เมนู

ยักษ์ทูลว่า ข้าพระองค์ทราบชัดประโยชน์อันเป็นไปในภพหน้าอย่างนี้
แล้ว เมื่อจะแสดงความที่ญาณนั้นมีภพเป็นมูล จึงกราบทูลว่า พระพุทธเจ้า..
เพื่อประโยชน์แก่ข้าพระองค์หนอ.
ในบทเหล่านั้น บทว่า อตฺถาย ความว่า เพื่อประโยชน์เกื้อกูล หรือ
เพื่อความรู้. บทว่า ยตฺถ ทินฺนํ มหปฺผลํ ความว่า ทานที่บุคคลให้แล้ว
ในพระทักขิไณยบุคคลผู้เลิศใด ด้วยการบริจาคที่ตรัสไว้ในบทนี้ว่า ยสฺเสเต
จตุโร ธมฺมา
เป็นทานที่มีผลมากกว่า ข้าพระองค์ทราบชัดพระทักขิไณย
บุคคลผู้เลิศนั้น. ส่วนพวกเกจิอาจารย์กล่าวว่า อาฬวกยักษ์ทูลอย่างนี้ หมายถึง
พระสงฆ์.
อาฬวกยักษ์แสดงการบรรลุประโยชน์เกื้อกูลของตน ด้วยคาถานี้อย่างนี้
แล้ว บัดนี้ เมื่อจะแสดงการปฏิบัติประโยชน์เกื้อกูลแก่ผู้อื่น จึงกราบทูลว่า
โส อหํ วิจริสฺสามิ. เนื้อความแห่งคาถานั้น พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้ว
ในเหมวตสูตรนั้นแล.

ทรงโปรดพระอาฬวกกุมาร


การจบคาถานี้ 1 ราตรีสว่าง 1 การให้เสียงสาธุการดังขึ้น 1 การนำ
พระอาฬวกกุมารมาสู่ที่อยู่ของยักษ์ 1 ได้มีแล้วในขณะเดียวกันนั่นแล ด้วย
ประการฉะนี้ ราชบุรุษทั้งหลายพึงเสียงสาธุการแล้ว นึกอยู่ว่า เสียงสาธุการ
เห็นปานนี้ เว้นพระพุทธเจ้าทั้งหลายแล้ว ย่อมไม่ดังระบือขึ้นแก่คนเหล่าอื่น
พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จมาหนอแล ได้เห็นรัศมีแห่งพระวรกายของพระผู้มี

พระภาคเจ้าแล้ว ไม่ยืนอยู่ในภายนอกดุจในกาลก่อน หมดความสงสัย เข้าไป
ในภายในนั่นเทียว ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ประทับนั่ง ณ ที่อยู่ของยักษ์
และเห็นยักษ์ยืนประคองอัญชลี ครั้นเห็นแล้วได้กล่าวกะยักษ์ว่า ข้าแต่มหายักษ์
พระราชกุมารนี้ถูกนำมาเพื่อพลีกรรมแก่ท่าน เชิญท่านจงเคี้ยว หรือจงกิน
พระราชกุมารนี้ หรือจงทำตามใจชอบเถิด ดังนี้.
อาฬวกยักษ์นั้นละอายแล้วเพราะค่าที่ตนเป็นพระโสดาบัน และถูก
กล่าวอย่างนี้ ข้างหน้าพระผู้มีพระภาคเจ้าโดยพิเศษ ลำดับนั้น จึงรับพระกุมาร
นั้นด้วยมือทั้งสอง น้อมถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
พระกุมารนี้เขาส่งให้แก่ข้าพระองค์ ข้าพระองค์ขอถวายพระกุมารนี้ แด่พระผู้มี
พระภาคเจ้า พระพุทธเจ้าทั้งหลายทรงเกื้อกูลและอนุเคราะห์ ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงรับทารกนี้ เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อ
ความสุข แก่พระราชกุมารนี้ และกล่าวคาถานี้ว่า
ข้าพระองค์มีจิตเบิกบาน มีใจดี ขอ
มอบถวายพระกุมารนี้ ผู้มีลักษณะแห่งบุญ
ตั้งร้อย มีอวัยวะทั้งปวงสมบูรณ์ เพรียบพร้อม
ด้วยพยัญชนะ แด่พระองค์ ข้าแต่พระองค์
ผู้มีจักษุ ขอพระองค์จงทรงรับพระกุมารนี้ไว้
เพื่อประโยชน์แก่ชาวโลก
ดังนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับพระกุมารแล้ว ก็เมื่อทรงรับได้ตรัสคาถา
เครื่องรักษา เพื่อทรงทำมงคลแก่ยักษ์และกุมาร ยักษ์ให้พระกุมารนั้นถึงสรณะ
ให้เต็มด้วยบาทที่ 4 ถึงสามครั้ง คือ

