เมนู

พักตร์อันผ่องใสทีเดียว ด้วยพระสุรเสียงที่ไพเราะด้วยพระหฤทัยเต็มเปี่ยมด้วย
ความอนุเคราะห์และเยือกเย็นบนพราหมณ์ จึงตรัสว่า ชานาสิ ปน ตฺวํ
พฺรหฺมณ
แปลว่า ดูก่อนพราหมณ์ ก็ท่านรู้จักคนถ่อยหรือ ? ลำดับนั้น พรา-
หมณ์รู้ความที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงมีพระพักตร์ผ่องใส และพระหฤทัยสม่ำ
เสมอเป็นต้น ฟังพระสุรเสียงไพเราะ ซึ่งทรงเปล่งด้วยพระหฤทัยอนุเคราะห์
และเย็นสนิท ก็มีหัวใจอันน้ำอมฤตนั่นเทียวรดแล้ว มีใจเป็นของตน มีอินทรีย์
ผ่องใส ละมานะเสียได้ ละคำพูดที่ไม่ควรพูด อันเช่นกับอสรพิษซึ่งมีชาติ
นั้น ๆ เป็นสภาพ สำคัญอยู่ว่า ไฉนหนอ เราจึงพูดถึงชาติเลวว่าเป็นคนถ่อย
โดยปรมัตถ์ เขาหาใช่เป็นคนถ่อยไม่ และความที่ชาติเลวก็หามีไม่ มีแต่ธรรม
ที่ทำให้เป็นคนถ่อย จึงกราบทูลว่า น โข อหํ โภ โคตม แปลว่า
ท่านพระโคดม ข้าพเจ้าไม่รู้จักคนถ่อย. ก็ข้อที่บุคคลถึงพร้อมด้วยเหตุ แม้จะ
เป็นคนหยาบคาย เพราะไม่ได้ปัจจัย แต่พอได้ปัจจัย ก็จะเป็นคนละมุนละม่อม
นั่นเป็นธรรมดา.

[สาธุศัพท์]


บรรดาบทเหล่านั้น ศัพท์ว่า สาธุ นี้ ย่อมปรากฏในอรรถทั้งหลาย
เป็นต้นว่า
1. อายาจนะ การขอร้อง
2. สัมปฏิจฉนะ การยอมรับ
3. สัมปหังสนะ ความร่าเริง
4. สุนทร ดี
5. ทัฬหิกรรม การทำให้มั่นคง.

ก็สาธุศัพท์ปรากฏในการขอร้อง ดุจในประโยคเป็นต้นว่า สาธุ เม
ภนฺเต ภควา สงฺขิตฺเตน ธมฺมํ เทเสตุ
แปลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
ดังข้าพระองค์ขอโอกาส ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงแสดงธรรมแก่ข้าพระองค์
โดยย่อ.
ปรากฏในการยอมรับ ดุจในประโยคเป็นต้นว่า สาธุ ภนฺเตติ
โข โส ภิกฺขุ ภควา ภาสิตํ อภินนฺทิตฺวา อนุโมทิตฺวา
แปลว่า
ภิกษุนั้นเพลิดเพลิน อนุโมทนาภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่าดีละพระเจ้าข้า.
ปรากฏในความร่าเริง ดุจในประโยคเป็นต้นว่า สาธุ สาธุ สารี-
ปุตฺต
ดีละ ดีแล้ว สารีบุตร.
ปรากฏในอรรถว่า ดี ดุจในประโยคมีอาทิว่า
สาธุ ธมฺมรุจี ราชา สาธุ ปญฺญาณวา นโร
สาธุ มิตฺตานมทฺทุพฺโภ ปาปสฺสากรณํ สุขํ

พระราชาทรงชอบพระธรรมเป็นคน
ดี คนมีปัญญา เป็นเครื่องปรากฏเป็นคนดี
คนไม่ประทุษร้ายมิตรทั้งหลาย เป็นคนดี
การไม่ทำบาปเป็นเหตุแห่งความสุข.

ปรากฏในการทำให้มั่นคง ดุจในประโยคมีอาทิว่า สาธุกํ สุณาถ
มสิกโรถ ตถา เต ภาสิสฺสามิ ยถา ตฺวํ ชานิสฺสสิ
แปลว่า ท่านจง
ฟังให้ดี จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวแก่ท่าน โดยประการที่ท่านจักรู้ได้. แต่ใน
ที่นี้ สาธุศัพท์ปรากฏในการขอร้อง.

