เมนู

อรรถกถาโมหสูตร


ในโมหสูตรที่ 4 พึงทราบวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
อักษรในบทเป็นต้นว่า นาหํ ภิกฺขเว มีอรรถปฏิเสธ. พระผู้มี-
พระภาคเจ้าทรงอ้างถึงพระองค์ว่า อหํ. บทว่า อญฺญํ ได้แก่ ธรรมอื่น
จากนิวรณ์ คือ อวิชชาที่จะต้องกล่าวในบัดนี้ . บทว่า เอกนีวรณมฺปิ ได้แก่
ธรรมป้องกันไม่ให้บรรลุความดีอย่างหนึ่ง. บทว่า สมนุปสฺสามิ ได้แก่
สมนุปัสสนา (การพิจารณาเห็น) 2 อย่าง คือ ทิฏฐิสมนุปัสสนา (การ
พิจารณาเห็นด้วยทิฏฐิ) 1 ญาณสมนุปัสสนา (การพิจารณาเห็นด้วยญาณ) 1.
ในสมนุปัสสนา 2 อย่างนั้น การพิจารณาเห็นที่มาโดยบาลี มีอาทิว่า
รูปํ อตฺตโต สมนุปสฺสติ พิจารณาเห็นรูปโดยความเป็นตัวตน นี้ชื่อ
ทิฏฐิสมุนุปัสสนา. ส่วนสมนุปัสสนาที่มาโดยบาลี มีอาทิว่า อนิจฺจโต สมนุ-
ปสฺสติ โน นิจฺจโต
พิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยง ไม่พิจารณา
เห็นโดยความเป็นของเที่ยง นี้ชื่อว่า ญาณสมนุปัสสนา. ในพระสูตรท่าน
ประสงค์เอาญาณสมนุปัสสนาอย่างเดียว. บทว่า สมนุปสฺสามิ เชื่อมด้วย
อักษร. ดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราแม้
ตรวจตราดูธรรมทั้งปวง ด้วยสมันตจักษุ (จักษุรอบคอบ) อันได้แก่สัพพัญ-
ญุตญาณ ดุจมะขามป้อมในมือ ก็ยังไม่เห็นแม้นิวรณ์อันหนึ่งอย่างอื่น.
บทว่า เยน นีวรเณน นิวุตา ปชา ทีฆรตฺตํ สนฺธาวนฺติ
สํสรนฺติ
แปลว่า หมู่สัตว์ถูกนิวรณ์หุ้มห่อแล้วแล่นไป ท่องเที่ยวไปสิ้น
กาลนาน ความว่า สัตว์ทั้งหลายถูกนิวรณ์ครอบงำ ปกคลุมหุ้มห่อให้มืดมัว
ไม่ให้เพื่อจะรู้ เพื่อจะเห็น เพื่อแทงตลอดสภาวธรรมทั้งหลาย เพราะสภาว-

ธรรมถูกปกปิด ย่อมแล่นไปย่อมท่องเที่ยวไปในสงสารอันหาเบื้องต้นมิได้
และในภพใหญ่น้อยตลอดกัปอันกำหนดไม่ได้ โดยประการทั้งปวงด้วยการเกิด
แล้วเกิดอีก. การแล่นไป คือ การก้าวไปในระหว่างอารมณ์ การแล่นไป คือ
การก้าวไปในระหว่างภพ. หรือว่า การแล่นไปด้วยกิเลสมีกำลังแรง การแล่นไป
ด้วยกิเลสมีกำลังอ่อน. หรือว่าการแล่นไปในชาติหนึ่ง คือตายไปชั่วขณะ
การแล่นไปในหลาย ๆ ชาติ คือตายตามคำพูด หรือการแล่นไปด้วยจิต. ดัง
ที่ท่านกล่าวว่า จิตของเขาย่อมแล่นไป การท่องเที่ยวไปด้วยกรรม. พึงทราบ
ความต่างกันของการแล่นไปและการท่องเที่ยวไป ด้วยประการฉะนี้.
บทว่า ยถิยิทํ ตัดบทเป็น ยถาอิทํ. ย อักษรเป็นบทสนธิ ทำเป็น
ตรัสสะ ด้วยวิธีสนธิ.
ในบทว่า อวิชฺชานีวรณํ นี้ พึงทราบความดังต่อไปนี้ กายทุจริต
เป็นต้น ชื่อว่า ไม่ควรรู้ โดยอรรถว่า ไม่ควรบำเพ็ญ อธิบายว่า ไม่ควรได้.
ชื่อว่า อวิชฺชา เพราะอรรถว่ารู้สิ่งไม่ควรรู้นั้น. โดยตรงกันข้าม กายสุจริต
เป็นต้น ชื่อว่า เป็นสิ่งควรรู้. ชื่อว่า อวิชชา เพราะอรรถว่า ไม่รู้สิ่งควรรู้นั้น.
ท่านกล่าวถึงกองขันธ์ทั้งหลาย เครื่องติดต่ออายตนะทั้งหลาย ความ
สูญของธาตุทั้งหลาย ความเป็นใหญ่ของอินทรีย์ทั้งหลาย ความเป็นจริงของ
สัจจะทั้งหลาย ด้วยการบีบคั้นของทุกข์เป็นต้น. ชื่อว่าอวิชชา เพราะอรรถว่า
ไม่รู้เนื้อความ 4 อย่างนั้น . หรือว่า ชื่อว่าอวิชชา เพราะอรรถว่า ยังเหล่าสัตว์
ให้แล่นไปในสงสารอันไม่มีที่สุด. หรือว่าโดยปรมัตถ์ ชื่อว่าอวิชชา เพราะ
อรรถว่า ย่อมแล่นไป คือ ย่อมเป็นไปในอวิชชมานบัญญัติทั้งหลายมีสตรีและ
บุรุษเป็นต้น ย่อมไม่แล่นไป คือ ย่อมไม่เป็นไปในวิชชมานบัญญัติทั้งหลาย
มีขันธ์เป็นต้น. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่า อวิชชา เพราะปกปิดวัตถุและอารมณ์
มีจักขุวิญญาณเป็นต้น และธรรมคือปฏิจจสมุปบาท. นิวรณ์คืออวิชชา ชื่อว่า
อวิชชานิวรณ์.

