เมนู

เป็นนักปราชญ์ ผู้มีจักษุ ผู้ละข้าศึก คือ
กิเลส ประกาศพระสัทธรรมยังสัตวโลก
ให้สว่าง แล้วรู้โดยชอบซึ่งความสิ้นไป
แต่งชาติด้วยปัญญาอันยิ่ง ย่อมไม่มาสู่
ภพใหม่.

จบสีลสูตรที่ 5

อรรถกถาสีลสูตร


ในสีลสูตรที่ 5 พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
ในบทว่า สีลสมฺปนฺนา นี้มีอธิบายว่า โลกิยศีลและโลกุตรศีลของ
พระขีณาสพทั้งหลาย ชื่อว่า ศีล. ภิกษุทั้งหลายชื่อว่า สมบูรณ์ด้วยศีล เพราะ
หมายความว่า สมบูรณ์คือประกอบด้วยศีลนั้น ๆ. แม้ในสมาธิและปัญญา
มีนัย นี้แล. ส่วนวิมุตติ ได้แก่ผลวิมุตตินั่นแล. วิมุตติญาณทัสสนะ ได้แก่
ปัจจเวกขณญาณ. ในอธิการนี้ ธรรม 3 มีศีล เป็นต้น เป็นทั้งโลกิยะ
และโลกุตระ. วิมุตติเป็นโลกุตระอย่างเดียว วิมุตติญาณทัสสนะ เป็นโลกิยะ
อย่างเดียว.
ภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่า ผู้กล่าวสอน เพราะหมายความว่า กล่าวสอน คือ
พร่ำสอนบุคคลเหล่าอื่น ด้วยทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ สัมปรายิกกัตถประโยชน์
และปรมัตถประโยชน์ตามควร. บทว่า วิญฺญาปกา ได้แก่ช่วยบุคคลเหล่าอื่น
ให้เข้าใจกรรมและผลของกรรม. อนึ่ง ในบทว่า วิญฺญาปกา นั้น มีอธิบายว่า
ช่วยบุคคลเหล่าอื่นให้เข้าใจ คือให้รู้ซึ่งธรรมทั้งหลาย ด้วยนัย 3 อย่าง ตาม

ลักษณะของตน คือ ตามสามัญลักษณะ โดยการจำแนกเป็นกุศลเป็นต้น
โดยการจำแนกเป็นขันธ์เป็นต้น โดยนัยเป็นต้นว่า ธรรมเหล่านี้เป็นกุศล
ธรรมเหล่านี้เป็นอกุศล ธรรมเหล่านี้มีโทษ ธรรมเหล่านี้ไม่มีโทษ. บทว่า
สนฺทสฺสกา ได้แก่ แสดงธรรมเหล่านั้นแล ให้บุคคลอื่นเห็นได้ชัด เหมือน
จับธรรมเหล่านั้นด้วยมือ. บทว่า สมาทปกา ได้แก่ ทำให้บุคคลเหล่าอื่น
สมาทานศีลเป็นต้น ที่ยังมิได้สมาทาน คือ ทำบุคคลเหล่าอื่นนั้นให้ดำรงอยู่
ในศีลเป็นต้นนั้น. บทว่า สมุตฺเตชกา ความว่า ทำจิตของบุคคลทั้งหลาย
ผู้ดำรงอยู่ในกุศลธรรมอย่างนี้ให้อาจหาญด้วยดี ด้วยการแนะนำในการบำเพ็ญ
อธิจิตขั้นสูงขึ้นไป คือทำจิตของเขาให้ผ่องใสด้วยการพิจารณา โดยประการที่
เขาจะบรรลุคุณวิเศษได้. บทว่า สมฺปหํสกา ความว่า ทำจิตของบุคคล
เหล่าอื่นนั้นให้ร่าเริงด้วยดี ด้วยคุณวิเศษตามที่ได้แล้ว และที่จะพึงได้ในขั้นสูง
คือ ทำจิตของเขาให้ยินดีด้วยดี ด้วยอำนาจความพอใจที่ได้แล้ว. บทว่า อลํ
สมกฺขาตาโร
ได้แก่ เป็นผู้สมควร คือบอกธรรมได้โดยชอบทีเดียว ได้แก่
ด้วยประสงค์จะอนุเคราะห์ ไม่ทำธรรมที่ตนได้เล่าเรียนมา คือตามที่กล่าวแล้ว
ให้เสื่อมสูญไป.
อีกประการหนึ่ง. บทว่า สนฺทสฺสกา ความว่า ภิกษุเมื่อแสดงธรรม
ก็แสดงด้วยดีทีเดียว ทั้งปวัตติ (ความเป็นไป) และนิวัตติ (ความหมุนกลับ )
ตามสภาวลักษณกิจที่แท้จริง. บทว่า สมาทปกา ความว่า ยังผู้ฟังให้ยึดถือ
เนื้อความนั้นนั่นแล โดยให้เนื้อความนั้นตั้งมั่นอยู่ในจิต. บทว่า สมุตฺเตชกา
ความว่า ยังผู้ฟังให้ผ่องใสหรือรุ่งเรื่องด้วยดีทีเดียว ด้วยการให้เกิดอุตสาหะ
ในการรับเอาเนื้อความนั้น. บทว่า สมฺปหํสกา ความว่า ยังผู้ฟังให้ร่าเริง
คือให้ยินดีด้วยดีทีเดียวซึ่งเนื้อความนั้น ด้วยการแสดงอานิสงส์ในการปฏิบัติ.

