เมนู

ทุคติ กล่าวคือทุจริตแม้ทั้งปวง หรือคติ 5 ทั้งปวงอันชื่อว่าเป็นทุกข์ เพราะ
เป็นที่ตั้งแห่งทุกข์ในวัฏฏะ. จริงอยู่ กรรมวัฏและวิปากวัฏเป็นอันละได้ด้วย
การละกิเลสวัฏนั่นแล ด้วยประการฉะนี้.
จบอรรถกถาวิชชาสูตรที่ 3

4. ปัญญาสูตร


ว่าด้วยขาดปัญญาพาให้เสื่อมมีปัญญาพาให้เจริญ


[219] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ
มาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายผู้เสื่อมจากอริยปัญญา ชื่อว่า
เสื่อมสุด สัตว์เหล่านั้นย่อมอยู่เป็นทุกข์ มีความเดือดร้อน มีความคับแค้น
มีความเร่าร้อน ในปัจจุบันทีเดียว เมื่อตายไปแล้วพึงหวังได้ทุคติ ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายผู้ไม่เสื่อมจากอริยปัญญา ชื่อว่าไม่เสื่อม สัตว์เหล่านั้น
ย่อมอยู่เป็นสุข ไม่มีความเดือดร้อน ไม่มีความคับแค้น ไม่มีความเร่าร้อน
ในปัจจุบันเทียวแล เมื่อตายไปพึงหวังได้สุคติ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
จงดูโลกพร้อมด้วยเทวโลก ผู้ตั้งมั่น
ลงแล้วในนามรูป เพราะความเสื่อมไปจาก
ปัญญา โลกพร้อมด้วยเทวโลกย่อมสำคัญ
ว่า นามรูปนี้เป็นของจริง ปัญญาอันให้

ถึงความชำแรกกิเลสนี้แล ประเสริฐที่สุด
ในโลก ด้วยว่าปัญญานั้นย่อมรู้ชัดโดยชอบ
ซึ่งความสิ้นไปแห่งชาติและภพเทวดาและ
มนุษย์ทั้งหลาย ย่อมรักใคร่ต่อพระสัมมา-
สัมพุทธเจ้าเหล่านั้น ผู้มีสติ มีปัญญาร่าเริง
ผู้ทรงไว้ซึ่งสรีระอันมีในที่สุด.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า
ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.
จบปัญญาสูตรที่ 4

อรรถกถาปัญญาสูตร


ในปัญญาสูตรที่ 4 พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า สุปริหีนา ได้แก่ เสื่อมสุด. บทว่า เย อริยาย ปญฺญาย
ปริหีนา
ความว่า สัตว์เหล่าใด เสื่อมจากวิปัสสนาปัญญา และมรรคปัญญา
อันเป็นอริยะ คือ บริสุทธิ์ เพราะตั้งอยู่ไกลจากกิเลสทั้งหลาย ด้วยการรู้ความเกิด
และความเสื่อมของขันธ์ 5 และด้วยการแทงตลอดอริยสัจ 4 สัตว์เหล่านั้นเสื่อม
คือ เสื่อมมากเหลือเกินจากสมบัติอันเป็นโลกิยะและโลกุตระ. ถามว่า ก็สัตว์
เหล่านั้นเป็นจำพวกอะไร. ตอบว่า เป็นความจริงดังนั้น สัตว์เหล่าใดประกอบ
ด้วยเครื่องกั้น คือ กรรม สัตว์เหล่านั้นเสื่อม คือ พร่อง คือ เสื่อมมากโดย
ส่วนเดียว โดยความเป็นผู้แน่นอนต่อความเห็นผิด. ดังที่ท่านกล่าวว่า ทุคฺคติ
ปาฏิกงฺขา
ทุคติเป็นอันหวังได้ ดังนี้. แม้พร้อมเพรียงด้วยเครื่องกั้น คือ