เมนู

ตติยวรรควรรณนาที่ 3


อรรถกถาจิตตฌายีสูตร


ในจิตตฌายีสูตรที่ 1 แห่งวรรคที่ 3 พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า ปสนฺนจิตฺตํ ได้แก่มีใจเลื่อมใสแล้ว ด้วยความเชื่อในพระ
รัตนตรัย และด้วยความเชื่อในผลของกรรม. บทว่า สุคตึ ได้แก่คติดีหรือ
คติแห่งสุข เพราะฉะนั้นจึงชื่อว่า สุคติ. บทว่า สคฺคํ ได้แก่เลิศด้วยดีด้วย
สมบัติมีรูปเป็นต้น เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่า สวรรค์. ในบทว่า โลกํ ได้แก่ผล
แห่งบุญและบาป หรือชื่อว่า โลก เพราะอรรถว่าสลายไป. อนึ่ง ในที่นี้แม้
คติของมนุษย์ก็สงเคราะห์ ด้วยสุคติศัพท์. คติของเทวดาก็สงเคราะห์ด้วย
สัคคศัพท์เหมือนกัน. บทที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วในหนหลังนั้นแล.
จบอรรถกถาจิตตฌายีสูตรที่ 1

2. ปุญญสูตร


ว่าด้วยเรื่องอย่ากลัวต่อบุญเลย


[200] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้
สดับมาแล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายอย่าได้กลัวต่อบุญเลย คำว่า
บุญนี้เป็นชื่อแห่งความสุข อันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่ารัก น่าพอใจ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็เรารู้ด้วยญาณอันวิเศษยิ่ง ซึ่งวิบากอันน่าปรารถนา

น่าใคร่ น่ารัก น่าพอใจ ที่ตนเสวยแล้วสิ้นกาลนาน แห่งบุญทั้งหลายที่ตน
ได้ทำไว้สิ้นกาลนาน เราเจริญเมตตาจิตตลอด 7 ปีแล้ว ไม่กลับมาสู่โลกนี้
ตลอด 7 สังวัฏฏวิวัฏฏกัป ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า เมื่อกัปฉิบหายอยู่เรา
เป็นผู้เข้าถึงพรหมโลกชั้นอาภัสสระ เมื่อกัปเจริญอยู่ เราย่อมเข้าถึงวิมานเเห่ง
พรหมที่ว่าง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ได้ยินว่า เราเป็นพรหม เป็นมหาพรหม
เป็นผู้ยิ่งใหญ่ ใครครอบงำไม่ได้ เป็นผู้สามารถเห็นอดีต อนาคตและปัจจุบัน
โดยแท้ เป็นผู้ยังจิตให้เป็นไปในอำนาจ อยู่ในวิมานพรหมนั้น ดูก่อนภิกษุ
ทั้งหลาย ก็เราได้เป็นท้าวสักกะผู้เป็นจอมเทพ 36 ครั้ง ได้เป็นพระเจ้า
จักรพรรดิผู้ประกอบด้วยธรรม เป็นพระธรรมราชามีสมุทรสาครสี่เป็นขอบเขต
เป็นผู้ชนะวิเศษแล้ว ถึงความเป็นผู้มั่นคงในชนบท ประกอบด้วยรัตนะ 7
ประการ หลายร้อยครั้ง จะกล่าวไปไยถึงความเป็นพระเจ้าประเทศราชเล่า ดู
ก่อนภิกษุทั้งหลาย เรานั้นดำริว่า บัดนี้ เราเป็นผู้มีฤทธิ์มากอย่างนี้ มีอานุภาพ
มากอย่างนี้ เพราะผลวิบากแห่งกรรมอะไรของเราหนอแล ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เรานั้นดำริว่า บัดนี้ เราเป็นผู้มีฤทธิ์มากอย่างนี้ มีอานุภาพมากอย่างนี้ เพราะ
ผลวิบากแห่งกรรม 3 ประการของเราคือ ทาน 1 ทมะ 1 สัญญมะ 1.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
กุลบุตรผู้ใคร่ประโยชน์ พึงศึกษา
บุญนั่นแล อันสูงสุดต่อไปซึ่งมีสุขเป็นกำ
ไร คือ พึงเจริญทาน 1 ความประพฤติ
สงบ 1 เมตตาจิต 1 บิณฑิตครั้นเจริญ
ธรรม 3 ประการอันเป็นเหตุเกิดแห่งความ

สุขเหล่านี้แล้ว ย่อมเข้าถึงโลกอันไม่มี
ความเบียดเบียน เป็นสุข.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้
สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.
จบปุญญสูตรที่ 2

อรรถกถาปุญญสูตร


ในปุญญสูตรที่ 2 พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
มาศัพท์ ในบทว่า มา ภิกฺขเว ปุญฺญานํ นี้ เป็นนิบาตลงใน
อรรถปฏิเสธ. ปุญญศัพท์ มาในผลแห่งบุญ ในประโยคเป็นต้นว่า
กุสลสนํ ภิกฺขเว ธมฺมานํ สมาทานเหตุ เอวมิทํ ปุญฺญํ ปวฑฺฒติ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ผลบุญนี้ย่อมเจริญอย่างนี้เพราะเหตุแห่งการสมาทาน
กุสลธรรมทั้งหลาย. มาในสุจริตอันเป็นกามาวจร และรูปาวจรในประโยค
เป็นต้นว่า อวิชฺชาคโต ยํ ภิกฺขเว ปุริสปุคฺคโล ปญฺญญฺจ (กตฺวา)
สํขารํ อภิสํขโรติ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ข้อที่บุรุษบุคคลถูกอวิชชครอบงำ
ย่อมปรุงแต่งสังขารเพราะทำบุญ. มาในอุปปัตติภพอันเป็นสุคติวิเศษ ใน
ประโยคมีอาทิว่า ปุญฺญูปคํ ภวติ วิญฺญาณํ วิญญาณเข้าถึงบุญย่อมเจริญ.
มาในกุศลเจตนาในประโยคเป็นต้นว่า ตีณีมานิ ภิกฺขเว ปุญฺญกิริยา-
วตฺถูนิ ทานมยํ ปุญฺญกิริยาวตฺถุ สีลมยํ ปุญฺญกิริยาวตฺถุ ภาวนามยํ
ปุญฺญกิริยาวตฺถุ
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุญกิริยาวัตถุ 3 เหล่านี้คือ บุญ-