เมนู

อรรถกถาสักการสูตร


ในสักการสูตรที่ 2 พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สกฺกาเรน ความว่า อันสักการะ อันเป็นดังเหตุ อีกอย่าง
หนึ่ง บทว่า สกฺกาเรน ความว่า ถูกเหตุหรือสักการะ หรือถูกอกุศลธรรม
มีสักการะเป็นเหตุ (ครอบงำ) อธิบายว่า เพราะอาศัยสักการะ บุคคลบางคน
ในโลกนี้ มีความปรารถนาลามก ถูกความอยากครองงำ ตั้งอยู่ในอิจฉาจาร
คิดว่า เราจักให้สักการะเกิดขึ้น แล้วประพฤติการแสวงหาที่ไม่เหมาะสมมาก
อย่าง จุติจากโลกนี้แล้ว จึงเกิดในอบายทั้งหลาย. ส่วนคนเหล่าอื่นได้สักการะ
อย่างใดแล้ว ถึงความประมาท อันมีสักการะอย่างนั้นเป็นนิมิต ด้วยสามารถ
แห่งมานะ (ความถือตัว) มทะ (ความเมา) และมัจฉริยะ (ความตระหนี่)
เป็นต้น จุติจากโลกนี้แล้ว จึงเกิดในอบายทั้งหลาย ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสหมายเอาว่า ผู้ถูกสักการะครอบงำ มีจิตอันสักการะหุ้มห่อแล้ว ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อภิภูตา ความว่า ถูกสักการะทับถมแล้ว.
บทว่า ปริยาทินฺนจิตฺตา ความว่า มีจิตอันสักการะให้ส่ายไปแล้ว คือเป็น
ผู้มีกุศลจิต ถูกอิจฉาจาร และอกุศลมีมานะ และมทะเป็นต้นให้ถึงความสิ้นไป.
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ปริยาทินฺนจิตฺตา ความว่า มีจิตอันสักการะยึดเหนี่ยวไว้
รอบด้าน. อธิบายว่า เป็นผู้มีจิตสันดาน ถูกฝ่ายอกุศลธรรม มีประการดังกล่าว
แล้ว ยึดไว้แล้วรอบด้านโดยไม่มีวาระแห่งกุศลจิตเกิดขึ้น. บทว่า อสกฺกาเรน
ความว่า อันเหตุ คือ อสักการะ ที่ผู้อื่นให้เป็นไปแล้วในตน โดยมุ่งให้ละอาย
โดยเย้ยหยัน หรือถูกอกุศลธรรมมีมานะเป็นต้น ที่มีสักการะเป็นเหตุ (ครอบ-
งำแล้ว). บทว่า สกฺกาเรน จ อสกฺกาเรน จ ความว่า ถูกทั้งสักการะ

ที่ใคร ๆ ให้เป็นไปแล้ว ทั้งอสักการะที่ใคร ๆ ให้เป็นไปแล้ว. อธิบายว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหมายเอาบุคคลเช่นนั้น ที่ตอนต้น ชนเหล่าใดสักการะ
แล้ว ภายหลังชนเหล่านั้นนั่นแหละไม่สักการะ เพราะรู้ว่าไม่มีสารธรรม จึง
ตรัสว่า สกฺกาเรน จ อสกฺกาเรน จ ดังนี้.
ในเรื่องนี้ควรนำเรื่องพระเทวทัตเป็นต้นที่ถูกสักการะครอบงำมาแสดง
(เป็นตัวอย่าง). สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
ผลกล้วยแล ฆ่าต้นกล้วย ขุยไผ่
ฆ่าต้นไผ่ สักการะฆ่าคนชั่ว เหมือนลูก
ม้า ฆ่าแม้ม้า อัสดร
ดังนี้.
ควรนำเรื่องพระเจ้ากรุงทัณฑกี พระเจ้ากรุงกาลิงคะ และพระเจ้ากรุงเมชฌะ
เป็นต้น มาแสดง (เป็นตัวอย่าง). สมดังคำที่สังกัจจฤาษีกล่าวไว้ว่า
เพราะ พระเจ้าทัณฑกี ทรงโปรย
ธุลีใส่ กีสวัจฉฤาษี (ผู้หาธุลีมิได้) พระ-
องค์พร้อมด้วยประชาชน และแว่นแคว้น
(จึงถึงความพินาศ) เหมือนไม้ที่รากขาด
แล้ว หมกไหม้อยู่ในกุกกุฬนรก ประกาย
ไฟตกถูกต้องพระกายของพระองค์.
อนึ่ง พระเจ้ากาลิงคะ ได้ล่วงเกิน
บรรพชิตผู้สำรวมแล้ว ผู้สอนธรรม ผู้เป็น
สมณะผู้ไม่ประทุษร้าย สุนัขทั้งหลายจึง
รุนกัดพระเจ้ากาลิงคะนั้นผู้ทรงกลิ้งไปมา
อยู่ เหมือนผลมะพร้าว.

