เมนู

ประกอบด้วยสัมปชัญญะ 4. บทว่า สตตํ ปหิตตฺโต ความว่า พระอริย-
เจ้าทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น ตรัสแล้ว คือ ย่อมตรัส ได้แก่
ย่อมบอกซึ่งภิกษุอย่างนั้นว่า เป็นผู้มีใจเด็ดเดี่ยว ตลอดกาลทุกเมื่อ คือ
เป็นผู้ส่งใจไปสู่นิพพาน. คำที่เหลือมีนัยดังที่กล่าวแล้วนั่นแล.
จบอรรถกถาสัมปันนสูตรที่ 12

13. โลกสูตร


ว่าด้วยตรัสรู้โลกพร้อมเหตุเกิดและความดับ


[293] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระ-
สูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า
ได้สดับมาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตตรัสรู้โลกแล้ว พรากแล้ว
จากโลก ตรัสรู้เหตุเกิดโลกแล้ว ละเหตุเกิดโลกได้แล้ว ตรัสรู้ความดับแห่ง
โลกแล้ว ทำให้แจ้งความดับโลกแล้ว ตรัสรู้ปฏิปทาเครื่องให้ถึงความดับแห่ง
โลกแล้ว เจริญปฏิปทาเครื่องให้ถึงความดับแห่งโลกแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
สิ่งใดที่โลกพร้อมทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ที่หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณ-
พราหมณ์ เทวดาและมนุษย์เห็นแล้ว ฟังแล้ว ทราบแล้ว รู้แจ้งแล้ว ถึงแล้ว
แสวงหาแล้ว ใคร่ครวญแล้วด้วยใจ เพราะสิ่งนั้นพระตถาคตตรัสรู้แล้ว ฉะนั้น
บัณฑิตจึงกล่าวว่าพระตถาคต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตย่อมตรัสรู้
อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณในราตรีใด และย่อมปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสส
นิพพานธาตุในราตรีใด ย่อมตรัสบอกแสดงซึ่งพุทธพจน์อันใดในระหว่างนี้
พุทธพจน์นั้นทั้งหมด ย่อมเป็นอย่างนั้นนั่นแลไม่เป็นไปอย่างอื่น ฉะนั้น บัณฑิต

จึงกล่าวว่าเป็นพระตถาคต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตตรัสอย่างใด ทำ
อย่างนั้น ทำอย่างใด ตรัสอย่างนั้น เพราะเหตุดังนั้น บัณฑิตจึงกล่าวว่า
พระตถาคต ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระตถาคตทรงครอบงำโลกพร้อมทั้งเทวโลก
มารโลก พรหมโลก หมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดาและมนุษย์
อันใคร ๆ ครอบงำไม่ได้ ทรงเห็นโดยถ่องแท้ ยังอำนาจให้เป็นไป เพราะ
เหตุนั้น บัณฑิตจึงกล่าวว่า พระตถาคต.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
พระพุทธเจ้าทรงรู้โลกทั้งหมด ใน
โลกทั้งปวงด้วยพระปัญญาอันยิ่ง ตาม
ความเป็นจริง ทรงพรากแล้วจากโลก
ทั้งหมด ไม่มีผู้เปรียบในโลกทั้งปวง เป็น
นักปราชญ์ ทรงครอบงำมารทั้งหมด
สังขารทั้งหมด ทรงปลดเปลื้องกิเลสเครื่อง
ร้อยรัดได้ทั้งหมด ความสงบอย่างยวดยิ่ง
คือ นิพพาน ซึ่งไม่มีภัยแต่ไหน ๆ พระ-
พุทธเจ้าพระองค์นี้ทรงถูกต้องแล้ว พระ
พุทธเจ้าพระองค์นี้ทรงมีอาสวะสิ้นแล้ว
ไม่ทรงมีทุกข์ ทรงตัดความสงสัยได้แล้ว
ทรงถึงความสิ้นไปแห่งกรรมทั้งหมด ทรง
น้อมไปแล้วในธรรมเป็นที่สิ้นไปแห่งอุปธิ
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ชื่อว่าเป็น
พระพุทธเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์

