เมนู

อรรถกถาสุขสูตร


ในสุขสูตรที่ 7 พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สุขานิ ได้แก่ เหตุแห่งความสุข. บทว่า ปตฺถยมาโน
ความว่า ปรารถนาอยู่ คือ จำนงหมายอยู่. บทว่า สีลํ ได้แก่ ทั้งศีลของ
คฤหัสถ์ และศีลของบรรพชิต อธิบายว่า ถ้าเป็นคฤหัสถ์ ก็ต้องรักษาศีลของ
คฤหัสถ์ ถ้าเป็นบรรพชิต ก็ต้องรักษาจาตุปาริสุทธิศีล. บทว่า รกฺเขยฺย
ความว่า สมาทานแล้วไม่ล่วงละเมิด รักษาไว้ด้วยดีนั่นเอง.
บทว่า ปสํสา เม อาคจฺฉตุ ความว่า ผู้ฉลาดคือผู้มีปัญญา
ปรารถนาอยู่ว่า ขอกิตติศัพท์อันดีงามของเราจงมาถึงดังนี้ รักษาศีล. อธิบายว่า
กิตติศัพท์อันดีงามของคฤหัสถ์ผู้มีศีล ย่อมฟุ้งขจรไปในท่ามกลางบริษัท โดย
นัยมีอาทิว่า บุตรของตระกูลโน้น ชื่อโน้น เป็นผู้มีศีล มีกัลยาณธรรม มี
ศรัทธา เลื่อมใสแล้ว เป็นผู้ให้ (ทาน) เป็นผู้บำเพ็ญ (บุญ) ดังนี้ก่อน
กิตติศัพท์อันดีงามของบรรพชิต ย่อมฟุ้งขจรไปในท่ามกลางบริษัท โดยนัยมี
อาทิว่า ภิกษุชื่อโน้นเป็นผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยวัตร สงบเสงี่ยม อยู่ร่วมด้วยสบาย
มีความเคารพ มีความยำเกรง ดังนี้ . สมจริงดังที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนคฤหบดี
ทั้งหลาย ยังมีอีกข้อหนึ่ง กิตติศัพท์อันดีงามของผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล
ย่อมฟุ้งขจรไป ดังนี้.
อนึ่ง ดังที่ตรัสไว้มีอาทิว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าหากภิกษุพึงหวัง
อยู่ว่า ขอเราพึงเป็นที่รัก เป็นที่พอใจ เป็นที่เคารพ และเป็นที่นับถือของ
เพื่อนพรหมจารีทั้งหลายดังนี้ไซร้ เธอต้องเป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีลทั้งหลาย
นั่นเอง.

พึงทราบวินิจฉัยในบทว่า โภคา เม อุปฺปชฺชนฺตุ นี้ ดังต่อไปนี้
ก่อนอื่นเมื่อคฤหัสถ์ผู้มีศีล มีกัลยาณธรรมอยู่ เขาเลี้ยงชีวิตด้วยศิลปะและ
ความหมั่นขยันใด ๆ เช่น กสิกรรม พาณิชยกรรม และรับราชการ เมื่อเป็น
เช่นนั้น โภคะทั้งหลายที่ยังไม่เกิด ย่อมเกิดขึ้นแก่เขา และโภคะที่เกิดขึ้นแล้ว
จักถึงความเจริญขึ้น เพราะความเป็นผู้ไม่ประมาทในศิลปะ และความ
หมั่นขยันนั้น ตามกาลและตามวิชี. ส่วนบรรพชิต เมื่อสมบูรณ์ด้วยศีลาจารวัตร
มีปกติไม่ประมาทอยู่ มนุษย์ทั้งหลายผู้เลื่อมใสแล้ว ในความถึงพร้อมด้วยศีล
และคุณมีความมักน้อยเป็นต้น ของบรรพชิตผู้สมบูรณ์ด้วยศีล จะนำปัจจัย
มาให้อย่างมโหฬาร เมื่อเป็นเช่นนั้น โภคะที่ยังไม่เกิดขึ้น ย่อมเกิดขึ้นแก่
บรรพชิตนั้น และที่เกิดขึ้นแล้วก็จะมั่นคง สมดังที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อนคฤหบดี
ทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุผู้มีศีล สมบูรณ์ด้วยศีล จะประสบกองแห่ง
โภคะใหญ่ มีความไม่ประมาทเป็นเหตุ ดังนี้. อนึ่ง สมดังที่ตรัสไว้ว่า ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุพึงหวังว่า เราจักเป็นผู้ได้ จีวร บิณฑบาต เสนาสนะ
และคิลานปัจจัยเภสัชบริขาร ดังนี้ไซร้ เธอต้องเป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีล
ทั้งหลาย ดังนี้. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วทั้งนั้น.
พึงทราบวินิจฉัย ในคาถาทั้งหลายดังต่อไปนี้ บทว่า ปฏฺฐยาโน ได้แก่
ปฏฺฐยนฺโต แปลว่า ปรารถนาอยู่. บทว่า ตโย สุเข เท่ากับ ตีณิ สุขานิ
แปลว่า ความสุข 3 ประการ. บทว่า จิตฺตลาภํ ความว่า ได้ทรัพย์ อธิบายว่า
การเกิดขึ้นแห่งโภคทรัพย์. ก็โดยข้อที่แตกต่างกัน บรรดาความสุขทั้ง 3
อย่างนี้ พึงทราบว่า ทรงถือเอา เจตสิกสุข ด้วยการสรรเสริญ กายิกสุข
ด้วยโภคะ อุปปัตติสุข ด้วยศัพท์นอกนี้ อนึ่ง พึงทราบว่า ทรงถือเอา
สุขในปัจจุบัน ด้วยศัพท์แรก สุขในสัมปรายิกภพ ด้วยศัพท์ที่ 3 สุขทั้งสอง
อย่าง ด้วยศัพท์ที่ 2.

บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงการเว้นจากปาปมิตร และ
การคบหากัลยาณมิตร ที่เป็นเหตุพิเศษของการสรรเสริญเป็นต้น เหมือนศีล
ที่เป็นเหตุ (ธรรมดา) ของการสรรเสริญเป็นต้น พร้อมด้วยโทษและอานิสงส์
จึงตรัสคำมีอาทิว่า อกโรนฺโต ดังนี้.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สงฺกิโย ความว่า เขาพึงถูกรังเกียจใน
เพราะความชั่วว่า คนนี้ทำชั่วมาแล้ว หรือจักกระทำต่อไปเป็นแน่. อนึ่ง
เพราะเขาไปมาหาสู่อยู่กับคนชั่วทั้งหลาย.
บทว่า อสฺส ความว่า การกล่าวโทษแม้ไม่เป็นจริง ย่อมงอกงาม
คือถึงความงอกงามไพบูลย์ ได้แก่แผ่ไปเบื้องบน ของบุคคลผู้คบหาคนชั่วนี้
หรือบุคคลนั้น เพราะคบหาสมาคมกับคนชั่วเป็นปกติ. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า
อสฺส เป็นฉัฏฐีวิภัตติ ลงในอรรถแห่งสัตตมีวิภัตติ ได้ความว่าในบุคคลนั้น.
บทว่า สเว ตาทิสโก โหติ ความว่า ผู้ใดคบและเข้าไปคบหาปาปมิตร
หรือกัลยาณมิตร เช่นใด บุคคลนั้นก็จะเป็นเช่นนั้น คือมีบาปธรรม หรือมี
กัลยาณธรรม เหมือนน้ำที่สะอาดและสกปรก ด้วยสามารถแห่งพื้นที่. เพราะ
เหตุไร ? เพราะการอยู่ร่วมกัน เป็นเหตุให้เป็นเช่นนั้น. อธิบายว่า การอยู่
ร่วมกันกับคนชั่วช้า ไม่ควรทำเพราะการอยู่ร่วมกัน คือการคลุกคลีกัน ได้แก่
การสนิทสนมกัน เป็นเหตุให้รับเอากิริยาอาการของคนที่คบ ที่เป็นอุปนิสัย
ของตน เหมือนแก้วผลึก และแก้วมณีที่อยู่ร่วมกันฉะนั้น .
บทว่า เสวมาโน เสวมานํ ความว่า คนชั่วเมื่อคบบุคคลอื่นที่
บริสุทธิ์ตามปกติ ที่คบตนอยู่ตลอดกาลเวลา หรือที่เขาคบอยู่ (ย่อมทำให้เขา
แปดเปื้อน). บทว่า สมฺผุฏฺโฐ สมฺผุสํ ความว่า คนชั่วที่บุคคลผู้บริสุทธิ์
ตามปกตินั้น สัมผัสเข้าด้วยการอยู่ร่วมกัน คือคบหาสมาคมกัน แม้ตนเอง
เมื่อสัมผัสเขาอยู่อย่างนั้น. บทว่า สโร ทุฏฺโฐ กลาปํ วา ความว่า อุปมา