บทว่า เตนหิ เป็นการแสดงขยายอธิบายการขอร้องนั้น มีอธิบายว่า
ถ้าท่านประสงค์จะรู้ หรือเป็นการพูดถึงเหตุ. พึงทราบการเชื่อมบทนั้นเข้ากับ
บทอื่นอย่างนี้ว่า เพราะท่านต้องการจะรู้ เพราะฉะนั้น พราหมณ์ ท่านจงฟัง
จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าวแก่ท่าน โดยประการที่ท่านจักรู้ ดังนี้.
ก็ในบทเหล่านั้น บทว่า สุณาหิ เป็นการห้ามถึงความฟุ้งซ่านแห่ง
โสตินทรีย์. บทว่า สาธุกํ มนสิกโรหิ เป็นการห้ามความฟุ้งซ่านแห่ง
มนินทรีย์ เพราะประกอบการทำให้มั่นคง ในมนสิการ. ก็ในคำทั้งสองนั้น
คำต้น เป็นการห้ามถึงการยึดถือพยัญชนะอย่างผิด ๆ คำหลังเป็นการห้ามถึง
การยึดถืออรรถอย่างผิด ๆ ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกอบพราหมณ์ไว้ใน
การฟังธรรม ด้วยคำต้น ทรงประกอบไว้ในกรรมทั้งหลายมีการทรงไว้และ
การพิจารณาเนื้อความแห่งธรรมทั้งหลายที่ฟังแล้วด้วยคำหลัง และด้วยคำต้น
ทรงแสดงว่า ธรรมนี้มีพยัญชนะ เพราะฉะนั้น ท่านพึงฟัง ด้วยคำหลัง
ทรงแสดงว่า ธรรมนี้มีอรรถ เพราะฉะนั้น ท่านพึงมนสิการ.
อีกอย่างหนึ่ง ทรงประกอบสาธุกบทเข้ากับบททั้งสอง เมื่อทรง
แสดงอรรถนั้นว่า เพราะธรรมนี้ ลึกโดยธรรมและลึกโดยเทศนา เพราะฉะนั้น
ท่านจงให้ดี เพราะเป็นธรรมลึกโดยอรรถและลึกโดยปฏิเวธ เพราะฉะนั้น
ท่านจงสนใจให้ดี ดังนี้ จึงตรัสว่า สุณาหิ สาธุกํ มนสิกโรหิ แต่นั้น
ทรงปลอบพราหมณ์นั้น ผู้ดุจท้อแท้อยู่ว่า เราจักได้ที่พึ่งในธรรมอันลึกซึ้ง
อย่างนี้อย่างไร จึงตรัสว่า ภาสิสฺสามิ ดังนี้. ในคำนั้น พึงทราบความ
ขวนขวายอย่างนี้ว่า ท่านจักรู้โดยประการใด เราจักกล่าวโดยนัยอันตื้นด้วยบท

