เมนู

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า
ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.
จบปุตตสูตรที่ 5

อรรถกถาปุตตสูตร


ในปุตตสูตรที่ 5 พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
ลูกที่เกิดจากอก คือกำเนิดจากตน หรือแม้ลูกบุญธรรม ชื่อว่า บุตร.
บทว่า สนฺโต แปลว่า มีอยู่. บทว่า สํวิชฺชมานา โลกสฺมึ ความว่า
หาได้ในโลกนี้. ชื่อว่าสันโต เพราะว่ามีอยู่ ชื่อว่า วิชฺชมานา เพราะว่าปรากฏ
แล้ว. บทว่า อติชาโต ความว่า เกิดมาเหนือมารดาบิดาด้วยคุณของตน.
อธิบายว่า มีคุณสูงกว่ามารดาบิดาเหล่านั้น. บทว่า อนุชาโต ความว่า เกิด
มาเป็นผู้ทัดเทียมแก่มารดาบิดาด้วยคุณทั้งหลาย อธิบายว่า มีคุณเสมอด้วย
มารดาบิดาเหล่านั้น. บทว่า อวชาโต ความว่า เกิดมาไม่เท่ามารดาบิดา
ด้วยคุณทั้งหลาย อธิบายว่า มีคุณต่ำกว่ามารดาบิดาเหล่านั้น.
ก็บุตรผู้ประกอบด้วยคุณธรรมเหล่าใด ที่พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรง
ประสงค์เอาแล้วว่า เป็นผู้ยิ่งกว่ามารดาบิดา เสมอมารดาบิดา และต่ำกว่า
มารดาบิดา เพื่อจะทรงแสดงจำแนกคุณธรรมเหล่านั้น จึงทรงตั้งเป็นกเถตุ-
กัมยตาปุจฉา (ถามเพื่อจะตอบเสียเอง) ว่า กถญฺจ ภิกฺขเว ปุตฺโต
อติชาโต โหติ
(ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อติชาตบุตรเป็นไฉน ? ดังนี้แล้ว
จึงทรงปรารภนิเทศไว้ โดยนัยมีอาทิว่า อิธ ภิกฺขเว ปุตฺตสฺส ดังนี้.

พึงทราบวินิจฉัยในบทมีอาทิว่า น พุทฺธํ สรณํ คตา นั้น ดังต่อ
ไปนี้ พระพุทธเจ้าผู้มีพระคุณความดี เกินหมู่สัตว์ ที่คนทั้งหลายรู้จักกันทั่ว
แล้วว่า พุทฺโธ เพราะหมายเอาพระขันธ์สันดานที่ทรงอบรมแล้ว ด้วยการ
บรรลุวิโมกข์อันยอดเยี่ยม มีพระญาณในธรรมทั้งมวลที่ไม่มีอะไรขัดขวางได้
เป็นนิมิต หรือการบรรลุสัจจญาณ มีพระสัพพัญญุตญาณเป็นปทัฏฐาน. สมดัง
ที่ท่านกล่าวไว้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระสัพพัญญู ไม่มีอาจารย์ ตรัสรู้
พร้อมเฉพาะแล้ว ซึ่งสัจจะทั้งหลายเอง ในธรรมทั้งหลายที่พระองค์ไม่เคยได้
ยินมาในกาลก่อน เป็นผู้ถึงแล้วซึ่งความเป็นพระสัพพัญญู ในธรรมเหล่านั้น
และถึงแล้วซึ่งความเป็นผู้ชำนาญในผลธรรมทั้งหลาย จึงทรงพระนามว่า พุทฺโธ
การขยายความศัพท์ว่า พุทฺโธ โดยเนื้อความมีเพียงเท่านี้ก่อน. แต่ว่า
พุทธะ โดยพยัญชนะ พึงทราบความตามนัยมีอาทิอย่างนี้ว่า ท่านผู้มีความรู้
มีความตื่นแล้ว โดยปราศจากความหลับคือกิเลส พร้อมทั้งวาสนาโดยส่วนเดียว
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พุทธะ. อีกอย่างหนึ่ง ท่านผู้มีความเบิกบาน โดย-
ความเป็นผู้เบิกบานด้วยปัญญา เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พุทธะ. ผู้ตรัสรู้ (สัจจะ
ทั้ง 4) เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พุทธะ ผู้ให้ผู้อื่นรู้ ผู้ยังหมู่สัตว์ให้รู้ตาม
เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า พุทธะ. สมจริงดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงพระนามว่า พุทฺโธ เพราะอรรถว่า ตรัสรู้สัจจะทั้งหลาย ทรงพระนามว่า
พุทฺโธ เพราะอรรถว่า ปลุกหมู่สัตว์ให้ตื่น ทรงพระนามว่า พุทฺโธ เพราะ
ทรงรู้ธรรมทั้งปวง ทรงพระนามว่า พุทฺโธ เพราะทรงเห็นธรรมทั้งปวง
ทรงพระนามว่า พุทฺโธ เพราะทรงรู้ธรรมที่ควรรู้ยิ่ง ทรงพระนามว่า พุทฺโธ
เพราะทรงเบิกบานแล้ว ทรงพระนามว่า พุทฺโธ เพราะมีธรรมกล่าวคือ
อาสวะสิ้นแล้ว ทรงพระนามว่า พุทฺโธ เพราะมีธรรมกล่าวคือ ไม่มีอุปกิเลส
ทรงพระนามว่า พุทฺโธ เพราะอรรถว่า ปราศจากราคะโดยส่วนเดียว ทรง

พระนามว่า พุทฺโธ เพราะอรรถว่า ปราศจากโทสะโดยส่วนเดียว ทรง
พระนามว่า พุทฺโธ เพราะอรรถว่า ปราศจากโมหะโดยส่วนเดียว ทรงพระ
นามว่า พุทฺโธ เพราะอรรถว่าไม่มีกิเลสโดยส่วนเดียว ทรงพระนามว่า พุทฺโธ
เพราะอรรถว่า ทรงถึงแล้วซึ่งเอกายนมรรค ทรงพระนามว่า พุทฺโธ เพราะ
อรรถว่า ทรงเป็นผู้เดียวตรัสรู้พร้อมเฉพาะแล้ว ซึ่งพระสัมมาสัมโพธิญาณ
อันประเสริฐ ทรงพระนามว่า พุทฺโธ เพราะทรงกำจัดความไม่รู้ เพราะ
ทรงได้ปัญญาเครื่องตรัสรู้ และพระนามว่า พุทฺโธ นี้ พระมารดา บิดา
พี่น้องชาย พี่น้องหญิง มิตร อมาตย์ ญาติสาโลหิต สมณพราหมณ์ เทวดา
มิได้ทำให้ โดยที่แท้แล้ว พระนามนี้ เป็นวิโมกขันติกนาม (พระนามที่เกิด
ขึ้นในที่สุดแห่งการหลุดพ้น) พระนามว่า พุทฺโธ เป็นสัจฉิกาบัญญัติ พร้อม
ด้วยการบรรลุสัพพัญญุตญาณ ณ ควงไม้โพธิ แห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลาย
ผู้ตรัสรู้แล้ว ดังนี้.
สิ่งที่ชื่อว่า เป็นสรณะ เพราะเบียดเบียนทุกข์ภัยเป็นต้น. อธิบายว่า
เบียดเบียนคือให้พินาศ ได้แก่ กำจัดอนัตถะ อบายทุกข์ทุกอย่าง (และ) สังสาร-
ทุกข์ทั้งมวลได้. บทว่า สรณํ คตา ความว่า เป็นผู้ถึง คือเข้าถึง (พระ-
พุทธเจ้า) อย่างนี้ว่า เราทั้งหลายถึง คือคบ ได้แก่ ซ่องเสพ หมายความว่า
เข้าไปนั่งใกล้พระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยความประสงค์นี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า
ทรงเป็นสรณะ (กำจัดภัยได้) ทรงเป็นคติ ทรงเป็นที่ดำเนินไปใน
เบื้องหน้า ทรงเป็นที่ยึดเหนี่ยว ทรงเป็นผู้ทำลายทุกข์ ทรงจัดแจงประโยชน์
เกื้อกูลของเราทั้งหลาย หรือเราทั้งหลายรู้คือตรัสรู้ (ตาม) อย่างนี้ ดังนี้ ชื่อว่า
เป็นผู้ถึงพระพุทธเจ้าว่าเป็นสรณะ (ส่วน) ผู้ถึงโดยนัยตรงกันข้ามกับนัยที่ว่า
มาแล้วนั้น ไม่ชื่อว่าถึงพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ.

บทว่า ธมฺมํ สรณํ คตา ความว่า ก็สภาพที่ชื่อว่า พระธรรม
เพราะทรงไว้ซึ่งผู้ได้บรรลุอริยมรรคแล้ว ทำให้แจ้งนิโรธแล้ว ปฏิบัติตามที่
ทรงสอนอยู่ ไม่ให้ตกไปในอบายทั้ง 4. พระธรรมนั้น โดยเนื้อความได้แก่
พระอริยมรรค และพระนิพพานนั่นเอง. สมจริงตามที่พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมทั้งหลายที่เป็นสังขตะ. (มีปัจจัยปรุงแต่ง)
มีประมาณเท่าใด อริยมรรคมีองค์ 8 เราตถาคตกล่าวว่า ล้ำเลิศกว่าสังขตธรรม
เหล่านั้น ดังนี้. ความพิสดาร ควรทราบดังต่อไปนี้ พระธรรมไม่ใช่ ได้แก่
อริยมรรค และพระนิพพานเพียงเท่านั้น ที่แท้ได้แก่พระปริยัติธรรมพร้อม
ทั้งพระอริยมรรค และอริยผลด้วย สมจริง ดังที่ตรัสไว้ในฉัตตมาณวก-
วิมานวัตถุ
ว่า
ท่านจงเข้าถึงพระธรรมอันเป็นธรรม
คลายความกำหนัด เป็นธรรมไม่หวั่นไหว
ไม่มีความเศร้าโศก อันปัจจัยอะไรปรุง-
แต่งไม่ได้ ไม่ปฏิกูล เป็นธรรมไพเราะ
ซื่อตรง เป็นธรรมอันพระผู้มีพระภาค-
เจ้า ทรงจำแนกดีแล้วนี้ เพื่อเป็นสรณะคือ
ที่พึงเถิด.

