ผู้ใดอาศัยอาหารที่ผู้อื่นให้
เป็นอยู่ ได้ก้อนข้าวแต่ส่วนที่ดี ส่วนปาน
กลางหรือส่วนที่เหลือ ไม่อาจจะกล่าวชม
ทั้งไม่กล่าวทับถมให้ทายกตกต่ำ ผู้นั้นนัก-
ปราชญ์ย่อมประกาศว่าเป็นมุนี.

หรือแม้ผู้ใดไม่หมกมุ่นอยู่ในรูปแห่ง
หญิงอะไร ๆ ที่กำลังเป็นสาวเป็นผู้รู้เที่ยวไป
อยู่ ปราศจากความยินดีในเมถุน ไม่กำหนัด
หลุดพ้นแล้วจากควานมัวเมาประมาท ผู้นั้น
นักปราชญ์ย่อมประกาศว่าเป็นมุนี.

หรือแม้ผู้รู้จักโลก เห็นปรมัตถประ-
โยชน์ ข้ามพ้นโอฆะและสมุทร เป็นผู้คงที่
ตัดกิเลสเครื่องร้อยรัดได้ขาดแล้ว อันทิฏฐิ
หรือตัณหาอาศัยไม่ได้แล้ว ไม่มีอาสวะ ผู้นั้น
นักปราชญ์ย่อมประกาศว่าเป็นมุนี.

คนทั้งสองไม่เสมอกัน มีที่อยู่และ
ความเป็นอยู่ไกลกัน คือ คฤหัสถ์เลี้ยงลูกเมีย
ส่วนภิกษุไม่ยึดถือว่าเป็นของเรา มีวัตรงาม
คฤหัสถ์ไม่สำรวมเพราะบั่นรอนสัตว์อื่น ภิกษุ
เป็นมุนี สำรวมเป็นนิตย์ รักษาสัตว์มีชีวิตไว้.

นกยูงมีสร้อยคอเขียว บินไปในอากาศ
ยังสู้ความเร็วของหงส์ไม่ได้ในกาลไหน ๆ
ฉันใด คฤหัสถ์ทำตามภิกษุผู้เป็นมุนี สงัด
เงียบ เพ่งอยู่ในป่าไม่ได้ ฉันนั้น.

จบมุนิสูตรที่ 12
จบอุรควรรคที่ 1

อรรถกถามุนิสูตร


มุนิสูตรเริ่มด้วยคาถาว่า สนฺถวาโต ภยํ ชาตํ ดังนี้ :-
มีอุบัติอย่างไร ? สูตรทั้งหมดนั่นเทียว ไม่มีอุบัติเดียวกัน จริงอยู่
ในมุนิสูตรนี้ คาถา 4 คาถาข้างต้นมีอุบัติอย่างนี้ก่อน ได้ยินว่า เมื่อพระผู้มี
พระภาคเจ้า ประทับอยู่ ณ กรุงสาวัตถี หญิงยากจนคนหนึ่ง ใกล้วัดในบ้าน
เป็นม่ายผัวตาย จึงให้บุตรบวชในภิกษุทั้งหลาย แม้ตนเองก็บวชในภิกษุณี
ทั้งหลาย เธอแม้ทั้งสองเข้าจำพรรษาในกรุงสาวัตถี ประสงค์จะเยี่ยมกันและกัน
บ่อย ๆ มารดาได้อะไรแล้วก็นำไปให้บุตร แม้บุตรได้อะไรแล้วก็นำไปให้
มารดา คบหากันทั้งเย็น ทั้งเช้าอย่างนี้ แจกสิ่งของที่ได้แล้ว ๆ ให้กัน ยินดี
ไต่ถามสุขทุกข์ หมดความระแวง. เธอทั้งสองคลุกคลีกัน เพราะเห็นกันเนือง ๆ
อย่างนี้ ก็มีความคุ้นเคย เพราะความคลุกคลี มีช่องเพราะความคุ้นเคย มีจิต
ถูกราคะเข้ามากล้ำกราย บรรพชิตสัญญา และมาตุปุตตสัญญา ก็อันตรธานไป
แต่นั้น ก็ทำการล่วงละเมิดเขตแดน เสพอสัทธรรม และถึงความไม่มียศ
พากันสึกอยู่ในท่ามกลางเรือน.
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระพุทธองค์ทรง
ติเตียนว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย โมฆบุรุษย่อมรู้หรือหนอว่า มารดาไม่กำหนัด
จัดในบุตร ก็หรือบุตรไม่กำหนัดจัดในมารดา ดังนี้แล้ว ทรงยังภิกษุทั้งหลาย
ให้สลดใจ ด้วยสูตรที่เหลือมีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นแม้รูป
หนึ่งอื่น แล้วตรัสว่า เพราะเหตุนั้นแล ภิกษุทั้งหลาย