เมนู

ภิกษุผู้สันโดษด้วยปัจจัยตามมีตาม
ได้ ย่อมเป็นผู้ไปได้ทั้ง 4 ทิศ และไม่
ถูกกระทบกระทั่ง.

อธิบายว่า ภิกษุใดเกิดความคิดขึ้นว่า เราไปที่โน้นแล้วจักได้ปัจจัยมีจีวรเป็น
ต้น ทิศของภิกษุนั้น ชื่อว่า ถูกกระทบกระทั่ง. ส่วนภิกษุใด ไม่เกิดความ
คิดอย่างนี้ขึ้นมา ทิศของภิกษุนั้น ชื่อว่า ไม่ถูกกระทบกระทั่ง.
บทว่า ธมฺมา ได้แก่ ธรรมที่เป็นข้อปฏิบัติทั้งหลาย. บทว่า
สามญฺญสฺสานุโลมิกา ได้แก่ ธรรมทั้งหลายมีความมักน้อยเป็นต้น ซึ่ง
เหมาะสมแก่สมณธรรม แก่สมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนา หรือแก่อริย-
มรรคนั่นแล. บทว่า อธิคฺคหิตา ความว่า ธรรมเหล่านั้น ทั้งหมดย่อมเป็น
อันภิกษุผู้มีจิตยินดีแล้ว คือ ภิกษุผู้มีจิตสันโดษแล้ว บรรลุแล้ว คือ ครอบงำ
ธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ยึดไว้ได้แล้ว ได้แก่ เป็นธรรมมีอยู่ภายใน ไม่ใช่มีอยู่
ภายนอก.
จบอรรถกถาจัตตาริสูตรที่ 2

3. ชานสูตร


ว่าด้วยรู้อะไรเห็นอะไร


[282] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตกล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะ
ทั้งหลาย ของภิกษุผู้รู้อยู่เห็นอยู่ เราตถาคตไม่กล่าวความสิ้นไปแห่งอาสวะทั้ง
หลายของภิกษุผู้ไม่รู้ไม่เห็น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เมื่อภิกษุรู้อะไร เห็นอะไร
อาสวะทั้งหลายจึงสิ้นไป เมื่อภิกษุรู้อยู่เห็นอยู่ว่า นี้ทุกข์ อาสวะทั้งหลายจึงสิ้นไป

เมื่อภิกษุรู้อยู่เห็นอยู่ว่า นี้ทุกขสมุทัย อาสวะทั้งหลายจึงสิ้นไป เมื่อภิกษุรู้อยู่
เห็นอยู่ว่า นี้ทุกขนิโรธ อาสวะทั้งหลายจึงสิ้นไป เมื่อภิกษุรู้อยู่เห็นอยู่ว่า
นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทา อาสวะทั้งหลายจึงสิ้นไป ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ภิกษุรู้อยู่เห็นอยู่อย่างนี้แล อาสวะทั้งหลายจึงสิ้นไป.
ปฐมญาณ (คืออนัญญตัญญัสสามี-
ตินทรีย์)ย่อมเกิดขึ้นแก่พระเสกขะผู้ศึกษา
อยู่ ผู้ปฏิบัติตามทางตรง ในเพราะโสดา-
ปัตติมรรคอันเป็นเครื่องทำกิเลสทั้งหลาย
ให้สิ้นไป ธรรมชาติที่รู้ทั่วถึง (คืออัญญิน-
ทรีย์) อันยอดเยี่ยม ย่อมเกิดขึ้นในลำดับ
แต่ปฐมญาณนั้น ตั้งแต่ธรรมชาติที่รู้ทั่วถึง
คืออัญญินทรีย์นั้นไป วิมุตติญาณอันสูงสุด
ย่อมเกิดขึ้นแก่พระขีณาสพ ผู้พ้นวิเศษแล้ว
ญาณในอริยมรรค อันเป็นที่สิ้นไปแห่ง
อาสวะ และสังโยชน์ทั้งหลาย ย่อมเกิดขึ้น
ว่า สังโยชน์ทั้งหลายสิ้นไปแล้ว คนพาล
ผู้เกียจคร้าน ไม่รู้แจ้ง ไม่พึงบรรลุนิพพาน
อันเป็นที่ปลดเปลื้องกิเลสเครื่องร้อยรัด
ทั้งปวงนี้ได้เลย.

จบชานสูตรที่ 3

อรรถกถาชานสูตร


ในชานสูตรที่ 3 พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ชานโต แปลว่า รู้อยู่. บทว่า ปสฺสโต แปลว่า เห็นอยู่.
ก็ถ้าว่า ทั้งสองบทนี้ มีความหมายเป็นอย่างเดียวกัน ต่างกันแต่พยัญชนะ
เท่านั้นไซร้ เมื่อเป็นเช่นนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงอาศัยลักษณะแห่งญาณ
แสดงอ้างบุคคล ด้วยบทว่า ชานโต. เพราะว่า ญาณ มีการรู้เป็นลักษณะ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอาศัยอำนาจของญาณ แสดงอ้างบุคคล ด้วยบทว่า
ปสฺสโต. เพราะว่า บุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยญาณ อาศัยอำนาจของการเห็น
จึงจะเห็นวิวัฏฏธรรมทั้งหลายด้วยญาณ เปรียบเหมือนคนมีตาดี มองเห็นรูป
ทั้งหลายฉะนั้น. อีกประการหนึ่ง บทว่า ชานโต แปลว่า รู้อยู่ด้วยอนุโพธ-
ญาณ (ญาณเป็นเครื่องรู้ตาม). บทว่า ปสฺสโต แปลว่า เห็นอยู่ด้วย
ปฎิเวธญาณ (ญาณเครื่องแทงตลอด). อีกอย่างหนึ่ง เมื่อว่าโดยปฏิโลม ได้แก่
เห็นอยู่ด้วยทัสสนมรรค รู้อยู่ด้วยภาวนามรรค. ฝ่ายอาจารย์บางพวกกล่าวว่า
รู้อยู่ด้วยญาตปริญญา ติรณปริญญา และปหานปริญญา เห็นอยู่ด้วยวิปัสสนา
ขั้นยอด. อีกประการหนึ่ง รู้ทุกข์โดยการรู้ด้วยการกำหนดรู้ เห็นนิโรธโดย
การรู้ด้วยการทำให้แจ้ง และเมื่อญาณทั้งสองนั้น มีการรู้ด้วยการละและการเจริญ
ก็เป็นอันสำเร็จด้วยทีเดียว ดังนั้น จึงเป็นอันตรัสถึงการบรรลุสัจจะทั้ง 4. แต่
ในเรื่องนี้ เมื่อใด ท่านประสงค์เอาวิปัสสนาญาณ เมื่อนั้น พึงเห็นว่า บททั้งสอง
คือ ชานโต ปสฺสโต เป็นการแสดงถึงเหตุของมรรค แต่เมื่อใด ประสงค์
เอามรรคญาณ เมื่อนั้นพึงเห็นว่า บททั้งสองแสดงกิจของมรรค.