เมนู

บอกกล่าวของนิสิต แต่ก็บริสุทธิ์ ไม่
คลาดเคลื่อน เป็นการวินิจฉัยอรรถที่
ละเอียดของบรรดาบุรพาจารย์คณะมหา-
วิหารแล้วเว้นความที่ซ้ำ ๆ กันเสีย.
สาธุชนทั้งหลาย ขอท่านทั้งหลาย
ได้โปรดตั้งใจสดับการพรรณนาความแห่ง
อรรถกถา "อิติวุตตกะ" นั้น ของข้าพเจ้า
ผู้หวังให้พระสัทธรรมดำรงมั่นอยู่ได้นาน
จะได้จำแนกต่อไปนี้.


อธิบายอิติวุตตกะ


ในคาถานั้น ชื่อว่า อิติวุตตกะจัดเป็นนิบาต 4 อย่าง คือ เอกนิบาต
ทุกนิบาต ติกนิบาต จตุกกนิบาต. อิติวุตตกะแม้นั้นนับเนื่องในสุตตันตปิฎก
ในปิฎก 3 อย่าง คือ วินัยปิฎก สุตตันตปิฎก อภิธรรมปิฎก. นับเนื่องใน
ขุททกนิกาย ในนิกาย 5 อย่าง คือ ทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย
อังคุตตรนิกาย ขุททกนิกาย. จัดเป็นอิติวุตตกะ ในนวังคสัตถุศาสน์ คือ
สุตตะ เคยยะ เวยยากรณะ คาถา อุทาน อิติวุตตกะ ชาดก อัพภูตธรรม
เวทัลละ. สงเคราะห์เข้าในธรรมขันธ์จำนวนเล็กน้อย ในธรรมขันธ์ 84,000
ที่พระอานนทเถระผู้เป็นธรรมภัณฑาคาริกปฏิญญาไว้ อย่างนี้ว่า
ธรรมเหล่าใดที่เป็นไปแก่ข้าพเจ้า
ธรรมเหล่านั้น ข้าพเจ้าเรียนจากพระ-
พุทธเจ้า 82,000 จากภิกษุ 2,000 รวมเป็น
84,000 ธรรมขันธ์.

โดยพระสูตร รวมพระสูตรไว้ 112 พระสูตร คือ ในเอกนิบาต 27 สูตร
ในทุกนิบาต 22 สูตร ในติกนิบาต 50 สูตร ในจตุกนิบาต 13 สูตร. อิติ-
วุตตกะนั้น ในบรรดานิบาต มีเอกนิบาตเป็นนิบาตแรก ในบรรดาวรรค
มีปาฎิโภควรรคเป็นวรรคแรก ในบรรดาสูตรมีโลภสูตรเป็นสูตรแรก. อนึ่ง
อิติวุตตกะแม้นั้น มีคำขึ้นต้นที่ท่านพระอานนท์กล่าวไว้ในคราวทำสังคายนา
ใหญ่ครั้งแรก มีอาทิว่า วุตฺตํ เหตํ ภควคา เป็นคำแรก. ก็การสังคายนา
ใหญ่ครั้งแรกนี้นั้น ยกขึ้นสู่แบบแผน ปรากฏอยู่ในวินัยปิฎกแล้วแล. อนึ่ง
กถามรรคใดจะพึงกล่าวไว้ เพื่อจะได้เข้าใจในคำขึ้นต้นในที่นี้ กถามรรค
แม้นั้นก็ได้กล่าวไว้แล้ว โดยพิสดารในอรรถกถาทีฆนิกาย ชื่อ สุมังคลวิลาสินี
เพราะเหตุนั้น นักศึกษาพึงทราบตามนัยที่กล่าวไว้ ในอรรถกถานั้นเถิด.

นิทานวรรณนา


ก็คำขึ้นต้นมีอาทิว่า วุตฺตํ เหตํ ภควตา และพระสูตรมีอาทิว่า
เอกธมฺมํ ภิกฺขเว ปชหถ นี้ใด ในคำขึ้นต้นและพระสูตรนั้น บททั้งหลาย
มีอาทิว่า วุตฺตํ ภควตา เป็นบทนาม. บทว่า อิติ เป็นบทนิบาต. บทว่า
ในบทว่า ปชหถ นี้ เป็นบทอุปสรรค. ว่า ชหถ เป็นบทอาขยาต.
พึงทราบการจำแนกบทในที่ทุกแห่งตามนัยนี้.

อธิบายวุตตศัพท์


อนึ่ง โดยอรรถ วุตตศัพท์ที่มีอุปสรรคและไม่มีอุปสรรดูก่อน ย่อม
ปรากฏในอรรถทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ คือ การหว่านพืช การทำพืชที่หว่านให้
เสมอกัน การโกนผม การเลี้ยงชีวิต ความหลุดพ้น การเป็นไปโดยความเป็น
ปาพจน์ การเล่าเรียน การกล่าว.
จริงอย่างนั้น วุตตศัพท์นั่นมาในการหว่านพืช ในประโยคเป็นต้นว่า