เมนู

อรรถกถาสัมปันนสูตร


ในสัมปันนสูตรที่ 12 พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
ในบทว่า สมฺปนฺนสีลา นี้ สมฺปนฺนํ สมบูรณ์ มี 3 อย่าง คือ
เต็มบริบูรณ์ 1 พรั่งพร้อม 1 หวานอร่อย 1. บรรดาสัมปันนศัพท์ทั้ง 3
อย่างนั้น สัมปันนศัพท์ที่มีความหมายว่า เต็มบริบูรณ์ เช่นในประโยคนี้ว่า
ข้าแต่ท่านท้าวโกสีย์ นกแขกเต้า
ทั้งหลาย พากันจิกกินรวงข้าวสาลีที่ (มี
เมล็ด) เต็มบริบูรณ์ ข่าแต่ท่านท้าวพระ-
พรหม ข้าพเจ้าขอประกาศให้ท่านทราบ
ข้าพเจ้าไม่สามารถจะห้ามพวกมันได้.

สัมปันนศัพท์ที่มีความหมายว่า พรั่งพร้อม เช่นในประโยคนี้ว่า ภิกษุ
เป็นผู้เข้าถึง เข้าถึงพร้อม เข้าไปใกล้ เข้าไปใกล้ชิด พรั่งพร้อมประกอบด้วย
ปาติโมกขสังวรนี้. สัมปันนศัพท์ที่มีความหมายว่า หวานอร่อย เช่นในประโยค
นี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พื้นล่างมหาปฐพีนี้มีรสอร่อย เป็นสิ่งที่ชอบใจ
เหมือนน้ำผึ้งหวานที่ไม่มีโทษ. แต่ในที่นี้ สัมปันนศัพท์เหมาะในความหมาย
ว่า เต็มบริบูรณ์บ้าง ในความหมายว่า พรั่งพร้อมบ้าง. เพราะฉะนั้น พึง
ทราบเนื้อความในที่นี้อย่างนี้ว่า บทว่า สมฺปนฺนสีลา ได้แก่ เป็นผู้มีศีล
บริบูรณ์บ้าง เป็นผู้พรั่งพร้อมด้วยศีลบ้าง. บรรดาความหมายทั้ง 2 อย่างนั้น
ตามความหมายนี้ว่า มีศีลบริบูรณ์แล้ว มีอธิบายว่า ศีลชื่อว่าเป็นศีลสมบูรณ์
แล้ว เหมือนความบริบูรณ์ของนา เพราะปราศจากโทษของนา (วัชพืช).