เมนู

อาฬวกสูตรที่ 10


ว่าด้วยเรื่องอาฬวกยักษ์ทูลถามปัญหา


[310] ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในที่อยู่ของอาฬวกยักษ์ ใกล้
เมืองอาฬวี ครั้งนั้นแล อาฬวกยักษ์เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าถึงที่ประทับ
ครั้นแล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า จงออกไปเถิดสมณะ พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสว่า ดีละท่าน แล้วได้เสด็จออกไป อาฬวกยักษ์ได้กราบทูล
พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า จงเข้ามาเถิดสมณะ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดีละ
ท่าน แล้วได้เสด็จเข้าไป แม้ครั้งที่ 2 . . . แม้ครั้งที่ 3 . . . แม้ครั้งที่ 4
อาฬวกยักษ์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า จงออกไปเถิดสมณะ พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนท่าน เราจักไม่ออกไปละ ท่านจงกระทำกิจที่ท่าน
จะพึงกระทำเถิด.
อา. ดูก่อนสมณะ ข้าพเจ้าจะถามปัญหากะท่าน ถ้าว่าท่านจักไม่
พยากรณ์แก่ข้าพเจ้าไซร้ ข้าพเจ้าจะควักดวงจิตของท่านออกโยนทิ้ง จักฉีกหัวใจ
ของท่าน หรือจักจับที่เท้าทั้งสองของท่านแล้วขว้างไปที่ฝั่งแม่น้ำคงคา.
พ. เรายังไม่มองเห็นบุคคลผู้ที่จะพึงควักดวงจิตของเราออกโยนทิ้ง
จะพึงฉีกหัวใจของเรา หรือจะพึงจับที่เท้าทั้งสองแล้วขว้างไปที่ฝั่งแม่น้ำคงคา
ได้ ในโลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์พร้อมทั้ง

สมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์ ดูก่อนท่าน ก็และท่านหวังจะถามปัญหา
ก็จงถามเถิด.
ลำดับนั้น อาฬวกยักษ์ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยคาถาว่า
[311] อะไรเล่าเป็นทรัพย์เครื่อง
ปลื้มใจอันประเสริฐที่สุดของบุรุษในโลกนี้
อะไรเล่าที่บุคคลประพฤติดีแล้วย่อมนำความ
สุขมาให้ อะไรเล่าเป็นรสยังประโยชน์ให้
สำเร็จกว่ารสทั้งหลาย นักปราชญ์ทั้งหลาย
ได้กล่าวชีวิตของบุคคลเป็นอยู่อย่างไรว่า
ประเสริฐที่สุด.

พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบด้วยพระคาถาว่า
ศรัทธาเป็นทรัพย์เครื่องปลื้มใจอัน-
ประเสริฐที่สุดของบุรุษในโลกนี้ ธรรมที่
บุคคลประพฤติดีแล้วย่อมนำความสุขมาให้
สัจจะแลเป็นรสยังประโยชน์ให้สำเร็จกว่ารส
ทั้งหลาย นักปราชญ์ทั้งหลาย กล่าวชีวิต
ของบุคคล ผู้เป็นอยู่ด้วยปัญญาว่า ประเสริฐ
ที่สุด.

บุคคลย่อมข้ามโอฆะได้อย่างไร
บุคคลย่อมข้ามอรรณพได้อย่างไร บุคคล
ย่อมล่วงทุกข์ได้อย่างไร ย่อมบริสุทธิ์ได้
อย่างไร.

บุคคลย่อมข้ามโอฆะได้ด้วยศรัทธา
ย่อมข้ามอรรณพได้ด้วยความไม่ประมาท
ย่อมล่วงทุกข์ได้ด้วยความเพียร ย่อมบริสุทธิ์
ได้ด้วยปัญญา.

บุคคลย่อมได้ปัญญาอย่างไร ย่อมหา
ทรัพย์ได้อย่างไร ย่อมได้ชื่อเสียงอย่างไร
ย่อมผูกมิตรทั้งหลายไว้ได้อย่างไร บุคคล
ละจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่นแล้ว ย่อมไม่เศร้า-
โศกอย่างไร.

บุคคลเชื่อธรรมของพระอรหันต์
ทั้งหลายเพื่อบรรลุนิพพานเป็นผู้ไม่ประมาท
มีปัญญาเป็นเครื่องสอดส่อง ฟังอยู่ด้วยดี
ย่อมได้ปัญญา บุคคลผู้มีธุระ กระทำสมควร
มีความหมั่น ย่อมหาทรัพย์ได้ บุคคลย่อม
ได้ชื่อเสียงด้วยสัจจะ ผู้ให้ย่อมผูกมิตรไว้ได้.