ก็บรรดาคุณธรรมเหล่านั้น มรรคพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ราค-
วิราคะ ธรรมเป็นเครื่องคลายกำหนัด (อรหัต) ผลตรัสเรียกว่า อเนชํ อโสกํ
(ไม่หวั่นไหว ไม่มีความเศร้าโศก). พระนิพพานตรัสเรียกว่า อสังขตธรรม
(อันปัจจัยปรุงแต่งไม่ได้) ธรรมขันธ์ทั้งหมด ที่ทรงจำแนกไว้โดยปิฎกทั้ง 3
ตรัสเรียกว่า อปฺปฏิกูลํ (ไม่ปฏิกูล) มธุรํ (ไพเราะ) ปคุณํ ซื่อตรง

สุวิภตฺตํ (ทรงจำแนกไว้ดีแล้ว) ผู้ถึงซึ่งพระธรรมนั้นว่าเป็น สรณะ ตามนัย
ที่กล่าวแล้ว ชื่อว่าถึงพระธรรมว่าเป็นสรณะ. (ส่วน) ผู้ถึงโดยนัยตรงกันข้าม
จากที่กล่าวแล้ว ชื่อว่าไม่ถึงพระธรรมว่าเป็นสรณะ.
ชื่อว่า พระสงฆ์ เพราะประกอบด้วยความสม่ำเสมอกันด้วยศีลและ
ทิฏฐิ. พระสงฆ์นั้น โดยใจความก็ได้แก่ ชุมนุมแห่งพระอริยบุคคล 8 จำพวก
สมดัง คำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ในวิมานวัตถุนั่นแหละว่า
บัณฑิตทั้งหลาย กล่าวทานอันบุคคล
ให้แล้ว ในพระอริยสงฆ์ผู้บริสุทธิ์ เป็นคู่
แห่งบุรุษ 4 เป็นบุรุษบุคคล 8 เพราะเหตุ
ได้เห็นธรรม ว่ามีผลมาก ท่านจงเข้าถึง
พระสงฆ์นี้ เพื่อเป็นที่พึ่งเถิด
ดังนี้.
ผู้ถึงซึ่งพระสงฆ์นั้นว่าเป็นสรณะ ตามนัยที่กล่าวมาแล้ว ชื่อว่าถึง
พระสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ส่วนผู้ถึงโดยนัยตรงข้ามจากที่กล่าวมาแล้ว ไม่ชื่อว่า
ถึงพระสงฆ์ว่าเป็นสรณะ.
ก็ในเรื่องการถึงสรณคมน์นี้ เพื่อความเป็นผู้ฉลาดในสรณคมน์ พึง-
ทราบวิธีดังนี้ คือ สรณะ 1 สรณคมน์ 1 ผู้ถึงสรณคมน์ 1 ประเภท
แห่งสรณคมน์ 1 ผล
(แห่งสรณคมน์) 1 ความเศร้าหมอง (แห่งสรณ-
คมน์) 1 การขาด (แห่งสรณคมน์) 1 ความผ่องแผ้ว (แห่งสรณคมน์) 1.
พึงทราบวินิจฉัย ในวิธีเหล่านั้น โดยอรรถแห่งบทก่อน. ชื่อว่า
สรณะ เพราะกำจัด (ทุกข์ภัยเป็นต้น ) อธิบายว่า รัตนะ คือพระพุทธเจ้า
เป็นต้น ย่อมขจัดภัย ความหวาดกลัวทุกข์ ทุคติ กิเลสทั่วไปได้ คือยังภัย
เป็นต้นให้พินาศไป เพราะการถึงสรณะนั้นนั่นแหละ ของผู้ถึงสรณะทั้งหลาย

คำว่าสรณะนี้ เป็นชื่อของพระรัตนตรัย อีกอย่างหนึ่ง พระพุทธเจ้าชื่อว่าเป็น
สรณะ เพราะกำจัดภัยของสัตว์ทั้งหลายด้วยการให้หันเข้าหาประโยชน์ และให้
หันเหออกจากสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์เกื้อกูล พระธรรม ชื่อว่าเป็นสรณะ เพราะ
กำจัดภัยของสัตว์ทั้งหลายได้โดยการให้ข้ามพ้นกันดารคือภพ และให้ความ
สบายใจ พระสงฆ์ชื่อว่าเป็นสรณะ (เพราะกำจัดภัยของสัตว์ทั้งหลายได้)
โดยการทำผู้บำเพ็ญ (บุญ) แม้น้อย ให้ได้รับผลไพบูลย์ เพราะฉะนั้น พระ-
รัตนตรัย จึงชื่อว่าเป็นสรณะ โดยบรรยายแม้นี้. จิตตุปบาท ที่กำจัดกิเลสได้
ด้วยความเลื่อมใสในพระรัตนตรัยนั้น และความเป็นผู้ตระหนักในพระรัตนตรัย
นั้น ที่เป็นไปแล้ว โดยอาการ คือความเป็นผู้มีพระรัตนตรัยนั้นเป็นที่เป็นไป
ในเบื้องหน้า ชื่อว่าสรณคมน์. สัตว์ผู้พร้อมเพรียงด้วยพระรัตนตรัยนั้น ชื่อว่า
ถึงสรณะ อธิบายว่า เข้าถึงด้วยจิตตุปบาทมีประการดังที่กล่าวแล้วอย่างนี้ว่า
รัตนะทั้ง 3 เหล่านี้ เป็นสรณะของเรา รัตนะทั้ง 3 เหล่านี้เป็นที่เป็นไปใน
เบื้องหน้าของเราดังนี้. พึงทราบวิธี 3 อย่างนี้คือ สรณะ 1 สรณคมน์ 1
ผู้ถึงสรณคมน์ 1 เท่านี้ก่อน.
ว่าโดยประเภท สรณคมน์มี 2 อย่าง คือ โลกิยสรณคมน์และโลกุตร-
สรณคมน์ ใน 2 อย่างนั้น โลกุตรสรณคมน์ โดยอารมณ์ เป็นสรณคมน์
มีพระนิพพานเป็นอารมณ์ โดยกิจย่อมสำเร็จ เพราะพระรัตนตรัยแม้ทั้งสิ้น
แก่ผู้เห็นสัจจะแล้ว ด้วยการถึงสรณะและการตัดขาดอุปกิเลส ในขณะแห่งมรรค
(ส่วน) โลกิยสรณคมน์โดยอารมณ์ เป็นสรณคมน์นีพุทธาทิคุณเป็นอารมณ์
ย่อมสำเร็จแก่ปุถุชนทั้งหลาย ด้วยการถึงสรณะ และด้วยการข่มอุปกิเลสไว้.
โลกิยสรณคมน์นั้นโดยความหมาย ตรัสเรียกว่า เป็นการได้เฉพาะซึ่งศรัทธา
ในวัตถุทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้น 1 เป็นสัมมาทิฏฐิ มีศรัทธาในวัตถุ
ทั้งหลาย มีพระพุทธเจ้าเป็นต้นเป็นมูล 1 เป็นทิฏฐชุกรรม ในบุญกิริยาวัตถุ 10

โลกิยสรณคมน์ นี้นั้น เป็นไปแล้วโดยอาการ 4 คือ (1) อัตต-
สันนิยาตนะ
การมอบกายถวายตน (2) ตัปปรายนตา ความมีพระ-
รัตนตรัยนั้นเป็นที่ไปในเบื้องหน้า. (3) สิสสภาวูปคมนะ การเข้าถึง
ความเป็นศิษย์ (4) ปณิปาตะ การนอบน้อม. ในอาการ 4 อย่างนั้น
การพลีชีพเพื่อพระพุทธเจ้าเป็นต้น อย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าขอมอบตนแด่พระ-
พุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ดังนี้ ชื่อว่า
อัตตสันนิยาตนะ
ความเป็นผู้มีพระรัตนตรัยนั้น เป็นที่พึ่งอาศัย คือความเป็นผู้มีพระ-
รัตนตรัยนั้นเป็นที่ไปในเบื้องหน้า อย่างนี้ว่า ข้าพเจ้ามีพระพุทธเจ้าเป็นที่ไป
ในเบื้องหน้า มีพระธรรมเป็นที่ไปในเบื้องหน้า มีพระสงฆ์เป็นที่ไปในเบื้องหน้า
ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ชื่อว่า ตัปปรายนะ.
การเข้าถึงความเป็นศิษย์ อย่างนี้ว่า ขอท่านทั้งหลายจงจำข้าพเจ้าไว้
อย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าเป็นอันเตวาสิก ของพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์
ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ชื่อว่า สิสสภาวูปคมนะ.
การนอบน้อมอย่างยิ่ง ในพระพุทธเจ้าเป็นต้นอย่างนี้ว่า ข้าพเจ้า
ขอกระทำการอภิวาท การต้อนรับ อัญชลีกรรม และสามีจิกรรมแก่วัตถุทั้ง 3
มีพระพุทธเจ้าเป็นต้นนั่นแหละ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้น ไป ดังนี้ ชื่อว่า ปณิปาตะ.
จริงอยู่ ผู้ทำการ 4 อย่างเหล่านี้ อย่างใดอย่างหนึ่งอยู่เป็นอันถือเอา
สรณคมน์ แล้วทีเดียว อีกประการหนึ่ง พึงทราบการมอบกายถวายตน แม้
อย่างนี้ว่า ข้าพเจ้าขอสละตน สละชีวิต เพื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อพระธรรม
เพื่อพระสงฆ์ ทั้งตน ทั้งชีวิต เป็นอันข้าพเจ้าสละแล้วทีเดียว ข้าพาเจ้าขอถึง
พระพุทธเจ้าว่าเป็นสรณะ ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป จนกว่าชีวิตจะหาไม่ ขอ

พระพุทธเจ้าจงเป็นที่ระลึกเป็นที่ต้านทาน เป็นที่หลีกเร้น (ทุกข์ภัย) ของ
ข้าพเจ้า พึงเห็นการเข้าถึงความเป็นศิษย์ เหมือนการเข้าถึงสรณะ ของพระ-
มหากัสสปเถระอย่างนี้ว่า เราพบพระศาสดา ก็เป็นอันพบพระผู้มีพระภาคเจ้า
ด้วย เราพบพระสุคตก็เป็นอันพบพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วย เราพบพระสัมมา-
สัมพุทธเจ้าก็เป็นอันพบพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วย.
พึงทราบความเป็นผู้มีพระรัตนตรัยนั้นเป็นที่ไปในเบื้องหน้าเหมือน
การถึงสรณะของอาฬวกยักษ์เป็นต้น อย่างนี้ว่า
ข้าพเจ้านั้นจักออกจากบ้าน ไปสู่
บ้าน ออกจากเมือง ไปสู่เมือง เที่ยว
นมัสการพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และความ
ที่พระธนรมเป็นธรรมดี.