เสมือนหนึ่งว่า ลูกศรอาบคือเปื้อนยาพิษ จะแปดเปื้อนแล่งศร คือที่รวม
(กระบอก) ลูกศร แม้ที่ยังไม่แปดเปื้อน ซึ่งคนถูกต้องแล้วฉันใด ตนเองก็
ฉันนั้น ย่อมแปดเปื้อนคนอื่นที่บริสุทธิ์ โดยปกติด้วยความชั่ว. บทว่า
อุปเลปภยา ธีโร ความว่า คนชื่อว่า ธีระ เพราะเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยปัญญา
เครื่องทรงจำ คือคนที่เป็นบัณฑิต ไม่ควรมีคนชั่วเป็นสหาย. บทว่า ปูติมจฺฉํ
กุสคฺเคน
ความว่า ผู้ใดเอาปลายหญ้าคาผูกปลาที่เป็นปลาเน่า โดยเป็นของ
น่าเกลียด คือผูกโดยพันให้เป็นห่อ หญ้าคาเหล่านั้นของผู้นั้น ถึงไม่เน่า
ก็ชื่อว่าเหม็น เพราะห่อปลาเน่าเข้าไว้ จะส่งกลิ่นเหม็นตลบไปทีเดียว
ฉันใด. บทว่า เอวํ พาลูปเสวนา ความว่า การคบหาสมาคมกับคนพาล
พึงเห็นว่ามีอุปมาฉันนั้น. บทว่า เอวํ ธีรูปเสวนา ความว่า การคบหา
สมาคมกับบัณฑิต ของผู้ไม่มีศีลตามปกติ ย่อมเป็นเหตุให้กลิ่นศีลฟุ้งขจรไป
ด้วยสามารถแห่งการสมาทานศีลเป็นต้น. เหมือนใบไม้ถึงจะไม่มีกลิ่นหอม
แต่ก็ชื่อว่ามีกลิ่นหอมฟุ้งขจรไป เพราะห่อกฤษณาไว้ฉะนั้น.
บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะเหตุที่การคบมิตรที่ไม่ดี มีโทษเช่นนี้
และการคบมิตรที่ดี มีอานิสงส์อย่างนี้ คือเช่นนี้ ฉะนั้น บัณฑิตรู้ผลของตน
ด้วยการระคบกัน แห่งวัตถุที่มีกลิ่นเหม็นและกลิ่นหอม และการคบหาสมาคม
กับคนดี และคนไม่ดี ดุจห่อ (ปลาร้าและกฤษณา) ด้วยใบไม้ คือเหมือน
ห่อปลาร้าและกฤษณา (ด้วยใบไม้). บทว่า ญตฺวา สมฺปากมตฺตโน ความว่า
บัณฑิตรู้คือทราบความสำเร็จผลของตนที่มีทุกข์เป็นกำไร และมีสุขเป็นกำไร
แล้วไม่ควรคบหาอสัตบุรุษ คือมิตรชั่ว ควรเสพแต่สัตบุรุษคือบัณฑิตผู้สงบ
ระงับแล้ว ผู้มีโทษอันคลายแล้ว หรือผู้ที่นักปราชญ์สรรเสริญแล้ว. สมจริง
ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า อสัตบุรุษนำไปสู่นรก ส่วนสัตบุรุษให้ถึง
สุคติ.

ดังนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงแสดงเหตุแห่งความสุข 3 อย่าง
ตามที่กล่าวมาแล้ว ด้วยพระคาถาแรก แล้วทรงแสดงเหตุเป็นที่มาแห่งความสุข
ความสรรเสริญพร้อมกับการงดเว้น ธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ (ต่อความสุข) ด้วย
พระคาถา 5 พระคาถา ต่อจากนั้นแล้วจึงทรงแสดงความสุขสุดท้าย พร้อมด้วย
เหตุเป็นที่ประสบความสุขแม้ทั้ง 3 อย่าง ด้วยพระคาถาสุดท้าย.
จบอรรถกถาสุขสูตรที่ 7

8. ภินทนสูตร


ว่าด้วยสิ่งที่ต้องแตกเป็นธรรมดา


[255] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตร
นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้
สดับมาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายนี้มีความแตกเป็นที่สุด วิญญาณมี
การคลายไปเป็นธรรมดา ขันธบัญจกทั้งปวงไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความ
แปรปรวนไปเป็นธรรมดา.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระ-
ผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
ภิกษุรู้กายว่ามีความแตกไปเป็นที่สุด
และรู้วิญญาณว่ามีความย่อยยับไป เห็นภัย
ในขันธบัญจกทั้งหลายแล้ว ล่วงชาติและ
มรณะเสียได้ มีตนอันอบรมแล้ว จำนง