เมนู

สุขเหล่านี้แล้ว ย่อมเข้าถึงโลกอันไม่มี
ความเบียดเบียน เป็นสุข.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้
สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.
จบปุญญสูตรที่ 2

อรรถกถาปุญญสูตร


ในปุญญสูตรที่ 2 พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
มาศัพท์ ในบทว่า มา ภิกฺขเว ปุญฺญานํ นี้ เป็นนิบาตลงใน
อรรถปฏิเสธ. ปุญญศัพท์ มาในผลแห่งบุญ ในประโยคเป็นต้นว่า
กุสลสนํ ภิกฺขเว ธมฺมานํ สมาทานเหตุ เอวมิทํ ปุญฺญํ ปวฑฺฒติ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผลบุญนี้ย่อมเจริญอย่างนี้เพราะเหตุแห่งการสมาทาน
กุสลธรรมทั้งหลาย. มาในสุจริตอันเป็นกามาวจร และรูปาวจรในประโยค
เป็นต้นว่า อวิชฺชาคโต ยํ ภิกฺขเว ปุริสปุคฺคโล ปญฺญญฺจ (กตฺวา)
สํขารํ อภิสํขโรติ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุรุษบุคคลถูกอวิชชครอบงำ
ย่อมปรุงแต่งสังขารเพราะทำบุญ. มาในอุปปัตติภพอันเป็นสุคติวิเศษ ใน
ประโยคมีอาทิว่า ปุญฺญูปคํ ภวติ วิญฺญาณํ วิญญาณเข้าถึงบุญย่อมเจริญ.
มาในกุศลเจตนาในประโยคเป็นต้นว่า ตีณีมานิ ภิกฺขเว ปุญฺญกิริยา-
วตฺถูนิ ทานมยํ ปุญฺญกิริยาวตฺถุ สีลมยํ ปุญฺญกิริยาวตฺถุ ภาวนามยํ
ปุญฺญกิริยาวตฺถุ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุญกิริยาวัตถุ 3 เหล่านี้คือ บุญ-

กิริยาวัตถุสำเร็จด้วยทาน 1 บุญกิริยาวัตถุสำเร็จด้วยศีล 1 บุญกิริยาวัตถุ
สำเร็จด้วยภาวนา 1. แต่ในที่นี้พึงทราบว่ามาในกุศลธรรมในภูมิทั้ง 3.
ในบทว่า ภายิตฺถ นี้ภัยมี 2 อย่างคือ ญาณภัย 1 สารัชชภัย 1.
ในภัย 2 อย่างนั้น ญาณภัยมาในบทมีอาทิว่า เทพแม้เหล่าใดมีอายุยืน มีผิว
พรรณงาม มากด้วยความสุข เทพแม้เหล่านั้นได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระ
ตถาคต โดยมากก็ถึงความกลัว หวาดสะดุ้ง สังเวช ดังนี้. สารัชชภัยมาใน
บทมีอาทิว่า ภัยได้มีแล้ว ความหวาดสะดุ้งได้มีแล้ว ความสยองเกล้าได้มีแล้ว
ดังนี้. ในที่นี้ประสงค์เอาสารัชชภัยเท่านั้น. ในบทนี้มีอธิบายดังต่อไปนี้
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธออย่าได้กลัวต่อบุญที่ภิกษุพึงประพฤติตลอดกาล
มีอาทิอย่างนี้ คือ การสำรวมกาย วาจา ตลอดกาลนาน การบำเพ็ญข้อวัตร
ปฏิบัติ การฉันมื้อเดียว การนอนหนเดียว การฝึกอินทรีย์ การข่มจิตด้วย
ธรรมเครื่องกำจัดกิเลส มีสติสัมปชัญญะ ปรารภความเพียรด้วยการประกอบ
กรรมฐาน พวกเธออย่าได้ถึงความกลัว ความหวาดสะดุ้ง พวกเธออย่าได้กลัว
ต่อบุญ อันให้ความสุขในสัมปรายภพและนิพพาน เพราะภัยเกียดกั้นความสุข
ในปัจจุบันบางอย่างเลย. ความจริงบทนี้เป็นนิบาตลงในอรรถไม่ใช่ของตน.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อจะทรงแสดงเหตุในความเป็นของไม่ควร
กลัว แต่บุญนั้น จึงตรัสคำมีอาทิว่า สุขสฺเสตํ ดังนี้ สุขศัพท์ในบทว่า
สุขสฺเสตํ นั้น มาในต้นเค้าของสุขในประโยคมีอาทิว่า สุโข พุทฺธานํ
อุปฺปาโท สุขา วิราคตา โลเก
ความเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายนำ
มาซึ่งความสุข ความปราศจากความกำหนัดเป็นสุขในโลก. มาในสุขารมณ์ใน
ประโยคมีอาทิว่า ยสฺมา จ โข มหาลิ รูป สุขํ สุขานุปติตํ สุขาวกฺกนฺตํ
ดูก่อนมหาลี ก็เพราะรูปเป็นความสุข ตกลงไปสู่ความสุข ก้าวลงไปสู่ความสุข.
มาในฐานะมีสุขเป็นปัจจัยในประโยคมีอาทิว่า ยาวญฺจิทํ ภิกฺขเว น

