เมนู

สภาพด้วยความไม่หวั่นไหว อยู่ในคุณความดีมีศีลเป็นต้นนั้น ซึ่งความ
ไพบูลย์ด้วยความบริบูรณ์ด้วยธรรมขันธ์มีศีลเป็นต้น โดยความแผ่ไปในที่
ทุกแห่ง.
บทว่า เต จ โข เม ภิกฺขเว ภิกขู มามกา ความว่า พระผู้มีพระ-
ภาคเจ้า
ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลาย แม้นอกนี้ว่า เม (ของเราตถาคต) เพราะ
บวชอุทิศพระองค์. อนึ่ง ตรัสเรียกว่า มามกะ (เป็นคนของเราตถาคต) เพราะ
เป็นผู้ปฏิบัติชอบแล้ว. ธรรมฝ่ายขาวพึงทราบโดยบรรยายที่ผิดไปจากที่กล่าวมา
แล้ว ภิกษุเหล่านั้นชื่อว่า งอกงามอยู่ในธรรมมีศีลเป็นต้นนั้น จนถึงอรหัต-
มรรค. แต่เมื่อบรรลุอรหัตผลแล้ว จึงจะชื่อว่า ถึงความงอกงามไพบูลย์,
คาถาเข้าใจง่ายอยู่แล้ว.
จบอรรถกถากุหนาสูตรที่ 9

10. ปุริสสูตร


ว่าด้วยเหมือนบุรุษถูกกระแสน้ำพัดไป


[289] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนบุรุษพึงถูกกระแสแห่ง
แม่น้ำ คือ ปิยรูปและสาตรูปพัดไป บุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่ที่ฝั่งเห็นบุรุษนั้นแล้ว
พึงกล่าวอย่างนี้ว่า แน่ะบุรุษผู้เจริญ ท่านถูกกระแสแห่งแม่น้ำ คือ ปิยรูป
และสาตรูปพัดไปแม้โดยแท้ แต่ท่านจะตกถึงห้วงน้ำที่มีอยู่ภายใต้แห่งแม่น้ำนี้
ซึ่งมีคลื่น มีน้ำวน มีสัตว์ร้าย มีรากษส (ผีเสื้อน้ำ) ย่อมเข้าถึงความตายบ้าง
ความทุกข์ปางตายบ้าง ลำดับนั้นแล บุรุษนั้นได้ฟังเสียงของบุรุษนั้นแล้ว
พึงพยายามว่ายทวนกระแสน้ำด้วยมือทั้ง 2 และด้วยเท้าทั้ง 2 ดูก่อนภิกษุ

ทั้งหลาย เราตถาคตแสดงข้ออุปมานี้แล เพื่อจะให้แจ่มแจ้งซึ่งเนื้อความ ก็ใน
อุปมานี้มีเนื้อความดังต่อไปนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำว่า กระแสแห่งแม่น้ำ
นี้แล เป็นชื่อแห่งตัณหา คำว่า ปิยรูปและสาตรูป เป็นชื่ออายตนะภายใน 6
คำว่า ห้วงน้ำในภายใต้ เป็นชื่อแห่งโอรัมภาคิยสังโยชน์ 5 คำว่า มีคลื่น
เป็นชื่อแห่งความโกรธและความแค้นใจ คำว่า มีน้ำวน เป็นชื่อแห่งกามคุณ 5
คำว่า มีสัตว์ร้าย มีรากษส เป็นชื่อของมาตุคาม คำว่า ทวนกระแสน้ำ
เป็นชื่อของเนกขัมมะ คำว่า พยายามด้วยมือทั้งสองและด้วยเท้าทั้งสอง เป็น
ชื่อแห่งการปรารภความเพียร คำว่า บุรุษผู้มีจักษุยืนอยู่ที่ฝั่ง เป็นพระนามของ
พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า.
ภิกษุพึงละกามทั้งหลาย แม้กับด้วย
ทุกข์เมื่อปรารถนาซึ่งความเกษมจากโยคะ
ต่อไป พึงเป็นผู้มีสัมปชัญญะ มีจิตหลุด
พ้นแล้วด้วยดี ถูกต้องวิมุตติในกาลเป็นที่
บรรลุมรรคและผลนั้นภิกษุนั้นผู้ถึงเวทอยู่
จบพรหมจรรย์แล้ว ถึงที่สุดแห่งโลกเรา
กล่าวว่า เป็นผู้ถึงฝั่งแล้ว.

จบปุริสสูตรที่ 10

อรรถกถาปุริสสูตร


ในปุริสสูตรที่ 10 พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
ศัพท์ว่า เสยฺยถาปิ เป็นนิบาต ใช้ในอรรถแสดงการเปรียบเทียบ.
ความหมายว่า ฉันใด. บทว่า นทิยา โสเตน โอวุยฺเหยฺย ความว่า พึง
ถูกกระแสน้ำของแม่น้ำที่มีกระแสไหลเชี่ยว พัดลงไปใต้ คือนำลงไปข้างล่าง.
บทว่า ปิยรูปสาตรูเปน ความว่า เขาคิดว่า เราจักเก็บเอาแก้วมณีและทอง
คำเป็นต้น หรือของที่น่ารัก คือ สิ่งของที่เป็นอุปกรณ์แก่ทรัพย์เครื่องปลื้มใจ
ที่มีอยู่ในแม่น้ำนั้น หรือบนฝั่งนอก (ฝั่งหน้า) ของแม่น้ำนั้นกระโดดลงไปใน
แม่น้ำแล้ว คงจมลอยไปตามกระแสน้ำที่เป็นตัวการ มีสภาพน่ารัก น่าชื่นใจ.
ศัพท์ว่า กิญฺจาปิ เป็นนิบาต ใช้ในความหมายว่า ยอมรับแต่ไม่
สรรเสริญ. ยอมรับอะไร ? ไม่สรรเสริญอะไร ? ยอมรับสิ่งของที่น่ารัก ที่
ชายคนนั้นต้องประสงค์ ว่ามีอยู่ ณ ที่นั้น แต่ไม่สรรเสริญการไปอย่างนั้น
เพราะเป็นสิ่งที่มีโทษ. มีคำอธิบายนี้ไว้ว่า ดูก่อนบุรุษผู้เจริญ แม้ว่าสิ่งของ
ที่น่ารัก ที่ท่านต้องประสงค์จะหาได้ในที่นั้นไซร้ แต่ในเพราะการไปอย่างนี้
จะมีโทษอย่างนี้ คือท่านจะต้องตกถึงห้วงน้ำข้างล่าง แล้วถึงความตายหรือ
ความทุกข์ปางตาย.
บทว่า อตฺถิ เจตฺถ เหฏฺฐา รหโท ความว่า ในภูมิภาค
ตามกระแสน้ำด้านใต้แม่น้ำนี้ลงไปมีสระใหญ่สระหนึ่ง ลึกและกว้างเหลือเกิน
และสระนั้น ชื่อว่ามีคลื่น เพราะคลื่นคือฟองขนาดมหึมา คล้ายกับยอดเขา
แก้วมณีที่ก่อตัวขึ้น เพราะถูกลมพัดมารอบด้าน ชื่อว่ามีน้ำวน โดยมีน้ำวน
คล้ายกับ ไฟใต้น้ำ เหตุที่มี่ห้วงน้ำใหญ่ไพบูลย์ไหลวนอยู่ในที่นั้น ๆ ด้วยห้วง