เมนู

อรรถกถาเวปุลลปัพพตสูตร


ในเวปุลลปัพพตสูตรที่ 4 พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
คำว่า บุคคล ในบทว่า เอกปุคฺคบสฺส นี้ เป็นโวหารกถา
(กล่าวเป็นโวหาร). จริงอยู่ เทศนาของพระพุทธเจ้าผู้มีพระภาคมี 2 อย่าง
คือ สมมติเทศนา และปรมัตถเทศนา. ในเทศนา 2 อย่างนั้น สมมติ-
เทศนามีอย่างนี้คือ บุคคล สัตว์ หญิง ชาย กษัตริย์ พราหมณ์ เทวดา
มาร. ปรมัตถเทศนามีอย่างนี้ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ขันธ์ ธาตุ อายตนะ
สติปัฏฐาน.
ในเทศนา 2 อย่างนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงสมมติเทศนา
แก่บุคคลผู้ฟังเทศนาโดยสมมติ แล้วสามารถบรรลุคุณวิเศษได้. ทรงแสดง
ปรมัตถเทศนาแก่บุคคลผู้ฟังเทศนา โดยปรมัตถแล้วสามารถบรรลุคุณวิเศษได้.
พึงทราบอุปมาในข้อนั้นดังต่อไปนี้ เหมือนอย่างว่า อาจารย์ผู้ฉลาดในภาษาท้อง
ถิ่น พรรณนาความแห่งพระเวท 3 บอกด้วยภาษาทมิฬแก่ผู้ที่เมื่อเขาสอนด้วย
ภาษาทมิฬก็รู้ความ บอกด้วยภาษาแก่ผู้ที่รู้ด้วยภาษาใบ้เป็นต้นอย่างใดอย่าง
หนึ่ง ฉันใด มาณพทั้งหลายเหล่านั้น อาศัยอาจารย์ผู้ฉลาด เฉียบแหลมย่อม
เรียนศิลปะได้รวดเร็วฉันนั้น. ในข้อนั้นพึงทราบว่า พระพุทธเจ้าผู้มีพระภาค
ดุจอาจารย์ พระไตรปิฎกอันตั้งอยู่ในภาวะที่ควรบอก ดุจไตรเพท ความเป็นผู้
ฉลาดในสมมติและปรมัตถ์ ดุจความเป็นผู้ฉลาดในภาษาท้องถิ่น เวไนยสัตว์ผู้
สามารถแทงตลอดด้วยสมมติและปรมัตถ์ ดุจมาณพผู้รู้ภาษาต้องถิ่นต่าง ๆ
การแสดงด้วยสมมติและปรมัตถ์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ดุจการบอกด้วยภาษา
ทมิฬเป็นต้นของอาจารย์. ในข้อนี้อาจารย์กล่าวไว้ว่า