เมนู

7. กามสูตร


ว่าด้วยผู้ประกอบด้วยกามไปสู่สงสาร


[276] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบแล้วด้วยกามโยคะ
ผู้ประกอบแล้วด้วยภวโยคะ เป็นผู้ยังมา ยังต้องมาสู่ความเป็นอย่างนี้ (คือ
อัตภาพแห่งมนุษย์) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระอริยบุคคลผู้พรากแล้วจากกาม-
โยคะ (แต่) ยังประกอบด้วยภวโยคะ เป็นอนาคามี ไม่มาสู่ความเป็นอย่างนี้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระอริยบุคคลผู้พรากแล้วจากกามโยคะ พรากแล้วจาก
ภวโยคะ เป็นพระอรหันตขีณาสพ.
สัตว์ทั้งหลายผู้ประกอบแล้วด้วยกาม
โยคะและภวโยคะ ย่อมไปสู่สงสารซึ่งมี
ปกติถึงความเกิดและความตาย ส่วนสัตว์
เหล่าใดละกามทั้งหลายได้เด็ดขาด แต่ยัง
ไม่ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ ยังประกอบ
ด้วยภวโยคะ สัตว์เหล่านั้นบัณฑิตกล่าวว่า
เป็นพระอนาคามี ส่วนสัตว์เหล่าใดตัด
ความสงสัยได้แล้ว มีมานะและมีภพใหม่
สิ้นแล้ว ถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะ
ทั้งหลายแล้ว สัตว์เหล่านั้นแลถึงฝั่งแล้ว
ในโลก.

จบกามสูตรที่ 7

อรรถกถากามสูตร


ในกามสูตรที่ 7 พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า กามโยคยุตฺโต ความว่า ราคะที่ประกอบด้วยเบญจกามคุณ
ชื่อว่า กามโยคะ บุคคลผู้ประกอบด้วยกามโยคะนั้น ชื่อว่า กามโยคยุตฺโต.
บทว่า กามโยคยุตฺโต นี้ เป็นชื่อของ กามราคะ ที่ยังตัดไม่ขาดแล้ว.
ความกำหนัดด้วยอำนาจแห่งความพอใจในรูปภพ และอรูปภพทั้งหลาย ชื่อว่า
ภวโยคะ. ความใคร่ในฌาน และราคะอันประกอบด้วย สัสสตทิฏฐิ ก็
อย่างนั้น คือ ชื่อว่า ภวโยคะ (เหมือนกัน ). บุคคลผู้ประกอบด้วยภวโยคะ
นั้น ชื่อว่า ภวโยคยุตฺโต. อธิบายว่า ยังละภวราคะไม่ได้ บทว่า อาคามี
ความว่า บุคคลแม้จะดำรงอยู่ในพรหมโลก ก็ยังมาสู่มนุษยโลกนี้เป็นปกติ
ด้วยสามารถแห่งการถือปฏิสนธิ. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
มาสู่ความเป็นอย่างนี้ ดังนี้. อธิบายว่า มีอันต้องมาสู่ความเป็นอย่างนี้
กล่าวคืออัตภาพแห่งมนุษย์เป็นธรรมดา ได้แก่มีการบังเกิดในมนุษย์ทั้งหลาย
เป็นปกติ. เพื่อจะทรงแสดงว่า ก็กามโยคะเป็นเหตุแห่งการมาสู่ความเป็น
อย่างนี้ในมนุษยโลกนี้โดยแท้ ถึงกระนั้นผู้ใดประกอบกามโยคะ ผู้นั้นย่อม
ชื่อว่า เป็นผู้ประกอบแม้ภวโยคะโดยส่วนเดียวดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึง
ตรัสคำทั้งสองไว้รวมกันว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ประกอบแล้วด้วย
กามโยคะ และประกอบแล้วด้วยภวโยคะ ดังนี้.
แม้อสุภฌาน ก็ชื่อว่า กามโยควิสํโยโค ในบทว่า กามโยค-
วิสํยุตฺโต
นี้. อนาคามิมรรคที่พระอริยบุคคลบรรลุแล้ว โดยกระทำอสุภฌาน
นั้นให้เป็นบาท ชื่อว่าผู้พรากจากกามโยคะโดยส่วนเดียวเท่านั้น. เพราะเหตุ