การนบนอบพึงทราบอย่างนี้ว่า ครั้งนั้นแล พรหมายุพราหมณ์ลุกจาก
อาสนะแล้ว ห่มผ้าเฉวียงบ่า ซบเศียรแทบพระบาทพระผู้มีพระภาคเจ้า จุมพิต
พระบาทของพระองค์ด้วยปาก ใช้มือนวดพระบาท และประกาศนาม (ของตน)
ว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์ชื่อพรหมายุพราหมณ์ ข้าแต่พระ-
โคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์ชื่อพรหมายุพราหมณ์ ก็การนบนอบนี้นั้นมี 4 อย่าง
ด้วยสามารถแห่งการเป็นญาติ 1 กลัว 1 เป็นอาจารย์ 1 เป็นทักขิไณยบุคคล 1
ใน 4 อย่างนั้น การถึงสรณะ มีด้วยการนบนอบพระทักขิเณยยบุคคล มิใช่
ด้วยเหตุอื่น. เพราะว่าคนจะถึงสรณะด้วยอำนาจแห่งคุณที่ล้ำเลิศ (ของพระ-
รัตนตรัย) นั่นเอง จะขาดก็ด้วยสามารถแห่งการยึดสิ่งอื่นว่า ประเสริฐ (กว่า)
เพราะฉะนั้น ผู้ใดไหว้ด้วยคิดว่า ท่านผู้นี้เท่านั้น เป็นผู้สูงสุดกว่าสรรพสัตว์
เป็นทักขิเณยยบุคคลผู้เลิศในโลก สรณะเป็นอันผู้นั้นถือเอาแล้ว ส่วนผู้ไหว้

โดยสำคัญว่า เป็นญาติ เป็นภัย เป็นอาจารย์ หาชื่อว่าถือเอาสรณะไม่. เมื่อ
อุบาสก หรืออุบาสิกาผู้ถึงสรณะอย่างนี้ เมื่อไหว้ญาติผู้แม้บวชในสำนักเดียรถีย์
ทั้งหลาย ด้วยคิดว่า ผู้นี้เป็นญาติของเรา สรณะย่อมไม่ขาด จะป่วยกล่าว
ไปไยถึงสรณะของผู้ที่ไหว้ผู้ที่ยังไม่ได้บวชในสำนักเดียรถีย์เป็นต้น เมื่อไหว้
พระราชาเพราะกลัวก็เป็นเช่นนั้น คือสรณะไม่ขาด เพราะว่าพระราชานั้น
เมื่อไม่ไหว้คงจะทำอนัตถะให้ก็ได้ เพราะเป็นผู้ที่ราษฎรบูชา (กราบไหว้)
ดังนี้แล. อนึ่ง ถึงเดียรถีย์ผู้ให้การศึกษาศีลปะอย่างใดอย่างหนึ่ง ถึงจะไหว้
สรณะก็ไม่ขาด ประเภทของสรณคมน์พึงทราบด้วยประการดังพรรณนามาฉะนี้.
ก็ในสรณคมน์ 2 อย่างนี้ โลกุตรสรณคมน์ มีสามัญผล 4 เป็น
วิบากผล มีความสิ้นไปแห่งทุกข์ทั้งมวล เป็นอานิสงสผล สมดังที่พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
ส่วนผู้ใด ถึงพระพุทธเจ้า พระธรรม
และพระสงฆ์ เป็นสรณะ ฯลฯ ผู้นั้น
อาศัยพระพุทธเจ้าเป็นต้นเป็นสรณะ จะ-
พ้นจากทุกข์ทั้งมวล
ดังนี้.
อีกอย่างหนึ่ง อานิสงสผลแห่งโลกุตรสรณคมน์นั้น พึงทราบ (ด้วย
สามารถแห่ง) การไม่เข้าถึงสังขาร โดยเป็นของเที่ยงเป็นต้น. สมดังคำที่
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ไม่ใช่ฐานะ. ไม่ใช่โอกาส
ที่บุคคลผู้ถึงพร้อมด้วยทิฏฐิ จะพึงเข้าถึงสังขารอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยเป็น
ของเที่ยง เข้าถึงสังขารอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยเป็นสุข เข้าถึงธรรมบางอย่าง
โดยเป็นอัตตา ปลงชีวิตมารดา ปลงชีวิตบิดา ปลงชีวิตพระอรหันต์ มีจิต
คิดประทุษร้าย ทำโลหิตของพระตถาคตให้ห้อ อ้าง (นับถือ) ศาสดาอื่น นี้ไม่

เป็นฐานะที่จะมีได้ ดังนี้. ส่วนโลกิยสรณคมน์ มีภวสมบัติบ้าง โภคสมบัติบ้าง
เป็นผลเหมือนกัน สมดังคำที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า
ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง ถึงพระพุทธ-
เจ้าว่าเป็นที่พึ่ง ชนเหล่านั้นจักไม่ไปสู่
อบายภูมิ (เขา) ละร่างอันเป็นของมนุษย์
แล้ว จักยังกายทิพย์ให้บริบูรณ์ ดังนี้.

พระธรรมสังคาหกาจารย์ ได้กล่าวคำแม้อื่นไว้อีกว่า ครั้งนั้นแล
ท้าวสักกะจอมเทพ พร้อมด้วยเทวดา 84,000 ได้เข้าไปหาพระมหาโมคคัลลานะ
ถึงที่อยู่ ฯลฯ ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้กล่าวคำนี้ กะท้าวสักกะจอมเทพ
ผู้ยืนอยู่ ณ ที่ส่วนข้างหนึ่งว่า ขอถวายพระพรท่านจอมเทพ การถึงพระพุทธเจ้า
ว่าเป็นที่พึ่ง เป็นการดีแล ดูก่อนจอมเทพ เพราะเหตุแห่งการถึงพระพุทธเจ้า
เป็นสรณะแล สัตว์บางจำพวกจึงเข้าถึงสุคติ คือโลกสวรรค์ หลังจากตายแล้ว
เพราะร่างกายแตกสลายไป ด้วยประการฉะนี้. พวกเขาจะได้รับทิพย์อย่างอื่น
สิบสถาน คือ อายุทิพย์ วรรณทิพย์ สุขทิพย์ ยศทิพย์ อธิปไตยทิพย์
รูปทิพย์ เสียงทิพย์ กลิ่นทิพย์ รสทิพย์ โผฏฐัพพทิพย์ ดังนี้. พึงทราบ
ความพิเศษแห่งผลของสรณคมน์ ด้วยสามารถแห่งเวลามสูตรเป็นต้น. ผลแห่ง
สรณคมน์ พึงทราบดังพรรณนามานี้ก่อน.
ก็ในสองอย่างนี้ โลกิยสรณคมน์จักเศร้าหมองด้วยความไม่รู้ ความ
สงสัย และความเห็นผิด ในวัตถุ 3 ประการ (พระรัตนตรัย) เป็นต้น ไม่
โชติช่วง ไม่กว้างขวาง. ส่วนโลกุตรสรณคมน์ ไม่มีความเศร้าหมอง. อนึ่ง
การขาดแห่งโลกิยสรณคมน์มีสองอย่างคือ (ขาด)ที่มีโทษ และ(ขาด)ที่ไม่มีโทษ
บรรดา 2 อย่างนั้น ความขาดที่มีโทษ มิได้ เพราะการมอบตนในศาสดาอื่น

เป็นต้น และความขาดที่มีโทษนั้น มีผลไม่น่าปรารถนา. ส่วนความขาดที่
ไม่มีโทษ มีได้เพราะถึงแก่กรรม. ความขาดนั้นไม่มีผล เพราะไม่มีวิบาก
ส่วนโลกุตรสรณคมณ์ ไม่มีการขาดเลย เพราะว่า พระอริยสาวกแม้ในภพอื่น
ก็จะไม่อ้างศาสดาอื่น (ว่าเป็นสรณะ) เพราะฉะนั้น พึงทราบความเศร้าหมอง
และความขาดแห่งสรณคมน์ ดังพรรณนามานี้.
ส่วนความผ่องแผ้ว ก็มีได้เฉพาะโลกิยสรณคมน์เท่านั้น. เพราะว่า
ความเศร้าหมองเกิดขึ้นแก่โลกิยสรณคมน์ใด ความผ่องแผ้วพึงมี เฉพาะโลกิย-
สรณคมน์นั้นเท่านั้น. ส่วนโลกุตรสรณคมน์ ผ่องแผ้วอยู่เป็นนิตย์แล้ว
ฉะนั้นแล.
การยังสัตว์มีชีวิต ซึ่งมีอันจะต้องตกไปเป็นสภาพ โดยหน้าที่ของตน
นั่นเองให้ตกไป ชื่อว่า อติปาตะ ในบทว่า ปาณาติปาโต นี้ อธิบายว่า
ไม่ใช่ให้ค่อย ๆ ตกไป แต่ให้พลันตกไป. อีกอย่างหนึ่ง การใช้ศาสตราเป็นต้น
ครอบงำให้ล่วงตกไป ชื่อว่า อติปาตะ. อธิบายว่า การฆ่าสัตว์มีชีวิต อนึ่ง
ขันธสันดานที่เรียกกันว่าสัตว์ ชื่อว่า ปาณะ ในคำว่า ปาณาติปาโต นี้ ขันธ-
สันดานนั้นโดยปรมัตถ์ ได้แก่รูปชีวิตินทรีย์ และอรูปชีวิตินทรีย์. แท้จริง
เมื่อรูปชีวิตินทรีย์ที่บุคคลให้พินาศแล้ว อรูปชีวิตินทรีย์นอกนี้ก็พินาศไป
เพราะอรูปชีวิตินทรีย์ เนื่องกับรูปชีวิตินทรีย์นั้น. เจตนาคิดจะฆ่าของผู้มีความ
สำคัญในสัตว์มีชีวิตนั้น ว่าเป็นสัตว์มีชีวิต ที่ยังความพยายาม อันเข้าไปตัดขาด
ชีวิตินทรีย์ให้ตั้งขึ้นเป็นไปแล้ว ทางกายทวาร และวจีทวาร ทวารใดทวารหนึ่ง
ชื่อว่าปาณาติบาต. แท้จริง มหาภูตรูปทั้งหลายที่เกิดขึ้น เพราะปัจจัยคือมหา-
ภูตรูป ที่เป็นเหตุให้ทำความพยายาม ที่เหมือนกับมหาภูตรูปก่อน ๆ จะยังไม่
เกิดขึ้นในภูตรูปเป็นที่อาศัยแห่งชีวิตินทรีย์ที่กำลังเป็นไป (เป็นปัจจุบัน) จะ

เกิดขึ้นเฉพาะที่ไม่เหมือนกันเท่านั้น ด้วยเจตนาอันใด เจตนาอันนั้น ที่ยัง
ประโยคเช่นนั้น ให้ตั้งขึ้น ชื่อว่าปาณาติบาต เพราะว่า ภูตทั้งหลายที่มีความ
พยายามอันได้แล้ว จะไม่ผ่องแผ้วเหมือนภูตก่อน ๆ เพราะฉะนั้น ภูตเหล่านั้น
จึงไม่เป็นเหตุ แห่งภูตทั้งหลายที่มีชาติเสมอกัน . คำว่า กายวจีทฺวารานํ
อญฺญตรทฺวารปฺปวตฺตา
นี้ แสดงถึงความไม่มีแห่งการยังสัตว์มีชีวิตให้ตก
ล่วงไป (ปาณาติบาต) ด้วยวธกเจตนาที่เป็นไปแล้วในมโนทวาร. จริงอยู่
แม้ในกุลุมพสูตร พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประสงค์เอาวิชชามยฤทธิว่า สมณะ
หรือพราหมณ์บางคนในโลกนี้ ผู้มีฤทธิ์ถึงความชำนาญทางใจ ย่อมไม่เพ่งเล็ง
สัตว์ที่เกิดในครรภ์ ที่อยู่ในท้องของหญิงอื่น ด้วยใจที่ใฝ่ต่ำ และวิชชามยฤทธิ
นั้น ทิ้งวจีทวารเสียแล้ว ไม่อาจให้เกิดขึ้นได้ เพราะฉะนั้น วิชชามยฤทธินั้น
จึงสำเร็จด้วยอำนาจแห่งวจีทวารเท่านั้น. แต่วาทะของอาจารย์ที่กล่าวว่า ฤทธิ์ที่
สำเร็จด้วยการภาวนา ท่านประสงค์เอาในกุลุมพสูตรนั้น ผิดจากภูมิอื่นที่กล่าว
ไว้ในกุศลติกะ เวทนาติกะ และวิตักกติกะ.
ปาณาติบาตนี้นั้น ชื่อว่ามีโทษน้อย ในเพราะสัตว์เดียรัจฉานเป็นต้น
ที่ปราศจากคุณ สัตว์มีชีวิตตัวเล็ก ๆ. ชื่อว่ามีโทษมาก ในเพราะสัตว์มีชีวิต
ตัวใหญ่. เพราะเหตุไร ? เพราะมีประโยคใหญ่ (มีพิธีการมาก) แม้เมื่อมี
ประโยคเท่ากัน ปาณาติบาต ชื่อว่ามีโทษมาก เพราะมีวัตถุใหญ่เป็นต้น.
ในบรรดามนุษย์เป็นต้นผู้มีคุณ ในเพราะผู้มีคุณน้อย ปาณาติบาต ก็มีโทษน้อย
ในเพราะมีคุณมากก็มีโทษมาก แต่เมื่อร่างกายและคุณเสมอกัน ปาณาติบาต
ชื่อว่า มีโทษน้อย เพราะกิเลสและความพยายามอ่อนกำลัง. ชื่อว่า มีโทษมาก
เพราะกิเลสและความพยายามแรงกล้า อนึ่งในเรื่องแห่งปาณาติบาตนี้ การที่
ปาณาติบาตมีโทษมาก เพราะมีประโยคและวัตถุใหญ่เป็นต้น พึงทราบโดย
ความมีเจตนาที่เกิดขึ้น เพราะปัจจัยเหล่านั้นมีกำลัง. ความที่ประโยคเป็น

