เมนู

เนื้อความนี้แก่ภิกษุทั้งหลาย ในสำนักของ
พระองค์ว่า ถ้าในสมัยนี้ บุคคลนี้พึงทำ
กาละไซร้ เขาพึงเข้าถึงนรก เพราะจิต
ของเขาขุ่นมัว เขาเป็นอย่างนั้น เหมือน
ถูกนำมาทอดทิ้งไว้ฉะนั้น สัตว์ทั้งหลาย
ย่อมไปสู่ทุคติ เพราะเหตุแห่งจิตขุ่นมัว
นั้นแล.

เนื้อความแม้นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว เพื่อเหตุนั้น ข้าพเจ้า
ได้สดับมาแล้ว ฉะนี้แล.
จบปุคคลสูตรที่ 10
จบทุติยวรรคที่ 2

อรรถกถาปุคคลสูตร


ถามว่า อะไรเป็นอุบัติของสูตรที่ 10. ตอบว่า อัตถุปปัตติกะ (มี
เรื่องเกิดขึ้น).
เล่ากันมาว่า วันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย นั่งสนทนากันในธรรมสภาว่า
ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ทำบุญมาก บางคนทำบาปมาก
บางคนทำปนกันไปทั้งสองอย่าง ในบุคคลเหล่านั้น คนที่ทำปนกันทั้งสองอย่าง
ภพหน้าจะเป็นเช่นไร. ลำดับนั้น พระศาสดาเสด็จไปยังธรรมสภาประทับนั่ง
บนบวรพุทธอาสน์ที่เขาจัดไว้ ได้สดับถ้อยคำนั้น เมื่อจะทรงแสดงว่า ดูก่อน-
ภิกษุทั้งหลาย ผู้มีจิตเศร้าหมองในเวลาใกล้ตาย ทุคติเป็นอันหวังได้ ดังนี้
จึงทรงแสดงพระสูตรนี้ ด้วยเรื่องที่เกิดขึ้นนี้.

ในบทเหล่านั้น บทว่า อิธ เป็นนิบาตในการชี้ถึงที่อยู่. ท่านกล่าว อิธ
นิบาตนี้ในที่บางแห่งหมายถึงที่อยู่ ในบทเป็นต้นว่า อิเธว ติฏฺฐมานสฺส
เทวภูตสฺส เม สโต
แปลว่า เมื่อเราเป็นเทพสถิตอยู่ เทวโลกนี้แล.
ในที่บางแห่งหมายถึงศาสนา ในบทมีอาทิว่า อิเธว ภิกฺขเว สมโฌ อิธ
ทุติโย สมโณ
แปลว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สมณะมีในศาสนานี้เท่านั้น
สมณะที่สองมีในศาสนานี้. ในที่บางแห่งเป็นเพียงบทบูรณ์ ในบทมีอาทิว่า
อิธาหํ ภิกฺขเว ภุตฺตาวี อสฺสํ ปวาริโต แปลว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
เราอันทายกขอร้องแล้วพึงฉัน. ในที่บางแห่งกล่าวหมายถึงโลก ในบทมีอาทิว่า
อิธ ตถาคโต โลเก อุปฺปชฺชติ แปลว่า พระตถาคตอุบัติขึ้นในโลกนี้.
พึงเห็นว่าในสูตรนี้หมายถึงในโลกแม้นี้เท่านั้น.
บทว่า เอกจฺจํ ได้แก่ คนหนึ่ง คือคนใดคนหนึ่ง. บทว่า ปุคฺคลํ
ได้แก่สัตว์. จริงอยู่ สัตว์นั้นท่านเรียกว่าบุคคล เพราะยังกุศลอกุศล และ
วิบากของกุศลอกุศลนั้น ให้บริบูรณ์ตามปัจจัย และเพราะอำนาจความตายกลืน
กิน. บทว่า ปทุฏฺฐจิตฺตํ ได้แก่ มีจิตขุ่นมัวด้วยความประทุษร้าย ด้วยความ
อาฆาต. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ปทุฏฺฐจิตฺตํ ได้แก่ มีจิตขุ่นมัวด้วยราคะ
เป็นต้นอันเป็นโทษ. อนึ่ง บทว่า เอกจฺจํ ในที่นี้ นี้เป็นวิเสสนะของบุคคล
ผู้มีจิตขุ่นมัว. ท่านกล่าวอย่างนั้น ถึงบุคคล ผู้ให้ปฏิสนธิได้ทำเหตุขึ้น. อนึ่ง
เพราะอกุศลยังเป็นไปอยู่ ผู้ใกล้จะตายไม่สามารถจะกลับจิตให้หยั่งลงด้วยกุศล
ได้. ท่านแสดงอาการที่ควรกล่าวในบัดนี้ ด้วยบทว่า เอวํ ดังนี้. บทว่า
เจตสา ได้แก่ ด้วยจิต คือ ด้วยเจโตปริยญาณ (การกำหนดรู้จิต) ของตน.
บทว่า เจโต ได้แก่ จิตของบุคคลนั้น . บทว่า ปริจฺจ คือ กำหนดรู้.
ถามว่า นี้เป็นวิสัยของยถากัมมูปคญาณ (การรู้ว่าสัตว์เป็นไปตามกรรม) มิใช่

