เมนู

พักตร์อันผ่องใสทีเดียว ด้วยพระสุรเสียงที่ไพเราะด้วยพระหฤทัยเต็มเปี่ยมด้วย
ความอนุเคราะห์และเยือกเย็นบนพราหมณ์ จึงตรัสว่า ชานาสิ ปน ตฺวํ
พฺรหฺมณ
แปลว่า ดูก่อนพราหมณ์ ก็ท่านรู้จักคนถ่อยหรือ ? ลำดับนั้น พรา-
หมณ์รู้ความที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงมีพระพักตร์ผ่องใส และพระหฤทัยสม่ำ
เสมอเป็นต้น ฟังพระสุรเสียงไพเราะ ซึ่งทรงเปล่งด้วยพระหฤทัยอนุเคราะห์
และเย็นสนิท ก็มีหัวใจอันน้ำอมฤตนั่นเทียวรดแล้ว มีใจเป็นของตน มีอินทรีย์
ผ่องใส ละมานะเสียได้ ละคำพูดที่ไม่ควรพูด อันเช่นกับอสรพิษซึ่งมีชาติ
นั้น ๆ เป็นสภาพ สำคัญอยู่ว่า ไฉนหนอ เราจึงพูดถึงชาติเลวว่าเป็นคนถ่อย
โดยปรมัตถ์ เขาหาใช่เป็นคนถ่อยไม่ และความที่ชาติเลวก็หามีไม่ มีแต่ธรรม
ที่ทำให้เป็นคนถ่อย จึงกราบทูลว่า น โข อหํ โภ โคตม แปลว่า
ท่านพระโคดม ข้าพเจ้าไม่รู้จักคนถ่อย. ก็ข้อที่บุคคลถึงพร้อมด้วยเหตุ แม้จะ
เป็นคนหยาบคาย เพราะไม่ได้ปัจจัย แต่พอได้ปัจจัย ก็จะเป็นคนละมุนละม่อม
นั่นเป็นธรรมดา.

[สาธุศัพท์]


บรรดาบทเหล่านั้น ศัพท์ว่า สาธุ นี้ ย่อมปรากฏในอรรถทั้งหลาย
เป็นต้นว่า
1. อายาจนะ การขอร้อง
2. สัมปฏิจฉนะ การยอมรับ
3. สัมปหังสนะ ความร่าเริง
4. สุนทร ดี
5. ทัฬหิกรรม การทำให้มั่นคง.