บทว่า อวิชฺชานีวรเณน หิ ภิก ขเว นิวุตา ปชา ทีฆรตฺตํ
สนฺธาวนฺติ สํสรนฺติ
นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเพื่อทำความในก่อนให้
หนักแน่นนั่นเอง. หรือบทก่อนว่า ยถยิทํ ภิกฺขเว อวิชฺชานีวรณํ แปลว่า
เหมือนนิวรณ์คืออวิชชา นี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเพื่อให้แสดงข้ออุปมาอย่างนี้.
บทนี้ตรัสเพื่อแสดงอานุภาพของนิวรณ์. ถามว่า ก็เพราะเหตุไร ในสูตรนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสอวิชชาเท่านั้น ไม่ตรัสถึงธรรมเหล่าอื่นด้วย ตอบว่า
เพราะอวิชชาเป็นวิเสสปัจจัยแห่งกามฉันทะเป็นต้น ด้วยการปกปิดโทษ. จริง
ดังนั้น กามฉันทะเป็นต้น ย่อมเป็นไปในอาการของโทษที่ถูกอวิชชานั้น
ปกปิดไว้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสคาถามีอาทิว่า นตฺถญฺโญ ดังนี้ ด้วยรวบรวม
ความที่ตรัสแล้ว และที่ยังไม่ได้ตรัส. ในบทเหล่านั้น บทว่า นิวุตา ได้แก่
ปกคลุม หุ้มห่อ ปิดบังไว้. บทว่า อโหรตฺตํ แปลว่า ทั้งกลางวันกลางคืน.
อธิบายว่า ตลอดเวลา. บทว่า ยถา โมเหน อาวุตา ความว่า โดยประการ
ที่หมู่สัตว์ถูกโมหะคืออวิชชานิวรณ์หุ้มห่อปกปิดไว้ ไม่รู้แม้ธรรมที่ควรรู้ด้วยดี
ย่อมท่องเที่ยวไปในสงสาร พึงประกอบเนื้อความว่า ธรรมอย่างหนึ่งอื่น เห็น
ปานนั้นก็ดี นิวรณ์อย่างหนึ่งก็ดี ย่อมไม่มี. บทว่า เย จ โมหํ ปหนฺตฺวาน
ตโมกฺขนฺธํ ปทาลยุํ
แปลว่า พระอริยสาวกเหล่าใดละโมหะแล้ว ทำลาย
กองแห่งความืดได้แล้ว ความว่า ก็พระอริยสาวกเหล่าใดละโมหะ อันมรรค
นั้น ๆ พึงฆ่า ด้วยมรรคเบื้องต่ำ ด้วยตทังคปหานเป็นต้น ในส่วนเบื้องต้น
แล้วทำลายกองแห่งความมืด อื่นได้แก่โมหะนั่นเอง ด้วยญาณเปรียบด้วยเพชร
อันเป็นญาณชั้นเลิศ คือ ตัดขาดโดยไม่ให้มีส่วนเหลือ. บทว่า น เต ปุน
สํสรนฺติ
ความว่า พระอริยสาวกคือพระอรหันต์เหล่านั้น ย่อมไม่ท่องเที่ยวไป
คือ ไม่หันกลับไปในสงสารนี้ ที่ท่านกล่าวว่า

ขนฺธานํ ปฏิปาฏิ ธาตุ อายตนา น จ
อพฺโพจฺฉินฺนํ วตฺตมานา สํสาโรติ ปวุจฺจติ

ลำดับแห่งขันธ์ ธาตุ อายตนะ ยัง
เป็นไปไม่ขาดสาย ท่านเรียกว่าสงสาร.

ถามว่า เพราะเหตุไร. ตอบว่า เพราะอวิชชาอันเป็นต้นเหตุ คือ
เป็นมูลเหตุแห่งสงสาร ย่อมไม่มีแก่พระอริยสาวกเหล่านั้น เพราะตัดขาดแล้ว
โดยประการทั้งปวง ดังนี้.
จบอรรถกถาโมหสูตรที่ 4

5. กามสูตร


ว่าด้วยกามตัณหาเป็นเพื่อน ท่องเที่ยวไปนาน


[193] จริงอยู่ พระสูตรนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแล้ว พระสูตรนี้
พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เป็นพระอรหันต์ตรัสแล้ว เพราะเหตุนั้น ข้าพเจ้าได้สดับ
แล้วว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่พิจารณาเห็นแม้สังโยชน์อันหนึ่งอย่างอื่น
ซึ่งเป็นเหตุให้สัตว์ผู้ประกอบแล้วแล่นไป ท่องเที่ยวไปสิ้นกาลนาน เหมือน
สังโยชน์ คือ ตัณหานี้เลย ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ทั้งหลายผู้ประกอบด้วย
สังโยชน์ คือ ตัณหาย่อมแล่นไป ท่องเที่ยวไปสิ้นกาลนาน.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสเนื้อความนี้แล้ว ในพระสูตรนั้น พระผู้มี-
พระภาคเจ้าตรัสคาถาประพันธ์ดังนี้ว่า
บุรุษ ผู้มีตัณหาเป็นเพื่อน ท่อง-
เที่ยวไปสิ้นกาลนาน ย่อมไม่ก้าวล่วง