พระเจ้าเมชฌะคิดประทุษร้ายในมา-
ตังคฤาษี ผู้เรืองยศสรัฐมณฑลของพระเจ้า
เมชฌะ พร้อมด้วยบริษัท ก็ได้สูญสิ้นไป
ในครั้งนั้น
ดังนี้.
อัญญเดียรดีย์ทั้งหลาย มีนิครนถนาฏบุตรเป็นต้น ผู้ถูกทั้งสักการะ
และอสักการะครอบงำ ก็ควรนำมาแสดงด้วย.
พึงทราบวินิจฉัยในคาถาทั้งหลายต่อไป บทว่า อุภยํ ได้แก่ทั้งสักการะ
และอสักการะทั้งสองอย่าง. บทว่า สมาธิ น วิกมฺปติ ความว่า สมาธิย่อม
ไม่หวั่นไหว คือมีสภาพเป็นเอกนั่นแหละตั้งอยู่. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ผู้มีปกติอยู่ด้วยความไม่ประมาท (เพื่อจะทรงแก้คำถาม) ว่า ก็สมาธิของใครเล่า
ไม่หวั่นไหว ? อธิบายว่า ของผู้ชื่อว่ามีปกติอยู่ด้วยความไม่ประมาท คือเป็น
พระอรหันต์ เพราะละธรรมที่เป็นเหตุแห่งความประมาท มีราคะเป็นต้นได้
ด้วยดี ด้วยว่า ท่านไม่หวั่นไหว เพราะโลกธรรมทั้งหลาย. บทว่า สุขุม-
ทิฏฺฐิวิปสฺสกํ
ความว่า ผู้ชื่อว่าเห็นแจ้งด้วยทิฏฐิอันสุขุม เพราะมีความเห็น
แจ้งที่เป็นไปแล้วเนือง ๆ ด้วยทิฏฐิ คือปัญญาอันสุขุม เหตุได้บรรลุผลสมาบัติ.
บทว่า อุปาทานกฺขยารามํ ความว่า ผู้ชื่อว่า มีความสิ้นอุปาทานเป็นที่มา
ยินดี เพราะมีอรหัตผลอันเป็นที่สิ้นไป คือเป็นที่สิ้นสุด แห่งอุปาทานทั้ง 4
ที่ตนจะต้องยินดี. คำที่เหลือ มีนัยดังกล่าวแล้วทั้งนั้น.
จบอรรถกถาสักการสูตรที่ 2

3. สัททสูตร


ว่าด้วยสมัย 3 อย่าง


[260] ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย เสียง (ที่เกิดขึ้นเพราะปีติ) ของเทวดา
3 อย่างนี้ ย่อมเปล่งออกไปในเหล่าเทวดาเพราะอาศัยสมัยแต่สมัย 3 อย่าง
เป็นไฉน
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในสมัยใด พระอริยสาวกย่อมคิดเพื่อจะปลงผม
และหนวด นุ่งห่มผ้ากาสายะ ออกบวชเป็นบรรพชิต ในสมัยนั้น เสียงของ
เทวดาย่อมเปล่งออกไปในเหล่าเทวดาว่า พระอริยสาวกนี้ย่อมคิดเพื่อทำสงคราม
กับมาร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเสียงของเทวดาข้อที่ 1 ย่อมเปล่งออกไป
ในเหล่าเทวดาเพราะอาศัยสมัยแต่สมัย.
อีกประการหนึ่ง ในสมัยใด พระอริยสาวกประกอบความเพียรในการ
เจริญโพธิปักขิยธรรม 7 ประการ ในสมัยนั้น เสียงของเทวดาย่อมเปล่งออก
ไปในเหล่าเทวดาว่า พระอริยสาวกนั้นทำสงครามกับมาร ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
นี้เป็นเสียงของเทวดา ข้อที่ 2 ย่อมเปล่งออกไปในเหล่าเทวดาเพราะอาศัยสมัย
แต่สมัย.
อีกประการหนึ่ง ในสมัยใด พระอริยสาวกกระทำให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ
ปัญญาวิมุตติอันหาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง
ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ ในสมัยนั้น เสียงของเทวดาย่อมเปล่งออกไปในเหล่า
เทวดาว่า พระอริยสาวกนี้พิชิตสงความ ชนะแดนแห่งสงครามนั้นแล้ว
ครอบครองอยู่ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเสียงของเทวดาข้อที่ 3 ย่อมเปล่ง
ออกไปในเหล่าเทวดาเพราะอาศัยสมัยแต่สมัย.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เสียง เทวดา 3 ประการนี้แล ย่อมเปล่งออกไป
ในเหล่าเทวดาเพราะอาศัยสมัยแต่สมัย.