เมนู

พิจารณาเห็นความไม่เที่ยงในสังขารทั้งปวงอยู่ ย่อมละอวิชชาได้ วิชชาย่อม
เกิดขึ้น.
ภิกษุผู้พิจารณาเห็นอารมณ์ว่าไม่งาม
ในกาย มีสติเฉพาะในลมหายใจ มีความ
เพียรทุกเมื่อ พิจารณาเห็นซึ่งนิพพานอัน
เป็นที่ระงับสังขารทั้งปวง ภิกษุนั้นแล ผู้
เห็นโดยชอบพยายามอยู่ ในนิพพานเป็นที่
ระงับ แห่งสังขารทั้งปวง ภิกษุนั้นแล ผู้อยู่
จบอภิญญาสงบระงับล่วงโยคะเสียได้แล้ว
ชื่อว่าเป็นมุนี.

จบอสุภสูตรที่ 6

อรรถกถาอสุภสูตร


ในอสุภสูตรที่ 6 พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า อสุภานุปสฺสี ความว่า เธอทั้งหลายเมื่อพิจารณาเห็นว่า
ไม่งาม ชื่อว่าเป็นผู้พิจารณาเห็นความไม่งาม คืออาการที่ไม่งามในกาย ด้วย
สามารถแห่งอาการ 32 และด้วยสามารถแห่งการน้อมนำเข้าไปหานิมิตที่ตน
ถือเอาแล้ว ในศพที่ขึ้นพองแล้วเป็นต้นอยู่. บทว่า อานาปานสฺสติ ได้แก่
สติในลมหายใจ คือสติที่ปรารภลมหายใจนั้นเป็นไป. อธิบายว่า สติที่กำหนด
ลมหายใจเข้าลมหายใจออก. สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้ มีอาทิว่า ลมหายใจเข้า
ชื่อว่า อานะ ไม่ใช่ลมหายใจออก ลมหายใจออกชื่อว่า ปานะ ไม่ใช่ลมหายใจเข้า.