เมนู

อเสกขมรรค อันบุคคลผู้ไม่รู้แจ้งสัจจะ 4 ตามความเป็นจริงโดยนัยเป็นต้นว่า
นี้ทุกข์ ผู้ชื่อว่าเป็นคนโง่ คือ ผู้ไม่เข้าใจ เพราะไม่รู้แจ้งนั้นนั่นแล ไม่
สามารถบรรลุได้ ฉันใด แม้บุคคลผู้เกียจคร้านไม่มีความเพียร ก็ไม่สามารถ
บรรลุได้ฉันนั้น เพราะเหตุนั้น จึงต้องปรารภความเพียรเพื่อบรรลุนิพพาน
นั้น. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า
ธรรมนี้เป็นธรรมของบุคคลผู้ปรารภ
ความเพียร ไม่ใช่ของบุคคลผู้เกียจคร้าน
ขอเธอทั้งหลายจงปรารภ จงบากบั่น จง
ประกอบอยู่ได้คำสอนของพระพุทธเจ้าเถิด
ขอเธอทั้งหลาย จงทำลายเสนามฤตยู ให้
เหมือนช้างทำลายเรือนไม้อ้อ ฉะนั้นเถิด.

จบอรรถกถาชานสูตรที่ 3

4. สมณสูตร


ว่าด้วยสมณะหรือพราหมณ์ไม่รู้จริง


[283] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะหรือพราหมณ์เหล่าใดเหล่าหนึ่ง
ย่อมไม่รู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ นี้ทุกข-
นิโรธคามินีปฏิปทา สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้น เราตถาคตหายกย่องว่าเป็น
สมณะในหมู่สมณะหรือว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์ไม่ และท่านเหล่านั้น
หาได้ทำให้แจ้งซึ่งผล คือ ความเป็นสมณะ และผลคือความเป็นพราหมณ์ด้วย
ปัญญาอันยิ่งเองในปัจจุบันเข้าถึงอยู่ไม่ ส่วนสมณะหรือพราหมณ์เหล่าใด

เหล่าหนึ่ง ย่อมรู้ชัดตามความเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ นี้ทุกขสมุทัย นี้ทุกขนิโรธ
นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา ก็สมณะหรือพราหมณ์เหล่านั้นแล เราตถาคต
ยกย่องว่าเป็นสมณะในหมู่สมณะและยกย่องว่าเป็นพราหมณ์ในหมู่พราหมณ์
และท่านเหล่านั้นย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งผลต่อความเป็นสมณะ และผลคือความ
เป็นพราหมณ์ด้วยปัญญาอันยิ่งในปัจจุบันเข้าถึงอยู่.
สมณพราหมณ์เหล่าใด ไม่รู้ชัดซึ่ง
ทุกข์ เหตุเกิดแห่งทุกข์ ธรรมชาติเป็นที่
ดับทุกข์ ไม่มีส่วนเหลือโดยประการทั้งปวง
และไม่รู้ชัดซึ่งมรรคอันให้ถึงความสงบ
แห่งทุกข์ สมณพราหมณ์เหล่านั้น เสื่อม
แล้วจากเจโตวิมุตติและจากปัญญาวิมุตติ
เป็นผู้ไม่ควรเพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
สมณพราหมณ์เหล่านั้นแล เป็นผู้เข้าถึง
ชาติและชรา ส่วนสมณพราหมณ์เหล่าใด
รู้ชัดซึ่งทุกข์ เหตุเกิดแห่งทุกข์ ธรรมซาติ
เป็นที่ดับแห่งทุกข์ ไม่มีส่วนเหลือโดย
ประการทั้งปวง และรู้ซัดซึ่งมรรคอันให้ถึง
ความสงบแห่งทุกข์ สมณพราหมณ์เหล่า
นั้น ถึงพร้อมด้วยเจโตวิมุตติและปัญญา-
วิมุตติ เป็นผู้ควรเพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์ได้
สมณพราหมณ์เหล่านั้นเป็นผู้ไม่เข้าถึงชาติ
และชรา.

จบสมณสูตรที่ 4

อรรถกถาสมณสูตร


ในสมณสูตรที่ 4 พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า เย หิ เกจิ ได้แก่ บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่ง. บทว่า อิทํ
ทุกฺขนฺติ ยถาภูตํ นปฺปชานนฺติ
ความว่า ไม่รู้คือไม่แทงตลอดทุกขสัจ
อันไม่วิปริต ด้วยมรรคปัญญาที่ประกอบด้วยวิปัสสนาปัญญา โดยสภาวะและ
ลักษณะแห่งกิจที่แท้จริงว่า นี้ทุกข์ ทุกข์มีเพียงเท่านี้ ไม่มีทุกข์ยิ่งไปกว่านี้.
แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้แล. ในบทว่า น เม เต ภิกฺขเว เป็นต้น
มีความย่อดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลทั้งหลายผู้มิได้ประกอบ
กัมมัฏฐานมีสัจจะ 4 เป็นอารมณ์ จะเป็นสมณะได้ก็เพียงโดยการบรรพชา
และจะเป็นพราหมณ์ได้ก็เพียงโดยชาติ บุคคลเหล่านั้น เราตถาคตมิได้ยอมรับ
คือรับรองว่า เป็นสมณะในหมู่สมณะผู้มีบาปอันสงบแล้วและว่าเป็นพราหมณ์
ในหมู่พราหมณ์ผู้ลอยบาปแล้ว เพราะเหตุไร ? เพราะบุคคลเหล่านั้นไม่มี
ธรรมที่ทำให้เป็นสมณะ และทำให้เป็นพราหมณ์. ด้วยเหตุนั้นแล พระผู้มี-
พระภาคเจ้า
จึงตรัสคําว่า น จ ปเนเต อายสฺมนฺโต เป็นต้น.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สามญฺญตฺถํ ได้แก่ ผล กล่าวคือคุณ
เครื่องเป็นสมณะ อธิบายว่า ได้แก่ สามัญผล 4. บทว่า พฺรหฺมญฺญตฺถํ
เป็นไวพจน์ของบทว่า สามญฺญตถํ นั้นนั่นแล. ฝ่ายอาจารย์อีกพวกหนึ่ง
กล่าวว่า บทว่า สามญฺญตฺถํ ได้แก่อริยมรรค 4 บทว่า พฺรหฺมญฺญตฺถํ
ได้แก่ อริยผล 4. บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล. ในสุกกปักษ์ (ธรรม
ฝ่ายขาว) พึงทราบความหมาย โดยบรรยายตรงข้ามจากที่กล่าวมาแล้ว.
ในคาถาทั้งหลาย คำที่ไม่เคยมี ไม่มี.
จบอรรถกถาสมณสูตรที่ 4