เมนู

พระองค์ทรงประกาศธรรม โดยอเนกปริยาย เปรียบเหมือนหงายของที่คว่ำ
เปิดของที่ปิด บอกทางแกคนหลงทาง หรือตามประทีปไว้ในที่มืด ด้วยหวัง
คนมีจักษุจักเห็นรูปได้ ฉะนั้น ข้าพระองค์ขอถึงพระองค์กับทั้งพระธรรมและ
พระภิกษุสงฆ์เป็นสรณะ ขอพระองค์ทรงจำข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึง
สรณะตลอดชีวิตจำเดิมแต่วันนี้เป็นต้นไป.
จบวสลสูตรที่ 7

อรรถกถาอัคคิกภารทวาชสูตร

*

อัคคิกภารทวาชสูตรเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุตํ ดังนี้ :-
สูตรนั้นเรียกว่า วสลสูตร ดังนี้ ก็มีอุบัติอย่างไร ? พระผู้มีพระภาค-
เจ้าประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้
พระนครสาวัตถี ทรงตรวจดูสัตวโลก ด้วยพุทธจักษุ ในเวลาเสร็จภัตกิจ
เป็นต้น โดยนัยที่กล่าวแล้วในกสิภารทวาชสูตรนั่นแล ทรงเห็นอัคคิกภาร-
ทวาชพราหมณ์ ผู้ถึงพร้อมด้วยอุปนิสัย แห่งสรณะและสิกขาบท ทรงทราบว่า
เมื่อเราไปในที่นั้นแล้ว การสนทนาก็จักเป็นไป ต่อแต่นั้น ในที่สุดแห่งการ
สนทนา พราหมณ์นั่นฟังธรรมเทศนาแล้ว จักถึงสรณะสมาทานสิกขาบท
ทั้งหลาย และได้เสด็จไปในนิเวศน์ของอัคคิกภารทวาชพราหมณ์นั้น เมื่อการ
สนทนาเป็นไปแล้ว พราหมณ์ได้ทูลขอให้ทรงแสดงธรรม จึงได้ตรัสพระสูตรนี้.

* บาลีเป็น วสลสูตร

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เอวมฺเม สุตํ เป็นต้น ข้าพเจ้าจัก
พรรณนาไว้ในมงคลสูตร. บทว่า อถโข ภควา ปุพฺพณฺหสมยํ เป็นต้น
ผู้ศึกษาพึงทราบ โดยนัยที่กล่าวแล้วในกสิภารทวาชสูตรนั่นแล. ในคำว่า
เตน โข ปน สมเยน อคฺคิกภารทวาชสฺส นั้น คำใด ๆ ที่ไม่เคยกล่าว
ข้าพเจ้าจักพรรณนาคำนั้น ๆ นั่นเทียว คือ
ก็พราหมณ์นั้นย่อมบูชา คือ บำเรอไฟ เพราะกระทำอย่างนี้จึงปรากฏ
โดยชื่อว่า อัคคิกะ ปรากฏโดยโคตรว่า ภารทวาชะ เพราะฉะนั้น ท่านจึง
กล่าวว่า อัคคิกภารทวาชะ.
บทว่า นิเวสเน คือ ใกล้เรือน. ได้ยินว่า ใกล้ประตูนิเวศน์ของ
พราหมณ์นั้น มีโรงบูชาไฟอยู่ที่ระหว่างถนน. แต่นั้น เมื่อควรจะกล่าวว่า
นิเวสนทฺวาเร จึงกล่าวว่า นิเวสเน เพราะบทแม้นั้นนับเนื่องในนิเวศน์
นั่นแล. หรือบทว่า นิเวสเน เป็นสัตตมีวิภัตติลงในอรรถว่าใกล้ อธิบายว่า
ใกล้นิเวศน์.
บทว่า อคฺคิ ปชฺชลิโต โหติ ความว่า ไฟตั้งอยู่ในเตาไฟได้เชื้อ
และลมพัดในเตาที่ทำด้วยไม้ หรือในที่ใกล้ ก็ลุกโพลงมีกลุ่มเปลวไฟพุ่งขึ้น
ข้างบน. บทว่า อาหุตี ปคฺคหิตา ความว่า พราหมณ์อาบน้ำชำระศีรษะแล้ว
ตกแต่งข้าวปายาส เนยใส น้ำผึ้ง น้ำอ้อยเป็นต้น ด้วยสักการะใหญ่. ก็สิ่งใด
สิ่งหนึ่ง ควรบูชาไฟ สิ่งนั้นเรียกว่า อาหุตี.
บทว่า สปทานํ ได้แก่ ตามลำดับเรือน. จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้า
เสด็จเที่ยวบิณฑบาตแวะไปในตระกูลสูงและตระกูลต่ำ เพื่อประโยชน์แก่การ
อนุเคราะห์ชนทั้งปวง และด้วยความสันโดษในอาหาร ด้วยเหตุนั้น ท่านจึง
กล่าวว่า พระองค์เสด็จเที่ยวบินณฑบาตตามลำดับตรอก.