นั้น ชื่อว่าเป็นสีหะผู้ยอดเยี่ยม ทรงประกาศ
พรหมจักรแก่โลกพร้อมทั้งเทวโลก เพราะ
เหตุดังนั้น เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายผู้ถึง
พระพุทธเจ้าว่าเป็นสรณะย่อมมาประชุม
กันน้อมนมัสการพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ผู้มีพระคุณใหญ่ ผู้ปราศจากความ-
ครั่นคร้าม บรรดาบุคคลผู้ฝึกหัดอยู่
พระพุทธเจ้าผู้ทรงฝึกแล้ว เป็นผู้ประเสริฐ
สุด บรรดาบุคคลผู้สงบอยู่ พระพุทธเจ้า
ผู้แสวงหาคุณผู้สงบแล้ว เป็นผู้ประเสริฐ
สุด บรรดาบุคคลผู้พ้นอยู่ พระพุทธเจ้า
ทรงพ้นแล้วเป็นผู้เลิศ บรรดาบุคคลผู้
ข้ามอยู่ พระพุทธเจ้าผู้ทรงข้ามพ้นแล้ว
เป็นผู้ประเสริฐ เพราะเหตุนั้นแล เทวดา
และมนุษย์ทั้งหลายย่อมนอบน้อมพระพุทธ-
เจ้าพระองค์นี้ ผู้มีพระคุณใหญ่ ผู้ปราศจาก
ความครั่นคร้ามด้วยคิดว่า บุคคลผู้เปรียบ
ด้วยพระองค์ย่อมไม่มีในโลกพร้อมทั้ง
เทวโลก.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า
ได้สดับมาแล้ว ฉะนั้นแล.
จบโลกสูตรที่ 13
จบจตุกนิบาต

อรรถกถาโลกสูตร


ในโลกสูตรที่ 13 พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-

ความหมายของโลก


บทว่า โลโก ความว่า ชื่อว่าโลก เพราะหมายความว่าย่อยยับไป
หักพังไป. โดยเนื้อความได้แก่อริยสัจ 2 ข้อต้น แต่ในที่นี้พึงทราบว่า ได้แก่
ทุกขอริยสัจ. โลกนี้นั้น ได้กล่าวไว้แล้วในหนหลัง ทั้งโดยจำแนกออกไป
และโดยสรุปว่า สัตวโลก สังขารโลก และโอกาสโลก.
อีกอย่างหนึ่ง โลกมีมากอย่าง ด้วยสามารถแห่งขันธโลกเป็นต้น.
ถามว่า โลกคืออะไร ? คือ ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก วิปัตติภวโลก
วิปัตติสัมภวโลก สัมปัตติภวโลก สัมปัตติสัมภวโลก โลก 1 คือ สัตว์ทั้งมวล
ดำรงอยู่ด้วยอาหาร โลก 2 คือ นาม 1 รูป 1 โลก 3 คือ เวทนา 3 โลก
4 คือ อาหาร 4 โลก 5 คือ อุปาทานขันธ์ 5 โลก 6 คือ อายตนะที่เป็นไป
ภายใน 6 โลก 7 คือ วิญญาณฐิติ 7 โลก 8 คือ โลกธรรม 8 โลก 9
คือ สัตตาวาส 9 โลก 10 คือ อายตนะ 10 โลก 12 คือ อายนะ 12
โลก 18 คือ ธาตุ 18 โลกแม้จำแนกออกไปมากอย่าง ดังที่พรรณนามานี้
ย่อมถึงการสงเคราะห์ คือการรวมลงในอุปาทานขันธ์ 5 เท่านั้น. และอุปา-
ทานขันธ์ก็เป็นทุกขอริยสัจ คือแม้ความเกิดก็เป็นทุกข์ ฯลฯ โดยย่นย่อ
แม้อุปาทานขันธ์ 5 ก็เป็นทุกข์ ด้วยเหตุนั้น ข้าพเจ้าจึงได้กล่าวไว้ว่า โดย