ประโยคใหญ่ ที่ได้เพราะเจตนาอันเป็นตัวให้สำเร็จ ที่ยังกิจของตนให้สำเร็จลง
ด้วยสามารถยังประโยคตามที่ตนประสงค์ให้สำเร็จโดยเร็ว และที่ได้เสวนะ
ด้วยชวนะทั้งหลายที่เป็นไปมากครั้ง บางครั้งเมื่อประโยคเสมอกัน ทั้งในสัตว์
ที่มีชีวิตตัวเล็กและตัวใหญ่ แม้มีอยู่ เจตนาของผู้ฆ่าสัตว์ใหญ่ มีกำลังกล้ากว่า
จะเกิดขึ้น เพราะฉะนั้น แม้ความที่วัตถุเป็นของใหญ่ จึงเป็นเหตุแห่งความ
ที่เจตนามีกำลังกว่า ดังนั้นทั้งสองอย่างนี้ จึงเป็นเหตุแห่งความที่ปาณาติบาต
มีโทษมาก โดยภาวะที่เจตนามีกำลังนั่นเอง. อนึ่ง เมื่อความที่สัตว์จะต้องฆ่ามี
คุณมาก ความที่ปาณาติบาตนั้นมีโทษมาก พึงเห็นได้ว่า แม้เจตนาที่ไม่เป็น
อุปการะ แก่การยังเขตพิเศษให้สำเร็จ เป็นเจตนาที่มีกำลังและแรงกล้ากว่า
จะเกิดขึ้น เหมือนเจตนาที่เป็นอุปการะที่เป็นไปแล้ว ในสัตว์ที่จะต้องฆ่านั้น
เพราะฉะนั้น แม้เมื่อความที่ปัจจัยทั้งหลายมีประโยคและวัตถุเป็นต้นไม้ใหญ่
ก็พึงทราบความที่ปาณาติบาตมีโทษมาก ด้วยสามารถแห่งความที่เจตนาเป็น
เจตนามีกำลัง เพราะปัจจัยทั้งหลาย มีความเป็นผู้มีคุณมากเป็นต้นนั่นเอง.
ปาณาติบาตนั้นมีองค์ประกอบ 5 อย่าง คือ 1. ปาโณ สัตว์มีชีวิต
2. ปาณสญฺญิตา รู้อยู่ว่าสัตว์มีชีวิต 3. วธกจิตฺตํ จิตคิดจะฆ่า 4.
อุปกฺกโม ความพยายามที่จะฆ่า 5. เตน มรณํ สัตว์ตายด้วยความพยายาม
นั้น. ปาณาติบาตที่ประกอบไปด้วยองค์ 5 ไม่พ้นไปจากองค์ 5 พึงทราบว่า
เป็นปาณาติบาต. ในองค์ประกอบ 5 อย่างนั้น การรู้ว่าสัตว์มีชีวิต และจิตคิด
จะฆ่า จัดเป็นบุพภาค (ของปาณาติบาต). ส่วนความพยายามที่จะฆ่า เป็น
องค์ประกอบให้วธกเจตนาปรากฏชัด. ปาณาติบาตนั้นมี 6 ประโยค คือ 1.
สาหัตถิกประโยค (ฆ่าด้วยมือตนเอง) 2. อาณัตติกประโยค (ใช้ผู้อื่นฆ่า)
3. นิสสัคคิยประโยค (การขว้างอาวุธไป ปล่อยอาวุธไป) 4. ถาวรประโยค

(เครื่องมือฆ่าสัตว์ที่ทำไว้ประจำ) 5. วิชชามยประโยค (อำนาจคุณแล
ไสยศาสตร์) 6. อิทธิมยประโยค (การบันดาลด้วยฤทธิ์).
บรรดาประโยคทั้ง 6 อย่างนั้น ประโยค (การฆ่า) ที่บังเกิดขึ้นด้วย
มือของตน ชื่อว่า สาหัตถิกประโยค ประโยคที่เป็นไปด้วยสามารถแห่งการ
สั่งบังคับผู้อื่น ชื่อว่า อาณัตติกประโยค ประโยคที่เป็นไปแล้ว ด้วยสามารถ
แห่งการยิงด้วยลูกศร และพุ่งด้วยหอกเป็นต้นออกไป ชื่อว่า นิสสัคคิย-
ประโยค
ประโยคที่เป็นไปด้วยสามารถแห่งการขุดหลุมพรางเป็นต้น ชื่อว่า
ถาวรประโยค ประโยคที่สำเร็จด้วยการร่ายมนต์ เหมือนการร่ายเวทย์ของ
หมออาถรรพ์เป็นต้น ชื่อว่า วิชชามยประโยค ประโยคที่สำเร็จด้วยฤทธิ์
อันเกิดแต่กรรมวิบาก พึงเห็นเหมือนประโยคของผู้มีฤทธิ์ ให้สัตว์มีพิษขบกัด
เป็นต้น.
ในข้อนี้มีผู้กล่าวท้วงว่า ในเมื่อสังขารทั้งหลายมีการดับอยู่ทุก ๆ ขณะ
เป็นสภาพ ใครเล่าเป็นผู้ฆ่า หรือใครถูกฆ่า ถ้าความสืบต่อแห่งจิตและเจตสิก
มีอยู่ ความสืบต่อแห่งจิตและเจตสิกนั้น เป็นสิ่งที่ไม่สามารถจะหวั่นไหวได้
ทั้งใคร ๆ ก็ให้หวั่นไหวไม่ได้ ด้วยสามารถแห่งการสับและการทุบเป็นต้น
เพราะไม่มีรูปร่างไซร้ เมื่อเป็นเช่นนั้น การสืบต่อแห่งรูปอันใดมีอยู่ การ
สืบต่อแห่งรูปนั้น อุปมาเหมือนดุ้นฟืนและท่อนไม้ เพราะหาเจตนามิได้
เพราะฉะนั้น จะหาปาณาติบาตไม่ได้ ในการสืบต่อแห่งรูปนั้น ด้วยการสับ
เป็นต้น เหมือนแม้ประโยคในร่างที่ตายแล้ว ปาณาติบาตก็จะพึงมีประโยค
มีการประหาร และไม่ประหารเป็นต้นตามที่กล่าวแล้ว ในสัตว์และสังขารที่
เป็นอดีต เป็นอนาคต หรือปัจจุบัน. ก่อนอื่นในกาลทั้ง 3 นั้น ประโยค
ตามที่กล่าวแล้ว จะไม่เกิดมีในอดีตและอนาคต เพราะอดีตและอนาคตเหล่านั้น
เป็นสภาวะไม่มีอยู่ ประโยคในปัจจุบัน ที่กำลังบ่ายหน้าไปสู่ความสิ้นสูญไป

ก็จะหาประโยชน์มิได้ เพราะสังขารทั้งหลายเป็นไปชั่วขณะ (และ) เพราะ
สังขารทั้งหลายมีการดับไปตามหน้าที่ของตนนั่นแหละ เป็นสภาพ ความตาย
เป็นตัวเหตุแห่งประโยคมีการประหาร และไม่ประหารเป็นต้นก็จะไม่มี เพราะ
เว้นจากเหตุแห่งการสูญในรูป และใครเล่าจะเป็นเจ้าของประโยค เพราะสังขาร
ทั้งหลายไม่มีจิตใจ ปาณาติบาตจะเป็นกรรมพันธ์ของใครเล่า เพราะสังขาร
ที่แตกสลายตลอดเวลาที่พอเหมาะกับการประสงค์จะฆ่านั่นเอง ไม่หยุดอยู่จน
ให้ถึงเวลาสิ้นสุดการกระทำ เนื่องจากเป็นไปชั่วขณะ.
ข้าพเจ้าจะกล่าวเฉลยต่อไป กองสังขารกล่าวคือสัตว์ ที่พร้อมเพรียง
ไปด้วยวธกเจตนา ตามที่กล่าวแล้ว (นั่นแล) เป็นผู้ฆ่า กองแห่งรูปธรรม
และอรูปธรรม ที่มีประโยคแห่งการฆ่า อันกองสังขารให้เป็นไปแล้ว เป็น
เครื่องหมาย อันเป็นที่ตั้งแห่งการกล่าวว่า ชีวิตินทรีย์คือวิญญาณที่ปราศจาก
ไออุ่น ตายแล้วซึ่งควรแก่การเป็นไปในเบื้องบน (สืบต่อกันไปในอนาคต)
เหมือนที่เป็นไปแล้วในกาลก่อน (นั่นแหละ) ถูกฆ่า ในเพราะกระทำประโยค
แห่งการฆ่าตามที่กล่าวแล้ว. อีกอย่างหนึ่ง การสืบต่อแห่งจิตและเจตสิก (นั่นเอง)
ถูกฆ่า. แม้เมื่อความที่แห่งการสืบต่อแห่งจิตและเจตสิก ไม่เป็นอารมณ์ของ
ประโยคแห่งการฆ่ามีอยู่ การสืบต่อแห่งจิตและเจตสิก แม้นั้นจะขาดสูญไป
โดยการขาดสูญแห่งชีวิตินทรีย์ ด้วยสามารถแห่งประโยคที่กระทำแล้วในภูตรูป
ทั้งหลาย เพราะความสืบต่อแห่งจิตและเจตสิกนั้น มีพฤติกรรมไม่หย่อนไปกว่า
การสืบต่อแห่งรูป ในปัญจโวการภพ (ขันธ์ 5) เพราะฉะนั้น ปาณาติบาต
จะไม่เกิดก็หาไม่ ทั้งไม่ใช่ไม่เป็นเหตุ และจะเป็นประโยคที่ไร้ประโยชน์ก็หาไม่
มรณะไม่ใช่ไม่มีเหตุ เพราะ (เหตุ 3 ประการ) คือ 1. เพราะสังขาร (นาม)
และกลาปะ (รูป) ที่ควรจะเกิดขึ้นถัดจากนั้น ก็ไม่เกิดขึ้นเหมือนอย่างนั้น
ด้วยสามารถประโยคที่ทำแล้วในสังขารทั้งหลาย ที่เป็นปัจจุบัน 2. เพราะ

