เมนู

อรรถกถาสิกขาสูตร


ในสิกขาสูตรที่ 9 พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
ชื่อว่า สิกฺขา ในบทว่า. สิกฺขานิสํสา นี้ เพราะต้องศึกษา.
สิกขานั้นมี 3 อย่าง คือ อธิสีลสิกขา 1 อธิจิตตสิกขา 1 อธิปัญญาสิกขา 1
ซึ่งว่า สิกฺขานิสํสา เพราะมีสิกขา 3 อย่างนั้นเป็นอานิสงส์ มิใช่ลาภ สักการะ
และความสรรเสริญ บทว่า วิหรถ ได้แก่ เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีสิกขาเป็น
อานิสงส์อยู่เถิด. อธิบายว่า เธอทั้งหลายจงเป็นผู้เห็นอานิสงส์ในสิกขา 3 อย่าง
นั้น คือ เห็นอานิสงส์ที่ควรจะได้ด้วยสิกขา 3 อย่างนั้นอยู่เถิด. บทว่า
ปญฺญตรา ความว่า ชื่อว่า มีปัญญายิ่ง เพราะในสิกขา 3 อย่างนั้นมี
ปัญญา ได้แก่ อธิปัญญาสิกขา มีปัญญานั้นยิ่ง คือ เป็นประธานประเสริฐสุด.
อธิบายว่า ผู้ที่มีสิกขาเป็นอานิสงส์อยู่ เป็นผู้มีปัญญายิ่ง ดังนี้. บทว่า วิมุตฺติ-
สารา
ได้แก่ ชื่อว่า มีวิมุตติเป็นสาระ เพราะมีวิมุตติอันได้แก่ อรหัตผลเป็น
สาระ. อธิบายว่า ถือเอาวิมุตติตามที่กล่าวแล้วนั่นแล โดยความเป็นสาระแล้ว
ตั้งอยู่. จริงอยู่ ผู้ที่มีสิกขาเป็นอานิสงส์และมีปัญญายิ่ง ย่อมไม่ปรารถนาภพวิ-
เศษ. อีกอย่างหนึ่ง ชนทั้งหลายหวังความเจริญ ย่อมปรารถนาวิมุตติเท่านั้นโดย
ความเป็นสาระ. บทว่า สตาธิปเตยฺยา ได้แก่ชื่อว่า มีสติเป็นใหญ่ เพราะ
มีสติเป็นใหญ่ ด้วยอรรถว่า ทำให้เจริญ. อธิปติ นั่นแลทำให้เป็น อธิปเตยฺยํ
อธิบายว่า มีจิตตั้งมั่นในสติปัฏฐาน 4 ขวนขวายในการเจริญสมถะและวิปัสสนา
ด้วยหลักวิปัสสนามีกายานุปัสสนาเป็นต้น. อีกอย่างหนึ่ง พึงทราบความในบทนี้
อย่างนี้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงเป็นผู้มีสิกขาเป็นอานิสงส์
กระทำการศึกษาสิกขา 3 อย่าง ในการได้ขณะที่ได้ยากเห็นปานนี้ ให้เป็น