เมนู

อรรถกถาอาฬวกสูตร


อาฬวกสูตรเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุตํ ดังนี้ :-
มีอุบัติอย่างไร ? อุบัติแห่งอาฬวกสูตรนั้น จักแจ่มแจ้งโดยนัยแห่ง
อัตถวัณณนานั่นเทียว ก็ในอัตถวัณณนา บทว่า เอวมฺเม สุตํ เอกํ สมย
ภควา
นั่น มีเนื้อความที่กล่าวแล้วนั่นแล. ก็ในบทว่า อาฬวิยํ วิหรติ
อาฬวกสฺส ยกฺขสฺส ภวเน
นี้มีคำถามว่า อาฬวิคืออะไร และพระผู้มี-
พระภาคเจ้าประทับอยู่ ในที่อยู่ของอาฬวกยักษ์นั้น เพราะเหตุไร ? ข้าพเจ้า
จะตอบคำถาม
คำว่า อาฬวิ นั้น เรียกว่า รัฐบ้าง นครบ้าง แม้ทั้งสองอย่างนั้น
ก็ควรในสูตรนี้ ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ประทับอยู่ ในที่ใกล้อาฬวินครก็เรียกว่า
ประทับอยู่ ใกล้เมืองอาฬวี และในที่ใกล้ คือ ในที่ไม่ไกลแห่งนครนั้น
ประมาณคาวุตหนึ่ง ที่อยู่นั้นก็เรียกว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ประทับอยู่ใน
รัฐอาฬวี ประทับอยู่ใกล้เมืองอาฬวี ที่อยู่นั่นมีในรัฐอาฬวี.

ทรงล่าเนื้อ


ก็เพราะพระราชาพระนามว่า อาฬวกะ ทรงทิ้งนักฟ้อนและเครื่อง
อุปโภคต่าง ๆ เสด็จไปล่าเนื้อทุก ๆ 7 วัน เพื่อป้องกันโจร เพื่อกีดกัน
ปฏิราชา และเพื่อจะทำความพยายาม ในวันหนึ่ง ได้ทรงกระทำกติกากับ
พลกายว่า เนื้อหนีไปข้างผู้ใด เนื้อนั้นจะต้องเป็นภาระของผู้นั้นเท่านั้น ครั้งนั้น
เนื้อได้หนีไปข้างพระราชาพระองค์นั้นแล พระราชาทรงสมบูรณ์ด้วยความ

รวดเร็ว ทรงจับธนูติดตามเนื้อนั้นแต่พระองค์เดียว สิ้นทาง 3 โยชน์ และ
เนื้อทรายทั้งหลายมีกำลังรวดเร็ว 3 โยชน์.
ลำดับนั้น พระราชาทรงฆ่าเนื้อนั้น ซึ่งหมดกำลังลงน้ำยืนอยู่ ตัดแบ่ง
ออกเป็น 2 ส่วน แม้พระองค์ไม่ทรงต้องการเนื้อ เพื่อทรงปลดเปลื้องความ
ผิดพลาดว่า พระราชาไม่อาจเพื่อพาเนื้อไปได้ จึงทรงหาบเนื้อเสด็จมา ทรง
เห็นต้นไทรใหญ่ ซึ่งมีใบเขียวหนาแน่นในที่ไม่ไกลพระนคร เสด็จเข้าสู่โคน
ต้นไทรนั้น เพื่อทรงบรรเทาความเมื่อยล้า ก็ในต้นไทรนั้น มียักษ์ชื่อ อาฬวกะ
ได้พรจากสำนักของท้าวเวสวัณมหาราช กินสัตว์ทั้งหลายที่เข้าไปสู่โอกาสที่เงา
ของต้นไม้นั้นแผ่ไปถึงในสมัยเที่ยงวัน อาศัยอยู่ ยักษ์นั้นเห็นพระราชานั้น
ก็เข้ามาเพื่อจะเคี้ยวกิน พระราชาทรงกระทำกติกากับยักษ์นั้นว่า จงปล่อยฉัน
ฉันถูกปล่อยจักส่งมนุษย์และถาดอาหารทุก ๆ วัน ยักษ์ทูลว่า ท่านมัวเมาด้วย
ราชูปโภคจักทรงลืมเสีย ส่วนข้าพเจ้าจะไม่ได้เพื่อกินคนที่ไม่เข้ามาสู่ที่อยู่และ
คนที่ไม่ได้อนุญาต ข้าพเจ้านั้นต้องกินท่าน จึงเป็นอยู่ได้ ดังนี้ จึงไม่ปล่อย
พระราซาจึงทรงยินยอมว่า ข้าพเจ้าไม่ส่งในวันใด ท่านจงจับข้าพเจ้ากินใน
วันนั้น ผู้อันยักษ์นั้นปล่อยแล้ว จึงเสด็จหลีกไปบ่ายพระพักตร์สู่พระนคร.
พลกายตั้งค่ายรออยู่ในทาง เห็นพระราชาแล้วทูลว่า ข้าแต่พระมหาราช
พระองค์ทรงเมื่อยล้าอย่างนี้ เพราะกลัวแต่ความเมาที่ไม่สมพระเกียรติหรือ
จึงแสดงการต้อนรับ พระราชาตรัสบอกประพฤติการณ์นั้น เสด็จไปสู่พระนคร
เสวยพระกระยาหารเช้าแล้ว ตรัสเรียกคนรักษาพระนครตรัสบอกเรื่องนั่น
คนรักษาพระนครทูลว่า ข้าแต่พระสมมติเทพ พระองค์ทรงทำการกำหนด
กาลหรือ ?