ขณิกมรณะของสังขารทั้งหลาย ที่มีอยู่ชั่วขณะพระองค์ไม่ทรงประสงค์เอาโดย
เป็นมรณะในที่นี้และ 3. เพราะการดับแห่งสันตติ เป็นสิ่งที่มีเหตุตามนัยที่
ได้กล่าวมาแล้ว. สังขารท่านกล่าวว่า ทำเหตุที่มีการยังผลให้เกิดขึ้น โดยสมควร
แก่ตน ๆ แน่นอนด้วยเหตุสักว่า ความมีอยู่ (อัตถิตา) นั่นเอง เพราะเกิดขึ้น
ตามปัจจัย ในสังขารทั้งหลาย แม้ที่ปราศจากเจตนา. ดวงประทีปย่อมส่องสว่าง
ฉันใด เพราะฉะนั้น การเรียกว่าการฆ่า ย่อมปรากฏชัดฉันนั้น และไม่ปรารถนา
เอาปาณาติบาต แห่งจิตเจตสิก (นาม) และกลาปะ (รูป) ที่เกิดพร้อมกับ
ความประสงค์จะฆ่าอย่างเดียว แต่ประสงค์เอาปาณาติบาตแห่งจิต เจตสิกและ
กลาปะ ที่กำลังเป็นไปด้วยสามารถแห่งการสืบต่อเท่านั้น เพราะฉะนั้นกรรมพันธุ์
เพราะปาณาติบาต จึงมีอยู่ทีเดียว และการทำประโยชน์ย่อมปรากฏแก่ประทีป
เป็นต้น ที่กำลังส่องแสงอยู่ด้วยสามารถแห่งการต่อเนื่องกัน ดังนี้แล. ก็แม้ใน
อทินนาทานเป็นต้น ข้อวิจารณ์นี้ควรอธิบายให้ชัด ตามสภาพที่เป็นจริง.
เป็นผู้งดเว้นจากปาณาติบาตนั้น. ชื่อว่า อปฺปฏิวิรตา เพราะไม่เว้นขาด.
การถือเอาของที่เจ้าของไม่ได้ให้ ชื่อว่า อทินนาทาน. ท่านกล่าว
อธิบายไว้ว่า การนำของผู้อื่นไป คือการลักได้แก่ความเป็นขโมย. บรรดาบท
เหล่านั้น บทว่า อทินฺนํ ได้แก่ของที่คนอื่นหวงแหน. คนอื่นเมื่อถึงความ
เป็นผู้ทำตามชอบใจ ในของที่ผู้อื่นหวงแหนอันใด (แม้) ไม่ควรได้รับโทษ
ทัณฑ์ และไม่ควรถูกตำหนิ เถยยเจตนา (ความตั้งใจลัก) ของผู้ที่มีความ
สำคัญในสิ่งของที่ผู้อื่นหวงแหนนั้น ว่าเป็นของที่ผู้อื่นหวงแหน ยังความพยายาม
ถือเอาสิ่งของนั้นให้ตั้งขึ้น ชื่อว่า อทินนาทาน.
อทินนาทานนั้นชื่อว่ามีโทษน้อย ในเพราะของผู้อื่นเลว (ราคาน้อย)
ชื่อว่ามีโทษมากในเพราะของผู้อื่นประณีต (ราคามาก) เพราะเหตุไร ? เพราะ
วัตถุประณีต ชื่อว่ามีโทษน้อย ในเพราะของผู้อื่นน้อย ชื่อว่ามีโทษมาก
ในเพราะของผู้อื่นมาก ก็เช่นเดียวกันนั้น. เพราะเหตุไร ?

เพราะวัตถุใหญ่ และเพราะประโยคใหญ่ แต่เมื่อมีวัตถุเสมอกัน
อทินนาทาน ชื่อว่ามีโทษมาก ในเพราะวัตถุของผู้มีคุณธรรมสูง ชื่อว่ามีโทษ
น้อย เพราะวัตถุของผู้มีคุณธรรมต่ำกว่าผู้มีคุณธรรมสูงนั้น ๆ โดยหมายเอา
คุณธรรมที่สูงนั้น ๆ เป็นเกณฑ์ แต่เมื่อวัตถุและคุณไม่เท่ากัน อทินนาทาน
ชื่อว่ามีโทษน้อย เพราะความที่กิเลสและประโยคเป็นของอ่อน ชื่อว่ามีโทษมาก
เพราะกิเลสและประโยคเป็นของกล้า.
อทินนาทานนั้น มีองค์ประกอบ 5 อย่าง คือ 1. ปรปริคฺคหิตํ
(ของที่เจ้าของหวงแหน) 2. ปรปริคฺคหิตสญฺญิตา (รู้อยู่ว่าเป็นของที่
เจ้าของเขาหวงแหน) 3. เถยฺยจิตฺตํ (จิตคิดจะลัก) 4. อุปกฺกโม
(ทำความพยายามที่จะลัก) 5. เตน หรณํ (ลักมาได้ด้วยความพยายามนั้น)
ประโยคมี 6 อย่าง มีสาหัตถิกประโยคเป็นต้นเหมือนกัน ก็แลประโยคเหล่านั้น
เป็นไปแล้วด้วยสามารถแห่งอวหารเหล่านี้ คือ เถยฺยาวหาร (การลักด้วย
ความขโมย) 1 ปสยฺยาวหาร (ลักด้วยความข่มขู่) 1 ปริกปฺปาวหาร
(ลักตามที่กำหนดไว้) 1 ปฏิจฺฉนฺนาวการ (ลักด้วยกิริยาปกปิด) 1 กุสาวหาร
(ลักด้วยการสับเปลี่ยนสลาก) 1. ก็ในบรรดาประโยคเหล่านั้น การลักของ ๆ
ผู้อื่นไปด้วยการร่ายมนต์ ชื่อว่า วิชชามยประโยค การบันดาลมาซึ่งของ ๆ
ผู้อื่น ด้วยกายประโยคและวจีประโยค อันสำเร็จแล้วด้วยอานุภาพของฤทธิ์
เช่นนั้น เว้นจากมนต์ พึงทราบว่า ชื่อว่า อิทธิมยประโยค.
บทว่า กาเมสุ ได้แก่ เมถุนสมาจาร. บทว่า มิจฺฉาจาโร ได้แก่
อาจาระอันลามก ที่ท่านตำหนิไว้แล้วโดยส่วนเดียว. แต่โดยลักษณะ เจตนา
ที่คิดจะล่วงละเมิด อคมนียัฏฐาน (ฐานะที่ไม่ควรล่วงละเมิด) อันเป็นไปแล้ว
ทางกายทวารด้วยความประสงค์จะเสพอสัทธรรม ชื่อว่า กาเมสุมิจฉาจาร
บรรดาอคมนียัฏฐานเหล่านั้น หญิง 20 จำพวก คือหญิง 10 จำพวก มีหญิง

ที่มารดารักษาแล้วเป็นต้น และอีก 10 จำพวก มีหญิงที่ซื้อมาด้วยทรัพย์-
เป็นต้น ชื่อว่าเป็นอคมนียัฏฐานของบุรุษทั้งหลายก่อน แต่ว่าบุรุษอื่นเป็น
อคมนียัฏฐาน สำหรับหญิง 12 จำพวกคือ หญิงที่มีอารักขา และมีอาญา
รอบด้าน 2 จำพวก และหญิงที่ซื้อมาได้ด้วยทรัพย์เป็นต้นอีก 10 จำพวกใน
จำพวกหญิงทั้งหลาย.
มิจฉาจารนี้นั้น ชื่อว่ามีโทษน้อย ในเพราะอคมนียัฏฐานที่เว้นจาก
คุณความดีมีศีลเป็นต้น ชื่อว่ามีโทษมาก เพราะถึงพร้อมด้วยคุณความดี มีศีล
เป็นต้น อนึ่ง แม้ในอคมนียัฏฐานที่ปราศจากคุณความดี มิจฉาจารของผู้
ประพฤติผิดเพราะข่มขืนก็มีโทษมาก. แต่ชื่อว่ามีโทษน้อย เพราะคนทั้งสอง
มีฉันทะร่วมกัน. ถึงเมื่อคนทั้งสองจะมีฉันทะร่วมกัน กาเมสุมิจฉาจาร ชื่อว่า
มีโทษน้อย เพราะกิเลสและความพยายามอ่อน ชื่อว่ามีโทษมาก เพราะกิเลส
และความพยายามแรงกล้า.
กาเมสุมิจฉาจารนั้นมีองค์ 4 คือ อคมนียวัตถุ (วัตถุที่จะพึงล่วงเกิน)
1 ตตฺถ เสวนจิตฺตํ (จิตคิดจะเสพในอคมนียวัตถุนั้น) 1 เสวนปโยโค
(ประโยคในการเสพ) 1 มคฺเคน มคฺคปฺปฏิปตฺติอธิวาสนํ (การยังมรรค
ให้ดำเนินไปทางมรรคหรือหยุดอยู่) 1 ในบรรดาองค์. เหล่านั้น กาเมสุมิจ-
ฉาจารของผู้ที่ให้เป็นไปตามความพอใจของตนมีองค์ 3 ส่วนของผู้ที่ให้เป็น
ไปแล้วโดยพลการ มีองค์ 3 เพราะฉะนั้น พึงเห็นว่ามีองค์ 4 โดยถือเอา
ไม่ให้มีส่วนเหลือ แต่ความสำเร็จประโยชน์จะมีได้ก็ด้วยองค์ 3 เท่านั้น
กาเมสุมิจฉาจาร มีประโยคเดียว คือสาหัตถิกประโยคเท่านั้น.
บทว่า มุสา ได้แก่กายประโยค และวจีประโยค ที่มุ่งหักราน
ประโยชน์ของผู้มุ่งจะกล่าวให้ผิด เจตนาที่ยังกายประโยคและวจีประโยคในการ
กล่าวให้ผิดต่อผู้อื่น ของผู้นั้น ด้วยความประสงค์จะกล่าวให้ผิดพลาด ชื่อว่า