และพยัญชนะอันกลมกล่อม โดยประการนั้น ต่อจากนั้น อัคคิกภารทวาช-
พราหมณ์เป็นผู้มีความขวนขวายแล้ว จึงทูลรับ มีอธิบายว่า รับแล้ว คือ
รับเฉพาะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า อย่างนั้นพระเจ้าข้า หรือมุ่งหน้าฟังด้วยการ
ปฏิบัติตามธรรมที่ทรงแสดง ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสคำนี้ คือ
ตรัสบอกคำนี้แก่พราหมณ์นั้น. บทมีอย่างนี้ว่า โกธโน อุปนาหี เป็นต้น
ตรัสหมายถึงธรรมที่พึงตรัสบอกในบัดนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า โกธโน ได้แก่ ผู้โกรธเป็นปกติ. บทว่า
อุปนาหี ได้แก่ ผู้ประกอบพร้อมด้วยความโกรธ โดยทำความโกรธนั้นนั่นแล
ให้มั่นคง คนใดย่อมล้าง ย่อมลบคุณทั้งหลายของคนอื่นทั้งหลาย เพราะเหตุนั้น
คนนั้นชื่อว่า มกฺขี ผู้ลบหลู่ คนนั้นเลวด้วย ลบหลู่ด้วย ชื่อว่า ปาปมกฺขี
ผู้ลบหลู่อย่างเลว.
บทว่า วิปนฺนทิฏฺฐิ ได้แก่ ผู้มีสัมมาทิฏฐิพินาศแล้ว หรือผู้ประกอบ
ด้วยมิจฉาทิฏฐิ 10 อย่าง อันวิบัติ คือ ผิดรูปแล้ว. บทว่า มายาวี ได้แก่
ผู้ประกอบพร้อมด้วยมายามีการปกปิดโทษอันมีอยู่ในตน.
บทว่า ตํ ชญฺญา วสโล อิติ ความว่า ท่านจงรู้บุคคลนั้น คือ
เห็นปานนั้นว่า เป็นคนถ่อย เพราะหลั่งออก เพราะไหลออกและเพราะซ่านไป
แห่งธรรมเลวเหล่านั้น. ด้วยว่าธรรมอันเลวทั้งหมดเกิดแล้วในกระหม่อมของ
พราหมณ์ จริงอยู่ พราหมณ์นี้ โดยปรมัตถ์เป็นคนถ่อยทีเดียว หาได้เรียก
บุคคลอื่น สักว่าความพอใจแห่งหฤทัยของตนไม่.
ในคาถานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำการข่มความโกรธของพราหมณ์
นั้น ด้วยบทต้นเท่านั้น ด้วยประการฉะนี้แล้ว และเมื่อจะทรงแสดงธรรมมี

ความโกรธเป็นต้น ด้วยบุคลาธิษฐานว่า บุคคลเลวมีความโกรธเป็นธรรมดา
จึงทรงแสดงคนถ่อยและธรรมทั้งหลายที่ทำให้เป็นคนถ่อย ด้วยปริยายหนึ่งก่อน
และเมื่อทรงแสดงอย่างนั้น ไม่ทรงทำการข่มคนอื่น และไม่ยกพระองค์ว่า ท่าน
เรา ทรงตั้งพราหมณ์นั้นในความเป็นคนถ่อย และพระองค์ในความเป็น
พราหมณ์ด้วยธรรมนั่นเอง คือ ด้วยความถูกต้องสม่ำเสมอ.
บัดนี้ เมื่อจะทรงปฏิเสธทิฏฐิของพราหมณ์ทั้งหลายว่า บุคคลแม้ทำ
อยู่ซึ่งปาณาติบาต และอทินนาทานเป็นต้น ในกาลบางคราวก็ยังเป็นพราหมณ์
อยู่นั่นเอง และเมื่อจะทรงแสดงโทษในทิฏฐินั้นว่า ก็สัตว์ทั้งหลายเหล่าใด
ประกอบด้วยอกุศลธรรมเหล่านั้น ๆ ในบรรดาอกุศลธรรมมีความเบียดเบียน
เป็นต้น เมื่อไม่เห็นโทษ ย่อมยึดถือธรรมเหล่านั้น ธรรมเหล่านั้นเลวสำหรับ
สัตว์เหล่านั้น จึงเป็นธรรมทำให้เป็นคนถ่อย จึงได้ตรัสคาถามีอาทิอย่างนี้ว่า
เอกชํ วา ทฺวิชํ วา เพื่อทรงแสดงคนถ่อย และธรรมทั้งหลายอันทำให้เป็น
คนถ่อย โดยปริยายทั้งหลายแม้อื่นอีก.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอกชํ ได้แก่ สัตว์ที่เกิดในกำเนิด
ที่เหลือเว้นสัตว์ที่เกิดในไข่. ก็สัตว์ที่เกิดในกำเนิดนั้น ย่อมเกิดครั้งเดียวเท่านั้น.
บทว่า ทฺวิโช ได้แก่ สัตว์เกิดในไข่ จริงอยู่ สัตว์เกิดในไข่นั้น
ย่อมเกิดสองครั้ง คือ จากท้องแม่ครั้ง 1 จากกระเปาะฟองไข่ครั้ง 1 ซึ่งสัตว์
ที่เกิดหนเดียว แม้หรือเกิดสองหนนั้น.
บทว่า โยธ ปาณํ ความว่า คนใดในโลกนี้เบียดเบียนสัตว์ บทว่า
วิหึสติ ความว่า ปลงจากชีวิตด้วยประโยค ที่ตั้งขึ้นจากเจตนาที่เป็นไปทาง

