เมนู

บุตร เพราะเหตุนั้นแหละ บัณฑิตพึง
นอบน้อมและพึงสักการะมารดาและบิดา
ทั้งสองนั้น ด้วยข้าว น้ำ ผ้า ที่นอน
การขัดสี การให้อาบน้ำ และการล้างเท้า
บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญ บุคคลนั้น
ในโลกนี้ทีเดียว เพราะการปฏิบัติในมารดา
และบิดา บุคคลนั้นละไปแล้ว ย่อมบันเทิง
ในสวรรค์.

จบพรหมสูตรที่ 7

อรรถกถาพรหมสูตร


ในพรหมสูตรที่ 7 พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สพฺรหฺมกานิ ความว่า ชื่อว่า เป็นตระกูลมีผู้ประเสริฐที่สุด.
บทว่า เยสํ ความว่า ของตระกูลเหล่าใด. บทว่า ปุตฺตานํ ความว่า
อันบุตรทั้งหลาย. ก็คำว่า ปุตฺตานํ นี้ เป็นฉัฏฐีวิภัตติ ใช้ในความหมาย
ของตติยาวิภัตติ เพราะประกอบเข้ากับศัพท์ ปูชิต. บทว่า อชฺฌาคาเร
ความว่า ในเรือนของตน. บทว่า ปูชิตา โหนฺติ ความว่า เป็นผู้ที่บุตร
ทั้งหลายปฏิบัติแล้ว ด้วยสิ่งของที่มีอยู่ในเรือน คือ ปรนนิบัติแล้ว ด้วยสิ่งที่
พึงพอใจ และด้วยสิ่งที่เป็นประโยชน์แก่ร่างกายและเป็นประโยชน์แก่การพูดจา.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงสรรเสริญตระกูล ที่บุตรบูชามารดา
บิดาว่า ชื่อว่าเป็นตระกูลที่มีพระพรหม อย่างนี้แล้ว เมื่อจะทรงแสดงภาวะที่

ตระกูลเหล่านั้นเป็นตระกูลที่น่าสรรเสริญยิ่งขึ้นไป จึงได้ตรัสคำมีอาทิไว้ว่า
ชื่อว่า มีบุรพเทพ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พฺรหฺมา เป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสไว้ เพื่อจะทรงให้มารดาบิดาเหล่านั้นสำเร็จความเป็นพรหมเป็นต้น. ใน
ข้อนั้น มีการอธิบายความให้แจ่มชัด ดังต่อไปนี้.
คำว่า พฺรหฺม เป็นชื่อของผู้ประเสริฐที่สุด. อธิบายว่า มารดาและ
บิดาทั้งหลายจะไม่ละทิ้งภาวนา 4 อย่าง คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา
ในบุตรทั้งหลาย เหมือนท้าวมหาพรหมไม่ละทิ้งภาวนา 4 อย่างฉะนั้น.
ภาวนา 4 อย่างนั้น พึงทราบได้ในกาลนั้น ๆ คือ เมื่อบุตรยังอยู่ในอุทร
มารดาบิดาจะเกิดเมตตาจิตขึ้นว่า เมื่อไรหนอ เราจักได้เห็นบุตรน้อยไม่มีโรค
มีอวัยวะน้อยใหญ่ครบบริบูรณ์. แต่เมื่อใด บุตรน้อยนั่นยังอ่อน นอนแบเบาะ
อยู่ ถูกไรหรือเรือดกัด หรือถูกการนอนไม่สบายบีฑา ร้องไห้สะอึกสะอื้นอยู่
เมื่อนั้น มารดาบิดาได้ยินเสียงบุตรแล้ว จะเกิดความกรุณาขึ้น. แต่เวลาบุตร
วิ่งเล่นไปมา หรือเวลาอยู่ในวัยที่สวยงาม (รุ่นหนุ่มสาว) มารดาบิดามองดู
ลูกน้อยแล้ว จิตใจจะรื่นเริงบันเทิง เหมือนผ้าฝ้ายที่ฟอกแล้วร้อยครั้ง ที่หย่อน
ลงไปแล้ว ในฟองเนยใส เมื่อนั้น มารดาบิดา จะมีมุทิตา. แต่เมื่อใดบุตร
ของมารดาบิดาเหล่านั้น รับหน้าที่เลี้ยงเมีย แยกเรือนไปอยู่ต่างหาก เมื่อนั้น
มารดาบิดาจะเกิดความมีใจเป็นกลางขึ้นว่า บัดนี้ บุตรน้อยของเราสามารถ
เลี้ยงชีพได้ตามธรรมดาของตนแล้ว เธอเป็นอย่างนี้ ในเวลานั้น (มารดาบิดา)
จะมีอุเบกขา. คำว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำว่า พรหมนี้ เป็นชื่อของมารดา
บิดา พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ เพราะมารดาบิดาทั้งหลายเป็นเหมือน
พระพรหม เหตุที่ได้พรหมวิหารทั้ง 4 อย่าง ในบุตรทั้งหลายตามกาลเวลา
ดังที่พรรณนามานี้แล.

