เมนู

3. สังฆาฏิสูตร


ว่าด้วยผู้ประพฤติธรรมอยู่ไกลเหมือนอยู่ใกล้พระองค์


[272] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้ภิกษุจับชายสังฆาฏิแล้วพึงเป็นผู้
ติดตามไปข้างหลัง ๆ เดินไปตามรอยเท้าของเราอยู่ไซร้ แต่ภิกษุนั้นเป็นผู้มี
อภิชฌาเป็นปกติ มีความกำหนัดแรงกล้าในกามทั้งหลาย มีจิตพยาบาท มี
ความดำริแห่งใจชั่วร้าย มีสติหลงลืม ไม่รู้สึกตัว มีจิตไม่ตั้งมั่น มีจิตหมุน
ไปผิด ไม่สำรวมอินทรีย์ โดยที่แท้ ภิกษุนั้นอยู่ห่างไกลเราทีเดียว และเราก็
อยู่ห่างไกลภิกษุนั้น ข้อนั้นเพราะเหตุไร ? เพราะภิกษุนั้นย่อมไม่เห็นธรรม
เมื่อไม่เห็นธรรมย่อมเชื่อว่าไม่เห็นเรา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้ภิกษุนั้นพึง
อยู่ในที่ประมาณ 100 โยชน์ไซร้ แต่ภิกษุนั้นเป็นผู้ไม่มีอภิชฌา ไม่มีความ
กำหนัดอันแรงกล้าในกามทั้งหลาย ไม่มีจิตพยาบาท ไม่มีความดำริแห่งใจชั่ว
ร้าย มีสติมั่น รู้สึกตัว มีจิตตั้งมั่น มีจิตมีอารมณ์เป็นอันเดียว สำรวมอินทรีย์
โดยที่แท้ ภิกษุนั้นอยู่ใกล้ชิดเราทีเดียว และเราก็อยู่ใกล้ชิดภิกษุนั้น ข้อนั้น
เพราะเหตุไร ? เพราะภิกษุนั้น ย่อมเห็นธรรม เมื่อเห็นธรรมย่อมชื่อว่าเห็นเรา.
บุคคลผู้มักมาก มีความคับแค้น ยัง
เป็นไปตามตัณหา ดับความเร่าร้อนไม่ได้
แม่หากว่าพึงเป็นผู้ติดตามพระสัมมาสัม-
พุทธเจ้าผู้หาความหวั่นไหวมิได้ ผู้ดับความ
เร่าร้อนได้แล้วไซร้ บุคคลนั้นผู้กำหนัด
ยินดี ชื่อว่าพึงเห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ผู้ปราศจากความกำหนัดยินดี เพียงในที่

ไกลเท่านั้น ส่วนบุคคลใดเป็นบัณฑิต รู้
ธรรมด้วยปัญญา เป็นเครื่องรู้ธรรมอันยิ่ง
เป็นผู้หาความหวั่นไหวมิได้ สงบระงับ
เปรียบเหมือนห้วงน้ำที่ไม่มีลมฉะนั้น บุค-
คลนั้นผู้หาความหวั่นไหวมิได้ ทั้งดับความ
เร่าร้อนได้แล้ว ผู้ไม่กำหนัดยินดี ชื่อว่า
พึงเห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้หาความ
หวั่นไหวมิได้ ทั้งดับความเร่าร้อนได้แล้ว
ปราศจากความกำหนัดยินดี ในที่ใกล้แท้.

จบสังฆาฏิสูตรที่ 3

อรรถกถาสังฆาฏิสูตร


ในสังฆาฏิสูตรที่ 3

พึงทราบวินิจฉัยต่อไป.
บทว่า สงฺฆาฏิกณฺเณ ได้แก่ ที่ชายจีวร. บทว่า คเหตฺวา ความว่า
เกาะ. บทว่า อนุพนฺโธ อสฺส ความว่า พึงติดตามไป. มีพุทธาธิบายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุบางรูป ในพระธรรมวินัยนี้ เป็นเสมือนใช้มือของ
คนเกาะชายสุคตมหาจีวร ที่เราตถาคตห่มแล้ว ติดตามเราตถาคตไป คือ
เป็นผู้อยู่ใกล้ชิดเราตถาคตอย่างนี้.
บทว่า ปาเท ปาทํ นิกฺขิปนฺโต ความว่า ทอดเท้าของตนลง
ที่รอยเท้าของเราตถาคต ผู้กำลังเดินไป คือในที่ ๆ เราตถาคตวางเท้าลง ถัด
จากการยกเท้าขึ้นแล้ว. ด้วยคำทั้ง 2 นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงว่า
ผิว่า เธอจะไม่ละทิ้ง (ห่างเหิน) ที่ยืน ที่เดิน (ของเราตถาคต) อยู่ใกล้เรา
ตถาคตตลอดทุกเวลาไซร้.