สุกรํ อกฺขาเนน ปาปุณิตุํ ยาว สุขา สคฺคา ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
การเข้าถึงสวรรค์อันเป็นความสุขเพียงบอกกล่าวเท่านั้น ทำไม่ได้ง่ายนัก.
มาในเหตุแห่งความสุข ในประโยคมีอาทิว่า สุโข ปุญฺญสฺส อุจฺจโย
การสั่งสมบุญนำมาซึ่งความสุข. มาในความไม่เบียดเบียน ในประโยคมีอาทิ
ว่า ทิฏฺฐธมฺมสุขวิหารา เอเต ธมฺมา ธรรมทั้งหลายเหล่านี้ มีความสุข
ในปัจจุบันเป็นวิหารธรรม. นาในนิพพาน ในประโยคมีอาทิว่า นิพฺพานํ
ปรมํ สุขํ
นิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง. มาในสุขเวทนา ในประโยคมีอาทิว่า
สุขสฺส จ ปหานา ก็เพราะละสุขเสียได้. มาในอุเบกขาเวทนา ใน
ประโยคมีอาทิว่า อทุกฺขมสุขํ สนฺตํ สุขมิจฺเจว ภาสิตํ เมื่อไม่มีทุกข์
ไม่มีสุข ก็กล่าวได้ว่าเป็นสุขอย่างเดียว. มาในสุขที่น่าปรารถนา ในประโยค
มีอาทิว่า เทฺวปิ มยา อานนฺท เวทนา วุตฺตา ปริยาเยน สุขา เวทนา
ทุกฺขา เวทนา
ดูก่อนอานนท์ เรากล่าวเวทนาแม้สองอย่าง คือ สุขเวทนา
และทุกขเวทนาโดยปริยาย. มาในวิบากที่น่าปรารถนา ในประโยคมีอาทิว่า
สุโข วิปาโก ปุญฺญานํ วิบากแห่งบุญทั้งหลายเป็นความสุข. ในที่นี้
พึงเห็นว่า มาในวิบากที่น่าปรารถนาเท่านั้น.
ในบทว่า อิฏฺฐสฺส เป็นต้น พึงทราบเนื้อความดังต่อไปนี้ ชื่อว่า
น่าปรารถนา เพราะควรเสาะหา และเพราะห้ามสิ่งไม่น่าปรารถนา ชื่อว่า
น่าใคร่ เพราะเป็นสิ่งควรให้ใคร่และเพราะก้าวเข้าไปถึงใจ ชื่อว่า น่ารัก
เพราะเป็นสิ่งควรน่ารัก และเพราะให้เกิดความเอิบอิ่ม ชื่อว่า น่าพอใจ
เพราะให้เกิดความนับถือ และเพราะความเจริญแห่งใจ. บทว่า ยทิทํ
ปุญฺญานิ
ความว่า คำว่า บุญนี้ เป็นชื่อ ของความสุข คือ วิบากอันน่า-
ปรารถนา. ความสุขนั่นแหละ คือ บุญ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวถึงอุปจาร
อันไม่ต่างกันแห่งเหตุด้วยผล. ผู้ไม่ประมาทสดับผลอันแจ่มแจ้งชัดเจนของบุญ

