เมนู

อรรถกถาชาคริยสูตร


ในชาคริยสูตรที่ 10 พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ชาคโร ได้แก่ เป็นผู้มีความเพียรเป็นเครื่องตื่น คือ
ปราศจากความหลับ ประกอบความเพียร ขวนขวายในการมนสิการกรรมฐาน
ตลอดคืนและวัน. สมดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ภิกษุในศาสนานี้
ชำระจิตจากอาวรณียธรรม (ธรรมเครื่องกัน) ด้วยการนั่งจงกรมตลอดวัน
ชำระจิตจากอาวรณียธรรม ด้วยการนั่งจงกรมตลอดปฐมยามของราตรี สำเร็จ
สีหไสยาโดยข้างเบื้องขวาตลอดมัชฌิมยามของราตรี มีสติสัมปชัญญะด้วยการ
ทับเท้าด้วยเท้า มนสิการถึงอุฏฐานสัญญา (ความสำคัญในการลุกขึ้น) แล้ว
ชำระจิตจากอาวรณียธรรม ด้วยการลุกขึ้นนั่งจงกรมตลอดปัจฉิมยามแห่งราตรี
อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่า เป็นผู้ประกอบความเพียร เป็นเครื่องตื่นอยู่ตลอดราตรีต้น
และราตรีปลาย.
ศัพท์เป็นสัมปิณฑนัตถะ (มีอรรถรวบรวม). เมื่อพูดตั้งร้อย
เป็นต้น ย่อมประมวลด้วย ศัพท์. บทว่า อสฺส แปลว่า พึงเป็น. อาจารย์
บางพวกกล่าวว่า ชาคโร จ ภิกฺขุ วิหเรยฺย ภิกษุพึงมีความเพียรอยู่.
บทว่า สโต ได้แก่ มีสติโดยไม่อยู่ปราศจากสติ ด้วยไม่ละกรรมฐานในที่
ทั้งปวง และโดยกาลทั้งปวง. บทว่า สนฺปชาโน ได้แก่ มีสัมปชัญญะด้วย
อำนาจแห่งสัมปชัญญะ 4 อย่าง อันเป็นไปในฐานะของสัตว์. บทว่า สมาหิโต
ได้แก่มีจิตตั้งมั่น คือมีจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่ง ด้วยอุปจารสมาธิและอัปปนาสมาธิ.
บทว่า ปมุทิโต ได้แก่ เบิกบาน คือมากด้วยความปราโมทย์ เพราะเห็น
อานิสงส์แห่งการปฏิบัติ และเพราะเห็นการปรารภความเพียรไม่เป็นโมฆะ