ถามว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุอะไร พราหมณ์เห็นพระผู้มี-
พระภาคเจ้าผู้ทรงถึงพร้อมด้วยอาการทั้งปวง ทรงน่าเลื่อมใสรอบด้าน จิตจึง
ไม่เลื่อมใส และเพราะเหตุไร พราหมณ์จึงพูดคำหยาบกะพระผู้มีพระภาคเจ้า
เล่า ?
ตอบว่า ได้ยินว่า พราหมณ์นี้มีความเห็นอย่างนี้ว่า การเห็นสมณะ
ในมงคลกิจทั้งหลายเป็นอวมงคล แต่นั้นก็รู้ว่า สมณะโล้นผู้กาลกรรณีเข้ามาสู่
เรือนของเรา ในเวลามหาพรหมบริโภค จึงไม่ยังจิตให้เลื่อมใส ถึงอำนาจ
แห่งการด่าทีเดียว และเมื่อด่าแล้ว ก็เสียใจ จึงเปล่งวาจาอันไม่พอใจว่า
จงหยุดอยู่ที่นั้นแหละ คนโล้น ดังนี้เป็นต้น.
และเพราะแม้ในที่นั้น พราหมณ์ทั้งหลายมีความเห็นว่า คนโล้นเป็น
ผู้ไม่บริสุทธิ์ เพราะฉะนั้น เมื่อรังเกียจว่า คนโล้นไม่บริสุทธิ์ ด้วยเหตุนั้น
จึงเป็นผู้อันเทพและพราหมณ์ไม่บูชา จึงทูลว่า แน่ะคนโล้น. หรือรังเกียจ
อยู่ว่า สมณะนั้นเป็นคนเดน เพราะมีศีรษะโล้น จึงไม่ควรมาสู่ประเทศนี้
และรังเกียจความเป็นสมณะว่า แม้เป็นสมณะก็ไม่สรรเสริญความเศร้าหมอง
ทางกายเช่นนี้ จึงทูลว่า แน่ะสมณะ.
พราหมณ์นี้ จะพูดด้วยอำนาจแห่งการด่าอย่างเดียวก็หาไม่ ยังรังเกียจ
อยู่ว่า คนถ่อยบวชแล้วปลื้มใจ ด้วยการทำการบริโภคร่วมกันกับคนถ่อยเหล่านั้น
สมณะนี้ เลวยิ่งกว่าแม้คนถ่อย จึงทูลว่า แน่ะคนถ่อย หรือแม้สำคัญอยู่ว่า
บาปย่อมมีแก่พวกคนถ่อย ด้วยการดูการบูชา และการฟังมนต์ จึงทูลอย่างนั้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้ถูกพราหมณ์กราบทูลแล้วอย่างนั้น เมื่อจะทรง
ประกาศความที่พระองค์มีพระคุณไม่ทั่วไปเป็นต้นกับสัตว์ทั้งปวง ด้วยสีพระ-

พักตร์อันผ่องใสทีเดียว ด้วยพระสุรเสียงที่ไพเราะด้วยพระหฤทัยเต็มเปี่ยมด้วย
ความอนุเคราะห์และเยือกเย็นบนพราหมณ์ จึงตรัสว่า ชานาสิ ปน ตฺวํ
พฺรหฺมณ
แปลว่า ดูก่อนพราหมณ์ ก็ท่านรู้จักคนถ่อยหรือ ? ลำดับนั้น พรา-
หมณ์รู้ความที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงมีพระพักตร์ผ่องใส และพระหฤทัยสม่ำ
เสมอเป็นต้น ฟังพระสุรเสียงไพเราะ ซึ่งทรงเปล่งด้วยพระหฤทัยอนุเคราะห์
และเย็นสนิท ก็มีหัวใจอันน้ำอมฤตนั่นเทียวรดแล้ว มีใจเป็นของตน มีอินทรีย์
ผ่องใส ละมานะเสียได้ ละคำพูดที่ไม่ควรพูด อันเช่นกับอสรพิษซึ่งมีชาติ
นั้น ๆ เป็นสภาพ สำคัญอยู่ว่า ไฉนหนอ เราจึงพูดถึงชาติเลวว่าเป็นคนถ่อย
โดยปรมัตถ์ เขาหาใช่เป็นคนถ่อยไม่ และความที่ชาติเลวก็หามีไม่ มีแต่ธรรม
ที่ทำให้เป็นคนถ่อย จึงกราบทูลว่า น โข อหํ โภ โคตม แปลว่า
ท่านพระโคดม ข้าพเจ้าไม่รู้จักคนถ่อย. ก็ข้อที่บุคคลถึงพร้อมด้วยเหตุ แม้จะ
เป็นคนหยาบคาย เพราะไม่ได้ปัจจัย แต่พอได้ปัจจัย ก็จะเป็นคนละมุนละม่อม
นั่นเป็นธรรมดา.

[สาธุศัพท์]


บรรดาบทเหล่านั้น ศัพท์ว่า สาธุ นี้ ย่อมปรากฏในอรรถทั้งหลาย
เป็นต้นว่า
1. อายาจนะ การขอร้อง
2. สัมปฏิจฉนะ การยอมรับ
3. สัมปหังสนะ ความร่าเริง
4. สุนทร ดี
5. ทัฬหิกรรม การทำให้มั่นคง.