ขอพระกุมารนี้จงทรงมีพระชนมายุ
ยืนนาน ดูก่อนยักษ์ และท่านจงมีความสุข
ด้วย ขอท่านทั้งสองจงไม่มีโรคเบียดเบียน
ดำรงอยู่เพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ชาวโลกเถิด
ขอพระกุมารนี้ถึงพระพุทธเจ้า ฯ ล ฯ พระ-
ธรรม และพระสงฆ์ ว่าเป็นสรณะ
ดังนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประทานพระกุมารให้แก่ราชบุรุษทั้งหลายว่า
ขอพวกท่านจงยังพระกุมารนี้ให้เจริญเติบโตแล้ว ให้แก่เราอีก. ด้วยประการ
ดังนี้ พระกุมารนั้น จึงเกิดมีพระนามว่า หัตถอาฬวกกุมาร เพราะ
พระกุมารนั้นมาจากมือของราชบุรุษเป็นต้น ไปสู่มือของยักษ์, จากมือของยักษ์
ไปสู่พระหัตถ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า, จากพระหัตถ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า
ไปสู่มือของราชบุรุษทั้งหลายอีก.
ชนทั้งหลายมีชาวนาและผู้ทำการงานในป่าเป็นต้น ได้เห็นราชบุรุษ
ทั้งหลาย ผู้พาพระกุมารนั้นกลับมามีความกลัวจึงถามว่า ยักษ์ไม่ต้องการ
พระกุมาร เพราะเป็นเด็กเกินไปหรือ ? ราชบุรุษทั้งหลายได้บอกเรื่องทั้งหมด
ว่า ท่านทั้งหลายอย่ากลัว พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำความปลอดภัยแล้ว แต่นั้น
ชาวอาฬวินครทั้งสิ้นก็หันหน้าไปทางยักษ์ ด้วยเสียงโกลาหลเป็นอันเดียวกันว่า
สาธุ สาธุ.
ฝ่ายยักษ์ เมื่อกาลเพื่อภิกขาจารของพระผู้มีพระภาคเจ้ายังไม่ถึง ก็ถือ
บาตรและจีวรมาถึงกลางทางแล้วกลับ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จ
บิณฑบาตในพระนคร ทรงทำภัตกิจแล้ว ประทับนั่งบนบวรพุทธาสนะที่ปูแล้ว
ณ โคนต้นไม้อันสงัดแห่งหนึ่ง ใกล้ประตูพระนคร แต่นั้น พระราชาพร้อม

กับหมู่มหาชนและชาวพระนครทั้งหลาย ชุมนุมรวมกัน เข้าไปเฝ้าพระผู้มี
พระภาคเจ้า ไหว้ แวดล้อมแล้ว ทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์
ทรงทรมานยักษ์ผู้ทารุณเห็นปานนี้อย่างไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจงตรัสอาฬวก-
สูตรนั้นนั่นแล เริ่มต้นแต่การรบเป็นต้นแก่ชนเหล่านั้นว่า ยักษ์นี้บันดาลให้
ฝนตก 9 ชนิด เห็นปานนี้ ได้ทำสิ่งที่น่าสะพรึงกลัวอย่างนี้ ได้ถามปัญหา
อย่างนี้ เราตถาคตได้แก้แล้วอย่างนี้ แก่ยักษ์นั้น ในเวลาจบคาถา สัตว์
84,000 ก็ได้ธรรมาภิสมัย.
ต่อแต่นั้น พระราชาและชาวพระนคร ได้ทำที่อยู่ให้แก่ยักษ์ ในที่
ใกล้ภพของท้าวเวสวัณมหาราช ยังพลีกรรมอันถึงพร้อมด้วยสักการะมีดอกไม้
และของหอมเป็นต้นให้เป็นไปเป็นนิตย์ และปล่อยพระกุมารนั้นผู้ทรงบรรลุ-
นิติภาวะแล้วว่า พระองค์ทรงอาศัยพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงทรงได้ชีวิต ขอจง
เสด็จไป จงทรงนั่งใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้านั่นแล และพระภิกษุสงฆ์.
พระกุมารนั้นเสด็จเข้าไปนั่งใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้า และพระภิกษุสงฆ์
ต่อกาลไม่นานนัก ก็ทรงดำรงอยู่ในอนาคามิผล ทรงเรียนพระพุทธพจน์ทั้งหมด
เป็นผู้มีอุบาสก 500 เป็นบริวาร และพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งพระกุมารนั้น
ไว้ในตำแหน่งเอตทัคคะว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย หัตถกอาฬวกะ เป็น
เลิศแห่งสาวกทั้งหลายของเรา ผู้สงเคราะห์บริษัทด้วยสังคหวัตถุสี่

ดังนี้.
จบอรรถกถาอาฬวกสูตร แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย
ชื่อ ปรมัตถโชติกา

วิชยสูตรที่ 11


ว่าด้วยเรื่องร่างกาย


[312] ถ้าว่าบุคคลเที่ยวไป ยืนอยู่
นั่ง นอน คู้เข่าหรือเหยียดออก นั่นเป็นความ
เคลื่อนไหวของกาย กายประกอบแล้วด้วย
กระดูกและเอ็นฉาบด้วยหนังและเนื้อ ปกปิด
ด้วยผิว เต็มด้วยไส้ อาหาร มีก้อนตับ มูตร
หัวใจ ปอด ม้าม ไต น้ำมูก น้ำลาย เหงื่อ
มันข้น เลือด ไขข้อ ดี เปลวมัน อัน
ปุถุชนผู้เป็นพาล ย่อมไม่เห็นตามความเป็น
จริง อนึ่ง ของอันไม่สะอาดย่อมไหลออก
จากช่องทั้งเก้าของกายนี้ทุกเมื่อ คือขี้ตาจาก
ตา ขี้หูจากหู และน้ำมูกจากจมูก บางคราว
ย่อมสำรอกออกจากปาก ดีและเสลดย่อม
สำรอกออก เหงื่อและหนองฝีซึมออกจาก
กาย อนึ่ง อวัยวะเบื้องสูงของกายนี้เป็น
โพรง เต็มด้วยมันสมอง คนพาลถูกอวิชชา
หุ้มห่อแล้ว ย่อมสำคัญกายนั้นโดยความเป็น
ของสวยงาม.

ก็เมื่อใด เขาตายขึ้นพอง มีสีเขียว
ถูกทิ้งไว้ในป่า เมื่อนั้น ญาติทั้งหลายย่อม