ที่เขาสั่งสมมาแล้ว ควรทำบุญโดยเคารพ เพราะเหตุนั้น ท่านจึงชักชวนใน
การทำบุญ และให้เกิดความเอาใจใส่ในการทำบุญนั้นของเขาเหล่านั้น.
บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยกมาอ้างถึงวิบากของบุญอันกว้างขวาง
อย่างยิ่ง ปกปิดระหว่างภพ เสวยบุญกรรมที่พระองค์ได้ทำแล้วในสมัยเป็น
สุเนตตะตลอดกาลนาน เมื่อจะทรงกระทำความนั้นให้ปรากฏ จึงตรัสคำเป็น
อาทิว่า อภิชานามิ โข ปนาหํ ดังนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า อภิชานามิ ได้แก่เรารู้ด้วยญาณอันวิเศษยิ่ง
คือ เรารู้โดยชัดเจน. บทว่า ทีฆรตฺตํ ได้แก่ สิ้นกาลนาน. บทว่า ปุญฺญานํ
ได้แก่ กุศลธรรมมีทานเป็นต้น. บทว่า สตฺต วสฺสานิ ได้แก่ ตลอด 7 ปี.
บทว่า เมตฺตจิตฺตํ ความว่า ชื่อว่า เมตตา เพราะอรรถว่า รักใคร่
อธิบายว่า ผูกเยื่อใย. ชื่อว่า เมตตา เพราะความเจริญเป็นไปในมิตร หรือความ
เจริญนั่นเป็นไปต่อมิตร. พึงทราบวินิจฉัยเมตตาโดยลักษณะเป็นต้นต่อไปนี้
เมตตามีอัน เป็นไปในอาการให้ประโยชน์เกื้อกูลเป็นลักษณะ มีการนำสิ่งที่เป็น
ประโยชน์เกื้อกูลเป็นรส มีการปลดเปลื้องความอาฆาตเป็นเครื่องปรากฏ มีการ
แสดงความพอใจของสัตว์ทั้งหลายเป็นปทัฏฐาน. ความสงบพยาบาทเป็นสมบัติ
ของเมตตานั่น ความมีเสน่หาเป็นวิบัติของเมตตา. ชื่อว่า เมตตาจิต เพราะ
จิตมีเมตตา.
บทว่า ภาเวตฺวา ได้แก่ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสมาธิด้วยหัวข้อ
แห่งจิตอันสหรคตด้วยเมตตา เพราะเหตุนั้น จึงยังเมตตาสมาธิ ยังเมตตา-
พรหมวิหารให้เกิดและให้เจริญ. บทว่า สตฺต สํวฏฺฏวิวฏฏกปฺเป ได้แก่
มหากัป 7. จริงอยู่ ท่านถือเอาแม้สังวัฏฏฐายิและวิวัฏฏฐายิ ด้วยสังวัฏฏะและ
วิวัฏฏศัพท์นั่นเอง. บทว่า อิมํ โลกํ ได้แก่กามโลก. บทว่า สํวฏฺฏมาเน สุทํ
ได้แก่ กัปฉิบหายอยู่. บทว่า สุทํ เป็นเพียงนิบาต. อธิบายว่า ฉิบทายอยู่.
อาจารย์บางพวกกล่าวว่า สํวฏฺฏมาเน สุทํ ดังนี้. บทว่า กปฺเป ได้แก่