กายทวาร หรือที่ตั้งขึ้นจากเจตนาที่เป็นไปทางวจีทวาร. บาลีว่า ย่อมเบียด-
เบียนทั้งหลาย ดังนี้ก็มี. นักศึกษาพึงทราบความสัมพันธ์ในบทนั้นอย่างนี้ว่า
คนใดในโลกนี้ ย่อมเบียดเบียนสัตว์ทั้งหลาย มีประเภทอย่างนี้คือ สัตว์ที่เกิด
หนเดียว หรือเกิดสองหน. ตรัสความไม่มีความเอ็นดูด้วยใจ ด้วยบทนี้ว่า
ไม่มีความเอ็นดูในสัตว์.
บทที่เหลือในคาถานี้ และในคาถาทั้งหลายนอกจากนี้ มีนัยที่กล่าว
แล้วนั้นแล. เพราะข้าพเจ้าจะไม่กล่าวบทแม้มีประมาณเท่านี้ ต่อนี้ไปจะเลี่ยง
บททั้งหลายที่มีเนื้อความง่าย จักกระทำการพรรณนาบทที่ยังไม่พรรณนาเท่า
นั้นแล.
บทว่า หนฺติ คือ ย่อมฆ่า ย่อมให้พินาศ. บทว่า อุปรนฺเธติ
คือ ใช้พรรคพวกยืนแวดล้อมไว้. บทว่า นครานิ แม้ดังนี้ พึงกล่าวด้วย
ศัพท์ในบทนี้ว่า คามานิ นิคมานิ จ. ด้วยการฆ่าและการปล้นนี้ว่า
นิคฺคาหโก สมญฺญาโต มีชื่อเสียงอันบุคคลรู้แล้วในโลกว่า ฆ่าชาวบ้าน
ชาวนิคม และชาวนคร.
บทว่า คาเม ยทิ วารญฺเญ ความว่า บ้านก็ดี นิคมก็ดี นครก็ดี
ทั้งหมดพร้อมอุปจาร ชื่อว่า บ้าน ในคาถานี้ เว้นบ้านนั้น ที่เหลือชื่อว่า
ป่า. ทรัพย์ที่ผู้อื่นหวงแหน ที่สัตว์อื่นคุ้มครองยังไม่บริจาค จะเป็นสัตว์ก็ตาม
เป็นสังขารก็ตาม ในบ้านหรือในป่านั้น.
บทว่า เถยฺยา อทินฺนํ อาทยติ ความว่า ลักทรัพย์ที่ผู้อื่นเหล่านั้น
ไม่ได้ให้ ไม่ได้อนุญาต ด้วยไถยจิต คือ ยังการถือเอาของตนให้สำเร็จ ด้วย
ประโยคอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ ด้วยอวหารอย่างใดอย่างหนึ่ง.