บทว่า อลํ สมกฺขาตาโร ความว่า เป็นผู้สามารถที่จะบอกได้ ตามนัยที่
กล่าวแล้ว คือ เป็นผู้แสดงสัทธรรม ได้แก่ ปฏิเวธสัทธรรม หรือสัทธรรม
ทั้ง 3 อย่าง.
บทว่า ทสฺสนมฺปหํ ตัดบทเป็น ทสฺสนํ ปิ อหํ. ก็การเห็นนี้
นั้นมี 2 อย่างคือ การเห็นด้วยจักษุ 1 การเห็นด้วยญาณ 1. บรรดาการ
เห็นทั้ง 2 อย่างนั้น การมองดูพระอริยเจ้าทั้งหลายด้วยดวงตา (แสดงความ)
เลื่อมใส ชื่อว่า การเห็นด้วยจักษุ. สวนการบรรลุธรรมทั้งหลายที่ทำให้เป็น
พระอริยะ และความเป็นพระอริยะด้วยวิปัสสนา มรรคและผล ชื่อว่า การเห็น
ด้วยญาณ. แต่ในความหมายนี้ ท่านประสงค์เอาการเห็นด้วยจักษุ. เพราะว่า
แม้การมองดูพระอริยเจ้าทั้งหลาย ด้วยดวงตา (แสดงความ) เลื่อมใส ก็มี
อุปการะมากทีเดียวแก่สัตว์ทั้งหลาย. บทว่า สวนํ ได้แก่ การได้ยินด้วยหู เมื่อ
คนทั้งหลายพูดกันว่า พระขีณาสพ. ชื่อโน้น อยู่ในรัฐหรือชนบท ในคามหรือ
นิคม ในวิหารหรือในถ้ำ ชื่อโน้น นี้ ก็มีอุปการะมากเหมือนกัน. บทว่า
อุปสงฺกมนํ ความว่า การเข้าไปหาพระอริยเจ้าทั้งหลาย ด้วยความคิดเห็น
แบบนี้ว่า เราจักถวายทาน จักถามปัญหา จักฟังธรรม หรือจักทำสักการะ.
บทว่า ปยิรุปาสนํ ได้แก่ การเข้าไปนั่งใกล้ เพื่อถามปัญหา อธิบายว่า
การได้สดับ คุณความดีของพระอริยเจ้าทั้งหลาย เข้าไปหาพระอริยเจ้าเหล่านั้น
นิมนต์แล้วถวายทาน หรือทำวัตร แล้วถามปัญหาโดยนัยเป็นต้นว่า ข้าแต่
ท่านผู้เจริญ อะไร คือ กุศล ? การทำการรับใช้เป็นต้น จัดเป็นการเข้าไป
นั่งใกล้เหมือนกัน. บทว่า อนุสฺสตึ ได้แก่ การที่บุคคลผู้นั่งในที่พักกลาง
คืนและที่พักกลางวัน ระลึกถึงเนือง ๆ ซึ่งคุณวิเศษมีทิพวิหารธรรมเป็นต้น
ของพระอริยเจ้าเหล่านั้น เป็นอารมณ์ว่า บัดนี้ พระอริยเจ้าทั้งหลาย กำลังยับ
ยั้งอยู่ในสถานที่ทั้งหลายมีพุ่มไม้ ถ้ำ และมณฑปเป็นต้น ด้วยความสุขอันเกิด
จากฌาน วิปัสสนามรรคและผล.