โลก. ก็ท่านกล่าวว่าโลกโดยหัวข้อแห่งกัป. แม้เมื่อโลกสิ้น กัปก็สิ้นไปด้วย.
ดังที่ท่านกล่าวไว้ว่า กาโล ฆสติ ภูตานิ สพฺพาเนว สหตฺตนา
กาลย่อมกินสรรพสัตว์กับทั้งตนเอง. พึงทราบว่า การอยู่ตลอดกัปในโลกนี้ด้วย
เตโชสังวัฏฏกัปเพราะพระองค์ตรัสไว้ว่า เราเป็นผู้เข้าถึงพรหมโลกชั้นอาภัสสระ.
บทว่า อาภสฺสรูปโค ความว่า เราเข้าถึงพรหมโลกชั้นอาภัสสระ โดย
การถือปฏิสนธิในพรหมโลกนั้น เพราะฉะนั้น เราจึงเป็นผู้เข้าถึงพรหมโลกชั้น
อาภัสสระ. บทว่า วิวฏฺฏมาเน ได้แก่ ดำรงอยู่ อธิบายว่า เกิดอยู่. บทว่า
สุญฺญํ พฺรหฺมวิมานํ อุปฺปชฺชามิ ความว่า เราเข้าถึงวิมานแห่งพรหม
กล่าวคือภูมิแห่งปฐมฌานอันเกิดแล้วแต่ต้น ซึ่งว่าง เพราะไม่มีสัตว์ไร ๆ
อันจะเกิดในที่นั้น ด้วยการถือเอาปฏิสนธิ. บทว่า พฺรหฺมา ความว่าชื่อว่า
พรหม เพราะอรรถว่าเป็นผู้ประเสริฐกว่าสัตว์ชั้นกามาวจร และเพราะอรรถว่า
เกิดจากพรหมวิหารธรรม เพราะงอกงามด้วยคุณธรรมอย่างนั้น ๆ. ชื่อว่า
มหาพรหม เพราะเป็นพรหมผู้ใหญ่กว่าพรหมปาริสัชชะ และพรหมปุโรหิต
ชื่อว่าเป็นผู้ยิ่งใหญ่ เพราะปราบปรามพรหมเหล่านั้นได้. ชื่อว่า เป็นผู้อันใคร
ครอบงำไม่ได้ เพราะไม่มีใครครอบงำได้ด้วยคุณธรรม. บทว่า อญฺญทตฺถุ
เป็นนิบาตลงในคำแน่นอน. บทว่า ทโส คือ มีปกติเห็น. พระองค์สามารถ
เห็นอดีต อนาคต และปัจจุบันได้. อธิบายว่า เราย่อมเห็นสิ่งที่ควรเห็นด้วย
ความรู้ยิ่ง. เรายังพรหมที่เหลือและยังจิตของตนให้เป็นไปในอำนาจของเราด้วย
กำลังอิทธิบาทภาวนา เพราะเหตุนั้น ควรประกอบว่า วสวตฺติ โหมิ เรา
เป็นผู้ยังจิตให้เป็นไปในอำนาจ.
ได้ยินว่า ในกาลนั้น พระโพธิสัตว์แม้ได้สมาบัติ 8 ก็ยังทรง
ตรวจดูประโยชน์เกื้อกูลของสัตว์อย่างนั้น และการบำเพ็ญบารมีของพระองค์
ยังความใคร่ในภูมิฌานสองเหล่านั้นให้เกิด ทรงท่องเที่ยวไป ๆ มา ๆ ด้วย