บทว่า อิณมาทาย ความว่า คนที่วางหลักทรัพย์บางอย่างของตน
แล้วกู้หนี้มาใช้ ด้วยการวางหลักทรัพย์ หรือไม่วางหลักทรัพย์บางอย่างกู้หนี้
มาใช้ ด้วยการให้ดอกเบี้ยว่า ข้าพเจ้าจักให้ดอกเบี้ยประมาณเท่านี้ โดยกาล
ประมาณเท่านี้ หรือด้วยทำสัญญาว่า กำไรใดจักมีแต่ทรัพย์นี้ กำไรนั้นจัก
เป็นต้นทุนของเรา หรือของท่านด้วย หรือว่า กำไรต้องแบ่งกันทั้งสองฝ่าย
หนีไปเสีย. บทว่า น หิ เต อิมมตฺถิ ความว่า ผู้อันเจ้าหนี้นั้นทวงอยู่ว่า
ท่านจงให้หนี้แก่ข้าพเจ้า ทั้งที่อยู่ในเรือน ด้วยการพูดอย่างนี้ว่า หนี้ของท่าน
ไม่มีเลย ใครเป็นพยานว่า ข้าพเจ้ากู้หนี้ท่าน ชื่อว่า หนีไปเสีย.
บทว่า กิญฺจิกฺขกมฺยตา ความว่า เพราะต้องการทรัพย์บางอย่าง
เท่านั้น แม้มีประมาณน้อย. บทว่า ปนฺถสฺมึ วชตํ ชนํ ความว่า สตรี
หรือบุรุษ คนใดคนหนึ่ง ผู้กำลังเดินทาง. บทว่า หนฺตา กิญฺจิกฺขมาเทติ
ความว่า ฆ่าแล้ว หรือทุบตีแล้ว ชิงเอาของนั้น.
บทว่า อตฺตเหตุ ได้แก่ เพราะเหตุแห่งชีวิตของตน. เพราะเหตุ
แห่งผู้อื่นก็เหมือนกัน. บทว่า ธนเหตุ ได้แก่ เพราะเหตุแห่งทรัพย์ ทรัพย์
ของตน หรือทรัพย์ของผู้อื่น. อักษรในบททั้งปวงมีการกำหนดเป็นอรรถ.
บทว่า สกฺขิปุฏฺโฐ ความว่า ถูกถามว่า ท่านรู้สิ่งใด จงกล่าวสิ่ง
นั้น. บทว่า มุสา พฺรูหิ ความว่า เมื่อรู้กฺพูดว่าไม่รู้ หรือเมื่อไม่รู้ก็พูดว่า
รู้ คือ ย่อมทำผู้เป็นเจ้าของมิให้เป็นเจ้าของ ทำผู้ไม่เป็นเจ้าของให้เป็นเจ้าของ.
บทว่า ญาตีนํ ได้แก่ ผู้เป็นเครือญาติ. บทว่า สขี นํ ได้แก่
ผู้เป็นสหาย. บทว่า ทาเรสุ ได้แก่ ในภรรยาทั้งหลายที่คนอื่นคุ้มครอง.
บทว่า ปฏิทิสฺสติ ความว่า ย่อมปรากฏโดยปฏิกูล อธิบายว่า ปรากฏว่า

ประพฤติล่วงเกิน. บทว่า สหสา ได้แก่ หญิงไม่ต้องการ โดยพลการ
บทว่า สมฺปิเยน ความว่า ผู้อันภรรยาเหล่านั้น ของคนเหล่านั้นต้องการ
และตนเองก็ต้องการ มีอธิบายว่า แม้ด้วยอำนาจแห่งความรักใคร่ของบุคคล
ทั้งสอง.
บทว่า มาตรํ วา ปิตรํ วา ความว่า แม้ผู้เป็นที่ตั้งแห่งเมตตา
อย่างนี้. บทว่า ชิณฺณกํ คตโยพฺพนํ ความว่า แม้ผู้เป็นตั้งแห่งกรุณา
อย่างนี้. บทว่า ปหุสนฺโต ความว่า แม้เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยประโยชน์ ถึง
พร้อมด้วยอุปกรณ์ ก็ไม่เลี้ยง คือ ไม่เลี้ยงดู.
บทว่า สสุํ ได้แก่แม่ผัว. บทว่า หนฺติ ความว่า ประหารด้วยฝ่ามือ
ด้วยก้อนดิน หรือด้วยวัตถุอื่นบางอย่าง ด่า คือ ยังความโกรธให้เกิดแก่บุคคล
นั้น ด้วยวาจา คือ ด้วยคำหยาบ.
บทว่า อตฺถํ ได้แก่ ประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง ในบรรดาสันทิฏ-
ฐิกประโยชน์ สัมปรายิกประโยชน์ และปรมัตถประโยชน์. บทว่า ปุจฺฉิโต
สนฺโต
ความว่า ถูกถามแล้ว. บทว่า อนตฺถมนุสาสติ ความว่า ย่อม
บอกสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูลนั่นเทียว แก่เขา. บทว่า ปฏิจฺฉนฺเนน
มนฺเตติ
ความว่า แม้เมื่อบอกสิ่งที่เป็นประโยชน์ ก็ย่อมบอกด้วยคำปกปิด
ด้วยบทพยัญชนะที่ไม่ปรากฏโดยที่บุคคลนั้นไม่รู้ หรือย่อมปกปิดสิ่งที่มีเงื่อนงํา
บอกสิ่งที่ไม่มีเงื่อนงำเท่านั้น.
บทว่า โย กตฺวา ความว่า ความปรารถนาลามกในส่วนเบื้องต้น
แห่งมายาได้กล่าวไว้แล้วในอรรถกถา มาแล้วอย่างนี้ว่า คนบางคนในโลกนี้
ประพฤติกายทุจริต วจีทุจริต มโนทุจริต ย่อมปกปิดความปรารถนาอันลามก

