เมนู

อรรถกถาสมณสูตร


ในสมณสูตรที่ 4 พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า เย หิ เกจิ ได้แก่ บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง. บทว่า อิทํ
ทุกฺขนฺติ ยถาภูตํ นปฺปชานนฺติ
ความว่า ไม่รู้คือไม่แทงตลอดทุกขสัจ
อันไม่วิปริต ด้วยมรรคปัญญาที่ประกอบด้วยวิปัสสนาปัญญา โดยสภาวะและ
ลักษณะแห่งกิจที่แท้จริงว่า นี้ทุกข์ ทุกข์มีเพียงเท่านี้ ไม่มีทุกข์ยิ่งไปกว่านี้.
แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้แล. ในบทว่า น เม เต ภิกฺขเว เป็นต้น
มีความย่อดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลทั้งหลายผู้มิได้ประกอบ
กัมมัฏฐานมีสัจจะ 4 เป็นอารมณ์ จะเป็นสมณะได้ก็เพียงโดยการบรรพชา
และจะเป็นพราหมณ์ได้ก็เพียงโดยชาติ บุคคลเหล่านั้น เราตถาคตมิได้ยอมรับ
คือรับรองว่า เป็นสมณะในหมู่สมณะผู้มีบาปอันสงบแล้วและว่าเป็นพราหมณ์
ในหมู่พราหมณ์ผู้ลอยบาปแล้ว เพราะเหตุไร ? เพราะบุคคลเหล่านั้นไม่มี
ธรรมที่ทำให้เป็นสมณะ และทำให้เป็นพราหมณ์. ด้วยเหตุนั้นแล พระผู้มี-
พระภาคเจ้า
จึงตรัสคําว่า น จ ปเนเต อายสฺมนฺโต เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สามญฺญตฺถํ ได้แก่ ผล กล่าวคือคุณ
เครื่องเป็นสมณะ อธิบายว่า ได้แก่ สามัญผล 4. บทว่า พฺรหฺมญฺญตฺถํ
เป็นไวพจน์ของบทว่า สามญฺญตถํ นั้นนั่นแล. ฝ่ายอาจารย์อีกพวกหนึ่ง
กล่าวว่า บทว่า สามญฺญตฺถํ ได้แก่อริยมรรค 4 บทว่า พฺรหฺมญฺญตฺถํ
ได้แก่ อริยผล 4. บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล. ในสุกกปักษ์ (ธรรม
ฝ่ายขาว) พึงทราบความหมาย โดยบรรยายตรงข้ามจากที่กล่าวมาแล้ว.
ในคาถาทั้งหลาย คำที่ไม่เคยมี ไม่มี.
จบอรรถกถาสมณสูตรที่ 4

5. สีลสูตร


ว่าด้วยภิกษุผู้ถึงพร้อมด้วยศีลเป็นต้น


[284] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเหล่าใดถึงพร้อมแล้วด้วยศีล
สมาธิ ปัญญา วิมุตติ วิมุตติญาณทัสสนะเป็นผู้กล่าวสอน ให้รู้แจ้ง ให้
เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง เป็นผู้สามารถบอกพระสัทธรรม
ได้อย่างดี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตกล่าวการเห็นภิกษุเหล่านั้นก็ดี
การฟังภิกษุเหล่านั้นก็ดี การเข้าไปใกล้ภิกษุเหล่านั้นก็ดี การไปนั่งใกล้ภิกษุ
เหล่านั้นก็ดี การระลึกถึงภิกษุเหล่านั้นก็ดี การบวชตามภิกษุเหล่านั้นก็ดี ว่า
มีอุปการะมาก ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะเมื่อภิกษุซ่องเสพคบหา เข้าไป
นั่งใกล้ภิกษุเห็นปานนั้น ศีลขันธ์ สมาธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุตติขันธ์
วิมุตติญาณทัสนขันธ์ แม้ที่ยังไม่บริบูรณ์ ก็ถึงความบริบูรณ์ด้วยภาวนา ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุผู้เห็นปานนี้นั้น เราตถาคตกล่าวว่า เป็นศาสดาบ้าง
นำพวกไปบ้าง ละข้าศึก คือกิเลสบ้าง กระทำแสงสว่างบ้าง กระทำโอกาสบ้าง
กระทำความรุ่งเรืองบ้าง กระทำรัศมีบ้าง ทรงคบเพลิงไว้บ้าง เป็นอริยะบ้าง
มีจักษุบ้าง ดังนี้.
การได้เห็นพระอริยเจ้าทั้งหลายผู้มีตน
อันอบรมแล้ว ผู้มีปกติเป็นอยู่โดยธรรม
ย่อมเป็นเหตุแห่งการกระทำซึ่งความ
ปราโมทย์แก่บัณฑิตทั้งหลายผู้รู้แจ้ง บัณ-
ฑิตทั้งหลาย ฟังคำสอนของพระอริยเจ้า
ทั้งหลายผู้กระทำรัศมี ผู้กระทำแสงสว่าง