มุสาวาท อีกนัยหนึ่ง เรื่องที่ไม่เป็นจริงชื่อว่ามุสา. การยังผู้อื่นให้เข้าใจเรื่อง
ที่ไม่เป็นจริงนั้น ว่าจริง ว่าแท้ ชื่อว่า วาทะ เพราะฉะนั้น เจตนาของผู้
ประสงค์จะให้ผู้อื่นเข้าใจเรื่องที่ไม่จริง ว่าจริง ที่ยังประโยคในการให้ผู้อื่น
เข้าใจนั้น ให้ตั้งขึ้น ชื่อว่า มุสาวาท.
มุสาวาทนั้น ชื่อว่ามีโทษน้อย เพราะประโยชน์ที่ตนจะหักรานนั้น
มีน้อย ชื่อว่ามีโทษมาก เพราะประโยชน์ที่ตนหักรานมีมาก. อีกอย่างหนึ่ง
สำหรับคฤหัสถ์ มุสาวาทที่เป็นไปแล้วโดยนัยมีอาทิว่าไม่มี เพราะไม่ประสงค์
จะให้ของ ๆ ตน (แก่ผู้อื่น) ชื่อว่ามีโทษน้อย (แต่) ที่กล่าวโดยเป็นพยาน
หักล้างผลประโยชน์ ชื่อว่ามีโทษมาก. สำหรับบรรพชิต มุสาวาทที่เป็นไปแล้ว
โดยนัยแห่งปูรณกถา ว่าวันนี้ ที่บ้าน น้ำมันเห็นจะไหลไปเหมือนแม่น้ำโดย
ประสงค์จะหัวเราะ เพราะได้น้ำมัน หรือเนยใสนิดหน่อย ชื่อว่ามีโทษน้อย
แต่เมื่อกล่าวถึงสิ่งที่ไม่ได้เห็นเลยโดยนัยมีอาทิว่า ได้เห็น มุสาวาทชื่อว่า
มีโทษมาก อนึ่ง มุสาวาทชื่อว่ามีโทษน้อย เพราะผู้ที่ตนหักรานประโยชน์
มีคุณน้อย ชื่อว่ามีโทษมาก เพราะผู้ที่ตนหักรานประโยชน์มีโทษมาก. และ
ความที่มุสาวาทมีโทษน้อย หรือมีโทษมาก จะมีได้ ก็ด้วยสามารถกิเลสอ่อน
และแรงกล้านั่นเอง.
องค์ของมุสาวาทนั้นมี 4 คือ อตถํ วตฺถุ (เรื่องไม่จริง) 1 วิสํวาท-
นจิตฺตํ
(จิตคิดจะพูดให้ผิด) 1 ตชฺโช วายาโม (ความพยายามอันเกิดแต่
จิตนั้น) 1 ปรสฺส ตทตฺถวิชานนํ (การให้ผู้อื่นเข้าใจเนื้อความนั้น) 1.
จริงอยู่ แม้การให้ผู้อื่นเข้าใจเนื้อความนั้น พึงทราบว่าเป็นองค์ (ประกอบ)
ข้อ 1 เพราะแม้เมื่อทำประโยค กล่าวโดยประสงค์จะพูดให้ผิด เมื่อผู้อื่น
ไม่เข้าใจเนื้อความนั้น การพูดให้ผิด ก็ไม่สำเร็จ (ความประสงค์). ส่วน

อาจารย์บางพวกกล่าวว่า มุสาวาทมีองค์ประกอบ 3 คือ อภูตวจนํ (พูดไม่จริง)
1 วิสํราทนจิตฺตํ (จิตคิดจะพูดให้ผิด) 1 ปรสฺส ตทตฺถวิชานนํ (การ
ให้ผู้อื่นเข้าใจเนื้อความนั้น) 1 ก็ถ้าบุคคลอื่น พิจารณาแล้วจึงรู้ความหมายนั้น
เพราะรู้ได้ช้า เจตนาที่เป็นเหตุให้กิริยาตั้งขึ้น ย่อมเกี่ยวเนื่องกับมุสาวาทกรรม
ในชั่วขณะนั่นเอง เพราะเจตนาที่เป็นเหตุให้ตกลงใจเป็นไปแล้ว.
บทว่า สุรา ได้แก่สุรา 5 อย่างคือ ปิฏฺฐสุรา (สุราทำด้วยแป้ง) 1
ปูวสุรา (สุราทำด้วยขนม) 1 โอทนสุรา (สุราทำด้วยข้าวสุก) 1 กิณฺณปกฺ-
ขิตฺตา
(สุราที่เติมด้วยส่าเหล้า) 1 สมฺภารสํยุตฺตา (สุราที่ประกอบด้วย
เครื่องปรุง) 1. บทว่า เมรยํ ได้แก่ ของหมักดอง 5 อย่าง คือ ปุปผาสวะ
(เครื่องดองด้วยดอกไม้) 1 ผลาสวะ (เครื่องดองด้วยผลไม้) 1 มัธวาสวะ
(เครื่องดองด้วยน้ำผึ้ง) 1 คุฬาสวะ (เครื่องดองด้วยน้ำอ้อยงบ) 1 สัมภาร-
สังยุตตะ
(เครื่องดองที่ประกอบด้วยเครื่องปรุง) 1 แม้ทั้งสองอย่างนั้นชื่อว่า
มัชชะ เพราะอรรถว่า เป็นที่ตั้งแห่งความเมา เจตนาเป็นเหตุดื่มน้ำเมานั้น
ชื่อว่า ปมาทัฏฐานะ เพราะเป็นเหตุแห่งความประมาท. แต่โดยลักษณะ
เจตนาที่ประมาท อันเป็นไปแล้วทางกายทวาร ด้วยสามารถแห่งความมึนเมา
เริ่มแต่เชื้อน้ำเมากล่าวคือสุราเมรัย ตามที่กล่าวแล้ว ชื่อว่า สุราเมรัยมัชช-
ปมาทัฏฐาน.

สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐาน มีองก์ประกอบ 4 อย่างคือ มชฺชภาโว
(ความเป็นของเมา) 1 ปาตุกมฺยตาจิตฺตํ (จิตคิดจะดื่ม) 1 ตชฺโช
วายาโม
(ความพยายามอันเกิดแต่จิตนั้น ) 1 อชฺโฌหรณํ (กลืนให้ล่วงลง
ในลำคอ) 1.

ก็ภาวะที่สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานนั้น มีโทษโดยส่วนเดียวเพราะเขา
ดื่มด้วยจิตเป็นอกุศลอย่างเดียว. แต่สุรานั้นไม่ไหลเข้าปากของพระอริยสาวก
ทั้งหลาย ทั้ง ๆ ที่ไม่รู้วัตถุ (ว่าเป็นน้ำเมา). จะป่วยกล่าวไปไยถึงที่รู้อยู่. การ
ดื่มน้ำเมาเพียงเล็กน้อยก็มีโทษน้อย การดื่มน้ำเมาเพียงครั้งอาฬหกะ มากกว่า
น้ำเมาเล็กน้อยนั้น มีโทษมาก. เมื่อดื่มน้ำเมามากแล้วยังสามารถให้กาย
เคลื่อนไหวไปทำกรรมมีการปล้นชาวบ้านเป็นต้น มีโทษมากทีเดียว.
จริงอยู่ การทำชั่วในพระขีณาสพ ถึงขั้นปาณาติบาต มีโทษมาก. การ
ทำชั่วในสำนักของพระขีณาสพ ถึงขั้นอทินนาทาน มีโทษมาก. บาปกรรม
ในเพราะการล่วงเกินภิกษุณี ผู้เป็นพระขีณาสพ ถึงชั้นมิจฉาจาร มีโทษมาก.
การทำชั่วในเพราะการทำลายสงฆ์ (ให้แตกกัน) ด้วยมุสาวาท ถึงขั้นมุสาวาท
มีโทษมาก. การทำชั่วในเพราะกรรมมีการดื่มน้ำเมามาก จนสามารถให้กาย
เคลื่อนไหว ปล้น ฆ่าชาวบ้านเป็นต้น เพราะสุราบาน มีโทษมาก. การทำ
สงฆ์ให้แตกกันด้วยมุสาวาทอย่างเดียว มีโทษมากกว่าบาปกรรมเหล่านี้แม้ทั้ง
ทั้งหมด. เพราะผู้ทำสังฆเภทนั้น ย่อมหมกไหม้อยู่ในนรกตลอดกัป.
บัดนี้ พึงทราบวินิจฉัย ในบาปกรรมเหล่านั้นโดยอาการ 6 อย่างคือ
โดยสภาพ 1 โดยอารมณ์ 1 โดยเวทนา 1 โดยมูล 1 โดยกรรม 1
โดยผล 1.

บรรดาอาการทั้ง 6 อย่างนั้น ว่าโดยสภาพปาณาติบาตเป็นต้นแม้ทั้ง
หมด เป็นสภาพของเจตนาอย่างเดียว. ว่าโดยอารมณ์ ปาณาติบาต มีสังขาร
เป็นอารมณ์ โดยมีชิวิตินทรีย์เป็นอารมณ์. อทินนาทานมีสัตว์เป็นอารมณ์บ้าง
มีสังขารเป็นอารมณ์บ้าง. มิจฉาจาร มีสังขารเป็นอารมณ์ด้วยอำนาจโผฏฐัพพะ.
(แต่) อาจารย์อีกพวกหนึ่งกล่าวว่า มีสัตว์เป็นอารมณ์ มุสาวาทมีสัตว์เป็น

อารมณ์บ้าง มีสังขารเป็นอารมณ์บ้าง การดื่มสุรามีสังขารเป็นอารมณ์. ว่า
โดยเวทนา ปาณาติบาตมีเวทนาเป็นทุกข์. อทินนาทานมีเวทนา 3. มิจฉาจาร
มีเวทนา 2 ด้วยอำนาจแห่งสุขเวทนาและมัชฌัตตา (อทุกขมสุขเวทนา) สุรา
บานก็เหมือนกัน (คือมีเวทนา 2) แต่ทั้งสองอย่าง (คือมิจฉาจารและสุราบาน)
ไม่ใช่มีเวทนาเป็นกลาง ๆ (คืออทุกขมสุข) ด้วยจิตที่เป็นเหตุให้ตกลงใจ
มุสาวาทมีเวทนา 3. ว่าโดยมูลฐาน ปาณาติบาตมีมูล 2 ด้วยสามารถแห่งโทสะ
และโมหะ. อทินนาทานและมุสาวาท มีมูล 2 ด้วยอำนาจแห่งโทสะและโมหะ
หรือด้วยอำนาจแห่งโลภะและโมหะ. มิจฉาจารและสุราบาน มีมูล 2 ด้วยสามารถ
แห่งโลภะและโมหะ. ว่าโดยกรรม บรรดาบาปกรรมทั้ง 5 นี้ มุสาวาทอย่าง
เดียวเป็นวจีกรรม. ที่เหลือทั้ง 4 ข้อ เป็นกายกรรมทั้งนั้น. ว่าโดยผล ทุก ๆ
ข้อมีผลให้เกิดในอบายทั้งนั้น และถึงในสุคติ ก็ให้ผลไม่น่าปรารถนานานา
ชนิด มีความเป็นผู้มีอายุน้อยเป็นต้น เพราะฉะนั้น พึงทราบวินิจฉัยในบาป
กรรมเหล่านี้ โดยสภาพเป็นต้นดังพรรณนามานี้.
บทว่า อปฺปฏิวิรตา ได้แก่ ไม่เป็นผู้เว้นขาด เพราะไม่มีสมาทานวิรัติ
และสัมปัตตวรัติ. บทว่า ทุสฺสีลา ความว่า ถัดจากนั้นไป ก็เป็นคนไม่
มีศีล เพราะไม่มีแม้เพียงเบญจศีล. บทว่า ปาปธมฺมา ได้แก่ธรรมที่ลามก
คืออาจาระที่เลวทราม. บทว่า ปาณาติปาตา ปฏิวิรโต ความว่าเป็นผู้งด
เว้น คือตั้งอยู่ไกลจากปาณาติบาต เพราะการสมาทานสิกขาบท. แม้ในบทที่
เหลือทั้งหลาย ก็มีนัยนี้.
แม้ในที่นี้ พึงทราบวินิจฉัย โดยสภาพ 1 โดยอารมณ์ 1 โดย-
เวทนา 1 โดยมูลฐาน 1 โดยธรรม 1 โดยการสมาทาน 1 โดย-
การขาด 1 โดยผล 1
แห่งเวรมณีทั้งหลาย มี ปาณาติปาตาเวรมณีเป็นต้น
ดังต่อไปนี้.