เมตตาพรหมวิหารธรรม. ด้วยเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า สตฺต
วสฺสานิ ฯเปฯ วสวตฺตี
ดังนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงประกาศวิบากอันยิ่งใหญ่ของบุญอันเป็น
รูปาวจรแล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงถึงวิบากอันยิ่งใหญ่ แม้ของบุญอันเป็น
กามาวจรจึงตรัสคำมีอาทิว่า ฉตฺตึสกฺขตฺตุํ ดังนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า สกฺโก อโหสึ ความว่า เราไม่เกิดในที่อื่น
ได้เป็นท้าวสักกะจอมเทพ คือ เป็นเทวราชชั้นดาวดึงส์ตลอดเวลา 36 ครั้ง.
ในบทว่า ราชา อโหสึ เป็นต้น มีเนื้อความดังต่อไปนี้ ชื่อว่า ราชา
เพราะยังชาวโลกให้ชื่นชมยินดีด้วยอัจฉริยธรรม 4 และด้วยสังคหวัตถุ 4.
ชื่อว่า จักรพรรดิ เพราะยังจักรรัตนะให้หมุนไป จักรรัตนะย่อมหมุนไปด้วย
สมบัติจักร 4 ทั้งยังจักรรัตนะอื่นให้หมุนไปด้วยสมบัติจักร 4 เหล่านั้น ทั้งมี
จักร คือ อิริยาบถ 4 หมุนไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่บุคคลอื่น. อนึ่ง คำว่า
ราชา ในบทนี้เป็นคำสามัญ. บทว่า จกฺกวตฺติ เป็นวิเสสนะ. ชื่อว่า ธมฺมิโก
เพราะประพฤติโดยธรรม. อธิบายว่า ย่อมประพฤติโดยระเบียบแบบแผน
โดยเสมอ. ชื่อว่า ธมฺมราชา เพราะได้รับสมบัติโดยธรรมจึงเป็นพระราชา.
หรือ ชื่อว่า ธมฺมิโก เพราะประพฤติธรรมเพื่อประโยชน์แก่ผู้อื่น. หรือชื่อว่า
ธมฺมราชา เพราะประพฤติธรรมเพื่อประโยชน์แก่ตน. ชื่อว่า จาตุรนฺโต
(เป็นพระราชามีสมุทรสาคร 4 เป็นขอบเขต) เพราะเป็นอิสระในสมุทรสาคร 4
อธิบายว่า เป็นอิสระในแผ่นดินเพราะมีสมุทร 4 เป็นขอบเขต และเพราะมี
ทวีป 4 แวดล้อม. ชื่อว่า วิชิตาวี (ชนะวิเศษแล้ว) เพราะชนะข้าศึกใน
ภายใน และพระราชาทุกพระองค์ในภายนอก โดยไม่ต้องลงอาชญา ไม่ต้องใช้
ศัสตรา. ชื่อว่า ชนปทตฺถาวริยปฺปตฺโต (ผู้ถึงความเป็นผู้มั่นคงในชนบท)
เพราะเป็นผู้ถึงความมั่นคง คือ ความยั่งยืนในชนบทอันใคร ๆ ไม่สามารถ

ให้เคลื่อนไปจากนั้นได้ หรือชนบทถึงความเป็นชนบทมั่นคง ณ ที่นั้นไม่ต้อง
ขวนขวาย ยินดีการงานของตน ไม่หวั่นไหว ไม่คลอนแคลน. ชื่อว่า
สตฺตรตนสมนฺนาคโต (ประกอบด้วยรัตนะ 7 ประการ) เพราะถึงพร้อมด้วย
รัตนะ 7 ประการเหล่านี้ คือ จักรแก้ว 1 ช้างแก้ว 1 ม้าแก้ว 1 แก้วมณี 1
หญิงแก้ว คหบดีแก้ว 1 ปริณายกแก้ว 1.
จริงอยู่ ในรัตนะเหล่านั้น พระราชาจักรพรรดิทรงชนะแคว้นที่ไม่มี
ใครชนะได้ด้วยจักรรัตนะ เสด็จเที่ยวไปในแคว้นด้วยช้างแก้ว และม้าแก้ว
อย่างสบาย ทรงปกครองแคว้นด้วยปริณายกแก้ว ทรงเสวยอุปโภคสุขด้วย
รัตนะที่เหลือ. พระเจ้าจักรพรรดินั้นทรงประกอบความสามารถทางอุตสาหะด้วย
รัตนะที่ 1. ทรงประกอบความสามารถทางพระปัญญาด้วยรัตนะสุดท้าย. ทรง
ประกอบความสามารถทางอำนาจเต็มบริบูรณ์ด้วยช้างแก้ว ม้าแก้ว คหบดีแก้ว.
ผลจากการประกอบความสามารถ 3 อย่าง ด้วยหญิงแก้ว และแก้วมณี.
พระเจ้าจักรพรรดินั้นเสวยโภคสุขด้วยหญิงแก้วและแก้วมณี. เสวยอิสริยสุขด้วย
รัตนะที่เหลือ. อนึ่ง โดยความต่างกัน 3 รัตนะข้างต้นของพระเจ้าจักรพรรดิ
สำเร็จด้วยอานุภาพของกรรมอันเกิดจากกุศลมูลคืออโทสะ. 3 รัตนะตอนกลาง
สำเร็จด้วยอานุภาพของกรรมอันเกิดจากกุศลมูล คือ อโลภะ. รัตนะ 1 สุด
ท้ายพึงทราบว่า สำเร็จด้วยอานุภาพกรรมอันเกิดจากกุศลมูล คือ อโมหะ.
บทว่า ปเทสรชฺชสฺส ได้แก่ แคว้นน้อย ๆ. บทว่า เอตทโหสิ
ความว่า พระเจ้าจักรพรรดิเมื่อทรงพิจารณาถึงสมบัติของพระองค์ได้มีพระดำริ
มีอาทิว่า นี้เป็นผลแห่งกรรมอะไรของเราหนอ ในกาลเป็นจักรพรรดิครั้ง
สุดท้าย. ความดำริได้สำเร็จทุกประการในภพนั้น ๆ. นี้เป็นการประกอบด้วย
สามารถจักกวัตติกาลในภพนั้น. บทว่า เอวํมหิทฺธิโก ความว่า พระเจ้า
จักรพรรดิมีฤทธิ์มากอย่างนี้ เพราะถึงพร้อมด้วยการทรงไว้ซึ่งท้องพระคลังอัน

