เมนู

อรรถกถาปุริสสูตร


ในปุริสสูตรที่ 10 พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
ศัพท์ว่า เสยฺยถาปิ เป็นนิบาต ใช้ในอรรถแสดงการเปรียบเทียบ.
ความหมายว่า ฉันใด. บทว่า นทิยา โสเตน โอวุยฺเหยฺย ความว่า พึง
ถูกกระแสน้ำของแม่น้ำที่มีกระแสไหลเชี่ยว พัดลงไปใต้ คือนำลงไปข้างล่าง.
บทว่า ปิยรูปสาตรูเปน ความว่า เขาคิดว่า เราจักเก็บเอาแก้วมณีและทอง
คำเป็นต้น หรือของที่น่ารัก คือ สิ่งของที่เป็นอุปกรณ์แก่ทรัพย์เครื่องปลื้มใจ
ที่มีอยู่ในแม่น้ำนั้น หรือบนฝั่งนอก (ฝั่งหน้า) ของแม่น้ำนั้นกระโดดลงไปใน
แม่น้ำแล้ว คงจมลอยไปตามกระแสน้ำที่เป็นตัวการ มีสภาพน่ารัก น่าชื่นใจ.
ศัพท์ว่า กิญฺจาปิ เป็นนิบาต ใช้ในความหมายว่า ยอมรับแต่ไม่
สรรเสริญ. ยอมรับอะไร ? ไม่สรรเสริญอะไร ? ยอมรับสิ่งของที่น่ารัก ที่
ชายคนนั้นต้องประสงค์ ว่ามีอยู่ ณ ที่นั้น แต่ไม่สรรเสริญการไปอย่างนั้น
เพราะเป็นสิ่งที่มีโทษ. มีคำอธิบายนี้ไว้ว่า ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ แม้ว่าสิ่งของ
ที่น่ารัก ที่ท่านต้องประสงค์จะหาได้ในที่นั้นไซร้ แต่ในเพราะการไปอย่างนี้
จะมีโทษอย่างนี้ คือท่านจะต้องตกถึงห้วงน้ำข้างล่าง แล้วถึงความตายหรือ
ความทุกข์ปางตาย.
บทว่า อตฺถิ เจตฺถ เหฏฺฐา รหโท ความว่า ในภูมิภาค
ตามกระแสน้ำด้านใต้แม่น้ำนี้ลงไปมีสระใหญ่สระหนึ่ง ลึกและกว้างเหลือเกิน
และสระนั้น ชื่อว่ามีคลื่น เพราะคลื่นคือฟองขนาดมหึมา คล้ายกับยอดเขา
แก้วมณีที่ก่อตัวขึ้น เพราะถูกลมพัดมารอบด้าน ชื่อว่ามีน้ำวน โดยมีน้ำวน
คล้ายกับ ไฟใต้น้ำ เหตุที่มี่ห้วงน้ำใหญ่ไพบูลย์ไหลวนอยู่ในที่นั้น ๆ ด้วยห้วง