จริงอยู่ บรรดาอาการทั้ง 8 อย่างนั้น โดยสภาพแล้วรมณีทั้ง 5
เป็นเจตนาบ้าง เป็นวิรัติบ้าง แต่ว่าเทศนามีมาแล้ว ด้วยสามารถแห่งวิรัติ.
วิรัติของผู้ที่งดเว้น จากปาณาติบาตที่ประกอบด้วยกุศลจิต ที่ท่านกล่าวไว้อย่างนี้
ว่า (ในสมัยนั้น วิรัตินั้น) ได้แก่การงด การเว้น จากปาณาติบาต ดังนี้
โดยประเภทมี 3 อย่าง คือ สัมปัตตวิรัติ 1 สมาทานวิรัติ 1 สมุจ-
เฉทวิรัติ 1
บรรดาวิรัติ 3 อย่างนั้น วิรัติที่เกิดขึ้นแก่ผู้ไม่ได้สมาทานสิกขาบท
(มาก่อน) แต่พิจารณาเห็น ชาติ วัย และความเป็นพหูสูตเป็นต้น ของ
ตน แล้วไม่ฝ่าฝืน วัตถุที่มาประจวบเข้า ด้วยคิดว่า เรื่องนี้ไม่เหมาะแก่-
เราที่จะการทำ ดังนี้ ชื่อว่าสัมปัตตวิรัติ. ส่วนวิรัติที่เกิดขึ้นแก่ผู้สมาทาน
สิกขาบท (มาก่อน) แล้ว แม้สละชีวิตของตนที่มีคุณค่ายิ่งกว่าสิกขาบทนั้น ก็
ไม่ล่วงละเมิดวัตถุ เพราะสมาทานสิกขาบทไว้ ชื่อว่าสมาทานวิรัติ. แต่วิรัติที่
สัมปยุตด้วยอริยมรรค ชื่อว่า สมุจเฉทวิรัติ ซึ่งเริ่มแต่เกิดขึ้นแล้ว แม้ความ
คิดว่า เราจักฆ่าสัตว์ ก็ไม่เกิดขึ้นแก่พระอริยบุคคลทั้งหลาย. ในบรรดาวิรัติ
ทั้ง 3 นั้น ในที่นี้ ท่านประสงค์เอาสมาทานวิรัติ.
ว่าโดยอารมณ์ อารมณ์ของปาณาติบาตเป็นต้นนั่นเอง เป็นอารมณ์
ของปาณาติปาตาเวรมณีเป็นต้นนั้น. ด้วยว่า ขึ้นชื่อว่าการงดเว้น จะมีได้ก็
เพราะมีสิ่งที่จะต้องล่วงละเมิดนั่นเอง อนึ่ง กุศลธรรมเหล่านี้ ที่มีชีวิตินทรีย์
เป็นอารมณ์นั้นเอง ย่อมละความทุศีลทั้งหลาย มีปาณาติบาตเป็นต้นได้
เหมือนอริยมรรคที่มีพระนิพพานเป็นอารมณ์ ย่อมละกิเลสทั้งหลายได้ฉะนั้น.
ว่าโดยเวทนา วิรัติทั้งหมด เป็นสุขเวทนาทั้งนั้น. ว่าโดยมูลฐาน
กุศลธรรมเหล่านี้ ของผู้ที่งดเว้น ด้วยจิตที่สัมปยุตด้วยญาณ มีมูล 3 ด้วย
สามารถแห่งอโลภะ อโทสะ และอโมหะ ของผู้ที่งดเว้นด้วยจิตที่เป็นญาณ-
วิปยุต มีมูล 2 ด้วยสามารถแห่งอโลภะและอโทสะ.

ว่าโดยกรรม การงดเว้นจากมุสาวาทเป็นวจีกรรม (ส่วน) ที่เหลือเป็น
กายกรรม. ว่าโดยสมาทาน ผู้ไม่ได้รับการสมาทานนั้นในสำนักของผู้อื่นที่เป็น
ครุฏฐานิยบุคคล สมาทานศีล 5 ด้วยตนเองเป็นเอกัชฌสมาทาน หรือเป็น
ปัจเจกสมาทาน ก็ย่อมเป็นอันสมาทานแล้ว. ว่าโดยการขาด สำหรับคฤหัสถ์
ทั้งหลาย สิกขาบทใดที่ล่วงเกินแล้ว จะขาดเฉพาะสิกขาบทนั้น ๆ เท่านั้น
นอกนี้ไม่ขาด. เพราะเหตุไร ? เพราะคฤหัฤส์ทั้งหลายมีศีล ไม่เกี่ยวเนื่องกัน
(เป็นปัจเจกสมาทาน) รักษาเฉพาะสิกขาบทที่สามารถรักษาได้เท่านั้น. ส่วน
สำหรับบรรพชิต เมื่อล่วงละเมิดสิกขาบทเดียว ก็ขาดทั้งหมด.
พึงทราบวินิจฉัยในบทว่า ผลโต ดังต่อไปนี้ กับบรรดา เวรมณี
เหล่านี้ ปาณาติปาตาเวรมณี มีผลมีอาทิอย่างนี้คือ องฺคปจฺจงฺคสมนฺ-
นาคตา
(ความเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยอวัยวะน้อยใหญ่) 1 อาโรหปริณาทสมฺ-
ปตฺติ
(ความถึงพร้อมด้วยส่วนสูงและส่วนกว้าง) 1 ชวนสมฺปตฺติ (ความถึง
พร้อมด้วยเชาว์ไวไหวพริบ) 1 สุปติฏฺฐิตปาทตา (ความเป็นผู้มีเท้าตั้งอยู่
เหมาะสม) 1 จารุตา (ความสวยงาม) 1 มุทุตา (ความเป็นผู้อ่อนโยน) 1
สุจิตา (ความสะอาด) 1 สูรตา (ความกล้าหาญ) 1 มหาพลตา (ความเป็น-
ผู้มีกำลังมาก) 1 วิสฏฺฐวจนตา (ความเป็นผู้มีถ้อยคำสละสลวย) 1 สตฺตานํ
ปิยุมนาปตา
(ความเป็นผู้น่ารัก น่าพอใจ ของสัตว์ทั้งหลาย) 1 อภิชฺช-
ปริสตา
(ความเป็นผู้มีบริษัทไม่แตกแยกกัน) 1 อฉมฺภิตา (ความเป็นผู้ไม่-
สะดุ้งหวาดเสียว) 1 ทุปฺปธํสิยตา (ความเป็นผู้อันใคร ๆ กำจัดได้ยาก) 1
ปรูปกฺกเมน อมรณตา
(ความเป็นผู้ไม่ตายดับการปองร้ายของผู้อื่น) 1
มหาปริวารตา
(ความเป็นผู้มีบริวารมาก) 1 สุวณฺณตา (ความเป็นผู้มีผิว-
ดังทอง) 1 สุสณฺฐานตา (ความเป็นผู้มีทรวดทรงงาม) 1 อปฺปาพาธตา

(ความเป็นผู้มีอาพาธน้อย) 1 อโสกตา (ความเป็นผู้ไม่เศร้าโศก) 1 ปิยม-
นาเปหิ อวิปฺปโยคตา
(ความเป็นผู้ไม่พลัดพราก จากของรักของชอบใจ) 1
ทีฆายุตา
(ความเป็นผู้มีอายุยืน) 1.
อทินนาทานา เวรมณี มีผลมีอาทิอย่างนี้คือ มหาธนธญฺญตา
(ความเป็นผู้มีทรัพย์ และข้าวเปลือกมาก) 1 อนนฺตโภคตา (ความเป็นผู้มี
โภคะ อเนุกอนันต์) 1 ถิรโภคตา (ความเป็นผู้มีโภคะยั่งยืน) 1 อิจฺฉิตานํ
โภคานุํ ขิปฺปปฏิลาโภ
(การได้โภคทรัพย์ตามที่ต้องการอย่างฉับพลัน) 1
ราชาทีหิ อสาธารณโภคตา
(การมีโภคะไม่ทั่วไปกับพระราชาเป็นต้น ) 1
อุฬารโภคตา (ความเป็นผู้มีโภคะโอฬาร) 1 ตตฺถ ตตฺถ เชฏฺฐกภาโว
(ความเป็นหัวหน้าในที่นั้น ๆ) 1 นตฺถิภาวสฺส อชานนตา (ความเป็นผู้
ไม่รู้จักคำว่าไม่มี) 1 สุขวิหารตา (ความเป็นผู้อยู่อย่างสบาย) 1.
อพฺรหฺมจริยา เวรมณี มีผลมีอาทิอย่างนี้ คือ วิคตปจฺจตฺถิกตา
ความเป็นผู้ปราศจากข้าศึก) 1 สพฺพสตฺตานํ ปิยมนาปตา (ความเป็น
ที่รักเป็นที่พอใจของสรรพสัตว์) 1 อนฺนปานวตฺถจฺฉาทนาทีนํ ลาภิตา
(ความเป็นผู้มีปกติได้ของต่าง ๆ เช่น ข้าว น้ำ ผ้า และวัตถุเครื่องปกปิด) 1
สุขสุปนตา (การนอนหลับสบาย) 1 สุขปฏิพุชฺฌนตา (การตื่นขึ้นมา
สบาย) 1 อปายภยวิโมกฺโข (การพ้นจากภัยในอบาย) 1 อิตฺถีภาวนปุํ-
สกภาวานํ อภพฺพตา
(ความไม่ควรแก่การเกิดเป็นหญิง เป็นกะเทย) 1
อกฺโกธนตา (ความเป็นผู้ไม่โกรธ) 1 สจฺจการิตา (ความเป็นผู้มีปกติ
ทำจริง) 1 อมงฺกุภูตตา (ความเป็นผู้ไม่เก้อเขิน) 1 อาราธนสุขตา (ความ
เป็นผู้มีความสุขด้วยการรับเชิญ) 1 ปริปุณฺณินฺทฺริยตา (ความเป็นผู้มีอินทรีย์
บริบูรณ์) 1 นิราสงฺกตา (ความเป็นผู้ปราศจากความระแวง) 1 อปฺโปสฺกุกฺ-
กตา
(ความเป็นผู้มีความขวนขวายน้อย) 1 สุขวิหารตา (ความเป็นผู้อยู่อย่าง-