อีกอย่างหนึ่ง ได้แก่น้อมนึกถึงโอวาทที่ได้จากสำนักของพระอริยเจ้า
เหล่านั้น แล้วระลึกถึงเนือง ๆ อย่างนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสศีลไว้ใน
ที่นี้ ตรัสสมาธิไว้ในที่นี้ ตรัสวิปัสสนาไว้ในที่นี้ ตรัสมรรคไว้ในที่นี้ ตรัสผลไว้
ในที่นี้. บทว่า อนุปพฺพชฺชํ ได้แก่ การทำจิตให้เลื่อมใสในพระอริยเจ้าทั้งหลาย
แล้วออกจากเรือนบวชในสำนักพระอริยเจ้าเหล่านั้น. อธิบายว่า การทำจิตให้
เลื่อมใสในพระอริยเจ้าทั้งหลาย แล้วบวชในสำนักพระอริยเจ้าเหล่านั้นนั่นแล
เที่ยวไปจำนงหวังอยู่ซึ่งโอวาทานุสาสนีของพระอริยเจ้าเหล่านั้น ชื่อว่า การบวช
ตาม. การบวชแม้ของบุคคลผู้เที่ยวไปหวังโอวาทานุสาสนี ในสำนักบุคคลเหล่า
อื่น ก็ชื่อว่า บวชตาม. การบวชแม้ของบุคคลผู้บวชในสำนักอื่น เพราะความ
เลื่อมใสในพระอริยเจ้าทั้งหลาย แล้วเที่ยวไปจำนงหวังโอวาทานุสาสนี ในสำนัก
พระอริยเจ้าทั้งหลาย ก็ชื่อว่า บวชตามเหมือนกัน . ส่วน การบวชแม้ของ
บุคคลผู้บวชในสำนักบุคคลอื่น เพราะความเลื่อมใสในบุคคลอื่น แล้วเที่ยวไป
จำนงหวังโอวาทานุสาสนี. ของบุคคลอื่นเหมือนกัน ไม่ชื่อว่า เป็นการบวช
ตาม. ก็บรรดาบุคคลที่บวชตามนัยดังกล่าวแล้ว ก่อนอื่นผู้บวชตามพระมหา-
กัสสปเถระ
มีจำนวน 100,000 คน. ผู้บวชตามพระจันทคุตตเถระ
ผู้เป็นสัทธิวิหาริกของพระเถระนั่นแล ก็มีจำนวนเท่ากัน. พระสุริยคุตตเถระ
ผู้เป็นสัทธิวิหาริกของพระจันทคุตตเถระแม้นั้น พระอัสสคุตตเถระผู้เป็น
สัทธิวิหาริกของพระสุริยคุตตเถระแม้นั้น พระโยนกธัมมรักขิตเถระ ผู้
เป็นสัทธิวิหาริกของพระอัสสคุตตเถระแม้นั้น ก็มีผู้บวชตามจำนวนเท่ากัน.
ฝ่ายพระกนิษฐภาดาของพระเจ้าอโศก ผู้เป็นสัทธิวิหาริกของพระโยนก-
ธัมมรักขิตเถระ
นั้น ได้มีชื่อว่า ติสสเถระ บุคคลผู้บวชตามพระติสสเถระ
นั้น ได้มีจำนวนนับได้ 250 โกฏิ. ส่วน บุคคลผู้บวชตามพระมหา-
มหินทเถระ
ผู้ยังชาวเกาะให้เลื่อมใส นับจำนวนไม่ได้. ในเกาะลังกา