ร. แน่ะพนาย ! ไม่ได้ทำการกำหนดกาล.
น. ข้าแต่พระสมมติเทพ พระองค์ทรงทำไม่ดีแล้ว เพราะอมนุษย์
ทั้งหลายย่อมได้กาลที่สักว่ากำหนดแล้วเท่านั้น แต่เมื่อพระองค์ไม่ทรงกำหนด-
กาล ชนบทจักมีความลำบาก เอาเถิดพระเทวะ พระองค์ทรงกระทำอย่างนี้
แม้ก็จริง ถึงอย่างนั้น ขอพระองค์จงทรงขวนขวายน้อย เสวยราชสมบัติเถิด
ข้าพระองค์จักกระทำสิ่งที่ควรทำในเรื่องนี้.

ส่งคนให้ยักษ์กิน


คนรักษาพระนครนั้น ลุกขึ้นตามกาลนั่นเทียว ไปสู่เรือนจำ กล่าว
หมายถึงนักโทษทั้งหลายที่ต้องถูกประหารว่า ผู้ใดต้องการชีวิต ผู้นั้นจงออกมา
ดังนี้แล้ว รับเอานักโทษที่ออกมาคนแรกให้อาบน้ำและให้บริโภคแล้วส่งไปว่า
เจ้าจงให้ถาดอาหารนี้แก่ยักษ์ ยักษ์นิรมิตอัตภาพอันน่าสะพรึงกลัวแล้วเคี้ยวกิน
นักโทษนั้นที่พอเข้ามาภายในโคนต้นไม้นั่นแล ดุจกินหัวมัน ได้ยินว่า ด้วย
อานุภาพของยักษ์ สรีระทั้งสิ้นรวมทั้งเส้นผมเป็นต้น ของมนุษย์ทั้งหลาย
เป็นเหมือนก้อนเนยข้น บุรุษที่ไปเพื่อให้นักโทษถือภัตให้แก่ยักษ์ เห็นยักษ์
นั้นแล้วกลัว จึงบอกตามมิตรสหาย.
จำเดิมแต่นั้น มนุษย์ทั้งหลายโจษจันกันว่า พระราชาจับโจรให้แก่
ยักษ์ ได้งดเว้นจากโจรกรรม โดยสมัยอื่นจากนั้น เรือนจำทั้งหลายจึงว่างเปล่า
เพราะพวกโจรเก่าสิ้นไป เพราะโจรใหม่ทั้งหลายไม่มี ลำดับนั้น คนรักษา
พระนครจึงทูลแด่พระราชา. พระราชาตรัสสั่งให้ทิ้งพระราชทรัพย์ของพระองค์