ผู้ใดมีศรัทธาอยู่ครองเรือน มีธรรม
4 ประการนี้ คือ สัจจะ ธรรม ธิติ จาคะ
ผู้นั้น และจากโลกนี้ไปแล้วย่อมไม่เศร้าโศก
ถ้าว่า เหตุแห่งการได้ชื่อเสียงยิ่งไปกว่าสัจจะ
ก็ดี เหตุแห่งการได้ปัญญายิ่งไปกว่าทมะก็ดี

เหตุแห่งการผูกมิตรยิ่งไปกว่าจาคะก็ดี เหตุ
แห่งการหาทรัพย์ได้ยิ่งไปกว่าขันติก็ดี มีอยู่
ในโลกนี้ไซร้ เชิญท่านถามสมณพราหมณ์
เป็นอันมากแม้เหล่าอื่นดูเถิด.

บัดนี้ ข้าพระองค์จะพึงถามสมณ-
พราหมณ์เป็นอันมากทำไมเล่า วันนี้ ข้า-
พระองค์ทราบชัดประโยชน์มีอันเป็นไปในภพ
หน้า พระพุทธเจ้าเสด็จมาสู่เมืองอาฬวีเพื่อ
ประทับอยู่ เพื่อประโยชน์แก่ข้าพระองค์หนอ
วันนี้ ข้าพระองค์ทราบชัดพระทักขิไณย-
บุคคลผู้เลิศ ที่บุคคลถวายทานแล้วเป็นทาน
มีผลมาก ข้าพระองค์จักนอบน้อมพระสัม-
พุทธเจ้า และความที่พระธรรมเป็นธรรมดี
เที่ยวไปจากบ้านสู่บ้าน จากเมืองสู่เมือง.

จบอาฬวกสูตรที่ 10

อรรถกถาอาฬวกสูตร


อาฬวกสูตรเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุตํ ดังนี้ :-
มีอุบัติอย่างไร ? อุบัติแห่งอาฬวกสูตรนั้น จักแจ่มแจ้งโดยนัยแห่ง
อัตถวัณณนานั่นเทียว ก็ในอัตถวัณณนา บทว่า เอวมฺเม สุตํ เอกํ สมย
ภควา
นั่น มีเนื้อความที่กล่าวแล้วนั่นแล. ก็ในบทว่า อาฬวิยํ วิหรติ
อาฬวกสฺส ยกฺขสฺส ภวเน
นี้มีคำถามว่า อาฬวิคืออะไร และพระผู้มี-
พระภาคเจ้าประทับอยู่ ในที่อยู่ของอาฬวกยักษ์นั้น เพราะเหตุไร ? ข้าพเจ้า
จะตอบคำถาม
คำว่า อาฬวิ นั้น เรียกว่า รัฐบ้าง นครบ้าง แม้ทั้งสองอย่างนั้น
ก็ควรในสูตรนี้ ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ประทับอยู่ ในที่ใกล้อาฬวินครก็เรียกว่า
ประทับอยู่ ใกล้เมืองอาฬวี และในที่ใกล้ คือ ในที่ไม่ไกลแห่งนครนั้น
ประมาณคาวุตหนึ่ง ที่อยู่นั้นก็เรียกว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ประทับอยู่ใน
รัฐอาฬวี ประทับอยู่ใกล้เมืองอาฬวี ที่อยู่นั่นมีในรัฐอาฬวี.

ทรงล่าเนื้อ


ก็เพราะพระราชาพระนามว่า อาฬวกะ ทรงทิ้งนักฟ้อนและเครื่อง
อุปโภคต่าง ๆ เสด็จไปล่าเนื้อทุก ๆ 7 วัน เพื่อป้องกันโจร เพื่อกีดกัน
ปฏิราชา และเพื่อจะทำความพยายาม ในวันหนึ่ง ได้ทรงกระทำกติกากับ
พลกายว่า เนื้อหนีไปข้างผู้ใด เนื้อนั้นจะต้องเป็นภาระของผู้นั้นเท่านั้น ครั้งนั้น
เนื้อได้หนีไปข้างพระราชาพระองค์นั้นแล พระราชาทรงสมบูรณ์ด้วยความ