บุคคลผู้บวชด้วยความเลื่อมใสในพระศาสดา จนตราบเท่าทุกวันนี้ ชื่อว่า
บวชตามพระมหามหินทเถระทั้งนั้น.
บัดนี้ เพื่อจะทรงแสดงถึงเหตุที่พระองค์ตรัสว่า การเห็นพระอริยเจ้า
เหล่านั้นเป็นต้น มีอุปการะมาก พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคำว่า ตถารูเป
เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ตถารูเป ได้แก่ พระอริยเจ้าเช่นนั้น
คือ ผู้สมบูรณ์ด้วยคุณมีศีลเป็นต้น.
เพราะเหตุที่การเห็น การฟัง และการหมั่นระลึกถึงเป็นเหตุ (ฐาน)
ของการเข้าไปหา และการเข้าไปนั่งใกล้ ฉะนั้น เพื่อจะทรงแสดงเฉพาะการ
เข้าไปหา และการเข้าไปนั่งใกล้ ไม่พาดพิงถึงการเห็น การได้ยิน และการ
หมั่นระลึกถึง พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า เสวโต ภชโต ปยิรุปาสโต
ดังนี้. ก็เพราะได้เห็น ได้ฟัง และระลึกถึงเนือง ๆ กุลบุตรจึงเกิดศรัทธาใน
พระอริยเจ้าทั้งหลาย แล้วเข้าไปหา เข้าไปนั่งใกล้พระอริยเจ้าเหล่านั้น ถาม
ปัญหา ได้สวนานุตริยะแล้ว ก็จักบำเพ็ญคุณมีศีลเป็นต้น ที่ยังไม่บริบูรณ์
ให้บริบูรณ์ดังนี้แล. สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า กุลบุตรผู้เกิดศรัทธาย่อม
เข้าไปหา เมื่อเข้าไปหา ย่อมนั่งใกล้ดังนี้เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เสวโต ได้แก่ เข้าไปหาตามเวลาอัน
สมควรด้วยการทำวัตรและวัตรตอบ. บทว่า ภชโต ได้แก่คบอยู่ด้วยอำนาจ
ความรักและภักดี. บทว่า ปยิรุปาสโต ได้แก่ เข้าไปนั่งใกล้ด้วยการถาม
ปัญหาและทำตามข้อปฏิบัติ. นักศึกษาพึงทราบการจำแนกความหมายของบท
ทั้ง 3 ดังว่ามานี้. ความบริบูรณ์แห่งวิมุตติญาณทัสสนะ พึงทราบได้โดยการ
เกิดขึ้นแห่งปัจจเวกขณญาณที่ 19.

ในบทว่า เอวรูปา จ เต ภิกฺขเว ภิกฺขู เป็นต้น พึงทราบ
วินิจฉัยดังต่อไปนี้. ภิกษุเหล่าใดเห็นปานนี้ คือ เป็นเช่นนี้ ได้แก่ ทำลาย
กิเลสได้หมดสิ้น เพราะประกอบด้วยคุณภาพที่กล่าวแล้ว ภิกษุเหล่านั้นเรียกว่า
ศาสดา เพราะพร่ำสอนโดยการประกอบสัตว์ทั้งหลายไว้ในประโยชน์
เกื้อกูลมีทิฏฐธัมมิถัตถประโยชน์เป็นต้นบ้าง เรียกว่า นายคาราวาน (ผู้นำหมู่
พ่อค้า) เพราะช่วยสัตว์ทั้งหลายให้ข้ามพ้นจากชาติกันดารเป็นต้นบ้าง
เรียกว่า ผู้ละกิเลสเครื่องยียวน เพราะละกิเลสเครื่องยียวนมีราคะเป็นต้น
ได้ด้วยตนเอง และสอนคนอื่นให้ละตามบ้าง เรียกว่า ผู้บรรเทาความมืด
เพราะบรรเทาความมืด คือ อวิชชาด้วยตนเอง และสอนผู้อื่นให้บรรเทา
ตามบ้าง เรียกว่า ผู้ทำแสงสว่างเป็นต้น เพราะทำให้เกิดแสงสว่างคือปัญญา
โอภาสดือปัญญา และความโชติช่วงคือปัญญาในสันดานของตนและบุคคล
อื่นบ้าง อนึ่ง เรียกว่า ผู้ทำรัศมีบ้าง ผู้ทรงคบเพลิงบ้าง เพราะทำธรรม
ให้ดาดาษด้วยรัศมี คือ ญาณ เรียกว่า พระอริยะ เพราะเป็นผู้ห่างไกลจาก
กิเลสทั้งหลาย 1 เพราะไม่ดำเนินไปในทางที่ไม่ควรดำเนิน 1 เพราะดำเนิน
ไปในทางที่ควรดำเนิน 1 เพราะอันชาวโลกกับทั้งเทวโลกพึงดำเนินตาม 1
เรียกว่า ผู้มีจักษุ เพราะได้ปัญญาจักษุและธรรมจักษุอย่างดียิ่ง.
พึงทราบวินิจฉัยในคาถาทั้งหลายดังต่อไปนี้ บทว่า ปาโมชฺชกรณฏฺ-
ฐานํ
ได้แก่ ที่ตั้ง คือ เหตุให้บังเกิดความบันเทิงใจที่ปราศจากอามิส. ท่าน
กล่าวถึงนิทัสสนะ (ตัวอย่าง) ที่จะพึงกล่าวในบัดนี้ว่า เอตํ. บทว่า วิชานตํ
ได้แก่ รู้จักความเศร้าหมองและความผ่องแผ้ว ตามความเป็นจริง. บทว่า
ภาวิตตฺตานํ ได้แก่ ผู้มีสภาวะ (จิต) อันอบรมแล้ว อธิบายว่า ผู้มีสันดาน
อบรมแล้วด้วยการอบรมกายเป็นต้น. บทว่า ธมฺมชีวินํ ความว่า ชื่อว่า