มีแก้วมณีและช้างแก้ว เป็นต้นเป็นประมุข และเพราะถึงความเป็นผู้มั่นคงใน
ชนบท. บทว่า เอวํมหานุภาโว ความว่า พระเจ้าจักรพรรดิมิได้ทรงทำการ
เบียดเบียนใคร ๆ ด้วยส่งจักรแก้วเป็นต้นไปทำลาย ทรงมีอานุภาพมากอย่างนี้
เป็นต้นว่า เสด็จขึ้นสู่เวหาสมีพระบัญชาให้พระราชาทุกพระองค์ต้อนรับด้วย
เศียรเกล้า. บทว่า ทานสฺส ได้แก่ ทรงบริจาคไทยธรรมมีข้าวเป็นต้น. บทว่า
ทมสฺส ได้แก่ ทรงฝึกอินทรีย์มีจักษุเป็นต้น และทรงข่มกิเลสมีราคะเป็นต้น
ด้วยการสมาทาน. บทว่า สญฺญมสฺส ได้แก่ เป็นผู้สำรวมกายและวาจา.
ใน 3 ประการนั้น การกำจัดกิเลสด้วยการสมาทานอันใด อันนั้นเป็นบุญ
สำเร็จด้วยภาวนา. ก็บุญนั้นแลเป็นเมตตาพรหมวิหาร ท่านประสงค์ในที่นี้.
ในอุปจารและอัปปนาทั้งสองอย่างนั้น บุญใดถึงอัปปนา ความเกิดขึ้นใน
ภูมิฌานสองตามที่กล่าวแล้วมีได้ด้วยบุญนั้น. พึงทราบว่า ความเป็นจักร-
พรรดิเป็นต้น ตามควรมีได้ด้วยวิบาก 3 อย่างนี้.
ด้วยประการดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงกระทำพระองค์ให้เป็น
กายสักขี แล้วทรงประกาศความที่บุญมีผลมาก บัดนี้เมื่อจะทรงแสดงเนื้อความ
นั้นโดยคาถาประพันธ์ จึงตรัสคำมีอาทิว่า ปุญฺญเมว ดังนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ปุญฺญเมว โส สิกฺเขยย ความว่า
กุลบุตรผู้ใคร่ประโยชน์ พึงศึกษา พึงดำรงมั่น พึงเสพธรรมเป็นกุศล 3 อย่าง
อันได้ชื่อว่า บุญ เพราะให้เกิดผลน่าบูชา และเพราะชำระสันดานของตน.
บทว่า อายตคฺคํ ความว่า บุญ ชื่อว่า อายตคฺคํ เพราะมีผลไพบูลย์
มีผลยิ่งใหญ่ หรือสูงสุดต่อไป เพราะมีผลน่ารักน่าพอใจ หรือเพราะเลิศด้วย
ความเจริญ คือ ด้วยความยิ่งใหญ่และสูงสุดด้วยปัจจัย มีโยนิโสมนสิการเป็นต้น.
อักษร เป็นบทสนธิ. อีกอย่างหนึ่ง บุญ ชื่อ อายตคฺคํ เพราะเลิศ คือ