เป็นสุข) 1 อกุโตภยตา (ความเป็นผู้ไม่มีภัยจากที่ไหน ๆ) 1 ปิยวิปฺปโย-
คาภาโว
(ความเป็นผู้ไม่มีการพลัดพรากจากของรัก) 1. แม้ผลของการงด
เว้นจากมิจฉาจาร ก็รวมอยู่ในผลของการงดเว้นจากการไม่ประพฤติพรหมจรรย์
เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า จึงตรัสว่า อพฺรหฺมจริยา เวรมณี ดังนี้.
มุสาวาทาเวรมณี มีผลมีอาทิอย่างนี้ คือ วิปฺปสนฺนินฺทฺริยตา
(ความเป็นผู้มีอินทรีย์ผ่องใส) 1 วิสฏฺฐมธุรภาณิตา (ความเป็นผู้มีปกติ
พูดด้วยคำสละสลวย อ่อนหวาน) 1 สมสิตสุทฺธทนฺตตา (ความเป็นผู้มีฟัน
เรียบเสมอ ทั้งขาว ทั้งสะอาด) 1 นาติถูลตา (ความเป็นผู้ไม่อ้วนจนเกินไป) 1
นาติกีสตา (ความเป็นผู้ไม่ผอมจนเกินไป) 1 นาติรสฺสตา (ความเป็นผู้
ไม่ต่ำเกินไป) 1 นาติทีฆตา (ความเป็นผู้ไม่สูงเกินไป) 1 สุขสมฺผสฺสตา
(ความเป็นผู้มีสัมผัสเป็นสุข) 1 อุปฺปลคนฺธมุขตา (ความเป็นผู้มีกลิ่นปาก-
หอมเหมือนกลิ่นดอกอุบล) 1 สุสฺสูสกปริสตา (ความเป็นผู้มีบริษัท เชื่อฟัง
ตั้งอยู่ในโอวาท) 1 อาเทยฺยวจนตา (ความเป็นผู้มีวาจาเชื่อถือได้) 1
กมลทลสทิสมุทุโลหิตนยชิวฺหตา (ความเป็นผู้มีลิ้น อ่อน แดง และ
บางเหมือนกลีบดอกอุบล) 1 อลีนตา (ความเป็นผู้ไม่หดหู่) 1 อนุทฺธตตา
(ความเป็นผู้ไม่ฟุ้งซ่าน) 1.
สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานาเวรนณี มีผลมีอาทิอย่างนี้ คือ อตีตา-
นาคตปจฺจุปฺปนฺเนสุ กิจฺจกรณีเยสุ อปฺปมาทตา
(ความเป็นผู้ไม่ประมาท
ในกิจและกรณียกิจ ทั้งที่เป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน) 1 ญาณวนฺตตา
(ความเป็นผู้มีญาณ) 1 สทา อุปฏฺฐิตสติตา (ความเป็นผู้มีสติปรากฏอยู่
ทุกเมื่อ) 1 อุปฺปนฺเนสุ กิจฺจกรณีเยสุ สพฺพฏฺฐานุปฺตฺติกปฏิภาณวนฺ-

ตตา (ความเป็นผู้มีปฏิภาณ เกิดขึ้นทุกสถาน ในเมื่อมีกิจและกรณียกิจเกิดขึ้น) 1
อนลสตา
(ความเป็นผู้ไม่เกียจคร้าน) 1 อชฬตา (ความเป็นผู้ไม่โง่เขลา) 1
อมูคตา
(ความเป็นผู้ไม่บ้าใบ้) 1 อจฺฉมฺภิตา (ความเป็นผู้ไม่หวาดสะดุ้ง) 1
อสารมฺภตา
(ความเป็นผู้ไม่มีการแข็งดี) 1 อนิสฺสุกิตา (ความเป็นผู้ไม่มี
ความริษยา) 1 อมจฺฉริตา (ความเป็นผู้ไม่ตระหนี่) 1 สจฺจวาทิตา
(ความเป็นผู้มีปกติกล่าวคำสัตย์) 1 อปิสุณ อผรุส อสมฺผปฺปลาปวาทิตา
(ความเป็นผู้มีปกติไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อ) 1 กตญฺญุตา
(ความเป็นคนกตัญญู) 1 กตเวทิตา (ความเป็นผู้มีกตเวที) 1 โภควนฺตตา
(ความเป็นผู้มีโภคะ) 1 สีลวนฺตตา (ความเป็นผู้มีศีล) 1 อุชุคตา (ความ
เป็นผู้ซื่อตรง) 1 มหตฺตตา (ความเป็นผู้ไม่โกรธ) 1 หิโรตฺตปฺปสสมฺ-
ปนฺนตา
(ความเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยหิริและโอตัปปะ) 1 อุชุทิฏฺฐิตา (ความ
เป็นผู้มีความเห็นตรง) 1 มหตฺตตา (ความเป็นผู้มีใจใหญ่) 1 ปณฺฑิตตา
(ความเป็นผู้ฉลาด) 1 อตฺถานตฺถกุสลตา (ความเป็นผู้ฉลาดในสิ่งที่เป็น-
ประโยชน์ และสิ่งมิใช่ประโยชน์) 1. ในอธิการนี้ พึงทราบวินิจฉัยโดยสภาวะ
เป็นต้น แม้แห่งปาณาติปาตาเวรมณีเป็นต้น ดังพรรณนามานี้.
บทว่า สีลวา ได้แก่ เป็นผู้มีศีล ด้วยสามารถแห่งเบญจศีลตามที่
กล่าวแล้ว. บทว่า กลฺยาณธมฺโม ได้แก่ เป็นผู้มีธรรมอันงาม อธิบายว่า
มีปัญญาประกอบด้วยทิฏฐิสมบัติ อันส่องถึงสรณคมน์ ก็บุตรคนใด เมื่อมารดา
บิดาไม่มีศรัทธา และเป็นผู้ทุศีล ตนเองก็เป็นเช่นนั้น แม้บุตรนั้นพึงทราบว่า
เป็นอวชาตบุตรทีเดียว. เพราะว่าความเป็นผู้ไม่มีศรัทธาเป็นต้น ท่านกล่าวว่า
เป็นลักษณะของความเป็นอวชาตบุตรในที่นี้ และความเป็นผู้ไม่มีศรัทธาเป็นต้น
นั้น มีอยู่ในอวชาตบุตรนั้น แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกความที่บุตรเป็น
อติชาตบุตรเป็นต้น โดยเปรียบเทียบมารดาบิดา.

บทว่า โย โหติ กุลคนฺธโน ได้แก่ บุตรผู้ทำลายตระกูล คือ
ทำตระกูลให้พินาศ. จริงอยู่ คนฺธ ศัพท์ ในที่นี้ มีความหมายว่า ทำลาย
ดังในประโยคเป็นต้นว่า อุปฺปลคนฺธปจฺจตฺถิกา ดังนี้. แต่อาจารย์บางพวก
กล่าวว่า กุลธํสโน ดังนี้บ้าง. เนื้อความก็เช่นนั้นเหมือนกัน. บทว่า เอเต
โข ปุตฺตา โลกสฺมึ
ความว่า บุตร 3 จำพวก มีอติชาตบุตรเป็นต้น
เหล่านี้นั่นแหละ ชื่อว่า บุตรมีอยู่ในสัตวโลกนี้ พ้นจากโลกนี้ไปจะมีก็หามิได้.
ก็บรรดาบุตร 3 จำพวกเหล่านี้ บุตรจำพวกใดเป็นอุบาสก คือบุตรเหล่าใด
เป็นอุบาสกเพราะถึงพร้อมด้วยสรณคมน์ คือเข้าใจหลักธรรม ด้วยกัมมัสสก-
ตาญาณ บุตรเหล่านั้น เป็นบัณฑิตมีปัญญา ถึงพร้อมคือบริบูรณ์ด้วยศีล 5
และศีล 1. ชื่อว่า วทัญญู เพราะรู้ (เข้าใจ) คำพูดของยาจกทั้งหลาย โดยการ
ยังความประสงค์ของยาจกเหล่านั้นให้เต็ม โดยเพียงเห็นสีหน้าเท่านั้น อีกอย่าง-
หนึ่ง ชื่อว่า วทัญญู เพราะวิเคราะห์ว่า ได้ยินคำของยาจกเหล่านั้นว่า
โปรดให้ทานเถิด ดังนี้ ก็รู้ความหมายนั้น โดยบริจาค (ทรัพย์) แก่ยาจก
เหล่านั้น ด้วยคิดว่า คนเหล่านี้ไม่เคยให้ทานในกาลก่อน จึงเป็นเช่นนี้
ส่วนเราไม่ควรเป็นอย่างนั้น. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า วทัญญู เพราะวิเคราะห์ว่า
เข้าใจถ้อยคำของบัณฑิตทั้งหลาย ที่แสดงถึงความที่สัตว์มีกรรมเป็นของตน
เป็นต้น ส่วนอาจารย์บางพวกกล่าวว่า "ปทัญญู" อธิบายว่า เป็นผู้มีปกติ
บริจาคด้วยการเพิ่มให้ ชื่อว่าปราศจากความตระหนี่ เพราะปราศจากมลทินคือ
ความตระหนี่ ในทันใดนั้นเอง. บทว่า อพฺภฆนา ความว่า บุตรเหล่านั้น
ย่อมรุ่งโรจน์ อธิบายว่า งดงาม ในบริษัททั้งหลายมีอุบาสกเป็นต้น และใน
บริษัททั้งหลาย มีกษัตริย์เป็นต้น ดุจพระจันทร์ที่พ้นจากเมฆ กล่าวคือหมอก
หรือพ้นจากเมฆที่หนาทึบ ฉะนั้น.
จบอรรถกถาปุตตสูตรที่ 5

6. อวุฏฐิกสูตร


ว่าด้วยบุคคลเปรียบเหมือนฝน 3 จำพวก


[253] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้
สดับมาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล 3 จำพวก มีปรากฏอยู่ในโลก
3 จำพวกเป็นไฉน ? คือ บุคคลผู้เสมอด้วยฝนไม่ตก 1 ผู้ดุจฝนตกในที่บาง-
ส่วน 1 ผู้ดุจฝนตกในที่ทั่วไป 1.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลเสมอด้วยฝนไม่ตกเป็นอย่างไร บุคคล
บางคนในโลกนี้ ไม่ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้
ที่นอน ที่พัก เครื่องอุปกรณ์แสงสว่าง แก่สมณพราหมณ์ คนกำพร้า คน
เดินทาง วนิพกและยาจกทุกหมู่เหล่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้เสมอ
ด้วยฝนไม่ตกเป็นอย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้ดุจฝนตกในที่บางส่วนเป็นอย่างไร
บุคคลบางคนในโลกนี้ เป็นผู้ให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม
เครื่องลูบไล้ ที่นอน ที่พัก เครื่องอุปกรณ์แสงสว่าง แก่สมณพราหมณ์
คนกำพร้า คนเดินทาง วนิพกและยาจกบางพวก ไม่ให้แก่บางพวก ดูก่อน
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลผู้ดุจฝนตกในที่บางส่วนเป็นอย่างนี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็บุคคลผู้ดุจฝนตกในที่ทั่วไปเป็นอย่างไร บุคคล
บางคนในโลกนี้ ย่อมให้ข้าว น้ำ ผ้า ยาน ดอกไม้ ของหอม เครื่องลูบไล้
ที่นอน ที่พัก เครื่องอุปกรณ์แสงสว่าง แก่สมณพราหมณ์ คนกำพร้า คน-
เดินทาง วนิพก และยาจกทั้งปวง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคลดุจฝนตก
ในที่ทั่วไปเป็นอย่างนี้แล.

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล 3 จำพวกนี้แล มีปรากฏอยู่ในโลก.