ผู้มีปกติเป็นอยู่โดยธรรม เพราะละมิจฉาชีพแล้วเลี้ยงชีวิตโดยธรรม คือ ด้วย
ญายธรรม เพราะนำอัตภาพไปด้วยธรรม คือ ด้วยญายธรรมบ้าง เพราะ
เป็นอยู่ด้วยผลธรรมอันเลิศ เนื่องจากมากด้วยสมาบัติบ้าง. ในบทนี้มีความย่อ
ดังนี้ว่า การเห็นพระอริยเจ้าทั้งหลายผู้อบรมตนแล้ว ผู้สำเร็จสมาธิภาวนาและ
ปัญญาภาวนาแล้ว ผู้ชื่อว่า เป็นอยู่โดยธรรม เพราะการอบรมตนและสำเร็จ
ภาวนานั้นนั่นเอง. ชื่อว่า เป็นเหตุแห่งปีติและปราโมทย์โดยส่วนเดียวเท่านั้น
สำหรับบุคคลผู้มีปัญญารู้แจ้ง เพราะเป็นเหตุแห่งความบริบูรณ์ แห่งคุณทั้งหลาย
มีศีลเป็นต้น ซึ่งมีความไม่เดือดร้อนเป็นนิมิต.
บัดนี้ เพื่อแสดงความที่การเห็นพระอริยเจ้าทั้งหลายนั้นเป็นเหตุนั้น
พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสสองคาถาท้ายว่า เต โชตยนฺติ.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เต ได้แก่ พระอริยเจ้าเหล่านั้น ผู้อบรม
ตนแล้ว มีปกติอยู่โดยธรรม. บทว่า โชตยนฺติ ได้แก่ ทำให้ปรากฏ. บทว่า
ภาสยนฺติ ได้แก่ ทำโลกให้สว่างด้วยแสงสว่างแห่งพระสัทธรรม. อธิบายว่า
แสดงธรรม. บทว่า เยสํ ได้แก่ พระอริยเจ้าเหล่าใด. บทว่า สาสนํ
ได้แก่ โอวาท. บทว่า สมฺมทญฺญาย ได้แก่ รู้โดยชอบทีเดียวด้วยญาณ
อันเป็นส่วนเบื้องต้น. บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วแล.
จบอรรถกถาสีลสูตรที่ 5

6. ตัณหาสูตร


ว่าด้วยที่เกิดตัณหามี 4 อย่าง


[285] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัณหาเมื่อเกิดขึ้นแก่ภิกษุ ย่อมเกิดขึ้น
ในที่เกิดแห่งตัณหา 4 อย่างนี้ 4 อย่างเป็นไฉน ? ดูก่อนภิกษุทั้งหลายตัณหา
เมื่อเกิดขึ้นแก่ภิกษุ ย่อมเกิดขึ้นเพราะเหตุแห่งจีวร 1 เพราะเหตุแห่งบิณฑบาต 1
เพราะเหตุแห่งเสนาสนะ 1 หรือเพราะเหตุแห่งสมบัติและวิบัติ 1 ด้วยประการ
ฉะนี้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตัณหาเมื่อเกิดขึ้นแก่ภิกษุ ย่อมเกิดขึ้นในที่เป็นที่
เกิดแห่งตัณหา 4 อย่างนี้แล.
บุรุษผู้มีตัณหาเป็นเพื่อน ท่อง-
เที่ยวไปอยู่สิ้นกาลนาน ย่อมไม่ก้าวล่วง
สงสารอันมีความเป็นอย่างนี้ และความ
เป็นอย่างอื่นไปได้ ภิกษุรู้โทษนี้แล้วว่า
ตัณหาเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ เป็นผู้มีตัณหา
ปราศจากไปแล้ว ไม่ถือมั่น มีสติ พึง
เว้นรอบ.

จบตัณหาสูตรที่ 6

อรรถกถาตัณหาสูตร


ในอรรถกถาตัณหาสูตรที่ 6 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
ในบทว่า ตณฺหุปฺปาทา นี้ มีอธิบายว่า ที่ชื่อว่า อุปปาทะ เพราะ
หมายความว่า เป็นที่เกิดขึ้น. ถามว่า อะไรเกิดขึ้น ? ตอบว่า ตัณหา.
ความเกิดขึ้นแห่งตัณหา ชื่อว่า ตัณหุปปาทะ. อธิบายว่า เป็นที่ตั้งแห่งตัณหา