เป็นประธานทางความเจริญ อันเป็นผลน่าพอใจ. อธิบายว่า ต่อจากนั้นก็มีสุข
เป็นกำไร คือ มีสุขเป็นวิบาก.
ท่านถามว่า ก็บุญนั้นเป็นไฉน และกุลบุตรพึงศึกษาบุญได้อย่างไร.
ตอบว่า พึงบำเพ็ญทาน สมจริยา และเมตตาจิต.
ในบทเหล่านั้น บทว่า สมจริยํ ได้แก่ ศีลอันบริสุทธิ์มีการประพฤติ
ระเบียบทางกายเป็นต้น เพราะเว้นความประพฤติที่ไม่เป็นระเบียบทางกาย
เป็นต้น . บทว่า ภาวเย ได้แก่ พึงให้เกิด คือ ให้เจริญในสันดานของตน.
บทว่า เอเต ธมฺเม ได้แก่สุจริตธรรมมีทานเป็นต้นเหล่านี้. บทว่า สุขสมุทฺรเย
ได้แก่ มีสุขเป็นอานิสงส์. อาจารย์บางพวกแสดงว่า แม้อานิสงส์ผลก็เป็นสุข
แท้ของธรรมเหล่านั้น. บทว่า อพฺยาปชฺฌํ สุขํ โลกํ ได้แก่ โลกอัน
ไม่มีความเบียดเบียน คือ ไม่มีทุกข์ เพราะเว้นจากพยาบาท อันมีกามฉันทะ
เป็นต้น. แต่ไม่มีคำพูดถึงการไม่มีความเบียดเบียนต่อผู้อื่น. พรหมโลกของ
ฌานและบุญ ชื่อว่า เป็นสุข และชื่อว่าเป็นสุขโดยส่วนเดียว เพราะมากด้วย
ความสุข ด้วยอำนาจฌานและสมาบัติ. แต่บัณฑิตผู้มีปัญญาย่อมเข้าถึงโลก
อันเป็นสุข กล่าวคือความเป็นผู้มีสมบัติอื่นจากนั้นของบุญนอกนี้.
ด้วยประการดังนี้ ในสูตรนี้และในคาถาทั้งหลายท่านกล่าวถึงวัฏฏ-
สมบัติอย่างเดียว ฉะนั้นแล.
จบอรรถกถาปุญญสูตรที่ 2

3. อุโภอัตถสูตร


ว่าด้วยธรรมอย่างหนึ่งยึดประโยชน์ 2 อย่าง


[201] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ
มาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมอย่างหนึ่งอันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มาก
แล้ว ย่อมยึดประโยชน์ทั้ง 2 ไว้ได้ คือ ประโยชน์ในปัจจุบัน 1 ประโยชน์
ในสัมปรายภพ 1 ธรรมอย่างหนึ่งเป็นไฉน คือ ความไม่ประมาทในกุศล-
ธรรมทั้งหลาย
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมอย่างหนึ่งนี้แลอันภิกษุเจริญแล้ว
ทำให้มากแล้ว ย่อมยึดประโยชน์ทั้ง 2 ไว้ได้ คือ ประโยชน์ในปัจจุบัน 1
ประโยชน์ในสัมปรายภพ 1.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
บัณฑิตทั้งหลายย่อมสรรเสริญความ
ไม่ประมาท ในบุญกิริยาทั้งหลาย บัณฑิต
ไม่ประมาทแล้ว ย่อมยึดประโยชน์นี้ทั้งสอง
ไว้ได้ คือ ประโยชน์ในปัจจุบัน 1 ประ-
โยชน์ในสัมปรายภพ 1 นักปราชญ์
กาวว่าเป็นบัณฑิต เพราะการได้ประโยชน์
ทั้ง 2 นั้น.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้า
ได้สดับมาแล้ว ฉะนั้นแล.
จบอุโภอัตถสูตรที่ 3