หรือ. ตอบว่า ข้อนั้นเป็นความจริง แต่ข้อนี้ท่านกล่าวด้วยอำนาจอกุศลจิต
อันเป็นไปในกาลนั้น.
บทว่า อิมมฺหิ จายํ สมเย ความว่า หากในกาลนี้หรือในปัจจย-
สามัคคีนี้ บุคคลนี้พึงทำกาละในภายหลังชวนวิถี (วิถีจิตที่แล่นไป). การทำ
กาละย่อมไม่มีในขณะแห่งชวนจิต. บทว่า ยถาภตํ นิกฺขิตฺโต เอวํ นิรเย
ความว่า เขาถูกกรรมของตนซัดไป คือตั้งไว้ในนรก เหมือนถูกนำอะไร ๆ
มาทิ้งลงฉะนั้น. บทว่า กายสฺส เภทา ได้แก่ ทั้งขันธ์อันมีใจครองเสีย.
บทว่า ปรมฺมรณา ได้แก่ ในการไม่ยึดถือขันธ์ อันเกิดในระหว่างนั้น.
อีกอย่างหนึ่ง บทว่า กายสฺส เภทา ได้แก่เพราะตัดขาดชีวิตินทรีย์. บทว่า
ปรมฺมรณา ได้แก่ เบื้องหน้าแต่จุติจิต (จิตที่เคลื่อนไป).
บทว่า อปายํ เป็นต้น ทั้งหมดเป็นไวพจน์ของนรกนั่นเอง. จริงอยู่
นรกชื่อว่า อบาย เพราะปราศจากความสุข กล่าวคือความเจริญ. อีกอย่างหนึ่ง
นรกชื่อว่าอบาย เพราะปราศจากความเจริญ อันถือว่าเป็นบุญซึ่งเป็นเหตุแห่ง
สวรรค์และนิพพาน. นรกชื่อว่าทุคติ เพราะเป็นที่ไป คือ เป็นที่อาศัยของ
ทุกข์. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าทุคติ เพราะเป็นที่ที่สัตว์ทั้งหลายผู้มากด้วยโทสะ
ไปเกิดด้วยกรรมชั่ว. นรกชื่อว่าวินิบาต เพราะเป็นที่ที่สัตว์หมดอำนาจ
ทำกรรมชั่วตกไป หรือเป็นที่ที่สัตว์พินาศมีอวัยวะน้อยใหญ่ย่อยยับตกไป.
ชื่อว่านรก เพราะอรรถว่าหมดความยินดี เพราะความเจริญที่รู้กันว่า เป็น
ความยินดีมิได้มีในนรกนั้น. อีกอย่างหนึ่ง ท่านกล่าวว่า ติรัจฉานโยนิ
(กำเนิดเดียรัจฉาน) ด้วยอปายศัพท์. อนึ่ง ติรัจฉานโยนิเป็นอบาย เพราะ
ปราศจากสุคติ นาคราชเป็นต้น ผู้มีศักดิ์ใหญ่เกิดหาใช่ทุคติไม่. ชื่อปิตติวิสัยด้วย
ทุคติศัพท์. จริงอยู่ ปิตติวิสัยนั้น เป็นทั้งอบายเป็นทั้งทุคติ เพราะปราศจากสุคติ

และเป็นคติของทุกข์ ไม่ใช่วินิบาต เพราะไม่ตกลงเช่นกับอสูร. ชื่ออสุรกาย
ด้วยวินิปาตศัพท์. ก็อสุรกายนั้นเป็นทั้งอบาย เป็นทั้งทุคติ เพราะอรรถ
ตามที่กล่าวแล้ว ท่านเรียกว่า วินิบาต เพราะตกไปทั้งร่างกาย. ท่านกล่าวนรก
มีประการมากมาย มีอเวจีเป็นต้น ด้วยนรกศัพท์. แต่ในที่นี้ท่านกล่าวถึงนรก
อย่างเดียวแม้ด้วยทุก ๆ บท. บทว่า อุปฺปชฺชนฺติ ได้แก่ ถือเอาปฏิสนธิ.
คาถาที่หนึ่งในคาถาทั้งหลาย พระธรรมสังคาหกเถระได้จัดไว้แล้ว
ในสังคีติกาล (เวลาทำสังคายนา). บทว่า ญตฺวาน เป็นบุพพกาลกิริยา
จริงอยู่ ญาณก่อนเป็นพยากรณ์. อีกอย่างหนึ่ง ญตฺวาศัพท์ มีเนื้อความ
เป็นเหตุ เหมือนประโยคว่า สีหํ ทิสฺวา ภยํ โหติ ภัยย่อมมีเพราะเห็น
สีหะ ดังนี้. อธิบายว่า เพราะความรู้เป็นเหตุ. บทว่า พุทฺโธ ภิกฺขูน
สนฺติเก
ความว่า พระพุทธเจ้าผู้มีพระภาค ทรงพยากรณ์เนื้อความที่พระองค์
ตรัสด้วยสองคาถาเบื้องต้นนั้น แก่ภิกษุทั้งหลายในสำนักของพระองค์. บทที่
เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล.
จบอรรถกถาปุคคลสูตรที่ 10
จบอรรถกถาทุติยวรรคที่ 2

รวมพระสูตรที่มีในวรรคนี้ คือ


1. โมหสูตร 2. โกธสูตร 3. มักขสูตร 4. โมหสูตร
5. กามสูตร 6. ปฐมเสขสูตร 7. ทุติยเสขสูตร 8. เภทสูตร 9. โมทสูตร
10. ปุคคลสูตร และอรรถกถา.