เพราะเหตุปกปิดทุจริตนั้น คือ ย่อมปรารถนาว่า ขอคนอื่นอย่าพึงรู้เรา มี
การงานปกปิด ด้วยการกระทำโดยประการที่คนอื่นทั้งหลายไม่รู้ และด้วยการ
ไม่เปิดเผยการงานที่ทำแล้วว่า การงานของเขาปกปิด.
บทว่า ปรกุลํ ได้แก่ ตระกูลญาติ หรือตระกูลมิตร. บทว่า อาคตํ
ความว่า ย่อมไม่ตอบแทนเขาผู้มาแล้วสู่เรือนตน ผู้ซึ่งคนเคยได้บริโภคอาหาร
มาแล้ว ด้วยวัตถุทั้งหลายมีน้ำและโภชนะเป็นต้น อธิบายว่า ย่อมไม่ให้หรือ
ให้แต่อาหารที่เลว.
บทว่า โย พฺราหฺมณํ วา มีนัยที่กล่าวไว้แล้วในปราภวสูตรนั้นแล.
บทว่า ภตฺตกาเล อุปฏฺฐิเต ความว่า เกิดแล้ว ปรากฏแล้ว ใน
กาลแห่งโภชนะ บาลีว่า ปรากฏแล้วดังนี้ก็มี อธิบายว่า ผู้มาแล้ว ในกาล
แห่งภัตรแต่เช้า. บทว่า โรเสติ วาจา น จ เทติ อธิบายว่า คนคิดว่า
สมณะหรือพราหมณ์นี้ ใคร่ประโยชน์แก่เรา ไม่มาเพื่อให้เราทำบุญโดยพลการ
ย่อมด่าด้วยคำหยาบที่ไม่สมควร โดยที่สุด ย่อมไม่ให้ แม้สักว่าพบหน้าสมณะ
หรือพราหมณ์นั้น จะป่วยกล่าวไปไยถึงการให้โภชนะเล่า.
บทว่า อสิตํ โยธ ปพฺรูติ ความว่า คนในโลกนี้พูดคำที่ไม่มี
โดยประการใดที่นิมิตทั้งหลายปรากฏว่า สิ่งนี้และสิ่งนี้จักมีแก่ท่านในวันชื่อ
โน้น บาลีว่า อสนฺติ ดังนี้ก็มี อธิบายว่า เรื่องไม่จริง. บทว่า ปพฺรูติ
ความว่า ย่อมพูด เหมือนนักเลงลวงภรรยาของคนอื่น หรือทาสีของคนอื่นว่า
ในบ้านชื่อโน้น ข้าพเจ้ามีสมบัติประจำเรือนเช่นนี้ จงมา จงไปในบ้านนั้น
ด้วยกัน ท่านจักเป็นแม่เรือนของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าจักให้สมบัตินี้แก่ท่าน. บทว่า

