เมนู

เกิดสังเวชด้วยการเห็นวิบากแห่งกรรมชั่ว ของภิกษุชั่วมากซึ่งนั่งอยู่ในที่นั้น
จึงได้ตรัสคาถา 2 คาถา ด้วยประการฉะนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า กาสาวกณฺฐา ได้แก่ มีคอพันด้วยผ้ากาสาวะ
เพราะมีรสฝาดและสีเหลือง. บทว่า ปาปธมฺมา ได้แก่ ธรรมลามก. บทว่า
อสฺญฺญตา ได้แก่ เว้นจากการสำรวมทางกายเป็นต้น . บทว่า ปาปา ได้แก่
บุคคลลามกเห็นปานนั้น เกิดด้วยกรรมลามก ย่อมเสวยทุกข์ใหญ่ตามนัยที่กล่าว
แล้วในลักขณสังยุตมีอาทิว่า แม้ร่างกายของเขาก็ร้อนโพลง มีไฟลุก แม้สังฆาฏิ
ก็ร้อน ดังนี้.
ในคาถาที่ 3 พึงทราบความย่อต่อไปนี้. บทว่า ยญฺเจ ภุญฺเชยฺย
ได้แก่ คนทุศีล คือ ไม่มีศีล ไม่สำรวมด้วยกายเป็นต้น ปฏิญาณว่าเราเป็น
สมณะ รับก้อนข้าวที่ชาวแว่นแคว้นให้ด้วยศรัทธา บริโภคก้อนเหล็กร้อนมี
แสงไฟอันผู้ทุศีลบริโภคยังประเสริฐกว่า คือ ดีกว่าคนทุศีลนั้น. ถามว่า เพราะ
เหตุไร. ตอบว่า เพราะการบริโภคก้อนเหล็กเป็นเหตุ เขาก็พึงไหม้ในอัตภาพ
เดียวเท่านั้น. ส่วนคนทุศีลบริโภคของที่เขาให้ด้วยศรัทธา เขาพึงไปเกิดในนรก
หลายร้อยชาติ.
จบอรรถกถาอปายสูตรที่ 11

12. ทิฏฐิสูตร


ว่าด้วยเรื่องทิฏฐิพัวพันพาไป


[227] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ

มาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายอันทิฏฐิ 2 อย่าง
พัวพันแล้ว บางพวกย่อมติดอยู่ บางพวกย่อมแล่นเลยไป ส่วนพวกที่มีจักษุ
ย่อมเห็น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์บางพวกย่อมติดอยู่อย่างไรเล่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายมีภพเป็นที่มายินดี ยินดีแล้วใน
ภพ เพลิดเพลินด้วยดีในภพ เมื่อพระตถาคตแสดงธรรมเพื่อความดับภพ จิต
ของเทวดาและมนุษย์เหล่านั้นย่อมไม่แล่นไป ย่อมไม่เลื่อมใส ย่อมไม่ดำรงอยู่
ด้วยดี ย่อมไม่น้อมไป ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์บางพวกย่อม
ติดอยู่อย่างนี้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์บางพวกย่อมแล่นเลยไปอย่างไร
เล่า ก็เทวดาและมนุษย์บางพวกอึดอัด ระอา เกลียดชังอยู่ด้วยภพนั่นแล
ย่อมเพลิดเพลินความขาดสูญว่า แน่ะท่านผู้เจริญทั้งหลาย ได้ยินว่า เมื่อใด
คนนี้เมื่อตายไป ย่อมขาดสูญ ย่อมพินาศ เบื้องหน้าแต่ตายย่อมไม่เกิดอีก
นี้ละเอียด นี้ประณีต นี้ถ่องแท้ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เทวดาและมนุษย์บางพวก
ย่อมแล่นเลยไปอย่างนี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ส่วนพวกที่มีจักษุย่อมเห็นอย่างไรเล่า ภิกษุใน
ธรรมวินัยนี้ย่อมเห็นขันธ์ 5 ที่เกิดแล้วโดยความเป็น (ขันธ์ 5 ที่เกิดแล้ว)
จริง ครั้นเห็นขันธ์ 5 ที่เกิดแล้วโดยความเป็นจริง ย่อมเป็นผู้ปฏิบัติเพื่อความ
เบื่อหน่าย เพื่อคลายกำหนัด เพื่อดับขันธ์ 5 ที่เกิดแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ส่วนพวกที่มีจักษุย่อมเห็นอย่างนี้แล.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า

อริยสาวกใดเห็นขันธ์ 5 ที่เกิดแล้ว
และธรรมเป็นเครื่องก้าวล่วงขันธ์ 5 ที่
เกิดแล้วโดยความเป็นจริง ย่อมน้อมไปใน
นิพพานตามความเป็นจริงเพราะภวตัณหา
หมดสิ้นไป ถ้าว่าอริยสาวกนั้นกำหนดรู้
ขันธ์ 5 ที่เกิดแล้ว ปราศจากตัณหาในภพ
น้อยและภพใหญ่แล้วไซร้ ภิกษุทั้งหลาย
ย่อมไม่มาสู่ภพใหม่ เพราะความไม่เกิด
แห่งอัตภาพที่เกิดแล้ว.

เนื้อควานแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า
ได้สดับมาแล้ว ฉะนั้นแล.
จบทิฏฐิสูตรที่ 12
จบวรรคที่ 2

อรรถกถาทิฏฐิสูตร


ในทิฏฐิสูตรที่ 12 พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ทฺวีหิ ทิฏฺฐิคเตหิ นี้ ทิฏฺฐิคต ก็คือทิฏฐินั่นแหละ ดุจ
ในบทมีอาทิว่า คูธคตํ มุตฺตคตํ (คูถ มูตร) ดังนี้. ทิฏฐิทั้งหลายอันมี
ฐานะเป็นทิฏฐิ เพราะเป็นเพียงถึงทิฏฐิโดยประการที่ว่างจากอาการถือเอา ด้วย
ทิฏฐิเหล่านั้น. บทว่า ปริยุฏฺฐิตา ได้แก่ ครอบงำหรือพัวพัน. ศัพท์ว่า