เทพ 3 เหล่า


เทพ 3 เหล่า คือ สมมติเทพ (เทวดาโดยสมมติ) 1 อุปปัตติเทพ
(เทวดาโดยกำเนิด) 1 วิสุทธิเทพ (เทวดาโดยความบริสุทธิ์ ) 1 ชื่อว่าเทพ
ในคำว่า ปุพฺพเทวา นี้. บรรดาเทพ 3 จำพวกเหล่านั้น กษัตริย์ผู้เป็น
พระราชา ชื่อว่า สมมติเทพ. เพราะว่า กษัตริย์ผู้เป็นพระราชาเหล่านั้น
ที่ชาวโลกเรียกกันว่า เทพ (และ) เทพี เป็นผู้ทรงข่มและทรงอนุเคราะห์
ชาวโลกได้เหมือนเทพเจ้า. เหล่าสัตว์ที่อุบัติขึ้นในเทวโลก ตั้งแต่เทพชั้น
จาตุมมหาราชิกา จนถึงภวัคคพรหม ชื่อว่า อุปปัตติเทพ. พระขีณาสพ
ชื่อว่า วิสุทธิเทพ เพราะหมดจดจากกิเลสทั้งมวล. ในข้อนั้นมีอรรถพจน์
ดังต่อไปนี้. เหล่าสัตว์ชื่อว่าเทพ เพราะเล่น, สนุกสนาน, เฮฮา, รุ่งเรื่องอยู่
และชนะฝ่ายตรงข้าม.
บรรดาเทพ 3 จำพวกเหล่านั้น วิสุทธิเทพประเสริฐกว่าเทพทุกเหล่า.
วิสุทธิเทพเหล่านั้นมุ่งแต่ความเสื่อมไปแห่งสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ และการ
เกิดขึ้นแห่งประโยชน์แก่เขาเหล่านั้น โดยส่วนเดียว ไม่คำนึงถึงความผิดที่
พาลชนทำไว้เลย ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข โดยการ
ประกอบพรหมวิหารธรรมตามที่กล่าวแล้ว และนำความที่สักการะมีผลมากและ
อานิสงส์มากมายมาให้ชนเหล่านั้น เพราะเป็นทักขิไณยบุคคล ฉันใด แม้
มารดาบิดาทั้งหลาย ก็เช่นนั้น เหมือนกัน มุ่งแต่ความเสื่อมไปแห่งสิ่งที่ไม่เป็น
ประโยชน์ และการเกิดขึ้นแห่งประโยชน์แก่เขาเหล่านั้น โดยส่วนเดียว ไม่
คำนึงถึงความผิดของบุตรทั้งหลาย เป็นทักขิไณยบุคคลผู้ยอดเยี่ยม ปฏิบัติอยู่
เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข เพราะได้พรหมวิหารทั้ง 4 อย่าง
โดยนัยที่ได้กล่าวมาแล้ว นำมาซึ่งความที่อุปการะที่บุตรทำแล้วในตนให้เป็น
อุปการะมีผลานิสงส์มากมาย. และมารดาบิดาเหล่านั้นเป็นเทพมาแต่ต้นทีเดียว