นิชิคึสาโน ความว่า ต้องการอยู่ คือ แสวงหาอยู่. อธิบายว่า ผู้ประสงค์
จะลวงเขาแล้ว ถือเอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งหนีไปเสีย.
บทว่า โย จตฺตานํ ความว่า ก็คนใดยกตน. บทว่า สมุกฺกํเส
ความว่า ย่อมยกตนด้วยมานะทั้งหลายมีชาติเป็นต้น คือ ตั้งตนไว้ในฐานะสูง.
บทว่า ปเร จ มวชานติ ความว่า ย่อมดูหมิ่นคนเหล่าอื่น คือ ทำให้ต่ำ
ด้วยมานะทั้งหลายมีชาติเป็นต้นเหล่านั้น. อักษร กระทำการเชื่อมบท.
บทว่า นิหีโน ความว่า ผู้เสื่อมจากคุณวุฒิ หรือถึงความเป็นผู้ตกต่ำ. บทว่า
เสน มาเนน ความว่า ด้วยมานะของตน กล่าวคือ การยกตนและข่มท่าน
นั้น.
บทว่า โรสโก ได้แก่ผู้ฉุนเฉียวคนเหล่าอื่นด้วยกายและวาจา. บทว่า
กทริโย ได้แก่ ผู้ตระหนี่จัด. คำว่า กทริโย นั้น เป็นชื่อของคนผู้ห้าม
คนเหล่าอื่น ที่ให้ทานแก่คนเหล่าอื่น หรือผู้ทำบุญอย่างอื่น. บทว่า ปาปิจฺโฉ
ได้แก่ ผู้ถึงพร้อมด้วยความปรารถนาที่จะยกย่องคุณที่ตนไม่มี. บทว่า มจฺฉรี
ได้แก่ ประกอบด้วยความตระหนี่ในเพราะที่อยู่เป็นต้น. บทว่า สโฐ ได้แก่
ผู้ประกอบพร้อมด้วยความโอ้อวด มีการประกาศคุณที่ตนไม่มีเป็นลักษณะ.
หรือผู้มักกล่าวคำที่ไม่ชอบ แม้ไม่ประสงค์จะทำ ด้วยคำว่า เราจะทำเป็นต้น.
หิริมีการเกลียดบาปเป็นลักษณะ ไม่มีแก่คนนั้น โอตตัปปะมีการสะดุ้งกลัวบาป
เป็นลักษณะ ไม่มีแก่คนนั้น เพราะฉะนั้น คนนั้นชื่อว่า อหิริโก ไม่ละอาย
อโนตฺตปฺปี ไม่สะดุ้งกลัว.
บทว่า พุทฺธํ ได้แก่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า. บทว่า ปริภาสติ
ความว่า ติเตียน ด้วยคำว่า ไม่เป็นสัพพัญญูเป็นต้น. และย่อมติเตียนพระสาวก

ด้วยคำว่า เป็นผู้ปฏิบัติชั่วเป็นต้น. ก็บทว่า ปริพฺพาชกํ คหฏฺฐํวา นั่น
เป็นวิเสสนะของสาวกเท่านั้น. อธิบายว่า บรรพชิต หรือคฤหัสถ์ ผู้ถวาย
ปัจจัย ผู้เป็นสาวกพระพุทธเจ้านั้น. โบราณาจารย์ทั้งหลายย่อมต้องการเนื้อ
ความในคาถานี้ อย่างนี้ว่า ย่อมติเตียนปริพาชกภายนอก หรือคฤหัสถ์คนใด
คนหนึ่ง ด้วยโทษอันไม่เป็นจริง.
บุทว่า อนรหํ สนฺโต ความว่า ผู้ไม่เป็นพระขีณาสพ. บทว่า
อรหํ ปฏิชานติ ความว่า ปฏิญาณว่า เราเป็นพระอรหันต์ คือ ย่อมเปล่ง
วาจา ย่อมตะเกียกตะกายด้วยกาย ย่อมปรารถนา ย่อมรับด้วยจิต โดยประการ
ที่บุคคลทั้งหลายรู้เขาว่า คนนี้เป็นพระอรหันต์. บทว่า โจเร ได้แก่ ขโมย
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสด้วยอำนาจคำอันอุกฤษฏ์ว่า ในโลกพร้อมทั้งพรหมโลก
อธิบายว่า ในโลกทั้งปวง.
จริงอยู่ พวกผู้ร้ายทำการตัดที่ต่อ การปล้นสดมภ์ การปล้นเรือน
หลังเดียว และการดักปล้นในหนทางเป็นต้นแล้ว ปล้นทรัพย์ของคนเหล่าอื่น
ท่านเรียกว่า โจร ในโลก พวกบรรพชิตปล้นปัจจัยเป็นต้น ด้วยบริษัทสมบัติ
เป็นต้น ท่านเรียกว่า โจร ในพระศาสนา. สนดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า

[มหาโจร]


1. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหาโจร 5 เหล่านี้ มีอยู่ ปรากฏอยู่ใน
โลก 5 เป็นไฉน คือ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มหาโจรบางคนในโลกนี้ คิด
อย่างนี้ว่า ชื่อในกาลไหนหนอ เราผู้อันบริวาร 100 คน หรือ 1,000 คน
แวดล้อมแล้ว จักเที่ยวไปในคาม นิคม และราชธานี ฆ่าเอง ให้ฆ่า ตัดเอง